ใช้เครื่องดัน ศูนย์หลังไม่ค่อยออกหรอกครับ มันแน่นมาก
แต่ถ้าเป็นศูนย์เรืองแสงทริเที่ยม ตรงนี้ควรใช้เครื่องดัน เพราะโครงสร้างภายในเป็นหลอดแก้ว ใช้วิธีตอก อาจจะทำให้หลอดแตกได้
ใช้หลักการคานเพื่อช่วยผ่อนแรง กับสกรู โดยการหาแท่งเหล็กแข็ง ยาวสักหนึ่งเมตร (คานยิ่งยาวยิ่งผ่อนแรง) เจาะรูพอดีสวมตรงคันหมุนของเครื่องเลื่อนศูนย์ จะพอช่วยให้ถอดด้วยเครื่องมือได้ง่ายขึ้นมั๊ยครับอาจารย์?
ใช้สูตร
W × P = E × 2πR
W = แรงความต้านหรือน้ำหนักของวัตถุ (นิวตัน)
P = ระยะทาง 1 ช่วงเกลียว หรือ Pitch (เมตรหรือเซนติเมตร)
E = แรงความพยายามหรือแรงที่กระทำกับสกรู (นิวตัน)
R = รัศมีของการหมุนหรือความยาวของด้ามแม่แรง (เมตรหรือเซนติเมตร)
π = เป็นค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์ ที่เกิดจากความยาวเส้นรอบวงหารด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม (22/7)
ถ้าออกแบบเอง โดยหลักการนี้ ให้ช่างกลึงให้คงไม่ยากมาก ยากที่ระยะห่างของเกลียวเพราะเกลียวยิ่งละเอียดยิ่งผ่อนแรง (แต่ต้องหมุนกันหลายรอบหน่อย) แต่เกลียวละเอียดมากความทนทานของเกลียวก็ลดลง ตรงนี้คงต้องลองหลายๆแบบ เพื่อหาช่วงระยะห่างเกลียวและวัสดุที่ใช้ให้เหมาะสม
สมมติแขนคานยาว 1 เมตร ระยะห่างระหว่างเกลียว 2 มิลลิเมตร (2/1000 เมตร)
แรงที่ต้องใช้ในการดันศูนย์ สมมติว่า 2200 นิวตัน (220 กิโลกรัม) เท่ากับใช้แรงเพียง
2200 x (2/1000) = E x 2 x (22/7) x 1
E = 0.7 นิวตัน หรือ 0.07 กิโลกรัม ในการเลื่อนศูนย์ให้ขยับไป 2 มิลลิเมตร อันนี้ผมเทียบระยะห่างระหว่างเกลียวต่ำไปหน่อย(ในความเป็นจริงสันเกลียว+ฐาเกลียวอาจบางเกินรับแรงมากๆไม่ไหว ขึ้นกับคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ด้วย) แต่พอเห็นความต่างของแรงที่ใช้
เดี๋ยวจะค้นเพิ่มเติมว่าสันเกลียวแบบไหนรับแรงได้ดีที่สุด (น่าจะเป็นเกลียวแอคเม) จำนวนปากเกลียวก็มีผลต่อระยะเคลื่อนที่หมุนไปหนึ่งรอบด้วย โอย คืนอาจารย์หมดแล้ว

ความรู้เรื่องเกลียวครับ
http://www.8webs.com/demo/bjc/uploads/article/THREAD.pdf