เช็คเด้ง มีทั้งที่เป็นความผิดทางอาญา และความผิดทางแพ่ง
ทางอาญา เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. ๒๕๓๔
เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย
ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น
ผู้ออกเช็คมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
บทกฎหมาย ไม่ยาว แต่เงื่อนแง่และกลวิธีในการหลบเลี่ยง เขียนกันได้เป็นตำราเล่มใหญ่
ต้องติดตามศึกษาคำพิพากษาฎีกาอยู่ตลอดเวลา ต้องคุยกันยืดยาว
แต่มีข้อคิดง่ายๆว่า ถ้ามีการรับเงินตามเช็คบางส่วนแล้ว
มูลหนี้ที่เป็นอยู่จะแต่กต่างกับจำนวนเงินที่ลงในเช็ค
หากนำเช็คนั้นไปฟ้องคดีอาญา จำเลยสู้ว่า มูลหนี้ที่ฟ้องต่างกับที่ลงในเช็ค
ศาลยกฟ้องครับ เป็นคำพิพพากษาฎีกา ซึ่งนานมาแล้ว
และผมไม่ได้ติดตามว่าปัจจุบันยังถือหลักนี้หรือเปล่า
ดังนั้น ข้อแรกที่ต้องระวังคือ
ถ้ารับชำระหนี้บางส่วน อาจทำให้ดำเนินคดีอาญาไม่ได้ครับ
55555 ยายขออนุญาต พี่ " yutthakarn " คร๊าบ 555
ข้อเท็จจริง " กลยุทธ์ " เป็นไปแบบ ที่บอก นั่นแหละ คร๊าบ ฮา
รวมถึง กรณี ยิมยอม ให้ " เปลี่ยนเช็ค ฉบับใหม่ " แทนฉบับเดิมที่ธนาคารปฎิเสธ การจ่ายเงิน
พอยอมให้เปลี่ยนปุ๊ป " ทิ้งโง่ " เลยคร๊าบ ฮา
จากบังคับอาญา ได้ กลายเป็น " แพ่ง " สถานเดียว คร๊าบ ฮา
ถ้าจะค้า จะขาย " หลีกเลี่ยง " การรับเช็ค ของ บุคคลที่สามคร๊าบ ฮา
ถึงแม้ว่าจะมี " การสลักหลัง เช็ค " ก็ตาม ฮา
สถานะของ " ลูกหนี้ " ( ของเรา ) กลายเป็น อะไรดีคร๊าบ
จำเลยที่สอง ส่วนไอ้เจ้าของ คนเซ็นต์เช็ค ฮา
จะฟ้องมัน " สถานะไหน " เดี๋ยวมันอ้าง เอียงๆ ฮา
5555 กรู เป็น " หนี้ " เอ็ง เมื่อไหร่ ว๊าาา ฮา 55555
