55555 เมื่อก่อนนู้นนนน......... นานมาแล้ว นานมาก อ่ะ ฮา 5555
ใครเคยเล่น " ตู้ม้า หยอดเหรียญ " บ้างอ่ะ ฮา
ไอ้ตู้ที่มีเลข " 1 2 3 4 5 6 7 " หมวกเหลือง หมวกแดง อ่ะ ฮา
พอเขา เปิดตู้ทีนึง คนเปิดคว้า ถุงที่เต็มไปด้วยเหรียญ ออกมาอ่ะ ฮา
ตอนที่เขาเทเหรียญออกจากถุง " วางลง บนโต๊ะ " อ่ะ ฮา
ยายเห็นเขา " งัด " ท่อ พีวีซี ที่ ตัดแต่ ขนาดความสูง อ่ะ ฮา
เขาเอาเหรียญ " กรอก " ลงไปในท่อ ให้เต็ม อ่ะ ฮา
พอถึงระดับที่เขา " ทำตำหนิ " เอาไว้ ครบแล้วอ่ะ ฮา
หลอดนึง ยี่สิบบาท อ่ะ ฮา
55555 ยาย " ชักค่าต๋ง " สามสิบเปอร์เซ็นต์ อ่ะ ฮา 5555

ผมก็เคยนึกวิธีที่ว่านี้ จากการอ่านการ์ตูนสมัยก่อน เรื่องสองพี่น้องหลานเจ้าสัว
คือ มีเจ้าสัว เสื่อผืนหมอนใบมาจากเมืองจีน มาทำมาค้าขายจนร่ำรวย
ก็เรียกลูก ๆ หลาน ๆ มาจากจีน มาเสวยสุขกัน
แต่ก่อนจะเสวยสุข ก็ต้องฝ่าฟันโจทย์ปัญหาที่เจ้าสัวตั้งให้ก่อน
หลานสองคนพี่น้อง มาช่วยงานเจ้าสัวอยู่เมืองไทยชั่วคราว เจ้าสัวให้มีหน้าที่นับเงินเหรียญ
คนพี่ปัญญาดี เอากระบอกไม้ไผ่มาเปิดข้างออก เอาเหรียญลงไปเรียง พอถึงขีดที่มาร์กไว้ก็ได้ครบร้อย...
เทออก ใส่ใหม่เข้าไปจนครบพัน ก็เอาใส่ถุงเป็นหนึ่งถุง นับได้จำนวนมหาศาล วันละเป็นร้อยถุง
คนน้องปัญญากว่า นับไปเถอะ นับเท่าไหร่ก็เป็นเงินของลุง ไม่ใช่ของตัวเอง... ก็เลยนับกับมือทีละเหรียญ
อ้อยอิ่ง.... ได้วันละสิบ ยี่สิบถุง
เจ้าสัว หลังจากสั่งงาน ก็ไม่เคยเข้ามาดู จนวันสุดท้าย คนน้องฉุกคิด....
...ตั้งแต่มาเมืองไทย ไม่เคยได้เที่ยว... นับเงินได้ห้าถุงแล้วก็เลยละมือ ออกไปเที่ยวชมบ้านชมเมือง
คนพี่ก็นับต่อไปตามปรกติ จนมืดค่ำก็นับได้ร้อยยี่สิบถุง
หัวค่ำ เจ้าสัวนั่งกินข้าว ก็ถามหลานทั้งสอง พรุ่งนี้จะขึ้นเรือกลับเมืองจีนแล้ว วันนี้นับเงินได้คนละเท่าไหร่...
....เจ้าสัวบอกว่า ใครนับได้เท่าไหร่ของวันนี้ ให้เอาเงินนั้นติดตัวกลับไปเมืองจีนได้เลย....
..........
ในปัจจุบัน ทำอย่างนั้นคงลำบาก ถ้าเป็นเหรียญสิบคงพอทำได้
แต่เหรียญห้าเหรียญบาทนี่ ไม่ต้องหวังเลย... เพราะความหนาของเหรียญแตกต่างกันในแต่ละปี
เหรียญห้าปีหลัง ๆ นอกจากจะบางกว่าแล้ว ยังดูดด้วยแม่เหล็กติดเสียอีก เพราะมีส่วนผสมของเหล็กเยอะ
เหรียญบาทก็เหมือนกัน ถึงจะดูด้วยตาว่าหนาพอ ๆ กัน แต่พอเอามาเรียงกันสักร้อยเหรียญ กลับมีความสูงต่างกันนิดหน่อย
นิดหน่อยที่ว่านี้ ประมาณ หนึ่ง ถึงสองเหรียญ แค่นั้นก็มากพอที่จะใช้วิธีเรียงเหรีญในการนับไม่ได้แล้ว