เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤษภาคม 06, 2025, 11:47:50 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "ภาษีมรดก" ประกาศราชกิจจา ให้เวลาโอนทรัพย์แก่ทายาท-ยกเลิกให้โดยเสน่หา  (อ่าน 1638 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2015, 02:54:13 PM »

“ภาษีมรดก” เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วมีผลใน 180 วันเปิดโอกาสเศรษฐี–ชนชั้นกลางโอนทรัพย์สินให้ทายาท และผู้สืบสันดานก่อนกฎหมายมีผลบังคับใช้

นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง เปิดเผยว่า พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 และ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ.2558 ว่าด้วยภาษีการรับให้ ในกรณีที่โอนทรัพย์สมบัติก่อนผู้ให้เสียชีวิต ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ววานนี้ (5 ส.ค.58) โดย พ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับนี้ จะมีผลบังคับใช้ในอีก 180 วันหรือ 6 เดือนข้างหน้า นับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีเวลาพอที่จะให้หน่วยงานต่างๆเตรียมการให้พร้อมสำหรับการออกแบบฟอร์ม วิธีการเสียภาษี รวมถึงการทำความเข้าใจกับประชาชน

ทั้งนี้ ภาษีการรับมรดกกำหนดให้ผู้รับต้องจ่ายภาษีในส่วนที่เกินกว่า 100 ล้านบาทในอัตรา 10% แต่ถ้าเป็นการรับมรดกจากบุพการี หรือผู้สืบ สันดาน จะเสียในอัตรา 5% จากส่วนที่เกินกว่า 100 ล้านบาท ส่วน พ.ร.บ.ภาษีการรับให้ ซึ่งจะนำมาใช้แทนการให้ หรือโอนทรัพย์ให้โดยเสน่หา กล่าวคือการให้โดยเสน่หาที่ไม่เคยเสียภาษีจะไม่มีอีกต่อไป หากมีการโอนทรัพย์สมบัติให้ก่อนผู้ให้จะเสียชีวิตนั้น ต่อไปจะเข้าข่ายเป็นภาษีการรับให้ ซึ่งกำหนดภาระภาษีไว้ว่า ถ้าเป็นการรับจากบุพการี ผู้รับต้องจ่ายภาษีในส่วนที่เกินกว่า 20 ล้านบาท ในอัตรา 5% นอกเหนือจากกรณีบุพการีให้ผู้สืบสันดาน ต้องจ่ายภาษีในส่วนที่เกินกว่า 10 ล้านบาทในอัตรา 5%

ด้านนายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวด้วยว่า กรมสรรพากรกำลังเตรียมออกกฎหมายลูกให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ดังกล่าวจำนวน 21 ฉบับ มีทั้งประกาศกรม ประกาศกระทรวง และพระราชกฤษฎีกา ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการยื่นภาษี แบบแสดงรายการภาษี รวมถึงการตั้งทีมขึ้นมาดูแลภาษีมรดกเป็นการเฉพาะ เพราะในการเสียภาษีนั้นจะสามารถยื่นแบบได้ทั่วประเทศ รวมถึงการยื่นภาษีทางอินเตอร์เน็ตได้ด้วย แล้วส่งมาให้สรรพากรส่วนกลางในการประเมินภาษี

เนื่องจากกรมมองว่าคนมีมรดกนั้นน่าจะมีทรัพย์สินกระจายอยู่ทั่วประเทศ ดังนั้นจึงอยากให้ทีมสรรพากรส่วนกลางพิจารณาเรื่องนี้ เพราะต้องประเมินทรัพย์ที่มีอยู่ทั้งหมดรวมกันจึงจะทราบถึงภาระภาษีที่ชัดเจน และการใช้ทีมส่วนกลางในการพิจารณาทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

สำหรับผู้รับมรดกจะต้องยื่นสำแดงภาษีภายใน 150 วันหลังจากที่รับมรดก ส่วนทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีมี 5 ประเภทด้วยกันได้แก่ 1.บ้าน และที่ดิน 2.เงินฝากธนาคาร 3.หุ้นและหุ้นกู้ 4.รถยนต์ และ 5.ทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งข้อนี้เป็นการเปิดโอกาสจัดเก็บภาษีจากทรัพย์อื่นๆ เพราะยังไม่ทราบว่าในอนาคตจะมีทรัพย์สินหรือธุรกรรมทางการเงินใหม่ๆเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง

“ในการเสียภาษีนั้นจะประเมินทรัพย์ทุกประเภท และมูลค่าที่ได้รับรวมกัน แม้จะรับไม่พร้อมกัน ก็ต้องถูกนำมาประเมินรวมกันทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ดิน หุ้น เงินฝากธนาคาร สลากออมสิน รถยนต์ ตราสารการเงินอื่นๆ ซึ่งถ้าไม่เกิน 100 ล้านบาทก็ไม่ต้องเสียภาษี โดยในการประเมินหากเป็นที่ดินจะอ้างอิงราคาจากกรมที่ดิน หากเป็นหุ้นคิดในราคาตลาด ณ วันที่ ได้รับหุ้นมา เพื่อเป็นการลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่”

นายประสงค์กล่าวด้วยว่า การนำภาษีตรงนี้มาใช้ จริงๆก็เพื่อเป็นเชิงสัญลักษณ์ในเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ สรรพากรไม่ได้คาดหวังว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นเท่าใด เม็ดเงินภาษีที่ได้ตรงนี้คิดว่าไม่มาก อาจจะเพียงปีละประมาณ 1,000-2,000 ล้านบาทเท่านั้น ถ้าจะมากจะน้อยกว่านี้คงต้องขึ้นอยู่กับว่าเศรษฐีเสียชีวิตในช่วงปีนั้นๆกี่คน กระนั้นก็ตาม รัฐคาดหวังให้เศรษฐีและผู้มีมากเป็นพลเมืองดีที่ยินดีเสียภาษีให้แก่รัฐโดยความสมัครใจบ้าง เช่น มีสัก 10,000 ล้านบาท จะเสียภาษีให้รัฐสัก 500 ล้านบาท ก็ยังเหลืออีกตั้ง 9,500 ล้านบาท ใช้อย่างไรก็ไม่หมด

สำหรับกฎหมายลูกที่จะต้องดำเนินการให้ทันใน 180 วันก่อน พ.ร.บ.ทั้งสองฉบับมีผลบังคับใช้ได้แก่ พ.ร.ฎ.กำหนดเปลี่ยนแปลงมูลค่ามรดก, ทรัพย์สินทางการเงินที่ต้องเสียภาษี, หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการผ่อนชำระภาษี กฎกระทรวง เช่น กำหนดบุคคลที่ได้รับการยกเว้นภาษีการรับมรดก หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีตรวจสอบติดตาม, กำหนดทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย, ค่ารอนสิทธิ กรณีอสังหาริมทรัพย์, หลักเกณฑ์การคำนวณมูลค่าทรัพย์สินกรณีอื่น, กำหนดเวลา ที่กรมที่ดินต้องแจ้งการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางมรดก, กำหนดแบบแสดงรายการภาษีการรับมรดก และกำหนดวิธีการอายัดทรัพย์สินเพื่อนำมาชำระภาษีอากรค้าง เป็นต้น.

http://www.thairath.co.th/content/516679
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7665
ออฟไลน์

กระทู้: 9988



« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2015, 03:15:37 PM »

ใครมีที่ดินขนาดแปลงละ 50 - 100 วาแถวสีลมด้านในซอยเล็กๆบ้างเช่นหลังซอยศึกษาวิทยาลูกหลานจะกล้ารับไหมนี่
บันทึกการเข้า
bigbang
จงใช้สติก่อนใช้ปืน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1018
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6603


รูปจากเวปผู้จัดการครับ


« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2015, 03:28:26 PM »

แล้วทรัพย์สินอย่างอื่น เช่น พระเครื่อง วัตถุโบราณ อัญมณี ที่มีมูลค่า จะคิดกันอย่างงัยครับ
บันทึกการเข้า

อเสวนา จะ พาลานัง
นายกระจง
Cement For Life.....
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2938
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 31460


ช่างมันเถอะ


« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2015, 03:32:37 PM »

ตกลงเริ่มจากเท่าไหร่กันแน่ครับ ๑๐ ล้าน  ๒๐ ล้าน หรือ ๑๐๐ ล้านบาทครับ ช่วยอธิบายหน่อยครับ


ทั้งนี้ ภาษีการรับมรดกกำหนดให้ผู้รับต้องจ่ายภาษีในส่วนที่เกินกว่า 100 ล้านบาทในอัตรา 10% แต่ถ้าเป็นการรับมรดกจากบุพการี หรือผู้สืบ สันดาน จะเสียในอัตรา 5% จากส่วนที่เกินกว่า 100 ล้านบาท ส่วน พ.ร.บ.ภาษีการรับให้ ซึ่งจะนำมาใช้แทนการให้ หรือโอนทรัพย์ให้โดยเสน่หา กล่าวคือการให้โดยเสน่หาที่ไม่เคยเสียภาษีจะไม่มีอีกต่อไป หากมีการโอนทรัพย์สมบัติให้ก่อนผู้ให้จะเสียชีวิตนั้น ต่อไปจะเข้าข่ายเป็นภาษีการรับให้ ซึ่งกำหนดภาระภาษีไว้ว่า ถ้าเป็นการรับจากบุพการี ผู้รับต้องจ่ายภาษีในส่วนที่เกินกว่า 20 ล้านบาท ในอัตรา 5% นอกเหนือจากกรณีบุพการีให้ผู้สืบสันดาน ต้องจ่ายภาษีในส่วนที่เกินกว่า 10 ล้านบาทในอัตรา 5%
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นคนต้องอดทน ไม่อดทนก็อดตาย
 
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 10195
ออฟไลน์

กระทู้: 47057


M85.ss


« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2015, 03:57:00 PM »

รัฐเร่งหาเงินจัง คิก คิก
บันทึกการเข้า

เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2015, 04:19:01 PM »

ปกติการโอนที่ดิน โดยเสน่หา แก่ลูกหลานไม่เสียภาษีค่าโอน,ธุรกิจเฉพาะใช่มั้ยครับพี่จอย  คราวนี้ให้เปล่าไม่ได้แล้ว
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
BEAMSOUND
Sr. Member
****

คะแนน -462
ออฟไลน์

กระทู้: 988



« ตอบ #6 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2015, 04:32:44 PM »

อย่างเราไม่จำเป็นต้องอ่าน ต้องรู้ ใช้บังคับเราไม่ได้ คิก คิก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 07, 2015, 04:36:25 PM โดย BEAMSOUND - รักในหลวง » บันทึกการเข้า
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 10195
ออฟไลน์

กระทู้: 47057


M85.ss


« ตอบ #7 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2015, 05:03:18 PM »

ปกติการโอนที่ดิน โดยเสน่หา แก่ลูกหลานไม่เสียภาษีค่าโอน,ธุรกิจเฉพาะใช่มั้ยครับพี่จอย  คราวนี้ให้เปล่าไม่ได้แล้ว
อย่างเราไม่จำเป็นต้องอ่าน ต้องรู้ ใช้บังคับเราไม่ได้ คิก คิก
เอาน่าเสี่ยเบิ้มอย่าตื่นเต้นไป อย่างท่าน author=BEAMSOUND ประกาศนี้ใช้กับเราไม่ได้หรอก รวมทรัพย์สินตั้งแต่ปู่ยันทวด ยังไม่ถึงร้อยล้านเลย ขำก๊าก
บันทึกการเข้า

lek
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1594
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 13942


การแบ่งปัน ทำให้เราและคนอื่นมีความสุข


« ตอบ #8 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2015, 05:10:11 PM »

ติดจำนองแบ๊งค์ต้องจ่ายให้
บันทึกการเข้า

มีความสุขแบบที่เรามีก็พอhttp://www.gunsandgames.com/smf/index.php?board=29.0  (รวมพลคนอีสาน)
BEAMSOUND
Sr. Member
****

คะแนน -462
ออฟไลน์

กระทู้: 988



« ตอบ #9 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2015, 05:34:50 PM »

ปกติการโอนที่ดิน โดยเสน่หา แก่ลูกหลานไม่เสียภาษีค่าโอน,ธุรกิจเฉพาะใช่มั้ยครับพี่จอย  คราวนี้ให้เปล่าไม่ได้แล้ว
อย่างเราไม่จำเป็นต้องอ่าน ต้องรู้ ใช้บังคับเราไม่ได้ คิก คิก
เอาน่าเสี่ยเบิ้มอย่าตื่นเต้นไป อย่างท่าน author=BEAMSOUND ประกาศนี้ใช้กับเราไม่ได้หรอก รวมทรัพย์สินตั้งแต่ปู่ยันทวด ยังไม่ถึงร้อยล้านเลย ขำก๊าก
น่าสงสาร พวกที่มีหมื่นล้าน หาที่........กันให้วุ่น เดือดร้อนหนักแน่  ได้แกล้งจนกันมั่งหละ คิก คิก
บันทึกการเข้า
นายกระจง
Cement For Life.....
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2938
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 31460


ช่างมันเถอะ


« ตอบ #10 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2015, 05:38:27 PM »

ปกติการโอนที่ดิน โดยเสน่หา แก่ลูกหลานไม่เสียภาษีค่าโอน,ธุรกิจเฉพาะใช่มั้ยครับพี่จอย  คราวนี้ให้เปล่าไม่ได้แล้ว
อย่างเราไม่จำเป็นต้องอ่าน ต้องรู้ ใช้บังคับเราไม่ได้ คิก คิก
เอาน่าเสี่ยเบิ้มอย่าตื่นเต้นไป อย่างท่าน author=BEAMSOUND ประกาศนี้ใช้กับเราไม่ได้หรอก รวมทรัพย์สินตั้งแต่ปู่ยันทวด ยังไม่ถึงร้อยล้านเลย ขำก๊าก



แล้วสรุปเขาเริ่มคิดที่ร้อยล้านหรือครับ
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นคนต้องอดทน ไม่อดทนก็อดตาย
 
แปจีหล่อ
Hero Member
*****

คะแนน 6324
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8251



« ตอบ #11 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2015, 05:39:27 PM »

แล้วทรัพย์สินอย่างอื่น เช่น พระเครื่อง วัตถุโบราณ อัญมณี ที่มีมูลค่า จะคิดกันอย่างงัยครับ
คงหมดสิทธิ์ได้ครับเพราะของพวกนี้ไม่มีหลักฐานหรือทะเบียนอยากให้ก็แค่ยื่นให้ยกให้ไม่ต้องทำเรื่องโอนอะไร ต่อไปใครไม่อยากเสียภาษีก็สะสมพวกนี้กันเยอะๆครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 07, 2015, 05:41:08 PM โดย แปจีหล่อ » บันทึกการเข้า

สีกากีเป็นสีของดิน ข้าราชการควรต้องติดดิน ออกพื้นที่รับฟังปัญหาของชาวบ้าน ข้าราชการคือ ข้าที่ทำกิจการต่างๆให้กับพระราชา เครื่องแบบข้าราชการสีกากีคือสีแห่งข้ารับใช้แผ่นดิน
Nero Angel01
Hero Member
*****

คะแนน 275
ออฟไลน์

กระทู้: 3048


« ตอบ #12 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2015, 08:09:57 PM »

พระเครื่องนี่จะพิสูจน์ราคากันยากนะครับ แล้วพวกสินค้าคอมโนนิตี้ในตลาดล่วงหน้า จะนับเป็นทรัพย์สินประเภทใหน
บันทึกการเข้า
นายกระจง
Cement For Life.....
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2938
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 31460


ช่างมันเถอะ


« ตอบ #13 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2015, 08:15:58 PM »

ตกลงเริ่มจากเท่าไหร่กันแน่ครับ ๑๐ ล้าน  ๒๐ ล้าน หรือ ๑๐๐ ล้านบาทครับ ช่วยอธิบายหน่อยครับ


ทั้งนี้ ภาษีการรับมรดกกำหนดให้ผู้รับต้องจ่ายภาษีในส่วนที่เกินกว่า 100 ล้านบาทในอัตรา 10% แต่ถ้าเป็นการรับมรดกจากบุพการี หรือผู้สืบ สันดาน จะเสียในอัตรา 5% จากส่วนที่เกินกว่า 100 ล้านบาท ส่วน พ.ร.บ.ภาษีการรับให้ ซึ่งจะนำมาใช้แทนการให้ หรือโอนทรัพย์ให้โดยเสน่หา กล่าวคือการให้โดยเสน่หาที่ไม่เคยเสียภาษีจะไม่มีอีกต่อไป หากมีการโอนทรัพย์สมบัติให้ก่อนผู้ให้จะเสียชีวิตนั้น ต่อไปจะเข้าข่ายเป็นภาษีการรับให้ ซึ่งกำหนดภาระภาษีไว้ว่า ถ้าเป็นการรับจากบุพการี ผู้รับต้องจ่ายภาษีในส่วนที่เกินกว่า 20 ล้านบาท ในอัตรา 5% นอกเหนือจากกรณีบุพการีให้ผู้สืบสันดาน ต้องจ่ายภาษีในส่วนที่เกินกว่า 10 ล้านบาทในอัตรา 5%




กลับไปอ่านอีกทีดีๆเข้าใจแล้วครับ
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นคนต้องอดทน ไม่อดทนก็อดตาย
 
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #14 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2015, 08:28:34 PM »

จะโอนที่ให้เมียน้อยเกิน10ล้าน ต้องเสียภาษีนะครับน้าหนอง ให้โดยเสน่หาไม่ได้  คิก คิก
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.109 วินาที กับ 20 คำสั่ง