เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 6424
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 50462
|
 |
« เมื่อ: กันยายน 10, 2015, 07:50:14 PM » |
|
จากกรณีที่ผู้ประกอบการโรงกลั่นสุราชุมชนทั่วประเทศกว่า 3,900 แห่ง รวมตัวเดินทางไปยื่นหนังสือกับศาลปกครองและหน่วยงานต่างๆ ที่กทม.ให้มีการชะลอการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อขอความเป็นธรรมหลังจากที่โรงงานกลุ่มสุราชุมชนในแต่ละพื้นที่กำลังถูกเพิกถอนใบประกอบการและเริ่มทยอยปิดกิจการ จนส่งผลกระทบให้กับแรงงานในชุมชนที่ต้องตกงานเป็นจำนวนมาก ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น
ความคืบหน้าล่าสุดเมื่อวันที่ 10 ก.ย. ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ตรวจสอบโรงกลั่นสุราชุมชนในพื้นที่ ต.พุดซา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ซึ่งมีโรงกลั่นสุรากว่า 20 แห่ง พบว่า โรงกลั่นส่วนใหญ่ปิดการผลิตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้อุปกรณ์ในการผลิตต่างๆ เช่น ขวดบรรจุสุรา สายพานลำเลียงขวด ลังบรรจุขวด และฉลากยี่ห้อสุรา ถูกกองทิ้งไว้ นอกจากนั้นยังทำให้บรรดาลูกจ้างไม่มีงานทำ ไม่มีเงินใช้จ่ายในครอบครัว บางรายต้องไปหาหยิบยืมเงินจากเพื่อนบ้านหรือไปกู้เงินนอกระบบดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 20 มาใช้จ่ายในครอบครัว
จากการสอบถามนางหมั่น หาญขุนทด อายุ 68 ปี ชาวจ.นครราชสีมา หนึ่งในลูกจ้างโรงกลั่นสุราเปิดเผยว่า ทำงานมากว่า 12 ปี ได้ค่าแรงวันละ 250-300 บาท เงินที่ได้มานั้นจะนำไปใช้จ่ายในครอบครัวและเลี้ยงลูกสาวที่พิการทางสมอง ตอนนี้รู้สึกเสียใจอย่างมากที่โรงกลั่นสุราชุมชนได้ปิดตัวลง ไม่รู้ว่าจะไปหางานที่ไหนทำ อายุก็มากแล้ว ต้องไปกู้เงินนอกระบบมาใช้จ่ายเพื่อให้อยู่รอดไปวันๆ อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือนายกรัฐมนตรีลงมาช่วยเหลือ เพื่อให้โรงกลั่นสุราชุมชนสามารถดำเนินการผลิตต่อไปได้
ด้านน.ส.สมภาร สมพลกรัง อายุ 53 ปี เปิดเผยว่า หลังจากที่ทราบข่าวว่า พรุ่งนี้ (11 ก.ย.) โรงกลั่นที่ตนทำงานมากว่า 11 ปีต้องปิดตัวลง ก็รู้สึกเสียใจและไม่รู้ว่าจะไปทำงานอะไร อยากให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือไม่ให้ปิดโรงกลั่นสุราชุมชนเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างในพื้นที่ และขอให้ศาลปกครองคุ้มครองโรงกลั่นสุราชุมชนเพื่อที่จะให้มีงานทำhttp://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1441881052อะไร ยังไง ? ประเทศนี้ มันต้องผูกขาดให้เจ้าสัวไม่กี่ตระกูลตลอดชาติเลยมั้ย ? ถึงว่า...งเหล้าเบียร์ในประเทศนี้มีไม่กี่ยี่ห้อ แถมผูกขาดมายาวนานชั่วอายุคน รวยจนไม่จะรวยยังไงล้านๆๆๆบาท(เครื่องคิดเลขไม่พอ) คนอื่นหมดสิทธิ์ หมักไม่กี่ไหก็จับ ผลผลิตทางการเกษตรมากมาย ทำได้เป็นพันๆแบบ แต่ระบบผูกขาดห้าม ขำจิงๆ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 10, 2015, 08:41:27 PM โดย เบิ้ม »
|
บันทึกการเข้า
|
"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
|
|
|
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 6424
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 50462
|
 |
« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 10, 2015, 08:10:03 PM » |
|
นับจาก ๖ ตุลาคม ๒๕๔๓ ที่กระทรวงการคลังออกประกาศว่าด้วย "วิธีการบริหารงานสุรา พ.ศ. ๒๕๔๓" ตามมติคณะรัฐมนตรีที่มีนโยบายเห็นชอบ ให้เปิดเสรีการผลิตและจำหน่ายสุรา ผ่านมาจนวันนี้ ความขัดแย้งในเรื่องการผลิตและจำหน่ายสุรา อันเกิดจากการผูกขาดการผลิตและจำหน่ายสุรา ในกลุ่มธุรกิจบางกลุ่ม ซึ่งเป็นกรณียืดเยื้อในสังคมไทยมาเนิ่นนาน ก็ยังคงดำรงอยู่ เช่นเดียวกับคำถามที่ว่า เสรีในการผลิตและจำหน่ายสุรานั้นมีอยู่จริงหรือไม่ ? ย้อนกลับไปดู "วิธีการบริหารงานสุรา" ของกระทรวงการคลัง ในพระราชบัญญัติสุรา ๒๔๙๓ ที่อาจนับเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งในเรื่องการผลิตสุรา พบว่ากฎหมายห้ามมิให้ผู้ใดทำสุรา หรือมีภาชนะเครื่องกลั่นสุราไว้ในครอบครอง ในยุคนั้นโรงงานสุราในประเทศไทย จึงเป็นของรัฐบาลทั้งหมด มาจนถึงปี ๒๕๐๓ กระทรวงการคลังเห็นว่าโรงสุราที่มีอยู่นั้น เก่าแก่ทรุดโทรมมาก และรัฐเองก็มีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ ไม่สามารถดูแลปรับปรุงเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตได้ จึงได้เปิดให้มีการประมูลโรงงาน เพื่อนำไปปรับปรุง รวมทั้งให้เอกชนที่สนใจยื่นขออนุญาตตั้งโรงงานสุราได้ โดยรัฐตั้งเกณฑ์ในการผลิตและจำหน่ายไว้ ส่งผลให้ในช่วงเวลานั้น มีโรงงานสุราขนาดเล็กเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ต่อมารัฐบาลเห็นว่าโรงงานสุราที่มีอยู่นั้นล้าสมัย จึงดำริให้ยกเลิกโรงงานทั้งหมด และปรับเปลี่ยนนโยบาย โดยอนุญาตให้ตั้งโรงงานสุราขนาดใหญ่ ได้เพียง ๑๒ โรงทั่วประเทศ และได้เปิดประมูลแก่เอกชน ที่สนใจจัดสร้างโรงงานผลิตสุราในปี ๒๕๒๖ (ก่อนทำการยกเลิกโรงงานสุราเก่าทั้งหมดในปี ๒๕๒๗) ในการประมูลครั้งนั้น กลุ่มสุราทิพย์ของนายเจริญ สิริวัฒนภัคดีได้รับสัมปทานไปทั้ง ๑๒ โรง ดำเนินการผลิตและจำหน่ายตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ จนกระทั่งสิ้นอายุสัญญาในปี ๒๕๔๒
หลังจากสิ้นอายุสัญญา รัฐบาลได้มีมติเห็นชอบให้เปิดเสรีการผลิตและจำหน่ายสุรา โดยกระทรวงการคลัง กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิขอรับใบอนุญาตทำ และขายส่งสุรา รวมทั้งมาตรฐานโรงงานสุรา ไว้ในประกาศวิธีการบริหารงานสุรา พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยระบุว่า การทำและขายส่งสุรากลั่น (เหล้าขาว วิสกี้ บรั่นดี และยิน) ผู้ขออนุญาตทำและขาย ต้องเป็นบริษัทจำกัด ซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายไทย (ทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท), โรงงานต้องมีกำลังการผลิตขั้นต่ำวันละ ๓ หมื่นลิตร มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ไร่ และตั้งอยู่ห่างจากแม่น้ำลำคลองอย่างน้อย ๒ กิโลเมตร (กรณีทำสุรากลั่นชนิดอื่นร่วมด้วย ต้องเพิ่มกำลังการผลิตขั้นต่ำวันละ ๙ หมื่นลิตร และมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๓๕๐ ไร่), ต้องส่งตัวอย่างสุราให้กรมสรรพสามิตตรวจสอบคุณภาพ และชำระเงินภาษี หรือเงินอื่นใดต่อกรมสรรพสามิต หรือเจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิต ตามอัตราที่กำหนดไว้ การทำและขายส่งสุราแช่ (เบียร์และไวน์ต่าง ๆ) กรณีสุราแช่ชนิดเบียร์ ผู้ขออนุญาตต้องเป็นบริษัทจำกัด มีทุนจดทะเบียนหรือมีเงินค่าหุ้นไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท โรงเบียร์ขนาดใหญ่ต้องมีกำลังการผลิตไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านลิตรต่อปี ขนาดเล็ก ๑ แสนลิตรต่อปี, ถ้าเป็นสุราแช่ชนิดสุราผลไม้ (ไวน์) ต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือเป็นสหกรณ์ ที่เสนอโครงการลงทุนก่อสร้างโรงงานสุรา ส่วนการควบคุมคุณภาพ และการชำระภาษี ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการทำและขาย เช่นเดียวกับสุรากลั่นทุกประการ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงแก้ไขระเบียบวิธีการบริหารงานสุรา ของกระทรวงการคลัง ที่เปิดเสรีการผลิตบนเงื่อนไขต่าง ๆ ดังกล่าว ก็ดูจะยังไม่สามารถตอบคำถามว่าด้วย "เสรีในการผลิตเหล้า" ที่แท้จริง ทั้งยังไม่อาจลดความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านและรัฐ รวมถึงกลุ่มผูกขาดเดิม ที่ดำรงอยู่มาเป็นเวลานานได้ เนื่องจากมีหลายฝ่ายเห็นว่า เงื่อนไขในการขออนุญาตผลิตและจำหน่าย ที่ระบุไว้ในประกาศนั้น เป็นเสมือนการกีดกั้น ไม่ให้การผลิตสุราเป็นไปได้โดยเสรีไม่ต่างไปจากเดิม ด้วยเหตุนี้ การเคลื่อนไหวของกลุ่มเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน และเขตภาคอีสาน รวมทั้งนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง เพื่อกดดันให้ยกเลิกพระราชบัญญัติสุรา ๒๔๙๓ จึงเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อปลายปี ๒๕๔๓ โดยได้ผลักดันให้มีการร่างพระราชบัญญัติเหล้าชุมชน (หรือเหล้าพื้นบ้าน) ขึ้นใช้แทนพระราชบัญญัติสุรา ๒๔๙๓ ซึ่งใช้มาตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรหรือคนทั่วไป สามารถผลิตเหล้าพื้นบ้าน เพื่อบริโภคและจำหน่ายได้โดยเสรี ในเวลาเดียวกันก็ได้มีการคัดค้าน จากกระทรวงการคลังและกรมสรรพสามิต ซึ่งไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องดังกล่าว โดยพยายามชี้ให้เห็นว่าการเปิดเสรีในการผลิตและจำหน่ายสุรานั้น ไม่ได้หมายความว่าใครจะทำก็ได้ แต่ต้องตั้งอยู่บนเงื่อนไขข้อบังคับที่กระทรวงการคลังเห็นว่า เอื้อประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม อาจเป็นเรื่องยากที่จะหาคำตอบบนความขัดแย้ง และข้อเรียกร้องของคนสองฝ่ายที่เห็นต่างกัน แต่หากสามารถนำผลประโยชน์ของส่วนรวมมาเป็นที่ตั้ง คำตอบที่ได้อาจช่วยยุติปัญหาเรื้อรังอันเนื่องมาจากสุรา ที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยมานานกว่าครึ่งศตวรรษได้ http://www.sarakadee.com/feature/2001/07/vote.shtml
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 10, 2015, 08:40:49 PM โดย เบิ้ม »
|
บันทึกการเข้า
|
"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
|
|
|
รพินทรนาถ -รักในหลวงและสยามประเทศ
รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย คือสมบัติของผู้มีอารยธรรม
Hero Member
   
คะแนน 239
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 1115
|
 |
« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 10, 2015, 08:31:26 PM » |
|
คนเขียนกฎหมายมาจากชนชั้นใด ก็ย่อมออกกฎหมายมาเพื่อชนชั้นนั้นๆ ครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
...การที่เราทะนุถนอมคนที่เรารัก มันเป็นเรื่องปกติ แต่การถนอมหัวใจคนที่เราไม่ได้รัก ใครจะทำได้สักกี่คน...
คิดถึงทุกปี-บินหลา สันกาลาคีรี
|
|
|
p23-504 รักในหลวง
Sr. Member
  
คะแนน 82
ออฟไลน์
กระทู้: 545
|
 |
« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 10, 2015, 08:45:46 PM » |
|
คนเขียนกฎหมายมาจากชนชั้นใด ก็ย่อมออกกฎหมายมาเพื่อชนชั้นนั้นๆ ครับ   กลุ่มทุนที่ผูกขาดในเรื่องนี้ต้องอัดฉีดเต็มที่เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องคัดค้านการเปิดเสรีเพื่อผลประโยชน์ของพวกตน 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 10195
ออฟไลน์
กระทู้: 47057
M85.ss
|
 |
« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 10, 2015, 08:46:27 PM » |
|
นึกถึงสมัยก่อนตอนขึ้นมาอยู่กรุงเทพใหม่ๆ ช่วยงานบุญบ้านแฟนซึ่งเป็นคนกรุงเทพดั้งเดิม ในงานไม่ง้อเหล้าโรง เค้าช่วยกันทำน้ำขาวมากินกันในงาน ลดค่าใช้จ่ายไปเยอะ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ค..ควาย...ใส่ชฎา
Hero Member
   
คะแนน -15856
ออฟไลน์
กระทู้: 13569
No justice No peace
|
 |
« ตอบ #5 เมื่อ: กันยายน 10, 2015, 08:54:34 PM » |
|
555 เรื่อง " เหล้าขาว " ยายมองว่า เรื่องใหญ่ เกี่ยวพันกับรากหญ้าอ่ะ
อยากจะเห็นมุมมอง คนที่เคยบอก ทำเพื่อส่วนรวม สาธารณะ อ่ะ
อยากเห็นคนที่ชอบพูดว่า " ความถูกต้อง ยุติธรรม " ต้องมีในสังคมไทยอ่ะ
555 ยายอยากเห็น " ไบเบิ้ล " กลุ่มแอนตี้แม้ว อ่ะ 555
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
หัว...ฆรวย
หัวโขนมิวางออก เจ้าหลงครอบไปทุกที่ อ่าองค์ว่าโสภี นฤดีปริ่มเปรมใจ ลืมไปว่าที่ครอบ ต้องวางออกนหทัย สวมครอบตัวตนไว้ ก็แค่ควายใส่ชฎา
|
|
|
ค..ควาย...ใส่ชฎา
Hero Member
   
คะแนน -15856
ออฟไลน์
กระทู้: 13569
No justice No peace
|
 |
« ตอบ #6 เมื่อ: กันยายน 10, 2015, 09:06:35 PM » |
|
55555 คุยเรื่อง " สุราชุมชน " เล่นจอเล็ก เขียนลำบาก อ่ะ ฮา 5555  ไอ้ " เหล้าขาว เหล้าโรง หรือ ยี่สิบแปดดีกรี " มันเป็นตัวเดียวกัน นั่นแหละ อ่ะ ฮา แต่ทำมัยมัน เรียก " หลายชื่อ " ยายก็ไม่รู้ หรอก อ่ะ ฮา เมื่อก่อน บริษัทที่ผูกขาดคือ " สุรามหาราษฎร์ คนทำแม่โขง " นั่นแหละ อ่ะ ฮา พอหลุดมือ ไหลเข้าโกล " เสี่ย เจริญ " เจ้าพ่อหงษ์ทอง คนที่ใช้นโยบาย ป่าล้อมเมือง อ่ะ ฮา 555555 เหล้าขาว มูลค่า หลาย " หมื่นล้าน / ปี " สะเทือน อ่ะ ฮา 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
หัว...ฆรวย
หัวโขนมิวางออก เจ้าหลงครอบไปทุกที่ อ่าองค์ว่าโสภี นฤดีปริ่มเปรมใจ ลืมไปว่าที่ครอบ ต้องวางออกนหทัย สวมครอบตัวตนไว้ ก็แค่ควายใส่ชฎา
|
|
|
แสนสุข
Hero Member
   
คะแนน 171
ออฟไลน์
กระทู้: 1291
|
 |
« ตอบ #7 เมื่อ: กันยายน 11, 2015, 09:25:51 AM » |
|
คนเขียนกฎหมายมาจากชนชั้นใด ก็ย่อมออกกฎหมายมาเพื่อชนชั้นนั้นๆ ครับ  อมตะวาจา 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
แปจีหล่อ
Hero Member
   
คะแนน 6324
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 8251
|
 |
« ตอบ #8 เมื่อ: กันยายน 11, 2015, 09:34:27 AM » |
|
ใครสั่งปิด ปิดทำไมยังไงครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สีกากีเป็นสีของดิน ข้าราชการควรต้องติดดิน ออกพื้นที่รับฟังปัญหาของชาวบ้าน ข้าราชการคือ ข้าที่ทำกิจการต่างๆให้กับพระราชา เครื่องแบบข้าราชการสีกากีคือสีแห่งข้ารับใช้แผ่นดิน
|
|
|
srimalai_รักในหลวง
คนธรรมดา
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 183
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 3381
|
 |
« ตอบ #9 เมื่อ: กันยายน 11, 2015, 01:16:14 PM » |
|
ผมเห็นด้วยกับการปิดโรงกลั่นสุราชุมชน มันไม่ควรมีมาแต่แรกแล้ว ผลเสียคือ เยาวชนสามารถเข้าถึงเหล้าได้ง่าย เพราะราคาถูก ขายให้ทุกคนที่มีเงินซื้อ ไม่มีการควบคุมคุณภาพ อีกหน่อยไทยจะได้ที่หนึ่งของโลกในเรื่องการบริโภคสุรา ผลตามมาคงไม้ตองพูดถึง อุบัติเหตุ อาชญากรรม ปัญหาสังคม สุขภาพ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนก็แคลนคลาย เจ็บจนตายนั้นเหน็บให้เจ็บใจ เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ
|
|
|
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 7665
ออฟไลน์
กระทู้: 9988
|
 |
« ตอบ #10 เมื่อ: กันยายน 11, 2015, 02:26:39 PM » |
|
นับจาก ๖ ตุลาคม ๒๕๔๓ ที่กระทรวงการคลังออกประกาศว่าด้วย "วิธีการบริหารงานสุรา พ.ศ. ๒๕๔๓" ตามมติคณะรัฐมนตรีที่มีนโยบายเห็นชอบ ให้เปิดเสรีการผลิตและจำหน่ายสุรา ผ่านมาจนวันนี้ ความขัดแย้งในเรื่องการผลิตและจำหน่ายสุรา อันเกิดจากการผูกขาดการผลิตและจำหน่ายสุรา ในกลุ่มธุรกิจบางกลุ่ม ซึ่งเป็นกรณียืดเยื้อในสังคมไทยมาเนิ่นนาน ก็ยังคงดำรงอยู่ เช่นเดียวกับคำถามที่ว่า เสรีในการผลิตและจำหน่ายสุรานั้นมีอยู่จริงหรือไม่ ? ย้อนกลับไปดู "วิธีการบริหารงานสุรา" ของกระทรวงการคลัง ในพระราชบัญญัติสุรา ๒๔๙๓ ที่อาจนับเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งในเรื่องการผลิตสุรา พบว่ากฎหมายห้ามมิให้ผู้ใดทำสุรา หรือมีภาชนะเครื่องกลั่นสุราไว้ในครอบครอง ในยุคนั้นโรงงานสุราในประเทศไทย จึงเป็นของรัฐบาลทั้งหมด มาจนถึงปี ๒๕๐๓ กระทรวงการคลังเห็นว่าโรงสุราที่มีอยู่นั้น เก่าแก่ทรุดโทรมมาก และรัฐเองก็มีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ ไม่สามารถดูแลปรับปรุงเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตได้ จึงได้เปิดให้มีการประมูลโรงงาน เพื่อนำไปปรับปรุง รวมทั้งให้เอกชนที่สนใจยื่นขออนุญาตตั้งโรงงานสุราได้ โดยรัฐตั้งเกณฑ์ในการผลิตและจำหน่ายไว้ ส่งผลให้ในช่วงเวลานั้น มีโรงงานสุราขนาดเล็กเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ต่อมารัฐบาลเห็นว่าโรงงานสุราที่มีอยู่นั้นล้าสมัย จึงดำริให้ยกเลิกโรงงานทั้งหมด และปรับเปลี่ยนนโยบาย โดยอนุญาตให้ตั้งโรงงานสุราขนาดใหญ่ ได้เพียง ๑๒ โรงทั่วประเทศ และได้เปิดประมูลแก่เอกชน ที่สนใจจัดสร้างโรงงานผลิตสุราในปี ๒๕๒๖ (ก่อนทำการยกเลิกโรงงานสุราเก่าทั้งหมดในปี ๒๕๒๗) ในการประมูลครั้งนั้น กลุ่มสุราทิพย์ของนายเจริญ สิริวัฒนภัคดีได้รับสัมปทานไปทั้ง ๑๒ โรง ดำเนินการผลิตและจำหน่ายตั้งแต่ปี ๒๕๒๘ จนกระทั่งสิ้นอายุสัญญาในปี ๒๕๔๒
หลังจากสิ้นอายุสัญญา รัฐบาลได้มีมติเห็นชอบให้เปิดเสรีการผลิตและจำหน่ายสุรา โดยกระทรวงการคลัง กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิขอรับใบอนุญาตทำ และขายส่งสุรา รวมทั้งมาตรฐานโรงงานสุรา ไว้ในประกาศวิธีการบริหารงานสุรา พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยระบุว่า การทำและขายส่งสุรากลั่น (เหล้าขาว วิสกี้ บรั่นดี และยิน) ผู้ขออนุญาตทำและขาย ต้องเป็นบริษัทจำกัด ซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายไทย (ทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท), โรงงานต้องมีกำลังการผลิตขั้นต่ำวันละ ๓ หมื่นลิตร มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ไร่ และตั้งอยู่ห่างจากแม่น้ำลำคลองอย่างน้อย ๒ กิโลเมตร (กรณีทำสุรากลั่นชนิดอื่นร่วมด้วย ต้องเพิ่มกำลังการผลิตขั้นต่ำวันละ ๙ หมื่นลิตร และมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๓๕๐ ไร่), ต้องส่งตัวอย่างสุราให้กรมสรรพสามิตตรวจสอบคุณภาพ และชำระเงินภาษี หรือเงินอื่นใดต่อกรมสรรพสามิต หรือเจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิต ตามอัตราที่กำหนดไว้ การทำและขายส่งสุราแช่ (เบียร์และไวน์ต่าง ๆ) กรณีสุราแช่ชนิดเบียร์ ผู้ขออนุญาตต้องเป็นบริษัทจำกัด มีทุนจดทะเบียนหรือมีเงินค่าหุ้นไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท โรงเบียร์ขนาดใหญ่ต้องมีกำลังการผลิตไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านลิตรต่อปี ขนาดเล็ก ๑ แสนลิตรต่อปี, ถ้าเป็นสุราแช่ชนิดสุราผลไม้ (ไวน์) ต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือเป็นสหกรณ์ ที่เสนอโครงการลงทุนก่อสร้างโรงงานสุรา ส่วนการควบคุมคุณภาพ และการชำระภาษี ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการทำและขาย เช่นเดียวกับสุรากลั่นทุกประการ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงแก้ไขระเบียบวิธีการบริหารงานสุรา ของกระทรวงการคลัง ที่เปิดเสรีการผลิตบนเงื่อนไขต่าง ๆ ดังกล่าว ก็ดูจะยังไม่สามารถตอบคำถามว่าด้วย "เสรีในการผลิตเหล้า" ที่แท้จริง ทั้งยังไม่อาจลดความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านและรัฐ รวมถึงกลุ่มผูกขาดเดิม ที่ดำรงอยู่มาเป็นเวลานานได้ เนื่องจากมีหลายฝ่ายเห็นว่า เงื่อนไขในการขออนุญาตผลิตและจำหน่าย ที่ระบุไว้ในประกาศนั้น เป็นเสมือนการกีดกั้น ไม่ให้การผลิตสุราเป็นไปได้โดยเสรีไม่ต่างไปจากเดิม ด้วยเหตุนี้ การเคลื่อนไหวของกลุ่มเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน และเขตภาคอีสาน รวมทั้งนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง เพื่อกดดันให้ยกเลิกพระราชบัญญัติสุรา ๒๔๙๓ จึงเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อปลายปี ๒๕๔๓ โดยได้ผลักดันให้มีการร่างพระราชบัญญัติเหล้าชุมชน (หรือเหล้าพื้นบ้าน) ขึ้นใช้แทนพระราชบัญญัติสุรา ๒๔๙๓ ซึ่งใช้มาตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรหรือคนทั่วไป สามารถผลิตเหล้าพื้นบ้าน เพื่อบริโภคและจำหน่ายได้โดยเสรี ในเวลาเดียวกันก็ได้มีการคัดค้าน จากกระทรวงการคลังและกรมสรรพสามิต ซึ่งไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องดังกล่าว โดยพยายามชี้ให้เห็นว่าการเปิดเสรีในการผลิตและจำหน่ายสุรานั้น ไม่ได้หมายความว่าใครจะทำก็ได้ แต่ต้องตั้งอยู่บนเงื่อนไขข้อบังคับที่กระทรวงการคลังเห็นว่า เอื้อประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม อาจเป็นเรื่องยากที่จะหาคำตอบบนความขัดแย้ง และข้อเรียกร้องของคนสองฝ่ายที่เห็นต่างกัน แต่หากสามารถนำผลประโยชน์ของส่วนรวมมาเป็นที่ตั้ง คำตอบที่ได้อาจช่วยยุติปัญหาเรื้อรังอันเนื่องมาจากสุรา ที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยมานานกว่าครึ่งศตวรรษได้ http://www.sarakadee.com/feature/2001/07/vote.shtml ยื่นฟ้องศาลได้ไหม กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นายกระจง
Cement For Life.....
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 2938
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 31460
ช่างมันเถอะ
|
 |
« ตอบ #11 เมื่อ: กันยายน 11, 2015, 03:13:40 PM » |
|
ปิดโรงงานให้หมดทั้งเล็ก ใหญ่ กลาง ไม่ใช่ปิดเฉพาะโรงกลั่นชุมชน แล้วให้ประชาชนต้มกินกันเองครับ บ้านเราเป็นเมืองพุทธไม่ควรนำเงินภาษีบาปมาพัฒนาประเทศครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
เกิดเป็นคนต้องอดทน ไม่อดทนก็อดตาย
|
|
|
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 7665
ออฟไลน์
กระทู้: 9988
|
 |
« ตอบ #12 เมื่อ: กันยายน 11, 2015, 03:25:32 PM » |
|
นำเข้าก็แล้วกันเดี๋ยวนี้ของนำเข้าไม่แพงมากพลเมืองรับราคาได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|