รง.ผลิตยางระดับโลก จ่อไม่รับซื้อยางอีสาน หลังพบใช้ "กรดซัลฟิวริก"
(11 ก.ย.58) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัทผลิตยางรถจากต่างประเทศมีท่าทียกเลิกการสั่งซื้อยางพาราก้อนถ้วยจาก
ภาคอีสานของไทย หลังพบว่า คุณภาพยางตกต่ำลง จากการใช้กรดซัลฟิวริกหรือกรดกำมะถัน โดยพบปริมาณของ
ซัลเฟตในยางที่สูง จนได้กลายเป็นปัญหาใหม่ที่กระทบกระเทือนต่ออุตสาหกรรมยางในภาคอีสาน นอกจากการใช้
กรดดังกล่าวในกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งได้ก่อมลพิษต่อสุขภาพของแรงงานตามสวนยางและที่รับซื้อ รวมถึง
ปัญหาน้ำยางเหม็นไหลลงตามถนน จนสร้างความเดือดร้อนต่อผู้ใช้รถใช้ถนนและชุมชนทางผ่าน
ปัญหาคุณภาพยางตกต่ำลงนี้ สืบเนื่องจากเมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทางสมาคมยาพาราไทยได้มีหนังสือ
ถึงอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ให้แก้ไขปัญหาคุณภาพยางก้อนถ้วย 3 ประเด็น หนึ่งในนั้นคือ การใช้กรดซัลฟิวริกให้
ยางจับตัว ซึ่งเป็นวัตถุดิบผลิตยางแท่ง ส่งผลต่อคุณภาพยางลดลง
ขณะที่ บ.อี คิว รับเบอร์ จก. ผู้ส่งออกยางแท่ง ได้มีหนังสือถึงสมาคมฯ ว่าได้รับแจ้งจากผู้ผลิตยางล้อรายใหญ่ของ
โลก พบปัญหาในการผลิตยางล้อ จากยางก้อนถ้วยในภาคอีสาน โดยพบว่ามีระดับของซัลเฟตสูงจึงตัดสินใจจะ
ไม่รับซื้อยางแท่งที่ผลิตจากยางก้อนถ้วยในภาคอีสาน จนกว่าได้รับการแก้ไข (จากเอกสาร)
นายพยุงศักดิ์ อภิรัตนกุล ผอ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) อุดรธานี เปิดเผยว่า สกย.ส่งเสริมชาวสวนใช้
กรดฟอร์มิค เพราะเป็นกรดอินทรีย์สลายตัวเอง จะทำให้คุณภาพยางดีไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม กลับพบว่า
มีกลุ่มผู้ประกอบการค้าบางรายผลิตกรดซัลฟิวริกซึ่งเป็นกรดกำมะถัน ผสมน้ำแล้วบรรจุขวดขาย ในราคาต่ำกว่า
ประมาณเท่าตัว ซึ่งชาวยางนิยมใช้กันมาก เพราะราคาถูกกว่า ล่าสุดยังพบว่ามีการใช้ กรดสู้ฝน หรือเกลือแคลเซียม
ซึ่งเป็นกรด 2 ชนิดหลังที่ทำให้คุณภาพยางลดลงจริง
นายพยุงศักดิ์ยังกล่าวว่า สกย.ทำได้เพียงการส่งเสริม และรณรงค์ให้ชาวสวนยาง ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องคุณภาพ
แต่หากจะให้ สกย.ไปบังคับคงทำไม่ได้ ซึ่งก็ต้องรณรงค์มากขึ้น ถ้าจะให้มีการบังคับห้ามใช้ กรมวิชาการเกษตรสามารถ
ออกประกาศ เมื่อเห็นว่าสารเคมีใด หรือสารสังเคราะห์ใด ส่งผลกระทบต่อคุณภาพยาง หรืออื่นๆ ก็ออกประกาศเป็น
สารต้องห้ามไม่ให้นำมาใช้กับยางพารา
ด้านนายธนวรรธน์ เลิศสุคนธ์ อุตสาหกรรม จ.อุดรธานี เปิดเผยว่า เมื่อช่วงปีเศษที่ผ่านมา จ.อุดรธานี ได้รณรงค์ให้ชาว
สวนยางเลิกใช้ กรดซัลฟิวริก เพราะทำให้ยางมีกลิ่นเหม็น ถนนลื่นเกิดอุบัติเหตุ และโรงงานแก้กลิ่นเหม็นไม่ได้ แต่
กลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ล่าสุดมีข้อทักท้วงของผู้รับซื้อ และมีข่าวว่าจะไม่รับซื้อยางอีสาน เมื่อเดือนที่แล้ว
รมว.อุตสาหกรรมคนก่อนจึงต้องเดินทางมาดูข้อเท็จจริง และเห็นควรให้กระทรวงอุตสาหกรรมออกมาตรการมาแก้ไข
โดยด่วน ทั้งนี้ ขณะที่กำลังรออยู่ จะมีการส่งเสริมให้คู่ค้าหรือชาวสวนยาง หันมาใช้กรดฟอร์มิค หรือกรดอินทรีย์อื่นแทน
ด้วยการจัดหากรดให้ และแยกกลุ่มรับซื้อออกมาต่างหาก และแจ้งให้ผู้ประกอบการจำหน่ายกรดซัลฟิวริกว่าให้ยุติ
การผลิตและจำหน่าย หากฝ่าฝืนจะมีความผิดฐานผลิตกรดออกมาโดยไม่ได้รับอนุญาต
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้เดินทางสำรวจตามร้านจำหน่ายสินค้าอุปกรณ์การเกษตร ในเขต ทต.บ้านผือ อ.บ้านผือ อุดรธานี
พบว่าจะมีกรดซัลฟิวริก จำหน่ายทั้งปลีกและส่ง ในรูปแบบบรรจุขวดกว่า 5 ยี่ห้อ แต่ไม่ระบุว่าเป็นกรดซัลฟิวริก มีเพียง
ฉลากบอกสรรพคุณ มีทั้งน้ำที่เป็นสีขาวใส น้ำสีเหลืองใส โดยแบบขวดเล็กขายเป็นแพ็คแพ็คละ 6 ขวด ขวดละ 70 บาท
และขวดแก้วบรรจุลังแบบเข้มข้น ขณะที่ กรดฟอร์มิค บรรจุในแกลลอนสีน้ำเงิน มีหลายยี่ห้อเช่นกันราคา 270 บาท
ซึ่งผู้ค้าระบุว่ากรดซัลฟิวริกบรรจุขวด ขายเป็นแพ็คได้รับความนิยมมากกว่า เพราะราคาถูกและสะดวกในการใช้งาน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1441963781ทีนี้ล่ะ จะทำยังไง
