ในวันที่ 11 เมษายนนี้ กรมการค้าต่างประเทศจะจัดประชุมรับฟังความเห็นทุกภาคส่วนเกี่ยวกับการยกร่าง "พ.ร.บ.การค้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. ..." เพื่อให้ประเทศไทยมีกฎหมายกำกับดูแลสินค้าที่เกี่ยวข้องกับอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงได้ครบถ้วนตามหลักสากล สอดคล้องกับมติคณะความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่ 1540 ซึ่งออกมาป้องกันการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (Weapons of Mass Destruc-tion : WMD) ภายหลังจากทั่วโลกประสบปัญหาเหตุการณ์ก่อการร้ายรุนแรงคร่าชีวิตและทำลายทรัพย์สินไปเป็นมูลค่ามหาศาล ทำให้ประเทศต่าง ๆ
ทั้งสหรัฐ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ประเทศในอาเซียนอย่างสิงคโปร์ และมาเลเซีย ต่างมีกฎหมายและวางระบบการบริหารการค้าสินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Trade Management of Dual Use Item TMD) ไปแล้ว
ทั้งนี้คาดว่าจะสรุปเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ หากไทยสามารถยกร่างสำเร็จจะเป็นประเทศที่ 3 ในอาเซียน ซึ่งจะช่วยสร้างภาพลักษณ์และบรรยากาศที่ดีในการลงทุนในอนาคต
กฎหมายฉบับนี้ ประกอบด้วย 5 หมวด 49 มาตรา โดยได้วางระบบการดูแลการส่งออก การนำเข้า การถ่ายลำ การผ่านแดน และการเป็นคนกลางในการซื้อขายอำนวยความสะดวก สนับสนุนทางการเงิน เพื่อการค้าสินค้าที่่เป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง, สินค้าที่ใช้ได้สองทาง หรือเข้าข่ายเป็นสินค้าที่ใช้ได้สองทางรวมกว่า 1,692 รายการ
โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีออกประกาศจัดกลุ่มบัญชีสินค้า เป็น 3 บัญชี เพื่อ
แบ่งแยกว่าสินค้าประเภทใดที่ต้องขออนุญาต สินค้าที่ต้องรับรองว่าไม่เป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง หรือมาตรการอื่นในการควบคุม
ทั้งนี้ การบังคับใช้กฎหมายนี้กำหนดให้มีการจัดตั้ง "คณะกรรมการการค้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง" หรือ กอทส. ซึ่งมีรัฐมตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเป็นกรรมการและเลขานุการ พร้อมด้วยกรรมการจากหน่วยงานต่าง ๆ อีก 13 แห่ง มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนด แก้ไขนโยบาย มาตรการ และแนวทางเกี่ยวกับการแพร่ขยายอาวุธฯ
ทั้งสหรัฐ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ประเทศในอาเซียนอย่างสิงคโปร์ และมาเลเซีย ต่างมีกฎหมายและวางระบบการบริหารการค้าสินค้าที่ใช้ได้สองทาง (Trade Management of Dual Use Item TMD) ไปแล้ว
ทั้งนี้คาดว่าจะสรุปเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ หากไทยสามารถยกร่างสำเร็จจะเป็นประเทศที่ 3 ในอาเซียน ซึ่งจะช่วยสร้างภาพลักษณ์และบรรยากาศที่ดีในการลงทุนในอนาคต
กฎหมายฉบับนี้ ประกอบด้วย 5 หมวด 49 มาตรา โดยได้วางระบบการดูแลการส่งออก การนำเข้า การถ่ายลำ การผ่านแดน และการเป็นคนกลางในการซื้อขายอำนวยความสะดวก สนับสนุนทางการเงิน เพื่อการค้าสินค้าที่่เป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง, สินค้าที่ใช้ได้สองทาง หรือเข้าข่ายเป็นสินค้าที่ใช้ได้สองทางรวมกว่า 1,692 รายการ
โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีออกประกาศจัดกลุ่มบัญชีสินค้า เป็น 3 บัญชี เพื่อ
แบ่งแยกว่าสินค้าประเภทใดที่ต้องขออนุญาต สินค้าที่ต้องรับรองว่าไม่เป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง หรือมาตรการอื่นในการควบคุม
ทั้งนี้ กฎหมายให้อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แต่งตั้ง สามารถเข้าไปในเคหสถาน หรือสถานประกอบการ ค้นบุคคลหรือยานพาหนะ เรียกเอกสารเรียกบุคคลมาให้ข้อมูล ตรวจสอบเส้นทางการเงิน รวมถึงอายัดทรัพย์สิน เป็นต้น ส่วนบทกำหนดโทษต่อการฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ไม่เกิน 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ไม่เกิน 2,000 บาทขึ้นไปถึงไม่เกิน 30 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังกำหนดให้สินบนนำจับ 30% และเงินรางวัลแก่ผู้จับอีก 20% ของมูลค่าสุทธิค่าขายของกลาง
ประเด็นที่น่าจับตามอง คือ กฎหมายกำหนดโทษสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิตในกรณีที่มีการกระทำเพื่อนำสินค้ากลุ่มนี้ไปใช้ก่ออันตรายต่อผู้อื่น ซึ่งเป็นการเทียบเคียงมาจากกฎหมายมาเลเซีย อ้างอิง
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1460264201 ผมสงสัยว่าอาวุธสงคราม หรืออาวุธปืนประเภทที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ เช่น เอ็ม 16 อาก้า เอ็ม 79 อาร์พีจี ระเบิดแสวงเครื่อง หรือวัตถุระเบิดต่างๆ อยู่ในคำจำกัดความของคำว่าอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงไหม ......... เขามองที่ขนาดกระสุน หรือมองที่ชนิดของอาวุธครับ