กะว่าจะไม่ตอบแล้วเชียวนะครับ......แต่งานท่านอดีตนายกคงตอบได้ว่านี้ไม่เกี่ยวจริง ๆ ........แค่ใช้คนไกล้ชิดไปกว้านซื้อหุ้น รพ.เอกชนเอามาเป็นของตนเอง........คนไกล้ชิดครับ.....คนไกล้ชิด ไม่ใช้ท่านอดีตนายกซะหน่อยที่ไปกว้านซื้อ รพ.เอกชน...................ก็คนไกล้ชิดท่านมีวิสัยทัศว่าอนาคต รพ.ของรัฐที่มีทั้ง 30 บาท มีทั้ง ประกันสังคม บุคลากรทางการแพทย์คงมีงานล้นมือและงบประมาณที่จำกัด อันเกิดจากกับดัก 30 บาท คนที่พอมีกำลังทรัพย์คงหนีไปรักษา รพ.เอกชนมากขึ้น........โอกาศทางธุรกิจทำเงินได้หาก ไม่ขายหุ้นให้ ก็กลั่นแกล้งต่าง ๆ นา ๆ .............

ปล.ผมเคยโดนคุณ จนท.รพ.โวยวายว่าทำมัยไม่ทำบัตรทอง(สมัยยังเบิกค่ารักษาพยาบาลไม่ได้) เลยสวนกลับไปว่า "พอใจจะเสียตังให้ รพ.มากกว่า 30 บาท"

คุณ Zeus คิดมากไปหรือเปล่า?? ถึงไม่มีนโยบาย 30 บาทในสมัยทักษิณ งานก็ล้นมือบุคลากรทางการแพทย์อยู่แล้ว เหตุเพราะ
1. ขาดแคลนบุคคลากรทางการแพทย์ (โดยเฉพาะในที่ห่างใกลตัวเมือง)
2. ความไม่เท่าเทียมในด้านการรับบริการ คุณคิดว่าระหว่างชนบท กับในเมือง ใครมีทางเลือกที่จะได้รับบริการ
ด้านสาธารณสุบมากกว่ากัน
3. นโยบายรัฐที่ผ่านมาเน้นซ่อมสุขภาพมากกว่าการสร้างเสริมป้องกันสุขภาพ ทำให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วย
มากขึ้น เช่น การดืมสุรา การสูบบุหรี สิ่งเหล่านี้ประชาชนรู้ว่าเสียงต่อการเจ็บป่วยและป้องกันได้แต่ไม่เลิกพฤติกรรมเสียง
จนเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา ก็ต้องพึ่งให้แพทย์ พยาบาล และจนท.สาธารณสุข ซึ่งมีน้อยและงานมากอยู่แล้ว load งานมากขึ้นไปอีก
ไม่คิดมากหรอกครับ.....เป็นความบังเอิญครับที่ไปรู้มา ผมมันพวกจอมสาระแน เที่ยวแอบไปรู้จักชาวบ้านชาวช่องไว้แยะ เลยรู้ข้อมูลตรงนี้.....สำหรับคำถามผมไม่เถียงครับ
1.เราขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์มานานแสนนานแล้วครับ แต่ที่เกิดขึ้นหลังจากนโยบาย 30 บาทคือสิ่งที่เขาเรียกว่าสมองไหลครับ
2.ไช้ครับ เพราะเราแบ่งวิธีการรักษาคือจากอนามัย ไล่ไป รพ.ประจำอำเภอ ไล่ไป รพ.ประจำจังหวัด แล้วก็ รพ.ศูนย์ หรือ หน่วยแพทย์ที่มีความเชียวชาญเฉพาะด้าน อาทิศูนย์มะเร็ง เป็นต้น จะให้อนามัยมีแพทย์ที่จบมาโดยตรงด้านผ่าตัดสมองเชี่ยวชาญด้านรังสีวิทยาก็ใช้เหตุเพราะเหตุผลตามข้อ 1 ครับ
3.ผมขอแย้ง................ระดับนโยบาย จำไม่ค่อยได้ครับว่าสมัยก่อนกับสมัย30 บาทนี่ต่างกันยังไง จำได้แต่ว่า เรามีพวก อสม.(อาสาสมัคสาธารณสุข)มีการรณรงค์ในเรื่องต่าง ๆ อยู่เสมอแต่ไม่ได้ผลาญงบประมาณแบบ วันดีคืนดีก็นัดเกณคนมาใส่เสื้อเหลื่องแล้วเต้น ๆ ๆ เจอมากับตัวตอนประชุมเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ นี่ผู้นำเต้นทุกเกือบท่านไม่สามารถตอบได้ว่า ได้ท่าที่คุณนำเขาเต้นนะรู้หรือไม่ว่ามันมีความเกี่ยวพันธ์กับกล้ามเนื้อส่วนไหนมั่ง และก็ไม่รู้จักการวอร์มอัพ วอร์มดาว ไม่มีความเหมาะสมในการเสริมสุขภาพเลยซักนิด (คนที่ว่าเรื่องนี้คือ ดร.ท่านหนึ่งที่ต่างประเทศยอมรับในความสามารถของท่านในการจัดการออกกำลังกาย).....

วกกลับไปที่ปัญหาตามข้อ 2 ปัญหาในสมัยก่อนนั้นหากเจ็บมากก็จะส่งตัวไล่ไปตามลำดับ หากไม่มีเงินก็เป็นพวกคนไข้อนาถารักษาฟรี พวกพอมีเงินแต่เบิกไม่ได้ก็จะถูกเรียกเก็บเงินตามปรกติ ส่วนไอ้พวกเบิกได้(แบบผมตอนเด็ก ๆ)ก็จะโดนขอชาร์ทค่ารักษานิดหน่อย(เพื่อเอาเงินส่วนต่างไปใช้กับคนไข้อนาถา).....งบประมาณที่ลงมาเพียงพอที่อย่างน้อย ๆ ก็สามารถรักษาให้อาการทรงตัว(ยาตาม รพ.เล็ก ๆ จะไม่ครบเหมื่อน รพ.ประจำจังหวัด รพ.ศูนย์)...........แต่ปัญหาที่พบในปัจจุบันคือ ยาไม่เพียงพอครับ เหตุผลคือ งบให้ตามคนที่มาขึ้นทะเบียนบัตรทอง....อะไรตามมาครับหน่วยงานพวกอนามัย รพ.ต้องเร่งออกสำรวจ เกณคนทำบัตรให้ได้มาก ๆ เพื่องบประมาณ แต่สุดท้ายก็หนีไม่พ้นกับดักคือ เมื่อเขามีบัตรทอง 30 บาท คนกลุ่มกลาง(คือไม่อนาถา พอมีเงินแต่เมื่อเขาโดนครอบว่ารักษาฟรี เขาก็ใช้สิทธิตามนั้นไม่ผิด.........แต่บังเอิญว่าผมมันพวกคนดื้อครับไม่ทำซะอย่างใครจะทำมัย...เต็มใจจะเสียเงินมากกว่า 30 บาท ซึ่งจริง ๆ ผมจ่ายเงินต่อครั้งไม่เกิน 200 -300 บาทซะที ) ก็ใช้บัตรทอง นโยบายเสริมสร้างสุขภาพก็เปรียบเสมื่อนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ จนแล้วจนรอดก็ไม่เกิดผล..............เมื่อยมือแล้วครับ จบดื้อ ๆ แค่นี้ดีกว่า

ปล.หมอจ๋า หมออยู่ไหน 3 หมอไม่ยักมาตอบเลย

ว่าจะอธิบายเหมือนกัน..อีตาซีอุสชิงตัดหน้าซะ ขอบคุณหลายๆคร้าบ

คนหล่อและโสดอย่างผมย่อมว่องไวดุดกระต่ายเปรียว ครับพี่
