มีเรื่องรบกวนครับ เป็นเรื่องของคนรู้จักสอบถามมา
กรณีคือ คนสองคนบ้านใกล้เรือนเคียงกัน จอดรถในซอยแคบ รถอีกคันขับมาจึงเบียดเสียหาย เจ้าของรถทั้งคู่มีปากเสียงกัน (นาย ก และนาย ข)
มีคนกลางเข้าไกล่เกลี่ย (นาย ค) ระหว่างนั้นนาย ก หาว่านาย ค เข้ามายุ่งไม่เข้าเรื่อง จึงต่อยนาย ค ปากแตก
นาย ค วิ่งกลับเข้าบ้านเพื่อนำปืนพกไม่บรรจุลูก เหน็บหลัง ลงมาร้องเรียกนาย ก เพื่อขอเคลียร์
โดยนาย ก ได้กลับเข้าบ้านแล้วไม่ยอมออกมาและ เรียกตำรวจ เมื่อตำรวจมาถึงเข้าค้นตัวนาย ค พบอาวุธปืน จึงนำตัวไปโรงพัก
ลงบันทึกประจำวัน แจ้งข้อหา และให้ประกันตัวออกมา
จากเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น ระวางโทษของเหตุการณ์ลักษณะนี้เป็นอย่างไร และควรดำเนินการอย่างไรต่อไป
จากข้อเท็จจริงที่ให้มายังไม่ละเอียดพอครับ ประเด็นมีให้พิจารณาหลายประเด็น เป็นต่างกรรมต่างวาระ ต้องแยกพิจารณาเป็นกรรมๆไป
-ประเด็นแรก ขับรถเบียดกัน(คือต่างคนต่างบังคับควบคุมรถอยู่ทั้งคู่) เป็นเหตุละเมิด ตาม ป.พ.พ. ม.420ครับ ผู้ทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ แก่รถของอีกคนนึง ต้องชดใช้ค่าเสียหาย(ค่าสินไหมทดแทน)ให้แก่ผู้ต้องเสียหาย แต่ถ้าคันนึงจอดอยู่เฉยๆ อีกคนขับรถมาเฉี่ยวชน จึงเข้าตาม ป.พ.พ. ม.437 ผู้ที่ควบคุมยานพาหนะ ต้องรับผิดชอบ ความเสียหายที่เกิดจากยานพาหนะนั้น แต่มีข้อยกเว้นคือ ถ้าความเสียหายนั้นเกิดจากผู้ต้องเสียหายนั้นเอง จึงไม่ต้องรับผิด
-ต่อมา นาย ก กับ นาย ข สมัครใจทะเลาะวิวาทกัน เข้าเหตุลหุโทษ ทะเลาะวิวาท ม.372 แล้วนาย ก ไปต่อย นาย ค จึงเป็นเหตุทำร้ายร่างกาย ต้องดูว่าถึงขนาดเกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจหรือไม่ ถ้าไม่ถึงขนาด จะไปเข้า ลหุโทษ ม.391 แต่การที่ปากแตก จึงเรียกได้ว่าน่าจะเกิดอันตรายแก่กายจึงผิดตาม ป.อาญา(ป.อ.) ม.295 ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น
-การที่นาย กไปต่อย นาย ค โดยเหตุอันไม่เป็นธรรม ทำให้นาย ค บันดาลโทสะ (ตาม ป.อาญา ม.72 ผู้บันดาลโทสะ โดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม ศาลจะลดโทษให้ครับ) จึงกลับบ้านไปนำอาวุธปืนออกมา ผิดลหุโทษ ม.379 คือชักอาวุธหรือแสดงอาวุธในการวิวาทต่อสู้ แต่ต้องดูข้อเท็จจริงว่า นาย ค นั้นนำพาอาวุธปืนออกมานอกเคหสถานหรือยัง ถ้าออกมานอกบ้านก็คงผิด พรบ.อาวุธปืนด้วยฐานพกพาอาวุธปืนและต้องไปดูอีกว่าปืนมีทะเบียนไหม ปืนผิดมือไหม
-ส่วนการที่นาย ค หลังจากพกปืนออกมาแล้ว มีการร้องเรียกนาย ก ผมมองไม่ทราบว่า เข้าองค์ประกอบตาม ป.อาญา ม.309 วรรค2 ข่มขืนใจ โดยมีอาวุธ หรือไม่ ถ้าไม่ก็จะไปเข้าลหุโทษ ม.392ทำให้ผู้อื่นตกใจกลัว โดยการขู่เข็ญ แต่อาจจะเป็นการกักขังหน่วงเหนี่ยวด้วย ตาม ป.อาญา ม.310 เพราะการที่นาย ค ถือปืนยืมคุมหน้าบ้าน ทำให้นาย ก ไม่สามารถออกจากบ้านไปไหนได้ โดยสิ้นเชิง แต่ถ้านาย ก ยังสามารถหนีออกไปทางหลังบ้านได้ ก็จะไม่ผิดตามมาตรานี้

-ถ้านาย ค เข้าไปในบ้าน นาย ก ด้วยก็จะผิดฐานบุกรุกด้วยครับ ตาม ป.อาญา ม.364 ประกอบ ม.365 (1)+(2)อนุมาตรา 1และอนุมาตรา 2
หมายเหตุ พี่ๆนักกฎหมายตัวจริงช่วยแก้ไข และ แนะนำด้วยครับ ผมลงเรียนอาญาภาคความผิดจะสอบ วันที่15นี้ ยังไมได้อ่านทั้งตัวบทและคำอธิบายเลย มีหวังได้ตกแน่ๆ ที่ตอบมาไม่ค่อยแน่ใจครับ ช่วยเสริมหรือแก้ไขให้ด้วยนะครับ

ป.ล. พี่โอ๊คลองไป post ถามนักกฎหมายในนี้ก็ได้ครับ มีคนช่วยตอบเยอะแน่ๆ
http://www.thaijustice.com/webboard.asp