
แยกเป็นส่วนๆเพื่อให้เข้าใจง่ายครับ

1.ลำกล้อง เกือบ 100% จะทำจากเหล็กกล้า ผสมพวกโครมโมลี่เกรด 4140 ถ้าเป็นสเตนเลสก็เป็นพวก 416 ส่วนโลหะชนิดอื่นก็อาจจะมีการทดลองนำมาใช้งานเช่นพวกอลูมินั่มหรือไทเทเนี่ยม แต่ ไม่ค่อยได้ผลเพราะโลหะเบาพวกนี้ทนการเสียดสีและการสึกหรอได้ต่ำ ดังนั้นถ้าต้องการลำกล้องที่เบามากๆ ก็จะกลึงลำกล้องที่เป็นเหล็กกล้าหรือสเตนเลสให้บางแล้วหุ้มด้วยโลหะเบา เช่น ลูกโม่ของสมิทตระกูลไทเทเนียมหรือสแกนเดียม หรือ หุ้มด้วยวัสดุคอมโพสิทและพวกสวมปลอกบางๆด้วยโลหะเบาแล้วดึงตึง เช่นพวก 10/22 หรือไรเฟิลน้ำหนักเบา
2.สไลด์หรือลำเลื่อน(กรณีปืนกึ่งอัตโนมัตหรืออัตโนมัติ) ส่วนนี้ต้องการน้ำหนักเพื่อต้านการรีคอยด์และเพื่อความแข็งแรงเพราะต้องรับแรงระเบิดโดยการขัดกลอนร่วมกับลำกล้องขณะที่กระสุนเริ่มขับเคลื่อนออกจากลำกล้อง จึงมักจะใช้เหล็กกล้าหรือสเตนเลสเช่นเดียวกัน แต่บางกรณีสำหรับขนาดกระสุนเล็กๆมีแรงอัดต่ำๆเช่นขนาด .22 .25 อาจจะใช้ อลูมินั่มอัลลอยจำพวกทีผสมกับแมกนีเซียมความแข็งแรงสูงได้(เช่นชุดคอนเวอร์ชั่นลูกกรดที่ ใช้กับกล็อก)
และเชื่อว่าในอนาคตอันไกล้โลหะ พวกไทเทเนียมและสแกนเดียม จะนำมาใช้สำหรับการทำสไลด์ปืนกึ่งออโต้เล็กๆแบบพกซ่อนกันมากขึ้นเพื่อลดน้ำหนัก
3.โครงปืน(ทั้งลูกโม่และกึ่งอัตโนมัติ) มีทั้งเหล็กกล้า(ใช้กันมากที่สุด) สเตนเลสสตีล เหล็กคาร์บอนด์ต่ำ(เช่นปืนของจีนแดงที่ระบุว่ายิงได้ไม่เกินกี่พันนัด รวมทั้งใช้กับสไลด์ด้วย) อลูมมินั่มอัลลอยด์(น้ำหนักเบา ต้นทุนวัสดุและต้นทุนการแปรรูปต่ำ) ไทเทเนียม สแกนเดียม และพลาสติกวิศวกรรม
จำพวกอัลลอยด์จะใช้หล่อโดยใช้ขี้ผึ่งเป็นแบบแล้วจุ่มแบบลงในเซรามิคเหลว ทิ้งใว้ให้เปลีอกหุ้มเซ็ทตัวแล้วนำไปอบให้เปลือกหุ้มแข็งตัวพร้อมทั้งขี้ผึ้งจะไหลออกจากแบบทำให้เหลือโพรงภายในเป็นรูปโครงปืน จากนั้นจึงค่อยเทน้ำโลหะที่กำลังหลอมละลายของอลูมินัั่มอัลลอยด์ลงไปในโพรงของแบบ เมื่อเย็นตัวและแข็งตัวแล้วค่อยแกะแบบ ก็จะได้ชิ้นงานที่เป็นรูปโครงปืนนำมาตกแต่งอีกเล็กน้อย(รูเกอร์ขนาด 9 มม. ใช้วิธีนี้)
อัลลอยด์ยังสามารฉีดเข้าแบบได้แบบเดียวกับการฉีดพลาสติกด้วยแต่ต้องใช้เครื่องฉีดที่ออกแบบมาโดยเฉพาะซึ่งหลังจากออกมาจากแบบ แค่ตกแต่งโดยการลบครีบต่างๆออกไปก็ใช้งานได้แล้ว การผลิตด้วยวิธีนี้รวดเร็วและได้ขนาดที่แม่นยำมาก แต่ต้นทุนเครื่องจักรและแม่พิมพ์สูงมากๆครับ(เช่นโครงของ เบเร็ตต้า ซิก )
พลาสติก พวกนี้ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม ไนลอน 6,6 ซึ่งอยู่ในกลุ่ม โพลีเอไมด์(Polyamide) ต้นทุนการผลิตต่ำมากและผลิตได้ปริมาณมากโดยใช้เวลาน้อยและเมื่อออกมาจากแบบเมื่อตัดครีบต่างๆออกแล้วก็สามารถนำมาใช้ได้ทันที แต่ลองสังเกตุให้ดีๆจะเห็นว่าโครงพลาสติกจะต้องมีการใช้เหล็กกล้าเสริมภายใน โดยเฉพาะจุดที่ต้องมีการเสียดสี เช่นส่วนที่เป็นรางเลื่อนที่เกาะเกี่ยวขณะสไลด์เคลื่อนที่
