ข้อมูลเพิ่มเติม
ระบบช่วยเบรค Brake Assist System
จาก สถิติของการเกิดอุบัติเหตุรถชนพบว่า คนขับรถส่วนใหญ่เหยียบเบรคไม่แรงพอที่จะทำให้รถหยุดได้ทันและในบางครั้งก็ ผ่อนการเหยียบเบรคลงอีกต่างหาก ทั้งๆ หากคนขับเหยียบเบรคแรง เร็วและนานพอ รถก็จะสามารถหยุดได้ทัน... แล้วก็รอดพ้นจากการชนไปได้แบบหวุดหวิดหรืออาจแบบชิลๆ เลยก็ยังไหว... แต่คนก็คือคนสาเหตุที่คนขับเหยียบเบรคไม่แรงพอ ก็ต่างๆ นาๆ กันไป อาจเป็นเพราะไม่อยากรุนแรงกับรถอันแสนรัก หรือกลัวความรุนแรง หรือนึกว่าเหยียบ แรงมากแล้ว หรือไม่มีแรงจะเหยียบแล้ว... จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เทคโนโลยีมีทางออกให้
ลองมาดูตัวเลขอันน่าทึ่งกันบ้างดีกว่า... ทำไมวินาทีเดียวจึงหมายถึงระยะทางเป็น 10 เมตร... ตามตัวเลขจากแหล่งข้อมูลซึ่งได้มาจากการทดลองจริงพบว่า ระบบนี้สามารถลดระยะทางที่ใช้ในการเบรคได้ถึง 20-45% เลยทีเดียว หากวิ่งที่ความเร็ว 100 กม./ชม. และสามารถหยุดรถได้ภายในระยะ 73 เมตร ระบบช่วยเบรค BA สามารถทำให้ระยะเบรคลดลงเหลือแค่ 40 เมตรเอง... หากมีวัวซักตัวเดินตัดหน้ารถเราแล้ว ไม่เพียงแต่เราจะไม่ชนมัน แต่เรายังมีที่เหลือพอสำหรับวัวทั้งฝูงให้วิ่งผ่านไปได้ด้วยซ้ำ... ว้าววว...
หลักการทำงาน
ในเมื่อสาเหตุของการชน เกิดมาจาก 3 ประการหลักๆ ก็คือ คนขับเหยียบเบรคไม่เร็วพอ ไม่แรงพอ และไม่นานพอ โดยระบบช่วยเบรคนี้ก็จะมีวิธีช่วยเราได้ประมาณนี้
ไม่เร็วพอ คนขับเหยียบเบรคไม่เร็วพอ ระบบช่วยเบรค BA จะแก้โดยการติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจจับการเหยียบเบรค หากพบว่ามีการเหยียบแบบกระทัน หันตกใจ ระบบก็จะโดนสั่งให้ทำงานทันที
ไม่แรงพอ คนขับเหยียบเบรคไม่แรงพอ เนื่องจากปกติการเหยียบเบรคก็คือการกดไปที่ปั้มเบรคให้ปั้มน้ำมันเบรคไปบีบ ผ้าเบรคให้ไปกดจานเบรคแล้วล้อก็หยุด ซึ่งความแรงที่ไปบีบผ้าเบรคมันก็ขึ้นอยู่กับความแรงของคนเหยียบด้วย แม้ว่าจะมีแรงดันลงจากเครื่องยนต์มาช่วยกดแล้วด้วยก็ตาม แต่ในระบบช่วยเบรค BA จะมีตัวอัดแรงดัน น้ำมันเบรคเพิ่มขึ้นมา มันมีแรงอัดมากถึง 180 บาร์ (2,600 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) เลยทีเดียว ซึ่งเมื่อระบบตรวจจับการเบรคอย่างกระทันหัน ระบบจะปล่อยแรงดันอันมหาศาลนี้ ไปช่วยเราเหยียบเบรค มันทั้งแรงและเร็วพอที่จะทำให้เบรคทำงานได้อย่างสุดข้อจำกัดของเบรคและรวด เร็วมากๆ ม้ากี่ตัวก็เอาอยู่...
ไม่นานพอ การที่คนขับผ่อนเบรคแม้ว่ารถจะยังไม่หยุดดี อาจเกิดขึ้นเนื่องจากความเข้าใจผิดในหลายๆ ด้าน เช่น อาจรู้สึกว่าแป้นเบรคเกิดอาการสะท้านและเข้าใจว่าเหยียบหนักเกินไป แต่จริงๆ แล้วเกิดจากการทำงานเป็นปกติของระบบเบรค ABS หรือเหตุอื่นๆ ก็ตาม ระบบช่วยเบรคนี้จะตรวจจับลักษณะการผ่อนแรงนั้นและยังควบคุมให้เบรคจับเอาไว้ ก่อนโดยอาศัยแรงดัน 180 บาร์ที่ว่านี้ และเมื่อเซ็นเซอร์ตรวจพบว่ามีการปล่อยเบรคแล้วจึงค่อยปลดการควบคุมดังกล่าว และกลับสู่สภาพการทำงานปกติ เป็นอันปลอดภัยโดยทั่วกันนั่นเอง...
และด้วยหลักการดังกล่าว ระบบช่วยเบรค BA นี้ควรทำงานควบคู่ไปกับระบบป้องกันล้อตายหรือเอบีเอส (ABS) เนื่องจากระบบช่วยเบรคอาจทำให้เกิดอาการล้อล็อคได้ในบางโอกาส บางสภาพถนน จะได้มีเบรคเอบีเอสมาช่วยปลดล็อคได้ทันควันนั่นเอง เราจึงมักเห็นเจ้า 2 เทคโนโลยีนี้อยู่ด้วยกันเสมอๆ เลยแหละ
ก่อนจบ
ขออนุญาตยกความดีทั้งหลายทั้งปวง และอานิสงค์ทั้งหลายแด่เมอร์ซิเดสซ์ เบนซ์ กับ ทีดับบริวอาร์ เนื่องจากว่าเค้าทั้ง 2 เป็นต้นตำรับที่คิดเจ้าระบบนี้ขึ้นมา และมันก็ช่วยชีวิตคนมากมาย ลดความเสียหายมาเยอะแล๊ว... ส๊า... ธุ...
http://www.thaiautoserver.com/index.php/techmenu/20-ba?e8db296e433a7f8bf72efb5247ae1ba3=2384b0dd64fb1f212750859a3e92c99f