เห็นหลายคน....รีบ ๆ เออรี่ไป.... คิดว่าได้เงินก้อนไปก้อนนึงแล้วพาไปตั้งตัวกินอยู่ได้สบาย ๆ ...
หักโน่นหักนี่ เพิ่มนั่น ได้สามสี่ล้าน...(คิดว่า)เยอะนะนั่น...
แต่พอจริง ๆ เงินก้อนนั้น ระบายออกพักเดียวตามโครงการที่วาดฝันไว้...
แต่เงินเข้าได้ไม่คุ้ม...ไม่นานก็ร่อยหรอหมด
ตอนนี้แต่ละคนต้องดิ้นรน จำกัดเงินจ่ายกันนัวเนีย....
ป่วยไข้ก็พอได้อาศัยสวัสดิการเมีย..
แต่การจับจ่ายมันก็ไม่อิสระเหมือนตอนยังทำงานมีเงินเดือน มีรายได้ตายตัวเข้ามาทุกเดือน
อ้อ...ไม่รวมคนที่เออรี่ไปแบบมีทุน มีที่ มีสวนเก็บนะครับ..แบบนี้ก็มีเยอะ
ไม่เดือดร้อน ลอยตัว...ไม่ต้องหารายได้เพิ่มก็มีกิน มีอยู่สบาย ๆ
แบบนี้น่าเออรี่ออกไปพักผ่อน ท่องเที่ยว บั้นปลายชีวิต....

งุมงำ งุมงำ

คิดเออร์ลี่ ตอนยุคเริ่มแรกของการเออร์ลี่ รีไทร์ เขากะตั้งเป้าว่า เอาคนขี้เกียจออก
ที่ไหนได้ คนขี้เกียจไม่ยอมออก แต่คนออกคือคนขยันที่มีโปรเจคต์ทำโน่นนี่ในหัว
ปัจจุบัน คนมีโปรเจคต์ในหัวเยอะแยะที่เออร์ลี่ รีไทร์ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะขาดการวางแผน
เหมือนพี่ตุ้มว่า ได้3-4ล้าน คิดว่ามาก แต่พอลงทุนทำจริงๆ ต้องจ่ายลุงทุนจริงๆ
กลายเป็นเพิ่งรู้จักเงินว่ามันเป็นวัสดุสิ้นเปลืองอย่างหนึ่ง ยิ่งใช้ยิ่งหมดไป...
เพื่่อนรุ่นพี่ เตรียมการเออร์ลี่มา5ปีแล้ว ซื้อที่ดิน1แปลงที่หนองหญ้าปล้องโดยเงินกู้จากสหกรณ์ของหน่วยงาน
ลงทุนสร้างบ้านหลังเล็กๆในที่ดิน สร้่างสวนมะนาวแป้น ขุดบ่อเก็บน้ำและระบบน้ำ ในที่ดิน8ไร่ ที่ซื้อมานั้น
กล้าลงทุนแค่4ไร่ อีก4ไร่้ทิ้งว่างไว้ก่อน ไม่กล้าลงทุนมาก เดี๋ยวเงินหมด
ภายในปีแรกที่ลงทุนใช้เงินไปเกือบหมดเงินกู้ เหลือเล็กน้อยทิ้งค้างบัญชีไว้พออุ่นใจ
หลังจากนั้น ก็ทำสวนมะนาวแป้นไป จ้างคนดูแล วันหยุดไปดูที จ่ายเงินที
ทุกวันนี้ สวนเขาอยู่ได้แล้ว เพราะมะนาวแป้นปีเดียวก็ออกผล เก็บผลมา4ปี พร้อมกับเอาเงินที่ได้มา
สร้างสวนต่อใน4ไร่ที่เหลือได้ เต็มพื้นที่ แถมรุ่นแรกที่ปลูกนั้นก็ตอนนี้ถึงอายุขัยที่ต้องโค่นทิ้ง เพราะ
เริ่มได้ผลไม่คุ้มการดูแล
ถามว่าเมื่่อไหร่จะออกจากงานประัจำ ตอนนี้เขากลับมีความสุขกับสิ่้งที่ทำอยู่ ออกทำไม รับเงินสองทาง
ทั้งงานประจำรัฐวิสาหกิจ กับจากสวนมะนาว วันหยุดก็ไปสวน วันจันทร์กลับมาทำงาน กทม. เก็บเงินเดืิอน
จ่ายหนี้เงินกู้สหกรณ์ไป
เขาบอกจ่ายครบเมื่อไหร่ค่อยออก

แกบอกว่า การเตรียมการก่อนเกษียณเป็นเรื่องที่พึงระลึก มากกว่าก้อนเงินบำเหน็จเมื่อเกษียณ
