ทำ Muzzle brake เล่นๆไว้ ยังไม่ได้ยิงทราย ตัวที่เป็นเหล็กซ้ายสุดก็รอยิงทรายกับรมดำครับ

ตัวขวาสุดน่าสนใจครับ
ตัวที่4 (ขวาสุด) ทำจากเหล็ก ยิงทรายที่ผิวแล้วรมดำครับ ตัวนี้เป็นตัวต้นแบบ
โดยพยายามออกแบบให้เมื่อกระสุนเคลื่อนผ่าน port ที่ 1 แก๊ซเกิน 60% จะระบายออกผ่าน port ไป
ดังนั้นจึงเจาะไว้กว้างมากครับและเมื่อผ่าน port ที่ 2 ก็ประเมินไว้ว่าแก๊ซเกิน 90% ต้องระบายออกทาง port นี้
จากการทดลองติดตั้งใช้งานจริงกับ CZ550 varmint เรื่องการระบายแก๊ซ ก็ได้ผลตามที่ออกแบบไว้ครับ
แต่เสียงดังมากๆ และเนื่องจาก port ทั้งสอง เจาะไว้กว้างมากเพื่อดักแก๊ซ เมื่อเทียบอัตราส่วนระหว่างความโตของรูเจาะกับปีกที่จะดักแก๊ซ
ทำให้สัดส่วนของปีกดักแก๊ซน้อย จึงช่วยหน่วงเวลาการระบายแก๊ซออกด้านข้างน้อยเกินไป
และทิศทางการเคลื่อนที่ของแก๊ซเมื่อหัวกระสุนเริ่มเคลื่อนผ่านพอร์ท เป็นมุมฉียงเยื้องไปด้านหน้า
ส่งผลให้มี reaction ย้อนกลับ ทำให้เกิด recoil เบาๆขึ้นเป็นจังหวะเล็กๆในช่วงนี้
สรุปว่าแบบนี้ใช้ได้แต่ยังไม่ถูกใจครับ วิธีแก้ให้ถูกใจทำได้ สองแบบคือ
1.เพิ่มการหน่วงเวลาระบายแก๊ซ โดยเพิ่มความกว้างของ Muzzle break คือเพิ่มเนื้อโลหะด้านปีกให้กว้างขึ้น
ทำให้มุมตกกระทบของแก๊ซเมื่อหัวกระสุนเริ่มเคลื่อนผ่านพอร์ท กระทบตรงช่องดักแก๊ซพอดี ทำให้ reaction
ที่เกิดขึ้นเป็นการผลัก muzzle brake ไปด้านหน้าแทน แต่น้ำหนักของปืนจะหน่วงการเคลื่อนที่ไว้
จนกระสุนผ่าน port ที่ 2(มีรายละเอียดปลีกย่อยอีก แต่จะยาวไปครับ)
2.สร้าง port เล็กๆย่อยๆ โดยให้ระยะที่กระสุนวิ่งผ่าน port แค่สั้นๆ แต่สร้างช่องว่างที่ระบายแก๊ซให้กว้างมาก
โดยอัตราส่วนระหว่างพื้นที่วงกลมของรูที่กระสุนวิ่งผ่านกับพื้นที่ๆแก๊ซระบายออกด้านข้างได้สูงกว่ากันเกินสองเท่า
ดัวนั้นแก๊ซจะระบายออกได้เยอะในขณะเดียวกันมุมตกกระทบและการหน่วงเวลาทำให้แก๊ซที่ระบายออกด้านข้างขวาและซ้าย
สร้างความสมดุลหักร้างแนวแรงกันเองได้ครับ
จากสมมติฐาน ทั้งสองข้อ ถ้าสร้าง muzzle brake ออกมา ข้อที่ 1 muzzle brake ที่ได้จะมีขนาดใหญ่น้ำหนักมาก ส่วน muzzle brake ตามข้อที่ 2 น้ำหนักจะเบาครับ
จากรูปที่ถ่ายเมื่อมองจากซ้ายไปขวา ตัวที่ 1 ซ้ายสุด คือ muzzle brake ที่ออกแบบตามแนวคิดข้อสองครับ ตัวที่ 2 เหมือนกับตัวที่ 1
แต่ใช้อลูมิเนียมทำเอาไว้ทดสอบการกัดกร่อนจากความร้อนของแก๊ซร้อนครับ
ตัวที่ 3 ว่าจะลองเจาะรูด้านข้างแบบของ Weatherby ครับ
