แม่นแมงอันนี้ก่ออ้ายก๋องหุย.....



ชันโรง เป็นแมลงสังคมกลุ่มเดียวกับผึ้ง แต่ไม่มีเหล็กไน ไม่ดุร้าย มีขนาดเล็กกว่าผึ้งพันธุ์ประมาณ 2 - 3 เท่า แพร่กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ มีชื่อพื้นบ้านทางภาคเหนือว่า ตัวขี้ตังนี หรือ แมลงขี้ตึง ภาคใต้เรียก อุง ภาคอีสานเรียก แมลงขี้สูด ภาคตะวันตกเรียก ตัวตุ้งติ้ง หรือ ตัวติ้ง ภาคตะวันออกเรียก ตัวชำมะโรง หรือ แมลงอีโลม ชันโรงเป็นแมลงที่ปรับตัวเก่ง มันอาศัยในรูอยู่ตามชอกหลืบ โพรงต้นไม้ โพรงใต้ดิน คนเมืองก็เห็นมันได้ตามท่อเหล็ก ท่อประปา รูเสาบ้าน ไปจนถึงรูเสาไฟฟ้าคนสมัยก่อนนำปล่องที่ชันโรงก่อเป็นท่อยาวมาเป็นเชื้อไฟ ยางไม้ และไขผึ้ง นักสะสมพระนำมาอุดฐานพระเครื่อง ชาวอีสานนำมาอุดรูแคน แผ่นไม้ระนาดเอก โปงลาง แต่ประโยชน์ของชันโรงที่สร้างความตื่นตะลึงให้ชาวโลกหันมาสนใจ คือ ความสามารถของชันโรงในการผสมเกสร
การเลี้ยงชันโรงเพื่อผสมเกสร ก่อประโยชน์แก่เกษตรกรโดยตรง เพราะการติดผลของพืชผลหลายชนิดต้องอาศัยการผสมเกสรที่มีประสิทธิภาพของชันโรง ผลผลิตของพืชผลที่เพิ่มขึ้นคำนวณเป็นเม็ดเงินออกมาแล้วมีจำนวนมหาศาล วิธีการเลี้ยงก็ไม่ยาก สามารถนำมาเลี้ยงในกล่องขนาดเล็ก ใช้เนื้อที่ในการเพาะเลี้ยงน้อย และเคลื่อนย้ายกล่องไปตามไร่ในสวนที่ต้องการใช้ชันโรงผสมเกสรได้สะดวก ปัจจุบันแรงงานในการผสมเกสรของชันโรงกระจายอยู่ตั้งแต่ภาคเหนือจรดใต้ และคาดว่าชันโรงจะได้รับการส่งเสริมให้เกิดการเลี้ยงอย่างแพร่หลาย
ที่มา...
http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=1784.0ฮูปโล๊ะเอาต๋ามหมู่เนี๊ยะครับ....
