ปืนเล็กยาว
กระบี่อยู่ที่ใจ ถ้ารู้จักใช้ แค่ลำไม้ไผ่ก็ไร้เทียมทาน
Jr. Member

คะแนน 0
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 48
สงครามเกิดแล้วจบ สหายร่วมรบคงอยู่ตลอดไป
|
 |
« ตอบ #255 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2005, 02:14:09 PM » |
|
เอ้าลืม โอย หน้าร้าวเป็นแถบ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ไม่มีสิ่งใดแข็งแกร่งเกินกว่า...หัวใจของผู้อาสารับใช้ชาติ
|
|
|
submachine -รักในหลวง-
คนกินเหล้า อย่าให้เหล้ากินคน
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 6127
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 55373
Let us go..!
|
 |
« ตอบ #256 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2005, 02:41:35 PM » |
|
ทำไมเวลา หิ้วแบบนี้ เค้าถึงผูกติดกันเป็นคู่ๆ ครับ อยากทราบมานาน  แล้วปลาหลดเวหาตัวนี้ เอาไว้ทำอะไรครับ  ส่วนตัวนี้ก็อยากทราบสเป็คมานานว่าทำอะไรบ้าง... ดูๆไป คนออกแบบเขาดีไซด์ได้แปลกหูแปลกตาดี 
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 01, 2005, 03:14:35 PM โดย submachine »
|
บันทึกการเข้า
|
อย่าเห็นเป็น ความดี เล็กน้อย แล้วไม่กระทำ อย่าเห็นเป็น ความชั่ว เล็กน้อย แล้วจึงกระทำ
Thanut Wansuk
|
|
|
686
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 471
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 3988
|
 |
« ตอบ #257 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2005, 05:31:49 PM » |
|
ทำไมเวลา หิ้วแบบนี้ เค้าถึงผูกติดกันเป็นคู่ๆ ครับ อยากทราบมานาน  แล้วปลาหลดเวหาตัวนี้ เอาไว้ทำอะไรครับ  ส่วนตัวนี้ก็อยากทราบสเป็คมานานว่าทำอะไรบ้าง... ดูๆไป คนออกแบบเขาดีไซด์ได้แปลกหูแปลกตาดี  คำตอบแรก ที่เป็นคู่เพราะ เอาใว้ถ่วงกัน ถ้าโหนคนเดียว เชือกจะเบี้ยวครับแล้วจะแกว่งด้วย คำตอบที่สอง ยานที่ว่าเรียกว่า เป็นหนึ่งใน Unmanned Aerial Vehicles (UAVs) เป็นอากาศยายต์ไร้คนขับ มีชื่อเต็มว่า X-45 Unmanned Combat Air Vehicle (UCAV) เป็นเครื่องบินทดสอบการใช้ UAV เป็น อากาศยานต์ไร้คนขับโจมตีติดอาวุธ (Unmanned Combat Air Vehicle ) คำตอบที่สาม เครื่องบินลำนี้เรียกว่า V-22 Osprey ครับ เป็นเครื่องบินที่ออกแบบให้เป็นเครื่องบินบรรทุก เพราะมีข้อได้เปรียบที่สามารถปรับมุมเครื่องยนต์ ทำให้ประหยัดน้ำมันในการเดินทางมากกว่า ฮ. แต่สามารถขึ้นลงทางดิ่งได้เหมือน ฮ. ที่จริงเครื่องบินแบบนี้กำลังจะถูกยกเลิก แต่เป็นเพราะ ความต้องการของ นาวิกโยธิน ของ สหรัฐ ทำให้โครงการนี้ยังคงดำเนินต่อไป [ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ] [ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
686
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 471
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 3988
|
 |
« ตอบ #258 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2005, 09:35:38 PM » |
|
เครื่องบินที่เร็วที่สุดในโลก แต่ไม่ได้นับ เพราะ ถูกนับเป็นยานอวกาศมากกว่า Speacecraft บินได้ถึง Mach 6.72 (7,297 kilometers or 4,534 miles per hour)
[/color][/size][/b]
[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
686
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 471
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 3988
|
 |
« ตอบ #259 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2005, 09:45:45 PM » |
|
เครื่องที่ดังมากตอนที่นักบิน โซเวียต นำเครื่องไปจอดที่ ญี่ปุ่น
Mig-25 Foxbat
[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
686
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 471
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 3988
|
 |
« ตอบ #260 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2005, 09:54:52 PM » |
|
กลับมาเป็นคู่ครับ คราวนี้ค่ายเดียวกัน (MIKOYAN-GUREVICH)
MiG-25 FOXBAT กับ MiG-31 FOXHOUND
[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
686
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 471
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 3988
|
 |
« ตอบ #261 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2005, 09:58:18 PM » |
|
ด้านล่างของทั้งคู่ครับ
[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 1599
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 10265
ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง
|
 |
« ตอบ #262 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2005, 09:43:34 AM » |
|
เมื่อมังกรผงาดฟ้า
สถานการณ์ในภูมิภาคเอเชียความขัดแย้งระหว่างประเทศที่มีความขัดแย้งรุนแรงจนกระทั่งมีการใช้กำลังทางทหารเข้าปะทะกัน หรือมีการแสดงแสนยานุภาพโดยการซ้อมรบให้ประเทศที่มีความขัดแย้งกันอยู่เกิดความยำเกรง ที่น่าจับตามอง คือ อินเดียกับปากีสถาน เกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ และจีน-ไต้หวัน ความขัดแย้งทั้งสามกรณีเกิดขึ้นมานานแล้วและยังคงจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ไม่รู้อีกนานเท่าใดจึงจะสามารถตกลงกันได้ เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศที่เกิดการขัดแย้งกันเกือบทุกประเทศที่กล่าวมา (ยกเว้นเกาหลีเหนือ) ต่างทุ่มงบประมาณพัฒนากองทัพเพื่อรับมือกับประเทศที่ขัดแย้งกันอยู่ โดยเฉพาะที่เห็นได้ชัดเจนคือกำลังทางอากาศ อินเดีย จีน และเกาหลีใต้ หากได้ติดตามข่าวในวงการทหารของต่างประเทศจะพบว่า กองทัพอากาศทั้งสามประเทศต่างเลือกเครื่องบินรบขนาดใหญ่ พิสัยบินไกล บรรทุกอาวุธได้มาก และมีขีดความสามารถเข้าประจำการในกองทัพสำหรับไต้หวันมีเครื่องบินขับไล่ขนาดเบาหลายแบบ ได้แก่ เอฟ-16 เอ/บี บลอค 20 มิราจ 2000-5 และชิงเกา รวมจำนวนมากกว่า 300 เครื่อง สำหรับเกาหลีเหนือไม่มีการจัดซื้อเครื่องบินรบ แต่มีอาวุธนิวเคลียร์ที่มีอนุภาพทำลายร้ายแรง เมื่อ 5 ปีก่อน กองทัพอากาศไต้หวันนับว่ามีความทันสมัยมาก เมื่อพิจารณาทางด้านความทันสมัยของเครื่องบินที่มีประจำการ มิราจ 2000-5 สร้างจากฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเครื่องบินรบที่ทันสมัยที่สุดของไต้หวัน และอาจจะมีความทันสมัยและขีดความสามารถทางการรบทางอากาศเหนือกว่าเครื่องบินขับไล่ของจีนเกือบทุกแบบ เมื่อพิจารณาจากระบบควบคุมการยิง ระบบอวิโอนิกส์ และระบบอาวุธที่ติดตั้งใช้งาน แต่ ณ ปี 2002 ปัจจุบันและในอนาคตข้างหน้า จีนได้ก้าวล้ำหน้าไต้หวันไปแล้วหลายช่วงตัว เมื่อเปรียบเทียบเครื่องบินขับไล่ที่ทันสมัยที่สุดประจำการอยู่ในแต่ละประเทศ ทั้งทางด้านจำนวน ความทันสมัยและขีดความสามารถ เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง ซู-30 เอ็มเคเค ของกองทัพอากาศจีน และมิราจ 2000-5 ของกองทัพอากาศไต้หวัน
ในช่วงแผนพัฒนาฉบับที่9 ระยะเวลา 5 ปี จากปี พ.ศ. 2539-2543 จีนได้ทุ่มงบประมาณเพื่อพัฒนากาองทัพ 58.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และในแผนพัฒนาฉบับที่ 10 คาดว่าตัวเลขงบประมาณจะเพิ่มเป็น 2 เท่า
สำหรับกำลังทางอากาศ กองทัพอากาศจีนได้เร่งปรับปรุงและพัฒนากำลังทางอากาศเป็นการใหญ่ มีทั้งการจัดซื้อจัดหาเครื่องบินรบจากต่างประเทศและการพัฒนาเครื่องบินรบขึ้นใช้งานเอง แหล่งซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ที่สำคัญของกองทัพจีนคือ รัสเซีย การปรับปรุงและพัฒนากองทัพอากาศจีนเป็นการผสมผสานอากาศยานที่มีเทคโนโลยีสูงที่สั่งซื้อจากต่างประเทศกับอากาศยานที่มีเทคโนโลยีไม่สูงนักซึ่งผลิตเองภายในประเทศซึ่งจะเป็นการลดจำนวนเครื่องบินรบที่สั่งซื้อจากต่างประเทศแต่เพียงอย่างเดียว
เครื่องบินรบที่มีความทันสมัยมากที่สุดของกองทัพอากาศจีน คือ ซู-30 เอ็มเคเค ซึ่งนอกจากสั่งซื้อจากรัสเซียรวมจำนวนประมาณ 100 เครื่อง จีนยังมีแผนที่จะทำการผลิต ซู-30 เอ็มเคเค อีกนับร้อยเครื่อง
เมื่อต้นปี พ.ศ. 2544 ทางการจีนได้แพร่ภาพเครื่องบินขับไล่ / โจมตี ซู-30 เอ็มเคเค ยิงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ-สู่-พื้น แบบเอ็กซ์ 59 เอ็ม อาวุธชนิดนี้มีระยะทำการไกลถึง 105 กิโลเมตร ในการซ้อมรบ ภาพดังกล่าวสัญลักษณ์ว่าจีนมีขีดความสามารถทางอากาศที่จะกดดันไต้หวันได้
ซู-30 เอ็มเคเค ของกองทัพอากาศจีน แตกต่างจาก ซู-30 เอ็มเคไอ ของกองทัพอากาศอินเดีย แม้ว่าเครื่องบินทั้งสองรุ่นจะเป็นรุ่นส่งออกเหมือนกัน ซู-30 เอ็มเคไอ เป็นเครื่องบินสำหรับปฏิบัติการครองอากาศ เน้นบทบาทการรบทางอากาศติดตั้งระบบอวิโอนิกส์และอาวุธของรัสเซีย ฝรั่งเศส และอิสราเอล แต่สำหรับ ซู-30 เอ็มเคเค เป็นเครื่องบินขับไล่/โจมตีพิสัยทำการไกล สำหรับทะลวงแนวป้องกันเข้าไปโจมตีเป้าหมายลึกในดินแดนข้าศึก และสามารถป้องกันตัวเองถ้าหากถูกขัดขวางในระหว่างบินเดินทางเข้าสู่พื้นที่เป้าหมายมีขีดความสามารถทั้งการรบทางอากาศและโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดิน ติดตั้งระบบอวิโอนิกส์ และระบบอาวุธจากรัสเซียทั้งหมด
มีการเปรียบเทียบระหว่าง ซู-30 เอ็มเคไอ กับซู-30 เอ็มเคเค แบบไหนจะเหนือกว่ากัน ในภารกิจการรบทางอากาศ ซู-30 เอ็มเคไอ อาจจะเหนือกว่าเพราะติดตั้งเรดาร์ที่สามารถตรวจจับเป้าหมายได้ไกลถึง 350 กิโลเมตร เครื่องยนต์ติดตั้งท่อท้ายที่สามารถปรับเปลี่ยนทิศทางแรงขับได้ แต่ ซู-30 เอ็มเคเค อาจจะเหนือกว่าในบทบาทโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินเพราะติดตั้งระบบ Optronic sight Sustem
ซู-30 เอ็มเคเค ติดตั้งเรดาร์ควบคุมการยิง เอ็น 001 เอ็ม มีขีดความสามารถในการตรวจจับเป้าหมายได้ไกล 250 กิโลเมตร ระบบเรดาร์สามารถใช้ในการนำวิถีให้กับอาวุธปล่อย นำวิถีอากาศ-สู่-อากาศ พิสัยปานกลาง เอเอ-12 แอดเดอร์ ซึ่งกองทัพอากาศจีนได้จัดซื้อมาติดตั้งใช้งานด้วย นอกจากนี้ ซู-30 เอ็มเคเค ยังได้รับการติดตั้งระบบศูนย์เล็ง Optronic sight System แบบ โออีพีสี-31 อี เอ็มเค สำหรับใช้ในการรับเป้าหาตำแหน่งทิศทาง และติดตามเป้าหมายทางอากาศได้โดยอัตโนมัติ ได้ทั้งกลางวันและกลางวันโดยใช้อินฟราเรด สำหรับการใช้กับเป้าหมายภาคพื้น ระบบ โออีพีสี-31 อี-เอ็มเค สามารถใช้เลเซอร์เพื่อวัดระยะห่างระหว่างอากาศยานกับเป้าหมายเพื่อใช้ปืนใหญ่อากาศยิงทำลาย และใช้เลเซอร์ชี้เป้าเมื่อใช้อาวุธปล่อยนำวิถีที่ติดตั้งระบบติดตามเป้าหมาย โดยกองทัพอากาศจีนได้จัดหาอาวุธนำวิถีอากาศ สู่ พื้น หลายแบบ มาติดตั้งใช้งานกับ ซู-30 เอ็มเคเค ประกอบด้วย อาวุธปล่อยนำวิถี เอ็ม-59 เอ็ม , เอ็กซ์ 29 ที , อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรดาร์ เอ็กซ์ 31 และระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ เคเอบี 500 เคอาร์
นอกจากการเป็นเครื่องบินรบปฏิบัติการทั้งภารกิจอากาศ สู่ อากาศ และอากาศ สู่ พื้น แล้วเชื่อกันว่ากองทัพอากาศจีนจะนำ ซู-30 เอ็มเคเคเป็นเครื่องบินรบ ควบคุมสั่งการทางอากาศให้กับหมู่บิน เครื่องบินชับไล่ที่นั่งเดี่ยว แบบ ซู-27 อีกด้วย ซู-30 เอ็มเคเค สามารถรับการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ โดยมีท่อรับการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศด้านบริเวณด้านหน้าสามารถพับเก็บได้เมื่อไม่ใช้งาน
สำหรับการผลิตภายใต้สิทธิบัตรจากรัสเซีย คาดว่าในปี 2005-2006 จีนจะสามารถทำการผลิต ซู-30 เอ็มเคเคได้จำนวน 80 เครื่อง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 1599
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 10265
ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง
|
 |
« ตอบ #263 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2005, 02:21:29 PM » |
|
ถ้าเป็นพวกปีกหมุนผมชอบตัวนี้อ่ะครับ Hind 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 1599
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 10265
ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง
|
 |
« ตอบ #264 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2005, 02:23:10 PM » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 1599
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 10265
ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง
|
 |
« ตอบ #265 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2005, 02:31:11 PM » |
|
งั้นทายซิว่าเนี่ยชื่อรุ่นอะไร 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 1599
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 10265
ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง
|
 |
« ตอบ #266 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2005, 02:39:20 PM » |
|
สุดยอดคู่แฝดอีกคู่ F2จะใหญ่กว่าเล็กน้อยพื้นที่ปีกมีมากกว่าทำให้รัศมีเลี้ยวน้อยกว่าความคล่องตัวสูงกว่า F16 ใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อชิ้นส่วนแบบใหม่ทำให้ปีกมีน้ำหนักเบาลงมากเทคโนโลยีนี่ถูกถ่ายทอดกลับไปอเมริกาโดยนำไปใช้กับการประกอบ F22 และที่สำคัญความทันสมัยของระบบอวิโอนิคส์มีความทันสมัยกว่า F 16 อย่างเทียบกันไม่ได้ อันนี้ F2  รูปนี้ F16 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 1599
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 10265
ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง
|
 |
« ตอบ #267 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2005, 03:01:44 PM » |
|
เฮลิคอปเตอร์โจมตี คา 50 2 เออร์โดแกน
กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาได้สรุปผลอนาคต โครงการเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวน/โจมตีแบบอาร์เอเอช-โคมานเช่ ออกมาแล้วว่า ยังคงมีการพัฒนาต่อไป แต่จำนวนที่จะผลิตขึ้นมาใช้งานจะถูกตัดลดลงเหลือเกือบเครื่องหนึ่งจากความต้องการที่กองทัพบกกำหนดไว้ 1,200 เครื่อง จะมีการผลิตขึ้นใช้งาน 819 เครื่องและอาจจะถูกตัดลงอีกเหลือ 679 เครื่อง แต่อย่างไรก็ตาม อนาคตอีกยาวไกลยังไม่แน่ว่าโคมานเช่ อาจจะได้รับการเพิ่มหรือลดจำนวน
คา 50 2 เออร์โดแกน เป็นเฮลิคอปเตอร์ทางทหารอีกแบบหนึ่งที่รอการตัดสินว่าจะมีโอกาสแจ้งเกิดในทำเนียบเฮลิคอปเตอร์โจมตีหรือไม่ แต่กรณีของเออร์โดนแกนแตกต่างจาก อาร์เอเอช 66 คือ เออร์โดแกนรอการตัดสินใจของประเทศผู้ซื้อว่าจะเลือก คา 50 2 เออร์โดแกนหรือเฮลิคอปเตอร์แบบอื่น
คา 50 2 เออร์โดแกน เป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตี บริษัท คามอฟ ประเทศรัสเซียพัฒนามาจากเฮลิคอปเตอร์สนับสนุนโดยใกล้ชิดที่นั่งเดี่ยว แบบแรกของโลก แบบ คา 50 โฮคั่ม หรือ แบลค ชาร์ค สำหรับ คา 50 2 เออร์โดแกน ได้รับการพัฒนาขึ้น โดยการเป็นการร่วมมือระหว่างรัสเซียกับอิสราเอล เพื่อเสนอคา 50 2 เข้าแข่งขันในโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ของตุรกี ซึ่งกำหนดความต้องการไว้ 50 เครื่อง โดย คา 50 2 เออร์โดแกนมีคู่แข่งสำคัญ คือ เบลล์ เอเอช 1 แซด จากสหรัฐอเมริกา ผลปรากฎว่าตุรกีตัดสินใจเลือก เอเอช 1 แซด แต่ต่อมาภายหลังบริษัท เบลล์ผู้ผลิตและตุรกีไม่สามารถตกลงเงื่อนไขต่างๆ ได้ เช่น ตุรกีจะซื้อเฮลิคอปเตอร์ที่ประกอบเสร็จสิ้นเพียง 7 เครื่องเท่านั้น ที่เหลืออีก 43 เครื่อง จะนำมาประกอบเอง และกองทัพตุรกีจะติดตั้งอุปกรณ์บางระบบที่ผลิตภายในประเทศแต่ บริษัทเบลล์ ไม่ยอมรับเงื่อนไขจากตุรกี ข้อตกลงในเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีเงื่อนไขที่จะขายให้กับประเทศที่สามและที่สำคัญคือ เบลล์ไม่ยอมลดราคาให้ ดังนั้น ตุรกีจึงเปิดการเจรจาครั้งใหม่กับบริษัท เบลล์ และคามอฟ ไปพร้อมกัน สำหรับผลการเจรจากับบริษัทเบลล์ผู้ผลิต เอเอช 1 แซด ยอมลดราคา จากเครื่องละ 53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เหลือ 45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทางด้าน คามอฟ บริษัทผู้ผลิต คา 50 2 เออร์โดแกน เสนอราคาเครื่องละ 38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ถูกกว่า เอเอช 1 แซด ถึง 7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และรัสเซีย ยินดีถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตเฮลิคอปเตอร์ ขนาดเบาแบบ คา 115 ถึง 100% เต็ม การให้บริษัทในตุรกีมีส่วนร่วมมือในการผลิตและการอนุญาตให้ขายเฮลิคอปเตอร์ให้ประเทศที่สาม
ดูจากตรงนี้ดูเหมือนว่า คา 50 2 เออร์โดแกน อยู่ในตำแหน่งได้เปรียบ แต่อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจขึ้นอยู่กับตุรกีว่าจะเลือก เอเอช 1 แซด หรือเปลี่ยนมาเป็น คา 50 2 เออร์โดแกน แทน คงไม่เกินสิ้นปีนี้คงจะทราบคำตอบ
กองทัพบกตุรกีวางแผนที่จะนำเฮลิคอปเตอร์ที่ได้รับการคัดเลือกไปใช้ปฏิบัติภารกิจต่างๆ มากมายประกอบด้วยการโจมตีภาคพื้นในพื้นที่การสู้รบ ลาดตระเวนติดอาวุธชี้เป้าให้กับเฮลิคอปเตอร์โจมตีเครื่องอื่นๆ (กองทัพบกตุรกีมีเฮลิคอปเตอร์ โจมตี เอเอช ดับเบิลยู ใช้งานอยู่อีกแบบหนึ่ง) สนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ทำการรบทางอากาศ คุ้มกันติดอาวุธ ค้นหาและกู้ภัยและการฝึก
คา 50 2 เออร์โดแกน เป็นเฮลิคอปเตอร์สองที่นั่ง ตามกัน ซึ่งแตกต่างจาก คา 50 ซึ่งเป็นเครื่องต้นแบบที่มีที่นั่งเดี่ยว ใบพัดประธาน 2 ชุด ชุดละ 3 กลีบ อยู่แกนเดียวกัน การทำงานของใบพัดหมุนสวนทางกันเพื่อป้องกันการเกิดแรงบิด อันเกิดจากการหมุนของใบพัด ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีใบพัดหาง โดยใบพัดชุดบนหมุนในทิศทางตามเข็มนาฬิกา และใบพัดชุดล่างหมุนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา เครื่องยนต์ที่ใช้เป็นพลังขับเคลื่อน ตลอดจนโครงสร้างยังคงเป็นของรัสเซีย แต่ระบบอาวุธ อุปกรณ์อวิโอนิกส์ ระบบควบคุมการยิง อุปกรณ์ที่ใช้กับเป้าหมาย และการจัดระบบในห้องของนักบิน เปลี่ยนมาใช้ระบบที่ผลิตภายในประเทศอิสราเอลแทน สาเหตุที่รัสเซียต้องจับมือในการพัฒนาร่วมกับอิสราเอล เนื่องจากกองทัพตุรกีไม่มีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ผลิตจากรัสเซียใช้งานอยู่เลย และตุรกีเป็นกองทัพที่ต้องปฏิบัติภารกิจร่วมกับกองทัพนาโตอยู่เสมอ ดังนั้น อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ติดตั้งต้องสามารถเข้ากันได้กับระบบของกองทัพนาโตและสามารถใช้ร่วมกับอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีใช้งานอยู่ในกองทัพตุรกี เป็นกองทัพลูกค้าสำคัญรายหนึ่งของอิสราเอลในการปรับปรุงอากาศยานให้มีความทันสมัยและมีขีดความสามารถสูงขึ้น เช่น โครงการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ เอฟ 4 และ เอฟ 5 เอ
ห้องนักบิน คา 50 เดิมเป็นห้องนักบินที่นั่งเดี่ยวถูกดัดแปลงเป็นห้องนักบินสองที่นั่งตามกันห้องนักบินเป็นระบบ Glass Cockpit ที่ทันสมัยและติดตั้งอุปกรณ์อวิโอนิกส์ของอิสราเอล รวมทั้งระบบควบคุมการยิงระบบอินฟาเรด/กล้องโทรทัศน์ สำหรับใช้งานกับเป้าหมาย เครื่องช่วยเดินอากาศระบบสื่อสารและระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ล้วนมาจากบริษัทในประเทศอิสราเอลทั้งสิ้น
.(ติดตามตอน 2)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
686
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 471
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 3988
|
 |
« ตอบ #268 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2005, 04:19:09 PM » |
|
งั้นทายซิว่าเนี่ยชื่อรุ่นอะไร  AMX ครับ เป็นความร่วมมือของ อิตตาลี และ บราซิล (Alenia, Aermacchi and Embraer) [ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
686
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 471
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 3988
|
 |
« ตอบ #269 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2005, 06:11:12 PM » |
|
อีกมุมครับ
[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|