เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤษภาคม 15, 2025, 02:37:55 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 19 20 21 [22] 23 24 25 ... 30
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย  (อ่าน 232700 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #315 เมื่อ: ตุลาคม 12, 2005, 12:53:01 PM »

เมื่อมังกรผงาดฟ้า…เครื่องบินขับไล่ตระกูล เอฟ – 7
…จีนมีการพัฒนาและสร้างเครื่องบินรบมานานเกือบ 50 ปีแล้ว นอกจากการผลิตเพื่อใช้งานเองในกองทัพอากาศและกองทัพเรือ  ยังมีการพัฒนาเพื่อส่งออกขายให้กับกองทัพต่างประเทศที่สนใจเครื่องบินรบที่มีชื่ออเสียงและนำรายได้เข้าประเทศที่สำคัญคือ เอฟ – 6  เอฟ – 7  และเครื่องบินฝึก เค – 8  ที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติทางการรบได้ในปัจจุบันจีนอยู่ระหว่างทำการพัฒนาเครื่องบินรบแบบใหม่ขึ้นมาหลายแบบเพื่อนำมาใช้งานทดแทนเครื่องบินรบเก่าที่ประจำการมาช้านานและขายให้กับกองทัพต่างประเทศ  เครื่องบินรบแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากกว่าเดิม  ติดตั้งระบบควบคุมการยิงที่สามารถเลือกใช้ระบบอาวุธได้ทั้งของจีน  รัสเวีย  และของตะวันตก  เพื่อจูงใจให้กองทัพลูกค้าจัดซื้อไปใช้งานและสามารถติดตั้งระบบอาวุธที่มีใช้งานอยู่เดิมได้โดยไม่ต้องทำการดัดแปลงเพิ่มเติม  และขอแนะนำให้รู้จักเครื่องบินรบที่มีชื่อเสียงมานานของจีน  คือ  เอฟ – 7  แม้จะพัฒนาและสร้างขึ้นมาใช้งานหลายปี  แต่ปัจจุบันยังขายได้อยู่และมีการพัฒนารุ่นใหม่ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง  ทั้งใช้งานเองและส่งขายให้กองทัพอากาศต่างประเทศ
…ในปี พ.ศ.2504 จีนได้รับสิทธิบัตรจากโซเวียต (ในขณะนั้น) ให้ทำการสร้างเครื่องบินขับไล่ความเร็วเหนือเสียงปฏิบัติการได้เฉพาะในเวลากลางวัน แบบ มิก – 21  เอฟ – 13 (ฟิชเบดซี) และเครื่องยนต์เทอร์โบเจต ทูมันสกี้ อาร์ 11  เอฟ – 300  ที่ใช้เป็นพลังขับเคลื่อน  มิก – 21  ที่ทำการสร้างโดยบริษัท Shenyang และ Chengdu  มีชื่อว่า เอฟ – 7  หรือ เจ –7 (Jianjiji – 7)  ในกองทัพอากาศและกองทัพเรือ  ต่อมาเมื่อความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับโซเวียตสิ้นสุดลง จีนได้พยายามพัฒนาเครื่องบินใช้งานเอง
…เจ – 7  เป็นเครื่องบินขับไล่ตระกูล  เจ – 7  รุ่นแรก  ที่เกิดความพยายามที่จะพัฒนาอากาศยานขึ้นใช้งานเองของจีน  โดยอาศัยประสบการณ์จากการสร้างเครื่องบินมิก – 21  ของโซเวียต  ดังนั้น เจ – 7  ก็คือ มิก – 21  Version ของจีนนั่นเอง สร้างโดยบริษัท Shenyang  ทำการบินครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2510 และเข้าประจำการในกองทัพอากาศในปีต่อมา บริษัท Shenyang สร้าง เจ – 7 จำนวนประมาณ 60-80 เครื่อง ก่อนโครงการจะสะดุดเนื่องจากการเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติวัฒนธรรมภายในประเทศ  แต่เครื่องบินจำนวนนี้ได้รับการปรับปรุงดัดแปลง ในเวลาต่อมาอันดับแรกคือการปรับปรุงอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ให้ยาวนานขึ้น  เนื่องจากมีอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ Wopen – 7 เอ เพียง 100 ชั่วโมงบินเท่านั้น ก็ต้องเข้าทำการซ่อมบำรุงใหญ่ เครื่องยนต์ Wopen – 7 เอ ให้แรงขับเคลื่อน 9,700 ปอนด์ และเพิ่มขึ้นเป็น 11,243 ปอนด์เมื่อใช้สันดาปท้าย
…เจ – 7 รุ่นแรกที่จีนสร้างขึ้นใช้งานมีข้อจำกัดและปัญหาในการใช้งานเช่นเดียวกับ มิก – 21 เอฟ ของรัสเซีย คือ พิสัยบินใกล้ และขาดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ – สู่ – อากาศ  ที่มีประสิทธิภาพ  มีตำบลติดอาวุธใต้ปีกเพียงข้างละ 1 แห่ง อาวุธแบบอื่นๆ มีเพียงปืนใหญ่อากาศ ขนาด  30 มิลลิเมตร 1 กระบอก
…เจ – 7 I เป็น เจ – 7  รุ่นที่สองสร้างโดยบริษัท Chengdu ได้เริ่มทำการผลิตส่งมอบให้กับกองทัพอากาศในปี พ.ศ.2510 มีการปรับโครงสร้างช่องอากาศเข้าเครื่องยนต์ให้ปรับได้หลากหลาย  และเพิ่มปืนใหญ่อากาศ ขนาด 30 มิลลิเมตร อีก 1 กระบอก เจ – 7I  ไม่ได้ทำการผลิตขึ้นมาจำนวนมากนัก เนื่องจากระบบเก้าอี้สละอากาศยานไม่เป็นที่พอใจของกองทัพประทุนฝาครอบจะเปิดไปข้างหน้าซึ่งติดกับเก้าอี้สละอากาศยานทำให้ไม่สะดวกเมื่อจำเป็นต้องสละเครื่อง  สำหรับ เจ – 7I รุ่นส่งออกขายให้กับต่างประเทศมีชื่อว่า เอฟ – 7 เอ กองทัพอากาศอัลบาเนีย และทานซาเนียซื้อไปใช้งาน 12 เครื่องและ 16 เครื่องตามลำดับ
…เจ – 7 II  เป็นรุ่นที่ได้รับการพัฒนาต่อจากรุ่น เจ – 7 I ติดตั้งเครื่องยนต์ WP7 B  ให้แรงขับสูงขึ้นเป็น 13,448 ปอนด์ เมื่อใช้สันดาปท้าย ใต้ลำตัวติดถังเชื้อเพลิง  ขนาดความจุ 800 ลิตร เพื่อเพิ่มพิสัยปฏิบัติการติดร่มหน่วงความเร็วขณะทำการลงจอดเพื่อลดระยะทางให้สั้นลง ประทุนฝาครอบเปลี่ยนเป็นแบบเปิดไปด้านหลัง บริเวณจมูกติดตั้งเรดาร์วัดระยะ เจ-7II  มีขีดความสามารถเท่าเทียมกับ มิก – 21 อี ของรัสเซีย
…เอฟ – 7 บี  เป็น เจ – 7II รุ่นส่งออกขายให้กับกองทัพต่างประเทศสามารถติดตั้งและใช้อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ – สู่  - อากาศ  อาร์ 550 มาจิคของฝรั่งเศส  โดยกองทัพอากาศอียิปต์และอิหร่าน ซื้อไปใช้งานกองทัพละ 80 เครื่องในช่วงปี พ.ศ. 2525-2526  สำหรับ เอฟ – 7 บี กองทัพอากาศอียิปต์ภายหลังได้รับการดัดแปลงเพิ่มเติมโดยการติดตั้งจอภาพตรงหน้านักบิน (HUD)  และดัดแปลงให้ติดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ – สู่ – อากาศ แบบ เอไอเอ็ม – 9 พี3/4 ที่ได้ทำการบินครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2509 ต่อมาในปี พ.ศ.2518 จีนได้พัฒนา เจ – 7II รุ่นใหม่ที่ให้พลังขับเคลื่อนมากขึ้น และได้ขายให้กับกองทัพอากาศอียิปต์และอิรักในต้นปี พ.ศ.2523...(ไว้พรุ่งนี้มาต่อ เอฟ - 7 บีเอส กันครับ)
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #316 เมื่อ: ตุลาคม 12, 2005, 03:06:18 PM »

ภาพประกอบ บทความของ คุณ Hydra ครับ


J-7 (Jianjiji-7) / F-7


[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #317 เมื่อ: ตุลาคม 12, 2005, 03:32:02 PM »

Mig-21 Fishbed รุ่นแรก  ฝาครอบห้องนักบินจะเปิดไปข้างหน้า ส่วนรุ่นหลัง ๆ จะเปิดออกทางด้านข้าง

ข้อเสียของ มิก 21 ที่สำคัญคือ นักบิน มีมุมมองที่แคบมาก ทั้งด้านหน้า และ ด้านข้าง ยิ่งด้านหลังจะเป็นจุดบอดเลยด้วยซ้ำ เลยต้องมีกระจกมองหลัง อยู่เหนือฝาครอบห้องนักบิน

เครื่องบินยุคใหม่ของ รัสเซีย ได้แก้ข้อบกพร่องนี้ไปหมดแล้ว เช่น มิก -29 และ ซู -27 ที่มีห้องนักบินอยู่สูง และ เครื่องเล็ง ติดตั้งที่หมวกนักบิน ทำให้นักบินสามารถ ล๊อกเป้าเข้าเครื่อง คอมพิวเตอร์ควบคุมการยิงได้รวดเร็ว และ ให้มุมในการล๊อกเป้ากว้างกว่าใช้จอภาพ HUD ล๊อกเป้า



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #318 เมื่อ: ตุลาคม 12, 2005, 03:58:30 PM »

ที่จริง จีนได้พัฒนาเครื่องบินรบของตนเองอีกหลายแบบ แต่การเข้าประจำการของ Su-27 ทำให้ทางกองทัพต้องยกเลิกการนำเข้าประจำการ หรือไม่ก็ปลดประจำการของเครื่องบินเหล่านั้น เพราะ SU-27 มีความน่าเชื่อถือ และ ประสิทธิภาพสูงกว่ามากนั่นเอง



JH-7 [Jian hong Fighter-Bomber] [B-7]





บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #319 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2005, 01:53:08 AM »

ขณะนี้นอกจาก อเมริกา แล้ว ยังมีอีกหลายชาติที่กำลังพัฒนา UAV เพื่อใช้ในกิจการต่าง ๆ มีทั้งแบบขึ้นลงทางดิ่งอย่าง ฮ. หรือขึ้นลงบนทางวิ่งอย่า เครื่องบินปีกตรึง ทั้งยังมีแบบขึ้นโดยใช้คนโยนขึ้นไป บางแบบก็ปล่อยออกจากฐานยิงคล้ายจรวด

ภาพแรก เป็น UAV ที่บินข้ามมหาสมุทร ได้เป็นแบบแรกของโลก

Aerosonde

ภาพล่าง เป็นภาพ UAV ตรวจการของ เยอร์มัน

Aladin - EMT

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #320 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2005, 01:03:44 PM »

เมื่อมังกรผงาดฟ้า…เครื่องบินขับไล่ตระกูล เอฟ – 7  (ต่อ)
…เอฟ – 7 บีเอส  เป็นเจ – 7 II  รุ่นส่งออกขายให้กับกองทัพอากาศศรีลังกาซึ่งซื้อไปใช้งานเมื่อปี พ.ศ. 2534 จำนวน 4 เครื่อง เอฟ – 7 บีเอส เพิ่มตำบลติดอาวุธใต้ปีกข้างละ 1 แห่ง รวมเป็น 4 แห่ง ติดตั้งระบบอวิโอนิกส์ของจีนแต่ไม่ติดตั้งจอภาพตรงหน้า
…นอกจากสร้างเพื่อใช้งานเองในกองทัพเอง จีนยังได้ทำการพัฒนา เอฟ – 7  เพื่อส่งออกขายให้กับกองทัพอากาศต่างประเทศที่ต้องการเครื่องบินขับไล่ ราคาถูกและเทคโนโลยีต่ำไปใช้งา ได้แก่ กองทัพอากาศอัลบาเนีย (22 เครื่อง) อิหร่าน (30 เครื่อง) อิรัก (40 เครื่อง) ศรีลังกา (5 เครื่อง) แทนซาเนีย (11 เครื่อง) และซิมบับเว (12 เครื่อง)
…เจ – 7 II และ เอฟ – 7 บี/บีเอส  ที่สร้างขึ้นเป็นรุ่นมาตรฐานกองทัพอากาศจีน ที่ผลิตเพื่อใช้งานเองภายในกองทัพและส่งออกขายให้กับกองทัพอากาศต่างประเทศ  เป็นเครื่องบินสำหรับปฏิบัติภารกิจขับไล่สกัดกั้น และสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด มีน้ำหนักตัวเปล่า 11,649 ปอนด์ (5,275 กิโลกรัม) น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด 17,967 ปอนด์ (8,150 กิโลกรัม) ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบเจต WP7BM เป็นพลังขับเคลื่อน ให้แรงขับ 9,700 ปอนด์ และ 14,550 ปอนด์ เมื่อใช้สันดาปท้ายสามารถทำความเร็วได้สูงสุด 2.05 มัค หรือมากกว่า 2 เท่าของความเร็วเสียง พิสัยบินไกล 939 ไมล์ทะเล (1,740 กิโลเมตร) อาวุธที่ติดตั้งประกอบด้วยปืนใหญ่อากาศ ขนาด 30 มิลลิเมตร 2 กระบอก (สำหรับรุ่นส่งออก) กระสุนปืนกระบอกละ 60 นัด ตำบลติดอาวุธใต้ปีกข้างละ 1 แห่ง และ 2 แห่งสำหรับ เอฟ - 7 บีเอส สามารถติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ – สู่ – อากาศ พีแอล – 2  พีแอล – 2 เอ  หรือ อาร์ 550 มาจิค  ของฝรั่งเศสในภารกิจสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดติดตั้งกระเปาะจรวดขนาด 57 มิลลิเมตร  บรรจุจรวด 18 นัด หรือลูกระเบิด ขนาด 150 กิโลกรัม และ  250 กิโลกรัม 2 ลูก (รับน้ำหนักอาวุธได้เพียง 500 กิโลกรัม) รัศมีทำการในการปฏิบัติภารกิจขัดขวางทางอากาศ 600 กิโลเมตร เมื่อบรรทุกระเบิด ขนาด 150 กิโลกรัม 2 ลูก และติดถังเชื้อเพลิงภายนอกลำตัว 3 ถังในการปฏิบัติภารกิจสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดมีรัศมีทำการไกล 370 กิโลเมตร  เมื่อบรรทุกกระเปาะจรวด ขนาด 57 มิลลิเมตร 4 กระเปาะ ในภารกิจขับไล่สกัดกั้น รัศมีทำการไกล 1,490 กิโลเมตร เมื่อติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ – สู่ – อากาศ พีแอล – 2 จำนวน 2 นัด และถังเชื้อเพลิงขนาด 800 ลิตรที่ใต้ลำตัว
…เอฟ – เอ็ม แอร์การ์ด (F – 7 M Air Guard)  เอฟ – 7 เอ็ม เป็นเครื่องบินขับไล่ตระกูล เอฟ – 7 รุ่นส่งออก พัฒนามาจาก เจ – 7II  ประเทศที่สั่งซื้อไปใช้งานได้แก่ กองทัพอากาศพม่า (30 เครื่อง) กองทัพปากีสถาน (80 เครื่อง) กองทัพอากาศซิมบับเว (22 เครื่อง) กองทัพอากาศบังคลาเทศ (16 เครื่อง) และอิหร่าน นับได้ว่า เอฟ – 7 เอ็ม เป็นรุ่นส่งออกที่ได้รับความนิยมสูงสุด ได้รับการปรับปรุงจาก เอฟ – 7II ติดตั้งเครื่องยนต์ WP – BM  ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ แต่ให้แรงขับเท่ากัน แต่ได้รับการปรับปรุงทางด้านระบบอวิโอนิกส์ให้ทันสมัย และมีขีดความสามารถสูงขึ้น โดยติดตั้งเรดาร์วัดระยะ Skyranger ของบริษัทผู้ผลิตในประเทศอังกฤษและจอภาพ HUDWAC (Head Up Display Weapon Aiming Computer) จอภาพ HUDWAC ทำให้นักบินสามารถเล็งอาวุธผ่านจอภาพตรงหน้า (HUD)  ได้ทั้งการรบทางอากาศและการโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดิน รวมทั้งแสดงข้อมูลเครื่องวัดประกอบการบิน เอฟ – 7เอ็ม เพิ่มตำบลติดอาวุธอีก 1 คู่ และติดตั้งปืนใหญ่อากาศ ขนาด 30 มิลลิเมตร 2 กระบอก กระสุนปืนกระบอกละ 60 นัด เพิ่มขีดความสามารถในการรบทางอากาศด้วยการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถี พีแอล – 2 นอกจากนี้ยังได้รับการติดตั้ง air data computer ระบบพิสูจน์ฝ่าย เรดาร์วัดความสูง วิทยุสื่อสารใช้สำหรับการติดต่อที่เป็นความลับ เอฟ – 7 เอ็ม มีน้ำหนักตัวเปล่า 1,630 ปอนด์ (5,275 กิโลกรัม) น้ำหนักวิ่งขึ้นปกติเมื่อ ติดอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ – สู่ – อากาศ 2 นัด 16,603 ปอนด์ (7,531 กิโลกรัม) สมรรถนะทางการบินทำความเร็วในการบินได้สูงสุด 2.3 มัค (2,175 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เพดานบิน 59,700 ฟุต บินได้ไกลสุด 1,203 ไมล์ทะเล (2,230 กิโลเมตร) รัศมีรบในบทบาทโจมตีภาคพื้นดินสามารถติดตั้งระเบิด ขนาด 50,150,250 และ 500 กิโลกรัม 2 ลูก และกระเปาะจรวด ขนาด 57 มิลลิเมตร และ 90 มิลลิเมตร ตำบลติดอาวุธใต้ปีกคู่นอกติดตั้งได้เฉพาะกระเปาะจรวดหรือระเบิดขนาดไม่เกิน 150 กิโลกรัม หรือถังเชื้อเพลิงปลดทิ้งได้ขนาด 500 ลิตร ตำบลใต้ลำตัวติดตั้งได้เฉพาะถังเชื้อเพลิงเท่านั้น ในบทบาทสกัดกั้นระยะไกล มีรัศมีปฏิบัติการไกล 1,740 กิโลเมตร เมื่อติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ – สู่ – อากาศ พีแอล –7 จำนวน 2 นัด และถังเชื้อเพลิงภายนอกลำตัว 3 ถุง เอฟ – 7 เอ็ม รวมน้ำหนักอาวุธที่บรรทุกไปได้ 1 ตัน (1,000 กิโลกรัม)
…เอฟ – 7 เอ็ม  แอร์การ์ด ของกองทัพอากาศปากีสถานมีชื่อเรียกว่า เอฟ – 7 เอ็มพี สกายโบลท์ ได้รับการปรับปรุงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรบทางอากาศ ปากีสถานได้ดำเนินการเปลี่ยนระบบเรดาร์วัดระยะ Skyranger มาเป็นระบบเรดาร์ควบคุมการยิง Grifo – 7 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการใช้อาวุธอากาศ – สู่ – อากาศ และ อากาศ – สู่ – พื้น เรดาร์ Grifo – 7 รวมทั้งเปลี่ยนระบบอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ – สู่ – อากาศมาเป็น เอไอเอ็ม – 9 ไซด์ไวน์เดอร์ และเพิ่มจำนวนติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีเป็น 4 นัด คือ เอไอเอ็ม – 9 พี 2 นัด และเอไอเอ็ม – 9 แอล 2 นัด และ เอไอเอ็ม – 9 แอล 2 นัด เรดาร์ Grifo – 7 มีขีดความสามารถติดตามเป้าหมายทางอากาศได้ไกล 30 ไมล์ ปากีสถานร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตในอิตาลีทำการพัฒนาเพื่อให้สามารถติดตั้งกับเครื่องบิน เอฟ – 7 ซึ่งมีพื้นที่ภายในจำกัด
…กองทัพอากาศปากีสถานนำ เอฟ – 7 เอ็มพี มาใช้ปฏิบัติภารกิจป้องกันภัยทางอากาศ รับผิดชอบในการสกัดกั้นข้าศึกที่ล่วงล้ำเข้ามาในน่านฟ้าปากีสถานสำหรับในบทบาทโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดิน เอฟ – 7 เอ็มมีขีดจำกัดที่ต้องติดตั้งถังเชื้อเพลิงภายนอกลำตัว 2 ถัง ทำให้บรรทุกอาวุธได้จำกัด
…เครื่องบินขับไล่ตระกูล เจ – 7 / เอฟ – 7 ยังมีรุ่นอื่นๆ ซึ่งเป็นการพัฒนาล่าสุด  คือ เจ – 7III เจ – 7 อี และเอฟ – 7 เอ็มจี รุ่นส่งออก จะมีขีดความสามารถสูงกว่ารุ่นเก่ามากน้อยเพียงใดต้องติดตามกันต่อไป.
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #321 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2005, 06:21:52 PM »

ส่งภาพให้เข้ากับกระทู้ตามเคยครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #322 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2005, 06:55:29 PM »

อีกชุดครับ

 Grin Grin

การพัฒนาเครื่องบินขับไล่ที่ทันสมัย เพื่อให้มีความสามารถในการรบใกล้เคียงกับเครื่องบินขับไล่ที่มีขายอยู่ในท้องตลาดเป็นเรื่องยาก เพราะ ต้องใช้ทั้ง เงิน กำลังคน กำลังความคิด และ เวลา ในการพัฒนาเป็นจำนวนมาก โดยที่ จีน เองจำเป็นต้องใช้ปัจจัยเหล่านั้นเพื่อพัฒนาประเทศ ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ จีน เองต้องกลับไปหาการซื้อ สิทธิบัตร มาผลิตเองในประเทศ จะเป็นการคุ้มค่าว่า

การสร้างเครื่องบินต้นแบบสักลำ ต้องใช้ระบบย่อย ๆ มากมาย และ ระบบย่อย ๆ เหล่านั้นก็ต้องใช้ชิ้นส่วน เป็นล้านชิ้น ซึ่งแต่ละชิ้นต้องผ่านการพัฒนา และ ทดสอบว่า เหมาะสมกับการใช้งานบนเครื่องบิน ก่อนออกมาใช้ได้ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เล่านั้น จีน ยังมีไม่เพียงพอ แต่กับ รัสเซีย ซึ่งผลิตเครื่องบิน และ อุปกรณ์ การบินมานาน ทำให้การสร้างเครื่องบินต้นแบบสักแบบ ทำได้รวดเร็วกว่า เพราะ สามารถนำเทคโนโลยีที่มีอยู่ในมือ มาใช้ได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาใหม่ทั้งระบบ เพียงแต่พัฒนาส่วนที่ต้องการเท่านั้น

ดูตัวอย่างง่าย ๆ อย่าง รถยนต์ โปรตรอน ซาก้า

มาเลเซีย ไม่มีความสามารถในการพัฒนารถยนต์ขึ้นมาเองได้ ต้องซื้อแบบ และ เทคโนโลยี จาก มิตซูบิชิ โดยที่ อุตสาหกรรม ยานยนต์ ของมาเลเซีย นั้นเล่าก็ไม่ได้ใหญ่โตมากมายอะไรนัก ผลิตเองทั้งคันยังทำไม่ได้ ต้องนำเข้าชิ้นส่วนของ มิตซูบิชิมาประกอบ สาเหตุที่ มาเลเซีย ยังคงผลิตรถยนต์รุ่นนี้ก็เพราะ ได้ชื่อว่า เป็นรถยนต์แห่งชาติ จึงได้ประโยชน์ทาง ภาษี และ การสนับสนุนจากรัฐ เมื่อไดที่ มาเลเซีย ยอมรับ เงื่อนไขของ FTA เกี่ยวกับ ยานยนต์ เมื่อนั้น รถยนต์ โปรตรอน ซาก้า จะเหลือเพียงตำนาน เพราะ ต้นทุนของรถรุ่นนี้ แพงกว่านำเข้าทั้งคันจากเมืองไทยมาก

เช่นเดียวกันกับ เครื่องบินรบ การพัฒนา และ ผลิตในจำนวนน้อย ย่อมแพงกว่าซื้อสำเร็จ อีกตัวอย่าง คือ ญี่ปุ่น ผลิต F15 J แพงกว่า อเมริกา แต่ญี่ปุ่น ก็ทำเพราะ ได้เรียนรู้เทคโนโลยีอากาศยานขั้นสูง และเป็นทางลัดที่จะนำมาใช้กับการพัฒนาเทคโนโลยี่ของ ญี่ปุ่น เอง

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #323 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2005, 06:56:36 PM »

ท่าน M686 สันทัดเกี่ยวกับเรื่องเครื่องบินมาก ไม่ทราบว่าเป็นนักบินด้วยหรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า

                
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #324 เมื่อ: ตุลาคม 13, 2005, 07:10:43 PM »

 Grin Grin Grin
ไม่ได้เป็นครับ หาอ่านเอาบนเว็ปนี่แหละครับ

 โดนชก เยาะเย้ย ตกใจ หลงรัก
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #325 เมื่อ: ตุลาคม 14, 2005, 11:20:16 AM »

ภาพบน Altus-general atomics ASI

เป็นเครื่องบินทดสอบของ นาซ่า ครับ แต่ไม่มีข้อมูล

ภาพล่าง Black window - AeroVironment, Inc.

เป็นเครื่องบินเล็กขนาดแค่ 6 นิ้ว หรือ 15 เซ็นติเมตร หนักแค่ 42 กรับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #326 เมื่อ: ตุลาคม 14, 2005, 11:21:57 AM »

เอฟ – 35 บี STOVL เขี้ยวเล็บในอนาคตของกองทัพบินอังกฤษ
…กองทัพอังกฤษได้ตัดสินใจเลือกเครื่องบินขับไล่/โจมตี ล่องหน แบบ เอฟ – 35 บี เป็นเขี้ยวเล็บแบบใหม่ที่จะนำมาใช้งานทดแทนเครื่องบินฮาริเออร์ที่ประจำการอยู่ในปัจจุบัน  ทั้งของกองทัพเรือและกองทัพอากาศ ซึ่งปฏิบัติการอยู่ทั้งฐานบินบนบกและบนเรือบรรทุกเครื่อง โดยกองทัพอากาศได้ประกาศเลือกแบบเครื่องบินเมื่อวันที่ 30 กันยายน ที่ผ่านมา
…ก่อนที่จะทำการตัดสินใจเลือก อังกฤษให้ความสนใจเครื่องบินขับไล่/โจมตี แบบ เอฟ – 35 ที่อยู่ในระหว่างพัฒนา 2 รุ่น คือ เอฟ – 35 ซี รุ่นใช้งานบนเรือบรรทุกเครื่องบิน หรือรุ่น ซีวี (Carrier Variant) และ เอฟ – 35 บี รุ่นใช้ระยะทางวิ่งขึ้นสั้นและลงแนวดิ่ง (Short Take Off and Vertical Landing : STOVL)  ซึ่งเป็นรุ่นที่จะเข้าประจำการในนาวิกโยธินสหรัฐฯ ในที่สุดอังกฤษได้ตัดสินใจเลือก เอฟ – 35 ปี เพื่อนำมาใช้งานบนเรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่ จำนวน 2 ลำ ซึ่งอังกฤษกำลังออกแบบและสร้างขึ้นมาใช้งานทดแทนเรือลำเก่าที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน เรือบรรทุกเครื่องบินในอนาคตของกองทัพเรืออังกฤษจะมีระวางขับน้ำอยู่ระหว่าง 55,000-60,000 ตัน
…กองทัพอังกฤษมีประสบการณ์ในการปฏิบัติการด้วยเครื่องบินขับไล่ และเครื่องบินโจมตีตระกูล ฮาริเออร์ ซึ่งเป็นเครื่องบินประเภท STOVL และเคยประกาศศักดามาแล้วในสงครามฟอล์คแลนด์ ในการรบกับกองทัพอาเจนติน่า เครื่องบินขับไล่ ซี ฮาริเออร์ เอฟ / เอ 1 ซึ่งเป็นเครื่องขับไล่สกัดกั้นประจำเรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือสามารถยิงเครื่องบินของกองทัพอาเจนติน่าตกรวม 22 เครื่อง ส่วนเครื่องบินสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด แบบ ฮาริเออร์ จีอาร์ 3 ของกองทัพอากาศปฏิบัติภารกิจโจมตีกำลังข้าศึกภาคพื้น โดยปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบินร่วมกับ ซี ฮาริเออร์ บนเรือบรรทุกเครื่องบิน
…ปัจจุบันกองทัพอากาศอังกฤษมีฮาริเออร์ จีอาร์ 7 และจีอาร์ 9 ส่วนกองทัพเรืออังกฤษมี ซีฮาริเออร์ เอฟ / เอ 2 ร่วมกันปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบินกองทัพเรืออังกฤษกำหนดจะปลดประจำการ ซีฮาริเออร์ เอฟ / เอ 2 ในปี ค.ศ.2009 จะเหลือเฉพาะ ฮาริเออร์ จีอาร์ 9 รุ่นสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดปฏิบัติการบนเรือไปจนถึงปี ค.ศ.2015 จากนั้นกองทัพอังกฤษจะได้รับ เอฟ – 35 บี เข้าประจำการทดแทน จำนวน 160 เครื่อง มูลค่า 15.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
…เอฟ – 35 หรือรู้จักกันในนามโครงการเครื่องบินรบ เจเอสเอฟ (Joint Strike Fighter) เป็นโครงการร่วมของ 3 กองทัพ คือ กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และนาวิกโยธินสหรัฐฯ ซึ่งมีความต้องการร่วมกันในการจัดหาเครื่องบินขับไล่/โจมตีเพื่อนำมาใช้งานทดแทนเครื่องบินขับไล่/โจมตี และเครื่องบินโจมตีที่มีใช้งานใน 3 กองทัพในปัจจุบัน เป็นจำนวนรวมกัน 2,852 เครื่องกองทัพเรือมีความต้องการ เอฟ – 35 ซี รุ่น ซีวี จำนวน 480 เครื่อง เพื่อนำมาใช้งานทดแทนเครื่องบินเอฟ / เอ – 18 เอ / บี / ซี / ดี ปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบิน สำหรับนาวิกโยธิน มีความต้องการ เอฟ – 35 บี รุ่น STOVL จำนวน 609 เครื่อง เพื่อนำมาใช้งานทดแทนเครื่องบินขับไล่ / โจมตี เอฟ/เอ – 18 เอ/บี/ซี/ดี และเครื่องบินสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด เอบี – 8 บี ฮาริเออร์ ปฏิบัติการจากฐานบินบนบกทางด้านกองทัพอากาศมีความต้องการ เอฟ – 35 เอ รุ่นปฏิบัติการจากฐานบินบนบก (Convention Take Off and Landing : CTOL)  เป็นจำนวนมากที่สุด 1,703 เครื่อง เพื่อนำมาใช้งานทดแทนเครื่องบินโจมตี เอ – 10 และเครื่องบินขับไล่/โจมตี เอฟ – 16 ราคาของ เอฟ – 35 แต่ละรุ่นจะแตกต่างกัน โดย เอฟ – 35 เอ ของกองทัพอากาศราคาถูกสุดเครื่องละ 40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เอฟ – 35 ซี ของกองทัพเรือแพงสุด เครื่องละ 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับ เอฟ – 35 บี ของนาวิกโยธินสหรัฐฯ ราคาอยู่ระหว่างทั้ง 2 รุ่น ประมาณ 45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
….โครงการเครื่องบินขับไล่/โจมตี เอฟ – 35 ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาในขั้นตอนการพัฒนาระบบและสาธิตเทคโนโลยี (System Development and Demonstration) อีกประมาณ 8 ปีถึงจะมีการสร้างขึ้นมาใช้งานจริง แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทผู้ผลิต ลอคฮีด มาร์ติน ได้คาดการณ์ว่า เอฟ – 35 จะมีการสร้างขึ้นมาใช้งานเป็นจำนวนมากถึง 6,000 เครื่อง โดย 3,000 เครื่อง ผลิตให้กับกองทัพสหรัฐฯ และจำนวนที่เหลือเป็นของลูกค้ากองทัพต่างประเทศ ในขณะนี้มีต่างประเทศเข้าร่วมโครงการพัฒนา เอฟ – 35 ในขั้นตอน (level) ต่างๆ แล้ว 10 ประเทศ ได้แก่ อังกฤษ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ ตุรกี แคนาดา เดนมาร์ก นอร์เวย์ ออสเตรเลีย อิสราเอล และสิงค์โปร์ ทุกประเทศที่เข้าร่วมโครงการต้องจ่ายเงินเพื่อ เข้าไปดูเทคโนโลยีของโครงการ และมีสิทธิ์จัดซื้อเครื่องบินไปใช้งาน รวมเป็นเงินขณะนี้ 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยอังกฤษจ่ายแพงสุด 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ…(ต่อตอน 2 )
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #327 เมื่อ: ตุลาคม 14, 2005, 11:48:27 AM »

ภาพประกอบบทความอีกแล้ว  Grin Grin Grin




AV8 B harrier รุ่น 2 ที่นั่ง



เทียบกับ Lockheed Martin F-35

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #328 เมื่อ: ตุลาคม 14, 2005, 11:52:58 AM »



ภาพแผนผังของ F-35 A, B และ C



[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #329 เมื่อ: ตุลาคม 14, 2005, 12:03:21 PM »

F- 35 B จะมีพัดลมยกตัว(Lift Fan) ที่มีแกนร่วมกับเครื่องยนต์ เจ็ท กับมี ท่อเปลี่ยนทิศทางกระแสเจ็ทที่ด้านท้าย (3-Bearing seivel duct) และท่อไอพ่นช่วยพยุงตัว(Roll Nozzle) ใว้คอยพยุงไม่ให้พลิกข้าง

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 14, 2005, 02:10:07 PM โดย M686 » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 19 20 21 [22] 23 24 25 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.102 วินาที กับ 21 คำสั่ง