เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤษภาคม 15, 2025, 01:11:13 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 21 22 23 [24] 25 26 27 ... 30
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย  (อ่าน 232667 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
too_muangphol
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #345 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2005, 11:14:23 AM »

ขอให้ได้จริงๆ เถอะ...สาธุ
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #346 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2005, 09:16:33 PM »

UAV ที่น่าสนใจอีกตัว เป็น UAV ขนาดเล็กติดที่ใต้ปีก UAV ขนาดใหญ่แล้วไปปล่อยยังพื้นที่เป้าหมายอีกต่อ

NRL's Finder UAV: A Counterproliferation Asset

Finder เป็น UAV สำหรับตรวจหาสารเคมี หรือ แกสพิษ โดยจะบินเข้าไปยังพื้นที่ต้องสงสัย และ บินกลับออกมาพร้อมตัวอย่างอากาศ และ ข้อมูลจาก เซ็นเซอร์ ในตัวยาน

Finder จะเข้าพื้นที่เป้าหมายโดยการติดใว้ใต้ปีก Predator ซึ่งเป็น UAV ขนาดใหญ่ เมื่อปล่อยแล้ว ปีกหน้าที่ตั้งอยู่บนจุดหมุน จะหมุนปีกให้ตั้งฉากกับลำตัวเครื่องบิน และ ล๊อกใว้อย่างนั้น

ภาพแรกเป็น Finder ติดตั้งใต้ปีก Predator

ภาพที่ 2 เป็น Finder เมื่อกางปีกแล้ว

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย
Website Sponsor
Hero Member
****

คะแนน 303
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4897


« ตอบ #347 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2005, 11:46:18 PM »

สิ่งที่สำคัญที่สุดของสงครามคือ คน ที่ใช้อาวุธ สำคัญกว่า อาวุธมาก สำคัญอันดับรองลงมาก็เป็น การประมวลผล(intelligence)การข่าวการวางแผน จะเห็นได้ว่า อาวุธหรือเทคโนโลยีนั้นความสำคัญในการสงครามนั้น มาเป็น อันดับสาม เห็นได้จากการสงครามที่ผ่านมาเช่นสงครามยิวอาหรับ  ย้อนไปในประวัติศาสตร์ไทยก็ สมเด็จพระนเรศวร พระเจ้าตาก พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งสงครามในอดีตนั้น กำลังรบเทคโนโลยีอาวุธ ยิว เป็นรองอาหรับอย่างมาก กำลังรบ ขนาดกองทัพอาวุธไทยก็เป็นรองพม่ามาก แต่ชนะได้ด้วย การวางแผนการจัดกองทัพ การข่าวมากกว่า ถ้าจะซื้อ ซู 27,35  หรือ กริพเพน ในความคิดเห็นของผมยังไม่สมควร เนื่องจากเครื่องตระกูลซู ออกแบบมา 20 กว่าปีแล้ว  upgrade ได้มากสุดแค่เครื่องบินขับไล่ยุค4 ไม่สามารถพัฒนาได้อีกแล้ว อีก 10 กว่าปีก็จะเป็นโบราณวัตถุในสนามรบ ส่วนเครื่อง ตระกูลกริพเพนนั้น ถึงแม้ตัวเครื่องจะสามารถ พัฒนาไปได้อีก แต่ระบบอาวุธก็ยังต้องพึ่ง อเมริกัน คิดหรือว่าซื้อเครื่องสวีเดนแล้ว american จะขาย aim120 amram ให้ ทางที่ดี ปรับปรุง ยุทธวิธีในการรบดีกว่า เช่น ซื้อเครื่อง awac เพื่อ จับเป้าได้ในระยะไกล แล้ว ส่งข้อมูลเป้าไปให้ f16 โจมตีเป้าหมาย โดยที่ นักบิน f16 ยังไม่รู้เลยว่าเครื่องที่ยิงตกหน้าตาเป็นยังไง แล้ว ในอนาคต ค่อยซื้อเครื่อง f35 หรือ เครื่องยุค5 จากค่าย รัสเซียก็ยังไม่สาย ประเทศเรายังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขนข้าว เป็น ล้านตัน ไปแลกกับเครื่องบินไม่ถึง 10 ลำ ส่วนศัตรูทางใต้นั้น กล้าเอาหัวเป็นประกัน ว่า ให้อีก 100 ปี ก็ไม่กล้าก่อสงครามกับเรา เนื่อง จาก รบยังไงเราก็ชนะ  แล้วที่ชนะเราชนะด้วยความเป็นมนุษย์เผ่าพันธ์ไทย ในภูมิภาคนี้ นอกจากพม่าไม่ว่าอเมริกัน หรือรัสเซียไม่กล้าทำสงครามโดยตรงในป่าฝนแถบนี้หรอกครับ กองทัพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก อย่างกองทัพมองโกล ยังไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติของป่าฝนได้และความใจเด็ดของมนุษย์แถบนี้ เทคโนโลยีนั้น ถึงจะพัฒนาขนาดไหนก็ไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติได้ อีกอย่างน้อยก็หลายศตวรรษ
บันทึกการเข้า

ถ้าเสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง
ผีเปรตในนรกมันคงโหวตให้พวกมันได้ขึ้นสวรรค์
จะแก้รัฐธรรมนูญไปทำไม! ต้นตอปัญหามันเกิดจากรธน.ไม่ดี หรือพวกแกมันเลว!
nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย
Website Sponsor
Hero Member
****

คะแนน 303
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4897


« ตอบ #348 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2005, 12:13:16 AM »

ขอต่ออีกนิดเรื่อง ความใจเด็ด ของมนุษย์ชาติพันธ์ไทย และอีก 2-3 ชาติในดินแดนสุวรรณภูมินี้ สิ่งที่พวกมหาอำนาจ คอเคซอยย์ กลัวมากก็ คือ ความกล้า โดยไม่มีเหตุผลรองรับ หรือ เอาอะไรมาอธิบายได้นอกจาก กล้าโดยปราศจากความกลัวเราจะเคยได้ยินคำว่า สู้จนตัวตายถึงแม้จะรู้แพ้แต่เราก็ไม่เคยที่จะแพ้โดยอยู่เฉยๆรอความตาย หรือถูกควบคุม แม้แต่มุสลิมอาหรับที่ว่ากล้านักหนา เราจะไม่เคยได้ยินในประวัติศาสตร์ว่า มีชนชาติไหนวิ่งเข้าหากำแพงความตายทั้งกองทัพ เหมือน ที่เดียนเบียนฟู  แต่เราจะได้ยินการสังหารหมู่ที่นานกิง สังหารหมู่ ที่เอาชวิท ที่คนเป็นแสนเป็นล้าน เข้าแถวรอความตาย เราจะไม่มีวันเห็นสิ่งนี้เกิดกับชนชาติไทย มนุษย์ชาติอื่นถ้ารู้ว่าแพ้กองทัพก็จะแตกหนี แต่ถ้ามนุษย์เผ่าไทย ถ้าแตก ก็หมายถึงสลายหมดกองทัพ คือ ตายเกือบหมด แต่ก็สู้จนวาระสุดท้าย สิ่งนี้แหละที่ ชาติพันธ์อื่นไม่กล้าทำสงครามกับเราโดยตรง(แต่ตอนนี้เราทำสงครามสมมุติอยู่ คือสงครามเศรษฐกิจเทคโนโลยี)
บันทึกการเข้า

ถ้าเสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง
ผีเปรตในนรกมันคงโหวตให้พวกมันได้ขึ้นสวรรค์
จะแก้รัฐธรรมนูญไปทำไม! ต้นตอปัญหามันเกิดจากรธน.ไม่ดี หรือพวกแกมันเลว!
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #349 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2005, 10:47:55 AM »

เอฟ – 35 บี STOVL เขี้ยวเล็บในอนาคตของกองทัพบินอังกฤษ (ต่อ)
…เครื่องยนต์ที่ใช้ขับเคลื่อน เอฟ – 35 คือ เครื่องยนต์เทอร์โบแฟน เจเอสเอฟ 119-6 ให้แรงขับสถิต 26,000 ปอนด์ (ไม่ใช้สันดาปท้าย) เมื่อเครื่องบิน เอฟ – 35 บี ใช้โหมดการบินเหมือนเครื่องบินทั่วไป (บินไปข้างหน้า) ให้แรงขับ 18,000 ปอนด์ ในการบินโหมด STOVL สำหรับท่อท้ายเครื่องยนต์หลัก ท้ายสุดสามารถปรับท่อท้ายให้ทำมุม 95 องศา ในแนวขวาง เพื่อเป่าก๊าซร้อนลงสู่พื้น โดยกระทำผ่าน 3 bearing duct และเป่าออกด้านข้าง เป็นมุม 12 องศา จากแกนกลางลำตัวทั้งด้านซ้ายและขวา  ชุดใบพัดยกตัวที่นำมาใช้ทำให้เกิดผลดีต่อโครงสร้างเครื่องบินและสภาวะแวดล้อมภายนอกหลายประการ ประการแรกชุดใบพัดยกตัวทำให้อุณหภูมิที่เครื่องยนต์ปล่อยออกมาลดลงได้ประมาณ 200 องศา เมื่อเปรียบเทียบกับอุณหภูมิที่เครื่องยนต์ปล่อยผ่านก๊าซร้อนออกมาโดยตรงจากเครื่องยนต์ นอกจากนี้ยังลดความเร็วต้นของก๊าซร้อนที่พวยพุ่งออกมา เมื่อก๊าซที่ปล่อยออกมามีอุณหภูมิลดลงและความเร็วลดลงย่อมส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อมภายนอก และอากาศเย็นที่พวยพุ่งออกมาจากใบพัดยังเป็นการป้องกันอากาศที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจากเครื่องยนต์ซึ่งเป็นปัญหาที่พบกับเครื่องบินแบบฮาริเออร์ เพื่อเมื่ออากาศร้อนไหลเข้าไปทำให้ชุดคอมเพรสเซอร์ของเครื่องยนต์หยุดทำงานและสมรรถนะของเครื่องยนต์ลดลง และที่สำคัญระบบใบพัดยกตัวไม่ทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ เจเอสเอฟ 119-611 ลดลง แต่อย่างใด
…นาวาตรี อาร์ท โทมาสเซททิ นักบินลองเครื่อง เอฟ – 35 บี ให้ความเห็นในการเปรียบเทียบระหว่าง ฮาริเออร์ กับ เอฟ – 35 บี ว่า ฮาริเออร์ นำคอมพิวเตอร์มาช่วยน้อยมากในการลดภาระงานของนักบิน เป็นการยากที่นักบินจะเรียนรู้และดำรงความชำนาญ แต่สำหรับ เอฟ – 35 บี มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยเป็นอย่างมากเพื่อลดภาระงานของนักบิน เป็นการง่ายที่นักบินจะเรียนรู้และดำรงความชำนาญได้เป็นเวลานาน นอกจากนี้ เอฟ – 35 ยังมีพิสัยบินไกลกว่า บรรทุกอาวุธได้มากกว่า และเป็นเครื่องบินที่มีคุณลักษณะในการตรวจจับได้ยาก (stealth)
…ทางด้านขีดความสามารถในการปฏิบัติการรบ เอฟ – 35 บี ได้รับการปรับปรุงให้เพิ่มขีดความสามารถในการบรรทุกอาวุธได้เป็นน้ำหนักมากกว่าเดิมเป็น 2 เท่า จากเดิมที่กำหนด เจเอสเอฟ รุ่นใช้งานในนาวิกโยธินให้บรรทุกอาวุธในห้องบรรทุกอาวุธภายในลำตัวได้เพียง 1,000 ปอนด์ แต่เมื่อ เอฟ – 35 บี ประสบความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมระบบขับเคลื่อนใบพัดยกตัว (Innovative lift – fan propulsion system)  ทำให้สามารถเพิ่มน้ำหนักอาวุธได้เป็น 2,000 ปอนด์ (907 กิโลกรัม) รัศมีรบเมื่อไม่เติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ 450 ไมล์ทะเล (918 กิโลเมตร) เอฟ – 35 ทุกรุ่นสามารถติดตั้งอาวุธใต้ปีกได้เพิ่มเติม ถ้าหากไม่จำเป็นต้องออกปฏิบัติการโจมตีเป้าหมายโดยให้เครื่องบินมีคุณลักษณะตรวจจับได้ยากเพราะการติดตั้งอาวุธหรือถังเชื้อเพลิงใต้ปีกจะทำให้เรดาร์สามารถตรวจพบได้ เอฟ – 35 บี สามารถนำกลับอาวุธและบริภัณฑ์กลับสู่ที่ตั้ง เป็นน้ำหนัก 5,000 ปอนด์ นั้นหมายถึงว่า ถ้าหากเครื่องบินถูกส่งออกไปปฏิบัติการโจมตีเป้าหมาย แต่ไม่สามารถใช้อาวุธต่อเป้าหมายด้วยเหตุผลประการใดก็ตาม สามารถนำอาวุธและเชื้อเพลิงกลับสู่เรือได้ เป็นน้ำหนักรวมไม่เกิน 5,000 ปอนด์ ซึ่งแต่เดิมนั้นกองทัพเรือสหรัฐฯ ประสบปัญหา ถ้าหากเครื่องบินรบ (อาทิเช่น เอฟ/เอ – 18) ที่ถูกส่งออกไปโจมตีเป้าหมายติดตั้งอาวุธเต็มที่ แต่ไม่ได้ใช้อาวุธไปแม้แต่ลูกเดียว เมื่อจะกลับลงสู่เรือจำเป็นต้องปลดอาวุธจำนวนหนึ่งทิ้งไป เพื่อความปลอดภัยในการแล่นลงจอดบนเรือ ซึ่งอาวุธบางแบบมีราคาแพงมากต้องถูกปลดทิ้งลงสู่ทะเลหรือพื้นที่เวิ้งว้างโดยเปล่าประโยชน์
…อาวุธที่จะนำมาติดตั้งใช้งาน เอฟ – 35 ได้แก่ ปืนใหญ่อากาศขนาด 27 มิลลิเมตร โดยเอฟ – 35 จะติดตั้งภายในลำตัว สำหรับ เอฟ – 35 บี และ เอฟ – 35 ติดตั้งในรูปกระเปาะภายนอกลำตัว อาวุธอื่นๆ ได้แก่ อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ – สู่ – อากาศ พิสัยปานกลาง แบบเอไอเอ็ม – 12 แอมแรม และระเบิดเจแดม ขนาด 1,000 ปอนด์ และ 2,000 ปอนด์
…สำหรับ เอฟ – 35 บี ที่จะนำไปใช้งานทั้งในกองทัพอากาศและกองทัพเรืออังกฤษอาจจะได้รับการติดตั้งระบบอาวุธที่แตกต่างจากรุ่นที่ใช้งานอยู่ในกองทัพสหรัฐฯ โดยอังกฤษจะนำอาวุธที่ผลิตหรือจัดซื้อเองไปติดตั้งแทนระบบอาวุธจากสหรัฐฯ ในบทบาทการรบทางอากาศระบบอาวุธที่จะนำมาติดตั้ง ได้แก่ อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ – สู่ – อากาศ พิสัยปานกลาง แบบเมทิเออร์ (Meteor) ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์แรมเจต อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ – สู่ – อากาศ พอสัยใกล้ แบบ แอสแรม (Advanced Short Range – Air – to – Air Missile : ASRAAM) ซึ่งสามารถติดตั้งภานในห้องบรรทุกอาวุธภายในลำตัวได้อาวุธปล่อยนำวิถี แอสแรม นำวิถีด้วยอินฟราเรด สามารถทำการลอคเป้าไว้หลังจากนักบินปล่อยอาวุธออกไปแล้ว ในบทบาทการรบทางอากาศ เอฟ – 35 บี ของกองทัพอังกฤษสามารถติดตั้งอาวุธปล่อย AIM – 120 แอมแรม และแอสแรม ได้ประเภท 2 นัด  สำหรับเอไอเอ็ม – 9 เอ็กซ์ สามารถติดตั้งได้เฉพาะตำบลติดอาวุธภายนอกลำตัวในบทบาทโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดิน กองทัพอังกฤษอาจจะเลือกติดตั้งระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ แบบ จีบียู – 12 เพฟเวย์ 4 (pave way 4) หรือซื้อระเบิด เจแดม และอาวุธปล่อย เจโชว จากสหรัฐฯ ถ้าหากไม่จำเป็นต้องออกปฏิบัติการโดยให้เครื่องบินมีคุณลักษณะตรวจจับได้ยากตำบลติดอาวุธใต้ปีกสามารถติดตั้ง อาวุธปล่อยนำวิถีพิสัยทำการไกล แบบ สตอร์ม แชดโดว์ (Storm Shadow) ซึ่งมีระยะทำการไกล 600 กิโลเมตร สำหรับการโจมตีเป้าหมายระยะใกล้อาจจะพัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถี เมทิเออร์ เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีทำลายเป้าหมายภาคพื้นและอาวุธปล่อยนำวิถี เบิร์มสโตน (Birmstone) นำวิถีด้วย millimeter wave สำหรับใช้โจมตีเป้าหมายภาคพื้นที่กำลังเคลื่อนที่ ซึ่งในปัจจุบันอาวุธปล่อยนำวิถี เบิร์มสโตน (ทัดเทียมกับอาวุธปล่อยนำวิถีเฮลไฟร์ของสหรัฐฯ) ติดตั้งใช้งานกับฮาริเออร์ จีอาร์ 7 และ จีอาร์ 9 ของกองทัพอากาศอังกฤษสำหรับใช้ทำลายเป้าหมายเคลื่อนที่ อาทิเช่น รถถัง และยานเกราะ
…เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งที่อังกฤษเลือก เอฟ – 35 บี รุ่น STOVL แทนที่จะเป็น เอฟ – 35 ซี รุ่น ซีวี นอกเหนือจากความคุ้นเคยและประสบการณ์กับเครื่องบินประเภทนี้จากเครื่องบินฮาริเออร์ แล้วการเลือก เอฟ – 35 บี ยังส่งผลดีต่อ อุตสาหกรรมการบินของอังกฤษอีกด้วย เนื่องจากระบบใบพัดยกตัว เป็นความรับผิดชอบของบริษัท โรลซ์รอยซ์ ที่ถูกดึงเข้าร่วมในโครงการ เอฟ – 35 บีด้วย
…สำหรับตัวเก็งลูกค้าต่างประเทศที่จะเลือก  เอฟ – 35 บี เป็นรายต่อไปต่อจากกองทัพอังกฤษคือ กองทัพอิตาลี ซึ่งเข้าร่วมในโครงการนี้ด้วยพร้อมทั้งจ่ายเงินสมทบโครงการ 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ มากเป็นอันดับสองต่อจากอังกฤษ โดยกองทัพอากาศและกองทัพเรืออิตาลีมีความต้องการเครื่องบินขับไล่/โจมตี เอฟ – 35 จำนวน 120 เครื่อง เพื่อนำไปใช้งานทดแทนเครื่องบินโจมตี เอเอ็ม เอ็กซ์ เครื่องบินขับไล่ ทอร์นาโต และเครื่องบินขับไล่ / โจมตี เอวี – 8 บี ของกองทัพเรือที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #350 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2005, 02:20:31 PM »

โพสรูปตามบทความอีกตามเคย





AIM-132 ASRAAM



AIM-9 Sidewinder




F-15 E Strik Eagle กำลังทิ้งระเบิด GBU-12 Paveway










บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #351 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2005, 02:43:57 PM »

เครื่องบิน มิก ที่มีการกล่าวขานน้อยที่สุด ทั้ง ๆ ที่มีขีดความสามารถสูงที่สุดของเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นในยุคของมัน คือ เครื่องบิน Mig 31 Foxhound อาวุธที่ร้ายกาจที่สุดของ มิก 31 คือ เรด้า ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในบรรดาเครื่องบินรบด้วยกัน และบินได้ด้วยความเร็ว เกือบ 3 มัค โดย สามารถสกัดเป้าหมายได้ถึง 24 เป้าหมาได้ในเวลาเดียวกัน
แต่จุดด้อยที่สุดของมันที่ไม่สามารถสู้เครื่องรุ่นอื่นได้ก็คงจะเป็นความคล่องตัวในการรบระยะประชิดครับเรดาร์จับเป้าได้ไกลยิงได้ก่อนก็จริงแต่หากถูกเข้าประชิดตัวแล้วกลายเป็นจิ้งจอกหมดแรงไป Grin Grin
บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #352 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2005, 04:00:08 PM »

กำหนดการเข้าประจำการ เอฟ – 35 อาจต้องเลื่อนไป 2 ปี
…กองทัพอากาศสหรัฐฯ กำลังดำเนินการปรับแผนการงบประมาณใหญ่ โดยเฉพาะในส่วนของโครงการผลิตเครื่องบินขับไล่โจมตีร่วม เจเอสเอฟ (JOINT STRIKE FIGHTER, JSF) หรือ เอฟ – 35 (F-35) อาจจะต้องถูกขยายระยะเวลาของโครงการไปอีก 2 ปี หลังจากกลาโหมสหรัฐฯ เพนตากอนได้ให้กองทัพอากาศสหรัฐฯ ปรับงบประมาณทางด้านงบประมาณการพัฒนาใหม่ โดยสภาคองเกรสสหรัฐฯ หรือที่ชาวอเมริกัน เรียกกันว่า CAPITOL HILL และกลาโหมสหรัฐฯ ได้ให้กองทัพอากาศสหรัฐฯ ไปปรับแผนการงบประมาณ 6 ปีใหม่ ระหว่างปี ค.ศ.2004 ถึง ค.ศ. 2009 ลดลงอีก 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพราะยอดงบประมาณดังกล่าวนี้กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้ตั้งงบประมาณเกินมา และเมื่อ 12 กันยายน 2545 ที่ผ่านมาแหล่งข่าวในกลาโหมสหรัฐฯ ได้กล่าวว่ากองทัพอากาศได้เสนอรายงานปรับแผนงบประมาณใหม่แล้ว โดยได้ลดงบประมาณพัฒนาของโครงการ เจเอสเอฟ (JSF) ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 2004 ถึง ค.ศ. 2009 ลงหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งการลดงบประมาณดังกล่าวลงจะทำให้การเริ่มต้นผลิต เจเอสเอฟ จะต้องเลื่อนออกไปจากปี ค.ศ. 2008 ไปเป็น ค.ศ. 2010 โดยงบประมาณของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ที่เกินไปนั้นเกิดมาจากสาเหตุที่จะต้องนำงบประมาณไปใช้ในโครงการประกันและดูแลสุขภาพของกำลังพล โครงการอวกาศที่ต้องเพิ่มเติมบางส่วน และลงทุนในโครงการลับที่มีความจำเป็นเร่งด่วน แต่อย่างไรก็ตามกลาโหมสหรัฐฯ ได้ส่งรายงานการปรับแผนงบประมารดังกล่าวกลับมายังกองทัพอากาศสหรัฐฯ ใหม่ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2545 ที่ผ่านมาเพื่อให้แก้ไขใหม่
…วันที่ 1 ตุลาคม 2545 ที่ผ่านมา นายเจมส์ โรเซ่ส์ รัฐมนตรีทบวงทหารอากาศสหรัฐฯ จะนัดประชุมนายทหารชั้นสูงของกองทัพอากาศสหรัฐฯ เพื่อทบทวนและปรับปรุงแผนการงบประมาณในภาพรวม เพื่อให้ทุกโครงการมีความเป็นไปได้และตามนโยบายกลาโหมสหรัฐฯ  ข้อสรุปวางแผนงบประมาณ 6 ปีของกองทัพอากาศสหรัฐฯ นี้จะมีผลต่อโครงการที่สำคัญและน่าสนใจอีกหลายโครงการนอกเหนือจากโครงการผลิตเครื่องบินขับไล่ เจเอสเอฟแล้ว ก็ยังมีโครงการผลิตเครื่องบินขับไล่โจมตีล่องหน เอฟ/เอ – 22 เป็นต้น  เครื่องบินขับไล่เอนกประสงค์ (MULTIROLE FIGHTER) ได้รับการออกแบบให้ใช้ประจำการ เครื่องบินแบบต่างๆ หลายแบบที่ประจำการอยู่ในกองทัพสหรัฐฯ และพันธมิตรมีถึง 3 แบบ สามารถประจำการแทนเครื่องบินขับไล่ในกองทัพอากาศทั่วโลก สามารถใช้ประจำการในเรือบรรทุกเครื่องบิน และสามารถใช้ประจำการกับกองกำลังที่ปฏิบัติการนอกประเทศ  กองทัพอากาศสหรัฐฯ กองทัพเรือสหรัฐฯ และนาวิกโยธินสหรัฐ วางแผนที่จะใช้งบประมาณถึง 250,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อผลิตเครื่องบิน เจเอสเอฟ จำนวน 2,800 เครื่อง และคาดว่า เจเอสเอฟ จะเป็นเครื่องบินขับไล่รุ่นสุดท้ายของสหรัฐฯ ที่ใช้นักบินที่อยู่ในสายการผลิต หลังปี ค.ศ.2013
…สำหรับโครงการผลิตเครื่องบินขับไล่เจเอสเอฟ ในปัจจุบันมีชาติพันธมิตรร่วมกับสหรัฐฯ ทั้งหมดรวม 8 ชาติ ที่ร่วมกันดำเนินการในขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา หรือที่เรียกกันเป็นทางการว่า ขั้นตอนการพัฒนาระบบและการสาธิต ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณทั้งหมดประมาณ 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจากยอดงบประมาณจำนวนนี้ บริษัท ล็อกฮีดมาร์ติน ได้รับสัญญาในการดำเนินการเป็นเงิน 19,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อพัฒนาเครื่องบินเจเอสเอฟ ร่วมกับบริษัท นอร์ทรอปกรัมมัน และบริษัท บี เออี ซีสเทมส์  แหล่งข่าวจากกองทัพอากาศสหรัฐฯ กล่าวว่าการปรับแผนทางด้านงบประมาณของ เอเอสเอฟ ไม่มีข้อเกี่ยวข้องกับการปรับแผนการผลิตของเครื่องบินขับไล่ โจมตีล่องหน เอฟ/เอ – 22 ซึ่งกำลังได้รับการทบทวนจำนวนการผลิตจาก 295 เครื่อง เหลือ 180 เครื่อง  แต่อย่างไรก็ตาม การพัฒนาทางด้านอากาศยานนั้น จะต้องมาจากงบประมาณพ้องกันประเทศของสหรัฐฯ จึงทำให้โครงการผลิตเครื่องบิน เจเอสเอฟ เอฟ/เอ – 22 และ เอฟ/เอ – 18 อี/เอฟ จะต้องเป็นคู่แข่งกันในความเป็นจริงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
…ผู้ร่วมลงทุนจากมิตรประเทศในโครงการ เอเอสเอฟ การร่วมลงทุนของมิตรประเทศของสหรัฐฯ ในโครงการผลิตเครื่องบินขับไล่โจมตีร่วม เจเอสเอฟ นั้น ได้แบ่งระดับการร่วมลงทุนเป็น 3 ระดับ ด้วยกัน โดยโครงการในขั้นตอนการพัฒนาระบบและการสาธิต จะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 24,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศใดจะได้รับการพิจารณาอยู่ในระดับไหนของการลงทุน ส่วนใหญ่จะขึ้นกับเงินงบประมาณที่ร่วมดำเนินการ
    ระดับ (LEVEL)   ประเทศ          ปีที่เข้าร่วม (ค.ศ.)     งบประมาณการลงทุน
1      อังกฤษ         2001       2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

2      อิตาลี         2002      1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
เนเธอร์แลนด์       2002      800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

3      ตุรกี         2002      175 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
แคนาดา         2002      150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เดนมาร์ก         2002      150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ออสเตเรีย       อยู่ระหว่างการยืนยัน   150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นอร์เวย์         2002      125 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

อยู่ระหว่างการ      สิงคโปร์         -      ประมาณ 50-70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เจรจาในรายละเอียด   อิสราเอล         -      ประมาณ 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ



ระดับที่ 1 โครงการจะอนุญาตให้อังกฤษ ส่งผู้แทนเข้าร่วมในขั้นตอนการพัฒนาได้ 10 คน
ระดับที่ 2 มี 2 ประเทศ คืออิตาลีและเนเธอร์แลนด์จะอนุญาตให้ส่วนผู้แทนเข้าร่วมทำงานในโครงการ ได้ 3-5 คน
ระดับที่ 3 มี 5 ประเทศ ในขณะนี้สามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมโครงการได้ประเทศละ 1 คน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 18, 2005, 05:21:54 PM โดย Hydra » บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #353 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2005, 06:58:20 PM »

เครื่องบิน มิก ที่มีการกล่าวขานน้อยที่สุด ทั้ง ๆ ที่มีขีดความสามารถสูงที่สุดของเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นในยุคของมัน คือ เครื่องบิน Mig 31 Foxhound อาวุธที่ร้ายกาจที่สุดของ มิก 31 คือ เรด้า ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในบรรดาเครื่องบินรบด้วยกัน และบินได้ด้วยความเร็ว เกือบ 3 มัค โดย สามารถสกัดเป้าหมายได้ถึง 24 เป้าหมาได้ในเวลาเดียวกัน
แต่จุดด้อยที่สุดของมันที่ไม่สามารถสู้เครื่องรุ่นอื่นได้ก็คงจะเป็นความคล่องตัวในการรบระยะประชิดครับเรดาร์จับเป้าได้ไกลยิงได้ก่อนก็จริงแต่หากถูกเข้าประชิดตัวแล้วกลายเป็นจิ้งจอกหมดแรงไป Grin Grin







MiG-31 FOXHOUND (MIKOYAN-GUREVICH)


ที่จริงแล้ว MiG-31 FOXHOUND ยังอยู่ในประจำการของทั้ง รัสเซีย และ จีน โดยที่ จีนได้ซื้อ มิก 31 ถึง 24 ลำเข้าประจำการ และ นำแบบไปผลิตใน จีน เองเมื่อปี 1992 นี้เอง และ คาดว่า จีนจะผลิตถึง 700 ลำเพื่อเข้าประจำการในกองทัพ


บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #354 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2005, 07:38:05 PM »

โครงสร้างทางทหารของจีนไม่เหมือนชาติทาง ยุโรป หรือ อเมริกา ดังนั้นอาวุธ และ ระบบการจัดวางจึงแตกด่างออกไปด้วยเช่นกัน จีน ยังไม่มี ระบบบังคับบัญชาทางอากาศที่เป็นระบบ อย่างของ อเมริกา ทำให้จีนจำเป็นต้องสร้าง ระบบบังคับบัญชาการรบทางอากาศส่วนหน้าขึ้นมา ประเทศจีนเป็นประเทศใหญ่ มีพื้นที่มาก ทำให้ต้องมีระบบเตือนภัย และ บัญชาการที่ครอบคลุมพื้นที่มากตามไปด้วย โดยที่ว่า เรด้าของ มิก-31 มีประสิทธิภาพสูงดังนั้น จึงเหมาะแก่การเป็นศูนย์บัญชาการส่วนหน้า แทนที่เครื่องบิน AWACS ของอเมริกา และ เป็นเครื่องบินขับไล่ครองอากาศไปด้วยในตัว
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #355 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2005, 08:44:50 AM »

Mig 31 มาเป็นชุด

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #356 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2005, 08:46:57 AM »

คราวนี้ชุดใหญ่ครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #357 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2005, 08:50:29 AM »

อีกชุดครับ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #358 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2005, 08:55:05 AM »

ชุดใหญ่จริง ๆ

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #359 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2005, 09:01:33 AM »

ห้องนักบินผู้ช่วย หรือ พลอาวุธของ มิก-31 มีมุมมองที่แคบสุด ๆ เพราะ มองออกไปได้เพียงแค่ข้าง ๆ เฉียงไปข้างหน้านิด ๆ เอง ส่วนนักบินก็มองขึ้นไปข้างบนไม่ได้ มองไปด้านหลังต้องใช้กระจกมองหลัง เหมือนกับเครื่องบิน มิก-21 เลย

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 21 22 23 [24] 25 26 27 ... 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 22 คำสั่ง