เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤษภาคม 15, 2025, 06:04:51 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 25 26 27 [28] 29 30
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: SU27 ? SU 30 ?? ทัพฟ้าไทย  (อ่าน 232381 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #405 เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2005, 08:43:57 PM »

ภาพประกอบอีกตามเคยครับ














CN235-220 เป็นเครื่องบินลำเลียงขนาดเบา บรรทุกสูงสุดได้ 6 ตัน แค่ 1 ใน 3 ของ C-130 รัศมีทำการได้ไกล 1300 กิโลเมตร เมื่อบรรทุกเต็มอัตรา หรือ 5000 กิโลเมตร เมื่อบินตัวเปล่า

[ไฟล์แนบถูกลบโดยผู้ดำเนินการ]
บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #406 เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2005, 09:50:07 AM »

……การพัฒนาการขนส่งทางอากาศของสหรัฐฯ  (ต่อ)
ความต้องการเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศ
…ปฏิบัติการทางทหารในประเทศอาฟกานิสถานได้ให้บทเรียนในการที่ต้องให้ความสำคัญกับเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศ ซึ่งช่วยในการปฏิบัติการทางทหารหลายอย่างให้เป็นไปได้
…เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศได้ช่วยให้เครื่องบินขับไล่โจมตีจากเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐฯ ที่ลอยลำอยู่ในทะเลอาราเบียน ซึ่งอยู่ห่างจากเป้าหมายในอาฟกานิสถานถึง 7 ชั่วโมงบิน สามารถบินไปทำลายเป้าหมาย และบินกลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังทำให้การส่งกำลังบำรุงทางอากาศ (AIR BRIDGE)  และการทำลายเป้าหมายภาคพื้นของเครื่องบินทิ้งระเบิดจากฐานทัพอากาศ ดีโกกลาเชีย (DIEGOGARCIA)  และจากแผ่นดินใหญ่ของประเทศสหรัฐฯ เป็นไปได้อย่างได้ผลดี การปฏิบัติการทางทหารในสงครามอัฟกานิสถานที่ผ่านมา จะเป็นไปไม่ได้เลยหากปราศจากเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศ
…การปฏิบัติการเติมเชื้อเพลิงในอากาศที่ผ่านมาจะใช้เครื่องบิน เคซี-135 ซึ่งแม้จะประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมากก็ตาม แต่เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศถึงจำนวนหนึ่งในสี่ต้องเข้าโรงงาน เพื่อรอการซ่อมบำรุง ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาทั้งหมดในการซ่อมประมาณ 400 วัน ซึ่งปัญหาการซ่อมบำรุงของ เคซี-135 ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสนิมและการผุกร่อนของโครงสร้าง (CORROSION)  ซึ่งเครื่องบินเคซี-135 มีอายุถึงกว่า 40 ปีแล้ว
…ในช่วงเดือนเมษายน ที่ผ่านมาจากจำนวนเครื่องบิน เคซี-135 ทั้งหมดในกองทัพสหรัฐฯ มีจำนวนทั้งหมด 546 เครื่อง ต้องรอการซ่อมบำรุงอยู่ในโรงงานถึง 131 เครื่องในช่วงเวลาที่ผ่านมาเครื่องบิน เคซี-135 ได้รับการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์อากาศ (AVIONICS) มาโดยตลอด แต่ยังไม่ได้รับการพัฒนาทางด้านโครงสร้งเลย
…กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้เตรียมการสำหรับการบริหาร และจัดการกับเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศเป็น 2 แผนงาน คือ การจัดหาใหม่และการเช่ากองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้วางแผนงานสำหรับการจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางอากาศ เพื่อทดแทนเครื่องบิน เคซี-135 ด้วยเครื่องบิน เคซี-เอ็กซ์ ในช่วงปี ค.ศ. 2012-2015 โดยหน่วยบัญชาการการเคลื่อนย้ายทางอากาศกองทัพอากาศสหรัฐฯ (AIR MOBILITY COMMAND : AMC)  ได้วางแผนงานเพื่อจัดหาเครื่องบิน เคซี-เอ็กซ์ จำนวน 276 เครื่อง ระหว่างปี ค.ศ.2012-2014 สำหรับกองทัพอากาศได้วางแผนงานงบประมาณเพื่อการจัดซื้อเครื่องบิน เคซี-เอ็กซ์ ในช่วงปี ค.ศ. 2005-2009 ไว้เป็นจำนวนเงิน 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามกองทัพอากาศสหรัฐฯ ยังมีคำถามว่าจะสามารถซ่อมบำรุงเครื่องบิน เคซี-135 อี ได้อย่างสมบูรณ์เพื่อปฏิบัติภารกิจในช่วงนี้ได้หรือไม่ เพราะ เคซี-135 อี ถ้าเปรียบเสมือนรถยนต์เก่าที่ต้องเสียบ่อย อะไหล่แพงและหายากโดยกองทัพอากาศมีแผนที่จะปลดประจำการเครื่องบิน เคซี-135 อี และจะใช้เครื่องบิน เคซี-135 อาร์ ซึ่งได้รับการพัฒนาติดตั้งเครื่องยนต์ใหม่ ในช่วง 15 ปี ที่ผ่านมาใช้งานร่วมกับเครื่องบินที่จะจัดหาหรือเช่ามาใหม่
…สำหรับแผนการเช่าเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศนั้นกองทัพอากาศสหรัฐฯ มีแผนที่จะขอเช่าเครื่องบินโบอิ้ง 767 จากบริษัท โบอิ้ง เพื่อสร้างเป็นเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศเพื่อให้ทันต่อการสนับสนุนภารกิจที่เพิ่มมากขึ้น หลังจากเหตุการณ์การก่อการร้ายเมื่อ 11 กันยายน 2544 ที่ผ่านมาโดยสภาคองเกรสของสหรัฐฯ ได้อนุมัติให้กองทัพอากาศสามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสม โดยใช้งบประมาณปี ค.ศ.2002 การเช่าเครื่องบินโบอิ้ง 767 นี้จะทำให้กองทัพอากาศสหรัฐฯ มีเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศสนับสนุนภารกิจได้ ตั้งแต่ปี ค.ศ.2005 ซึ่งจะเร็วขึ้นกว่ากำหนดการเดิม 10 ปี
…จำนวนการจะเช่าหรือซื้อเพิ่มของเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศของกองทัพอากาศสหรัฐฯ คงจะต้องมีการวิเคราะห์ในรายละเอียดเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพเหมาะสมกับราคา ซึ่งคงจะตัดสินใจได้ข้อสรุปภายในปี ค.ศ.2005
การบินลำเลียงในสงครามในอนาคต
…ในการทำสงครามในปัจจุบันและอนาคตของกองทัพสหรัฐฯ ที่มีแนวทางว่า สามารถที่จะทำสงครามได้ทุกที่ในโลกใบนี้เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนทางด้านการเมืองของสหรัฐฯ (GLOBAL REACH AND GLOBAL POWER)  โดยข้อมูลการศึกษาของกลาโหมสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้วได้กำหนดเป้าหมายของการปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ ว่าจะต้องสามารถควบคุมสถานการณ์ทางการทหารและปฏิบัติการ ได้ทุกแห่งในโลกภายนอกในเวลา 24 ชั่วโมง และจะต้องชนะสงครามใหญ่ (MTW) ภายในเวลา 30 วัน โดยเหล่าทัพต่างๆ จะต้องปรับตัววางแนวทางปฏิบัติตามให้ได้ โดยตัวอย่างเช่น กองทัพบกสหรัฐฯ จะต้องมีขีดความสามารถที่จะเคลื่อนย้ายกองกำลังทหารระดับกองพัน (BRIGADE) ได้ภายใน 96 ชั่วโมง นอกจากนั้นกองทัพบกสหรัฐฯ พร้อมที่จะพัฒนาขนาดของสิ่งของอุปกรณ์การรบให้สามารถเคลื่อนย้ายได้ด้วย เครื่องบิน ซี-130 กองทัพอากาศสหรัฐฯ จะต้องสรุปวางแผนเกี่ยวกับการจัดหาเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงในอากาศได้ภายในปี ค.ศ.2005 และสามารถสรุปวางแผนเกี่ยวกับจำนวนของเครื่องบินลำเลียง ซี-17 ได้ภายในปี ค.ศ.2007

รายละเอียดเครื่องบิน ซี-17
ภารกิจ   :    เครื่องบินลำเลียง
บริษัทผู้ผลิต   :   โบอิ้ง
เครื่องยนต์   :   เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนแพรตแอนด์วิทบี่ เอฟ-117-พีดับบลิว-100 4 เครื่อง (PRATT &
WHITNEY F 117 – PW – 100 TURBOFANX
แรงขับ   :   40,400 ปอนด์  (แต่ละเครื่อง)
ความยาวปีก   :   169 ฟุต 10 นิ้ว (51.75 เมตร)
ความยาว    :   174 ฟุต (53 เมตร)
ความสูง      :   55 ฟุต 1 นิ้ว (16.79 เมตร)
ขนาดของระวางบรรทุก   :   ยาว 88 ฟุต (26.82 เมตร
         กว้าง 18 ฟุต (5.48 เมตร)
         สูง 12 ฟุต 4 นิ้ว (3.76 เมตร)
ความเร็ว   :   450 น็อต ที่ความสูง 28,000 ฟุต (8,534 เมตร) (0.74 มัค)
เพดาบิน   :   45,000 ฟุต ที่ความเร็วเดินทาง (13,716 เมตร)
ระยะทางบิน   :   รอบโลกโดยการเติมเชื้อเพลิงในอากาศ
จำนวนเจ้าหน้าที่   :   นักบิน 2 คน เจ้าหน้าที่ระวางบรรทุก 1 คน
น้ำหนักวิ่งขึ้น    :   585,000 ปอนด์ (265,352 กิโลกรัม)
การบรรทุก   :   ทหาร 102 คน
      เตียงทหารคนไข้ 36 เตียง พร้อมเจ้าหน้าที่ 54 คน
วันเข้าประจำการ   :   มิถุนายน ค.ศ.1993
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #407 เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2005, 12:39:00 PM »

KC-135 Stratotanker เป็นเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ ที่พัฒนามาจากเครื่องบิน Boeing 707 ต่อมาได้เปลี่ยเครื่องยนต์ให้มีประสิทธิ์ภาพมากขึ้นในรุ่น หลัง

ภาพ KC-135R Stratotanker























ภาพ เจ้าหน้าที่กำลังควบคุมท่อเติมเชื้อเพลิงกำลังปฎิบัติงาน



บันทึกการเข้า
-Joke-
Vive la liberté de parole et d'opinion!
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน -459
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4225


^_^


« ตอบ #408 เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2005, 01:14:25 PM »

เจ้า บล จากแดนอิเหนาเข้าประจำการแล้วครับสองลำในกองบินของกระทรวงเกษตร หมายเลข 2221 กับ 2222

ส่วนซู แจ๊ส นั้น ผมว่าโอกาสมาท่าจะยากครับ ยิ่ง แจ๊ส น่าจะมายากกว่าซูซะอีก
แต่โดยความเห็นผมแล้วผมว่าเจ้าทั้งสองแบบนี้ไม่เหมาะกับเราหรอกครับถึงมันจะเป็นเครื่องขับไล่ยุค 4 อันทันสมัยแบบใครๆเขาบอกกัน เนื่องจากว่า

ซู 30 ใหญ่เกินความจำเป็น มีเรื่องจุบจิบเยอะทั้งระบบอาวุธ อวิโอนิกส์ ซอฟแวร์ การซ่อมบำรุง และอายุการใช้งานอันแสนสั้น
แจ๊ส นั้นผมว่าก็จะมีปัญหาด้านซอฟแวร์ ระบบอวิโอนิกส์ ระบบอาวุธจากค่ายยุโรป อะไหล่

ที่สำคัญคือ บุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับเจ้าวิหกทั้งสองนางนี้ครับ ต้องเทรนนิ่งใหม่ยกชุด มีอะไรตอมิอะไรเพิ่มอีกมากมายครับ ไม่ได้วื้อเครื่อง ซื้อจรวดมาแล้วก็จบ

ดังนั้นที่เหมาะสมกับบ้านเราที่สุดก็คือเจ้าเหยี่ยวประจัญบาน เอฟ 16 นี่แหละครับ แต่ขอเป็นรุ่น C/D 50/52 จะได้มีความสามารถที่หลากหลาย เช่นการรบแบบ BVR(นอกระยะสายตา) การใช้จรวดนำวิถีแบบต่างๆ เช่น ฮาร์ม ป๊อปอาย ฮาร์พูน ฯลฯ หรือจะอัพเกรดที่เรามีอยู่ให้เป็น A/B MLU ก็ได้ครับเพราะจะได้สามารถรบแบบ BVR ได้เช่นกัน ถึงมันจะตัวเล็ก ไม่ทันสมัยแบบยุค 4 แต่ในปัจจุบันมันก็ยังทำหน้าที่ได้ดีที่สุดในเวทีต่างๆของโลกครับ ช่วงสงครามยูโกสลาเวีย เอฟ 16 ดัชท์ใช้ดาต้าลิงค์สอย มิก 29 ยูโกซะเป็นว่าเล่น ดังนั้นเครื่องทันสมัยกว่าก็ไม่จำเป็นว่าจะชนะครับ อยู่ที่ยุทธวิธีมากกว่า

ดังนั้นพอมาถึงยุทธวิธี สิ่งจำเป็นอีกอย่างที่ต้องมีคือ เครื่องบินแอแวคส์ ครับ เพื่อที่จะได้อำนวยการรบ และเป็นตัวควบคุมการปฏิบัติการต่างๆของเครื่องขับไล่ของฝ่ายเรา ยกตัวอย่างง่ายๆครับ เครื่องบินรบ เขาไม่ได้เห็นภาพทั้ง 360 องศารอบตัวนะครับ แต่จะเห็นเท่าที่เรดาร์หัวเครื่องของเขากวาด(เป็นรูปกรวย) ดังนั้นถ้ามีแอแวคส์ และมีการควบคุมการเข้าทำดีๆ พญาอินทรีเวหาอย่างซู 30 ก็อาจจะเจอนกน้อยอย่างเอฟ 5 จิกร่วงลงมาง่ายๆครับ
บันทึกการเข้า

A la volonté du peuple
Et à la santé du progrès,
Remplis ton cœur d'un vin rebelle
Et à demain, ami fidèle.
Nous voulons faire la lumière
Malgré le masque de la nuit
Pour illuminer notre terre
Et changer la vie.
aot
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 65
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1525


มีดินต้องหมั่นฟื้น มีปืนต้องหมั่นยิง


« ตอบ #409 เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2005, 02:30:58 PM »

เรียนถามคุณ686 ครับ การส่งรถถัง เชอริแดน ลงจาก เครื่อง C-130 ด้วยร่มชูชีพ นั้นพลขับรถถังอยู่ในตัวรถถังขณะส่งลงเลยหรือไม่ ถ้าอยู่ในตัวรถถังด้วยเขาทนแรงกระแทกได้อย่างไร
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #410 เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2005, 07:08:14 PM »

เรียนถามคุณ686 ครับ การส่งรถถัง เชอริแดน ลงจาก เครื่อง C-130 ด้วยร่มชูชีพ นั้นพลขับรถถังอยู่ในตัวรถถังขณะส่งลงเลยหรือไม่ ถ้าอยู่ในตัวรถถังด้วยเขาทนแรงกระแทกได้อย่างไร




ไม่มีคนอยู่ครับ  รถถัง Sheridan มีชื่อเต็ม ๆ ว่า M551A1 Armored Reconnaissance Airborne Assault Vehicle (Sheridan)

เข้าประจำการในกองทัพบก สหรัฐ ตั้งแต่ปี 1966 จนถึงปัจุบัน เป็นรถถังแบบเดียวที่สามารถส่งไปยังแนวหน้าที่มีการสู้รบด้วยเครื่อง C-130 ได้ หน้าที่หลักของรถถัง Sheridan คือ สนับสนุนอำนาจการยิงของหน่วยพลร่ม ปัจจุบันมีเพียงกองพลร่มที่ 82 เพียงกองพลเดียวที่มีรถถังชนิดนี้ประจำการ


ในสงครามเวียตนาม รถถัง เชอริแดน ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก เพราะ แรงรีคอยล์ ของปืน 152 มม. นั่นเอง ถึงแม้ว่า จะเป็นรถถัง ขนาดเบา แต่กลับมีปืนใหญ่หลักที่มีขนาด คาริเบอร์ ถึง 152 มม. และเลือกยิงได้ทั้ง กระสุนไร้ปลอก และ จรวตนำวิถี

ปืน 152 มม. ที่ติดตั้งในรถถัง เชอร์ริแดนนี้ เคยนำไปติดตั้งบนตัวรถถัง M60 และได้ชื่อใหม่ว่า M-60A2














ในภาพ เป็นรถถังเชอร์ริแดนที่ผลิตในปี 1964
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #411 เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2005, 07:18:43 PM »

Link ที่ผมทำใว้มีปัญหาเรื่อง Server ไม่ให้เข้า เลยต้องใช้วิธี ก๊อปมาใส่เครื่องก่อนโพสครับ





ภาพล่าง รถถัง เชอริแดน กำลังยิงจรวต MGM-51
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 15, 2005, 09:29:11 AM โดย 686 » บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #412 เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2005, 07:18:50 PM »

ผมเคยได้ยินมาว่าเชอร์ริเดนมีกระสุนลูกซองใช้ด้วยครับยิงทีเวียดกงตายเกือบหมดหมวด
บันทึกการเข้า
M629
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #413 เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2005, 07:30:56 PM »

เจ้า บล จากแดนอิเหนาเข้าประจำการแล้วครับสองลำในกองบินของกระทรวงเกษตร หมายเลข 2221 กับ 2222

โอ้..มีใช้แล้วหรือครับ ไม่ทราบว่าเสียงตอบรับจากผู้ใช้งานเป็นอย่างไรบ้างนะครับ
ถึงคุณภาพและความสามารถอาจจะไม่ทัดเทียม บล.มาตรฐานอื่นๆ
แต่หากคำนึงถึงจุดที่ว่า
เราจะได้มีส่วนร่วมในการผลิต/ประกอบด้วย
ก็น่าจะโอเคนะครับ


พ.ศ. 2457   สร้างเครื่องบินแบบ " เบรเกต์ " ใช้ในราชการ
พ.ศ. 2465   สร้างเครื่องบินแบบ  ข.2  ( นิออร์ปอรต์ )
พ.ศ. 2466   สร้างเครื่องบินแบบ  ข.3  ( สปัดแบบ 7 )
พ.ศ. 2467   สร้างเครื่องบินแบบ  ข.4  ( นิเออปอรต์  เดอลาจ )
พ.ศ. 2470   ออกแบบและสร้างเครื่องบินแบบ  ท.2  ( บริพัตร )  ซึ่งนับเป็นเครื่องบินแบบแรกที่ออกแบบ  และ  สร้างโดยคนไทย
เครื่องบินแบบนี้ได้ถูกสร้างเป็นจำนวนมาก  และ  ใช้เพื่อไปเจริญสัมพันธไมตรีกับเพื่อนบ้านหลายประเทศ
พ.ศ. 2472   ออกแบบเครื่องบินแบบ  ข.5  ( ประชาธิปก )
พ.ศ. 2479   สร้างเครื่องบินโจมตี - ตรวจการแบบ  จ.1  ( คอร์แซร์  อี  93 )  จำนวน 25 เครื่อง
พ.ศ. 2480   สร้างเครื่องบินโจมตี - ตรวจการแบบ  จ.1  อีก 25 เครื่อง  และ  สร้างเครื่องบินขับไล่แบบ  ข.10 รุ่นแรก
พ.ศ. 2482   สร้างเครื่องบินขับไล่แบบ  ข.10  รุ่นที่  2  จำนวน  25  เครื่อง
พ.ศ. 2515   สรางเครื่องบินฝึกแบบ  ทอ.4 ( จันทรา )  จำนวน  25  เครื่อง
พ.ศ. 2518   สร้างเครื่องบินแบบ  ทอ.5  จำนวน  1  เครื่อง
พ.ศ. 2525   ซื้อเครื่องบิน  และ  ลิขสิทธิ์การสร้างเครื่องบินฝึกแบบ   แฟนเทรนเนอร์   จากประเทศเยอรมันจำนวน  25  เครื่อง


ผมเอามาจากที่นี่ครับ ..... ลองไปดูได้ครับ       Wink


http://www.satitcmu.ac.th/student/2542/2/tour/p2.html


***********************************************************************************************


หวังว่าประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการผลิตเครื่องบินของเรา จะเริ่มต้นใหม่อีกครั้งนะครับ
 
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #414 เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2005, 10:41:01 AM »

รถถังเป็นเสมือน ราชินี ในสนามรบ ส่วนปืนใหญ่ เป็นเสมือน ราชา แต่ถ้าขาดรถถังลำเลียงพล การรบก็จะยึดเยื้อ เพราะ ชัยชนะที่เด็ดขาดคือ การให้ทหารราบเข้ายึดพื้นที่

หากเป็นการรบสมัย สงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารราบต้องวิ่งตามรถถัง โดยมีปืนใหญ่สนามยิงสนับสนุน การเคลื่อนพลเข้าตีทำได้ช้า หน่วยส่งกำลังบำรุง ก็ทำได้ลำบาก เพราะ แนวรบกินพื้นที่กว้าง และ อันตราย ทหารราบเอง ก็เหนื่อยอ่อน เพราะ นอกจากต้องเคลื่อนพลด้วยเท้าตามรถถังแล้ว ยังต้องทำการสู้รบไปด้วยระหว่างทาง รถลำเลียงพลส่วนใหญ่ก็ไม่มีเกราะคุ้มกัน เป็นเพียงรถบรรทุกธรรมดา  รถลำเลียงพลที่มีเกราะคุ้มกันก็มีใช้ในวงจำกัด ทหารบางส่วนจึงนั่งไปบนหลังของรถถัง เมื่อต้องผ่านพื้นที่ ๆ ไม่มีการสู้รบ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีแนวความคิดที่จะเคลื่อนกำลังพลที่อยู่ในเขตสู้รบด้วยความรวดเร็ว และ ปลอดภัยจากการซุ่มโจมตีจากการลอบยิง แนวคิดดังกล่าวจึงออกมาในรูป ยานยนต์ลำเลียงพลหุ้มเกราะ (Armored Personnel Carrier) ที่มีทั้งล้อยาง และ ล้อ สายพาน

แนวคิดที่ใช้ ยานยนต์ลำเลียงพลหุ้มเกราะ ขนส่งทหารในแนวหน้าเป็นแนวคิดที่นำไปใช้ทั้งฝ่าย ซีกโลกเสรี และ ซีกโลกคอมมิวนิส ในช่วงสงครามเย็น และยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน

รถถังลำเลียงพลของ สหรัฐ ที่มีชื่อเสียงและ แพร่หลายมากที่สุด คือ M113 Gavin เนื่องจาก รถถังอีก 13 รุ่นใช้โครงฐานตัวถัง และ ระบบสายพานเดียวกัน


M58         Wolf Smoke Generator Carrier
M106       Self-propelled 107mm Mortar
M113       Armored Medical Evacuation Vehicle AMEV
M125       Self-propelled 81mm Mortar
M548       Cargo Carrier
M577       Command Post Carrier
M730       Guided Missile Equipment Carrier (Chaparral)
M901       Improved TOW Vehicle
M981       Fire Support Team Vehicle (FISTV)
M1059     Lynx Smoke Generator Carrier
M1064 Self-propelled 120mm Mortar
M1068 Standard Integrated Command Post System (SICPS) Carrier
M1108 Universal Carrier

















ภาพ นี่ก็เป็นอีก เวอร์ชั่นของ M113










บันทึกการเข้า
-Joke-
Vive la liberté de parole et d'opinion!
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน -459
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4225


^_^


« ตอบ #415 เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2005, 12:48:30 PM »

ขออนุญาตแก้นิดหนึ่งครับ

ราชินีแห่งสนามรบ คือทหารราบครับ ดังคำกล่าวที่ว่า

"ยามที่ข้าย่างกรายไปทางใด ผู้คนต่างสดับฟังเสียงของข้า ดุจดังข้าแผ่นดินเฝ้ารอคอยข่าวจาก ราชินีแห่งสนามรบ"
บันทึกการเข้า

A la volonté du peuple
Et à la santé du progrès,
Remplis ton cœur d'un vin rebelle
Et à demain, ami fidèle.
Nous voulons faire la lumière
Malgré le masque de la nuit
Pour illuminer notre terre
Et changer la vie.
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #416 เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2005, 03:20:32 PM »

รถถัง หรือ ทหารราบ ผมก็ไม่แน่ใจครับ เพราะ ผมไม่ได้เป็นทหาร

รถถังในตระกูล M113 มีหลายรูปแบบแล้วแต่จะดัดแปลงไปตามความต้องการของหน่วยปฎิบัติการนั้น ๆ เช่น

รถสร้างควัน M58 Wolf Smoke Generator System



ภาพ M58 ด้านข้าง







3 ภาพข้างบน เป็น M58 ขณะกำลังสร้างม่านควัน
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #417 เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2005, 06:32:19 PM »

อีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจของ M113 คือ เป็นฐานของ ระบบจรวตต่อสู้อากาศยาน ชาพาเรล  (Chaparral Aerial Intercept Guided Missile pallet) ถ้าผมจำไม่ผิด หน่วย ปตอ. ของไทย มีประจำการด้วย







บันทึกการเข้า
nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย
Website Sponsor
Hero Member
****

คะแนน 303
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4897


« ตอบ #418 เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2005, 09:21:06 PM »

   เห็นด้วยกับคุณ helldiver ครับ f16 block 50/52 เหมาะกับไทยที่สุดแล้ว(เนื่องจากไม่ต้องสร้างบุคลากรขึ้นใหม่ทั้งหมด แต่ใช้เจ้าหน้าที่สนับสนุนภาคพื้น และ อะไหล่ เกือบเหมือนเดิม) หรือจะ เป็นรุ่นล่าสุดที่ UAE สั่งต่อ เป็น block 60/62 ด้วยก็ไม่เลว block 60/62 ใช้เรดาร์APG80 (block50/52ใช้ เรดาห์ APG 63 สามารถใช้จรวดต่อต้านเรือผิวน้ำ harpoon ได้ด้วย) และเครื่องยนต์มีกำลังขับถึง3200ปอนด์ซึ่งจะมีความสามารถสูงกว่า block50/52  ก็ดีเหมือนกันนะครับ
ประกอบกับปรับปรุง  f16a/b ให้เป็นรุ่นที่ใช้อาวุธนำวิถีแบบ aim120 ได้นี่แหละเหมาะที่สุดแล้ว แถมเครื่อง awac อีกซักลำสอง ด้วยจะยิ่งดี
แต่ขอเรียนถามจำนวนเครือง f16  และ f5 ที่เรามีหน่อยสิครับ และประจำการที่ฐานบินไหนบ้าง
บันทึกการเข้า

ถ้าเสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง
ผีเปรตในนรกมันคงโหวตให้พวกมันได้ขึ้นสวรรค์
จะแก้รัฐธรรมนูญไปทำไม! ต้นตอปัญหามันเกิดจากรธน.ไม่ดี หรือพวกแกมันเลว!
jakrit97 - รักในหลวง -
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 164
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5466


Dead boy can't shoot!


« ตอบ #419 เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2005, 10:28:24 AM »

ราชินีแห่งสนามรบ คือ ทหารราบ แน่ครับ

ส่วน ราชา ก็ต้องยกให้ทหารปืนใหญ่ (ก็ปืนโตกว่านี่)

... แล้ว ทหารม้า มีสมญานามไหมนี่ ...

... จะว่าไป ไม่ว่าราชาหรือราชินี ก็ต้องขี่ม้าเหมือนกันทั้งคู่ Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า

หน้า: 1 ... 25 26 27 [28] 29 30
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.249 วินาที กับ 21 คำสั่ง