ขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยครับ...
ในกรณีนี้ เคยนั่งคิดเล่นๆเหมือนกันว่า การคำนวณ "การเคลื่อนที่แบบโปรเจคไตล์" ในกรณี
ของกระสุนปืนสั้นและไรเฟิล สามารถใช้วิธีการคำนวณแบบนี้ได้หรือไม่? เคยนั่งคำนวณเล่นๆแบบลองผิดลองถูก ผมสรุปเอาเองว่าใช้ไม่ได้ เพราะค่าที่ได้ในความเป็นจริงเราหนีไม่พ้นแรงเสียดทานของอากาศและที่สำคัญสูตรการคำนวณการเคลื่อนที่แบบโปรเจคไตล์ที่เราคุ้นที่มีสูตรหลักๆมาจากสูตรพื้นฐาน 3 สมการนั่น จะมีเงื่อนไขอยู่ตลอดว่าคือ
1. ไม่คิดแรงเสียดทานเนื่องจากอากาศ และ
2. การเคลื่อนที่ในแนวระนาบหรือแกน X จะมีความเร่งเป็นศูนย์หรือมีความเร็วคงที่
แต่ในทางปฎิบัติจริง กระสุนที่วิ่งด้วยความเร็วสูงในอากาศจะมีแรงกระทำภายนอกมาเกี่ยวข้องเสมอ นั่นคือแรงเสียดทานจากอากาศ นั่นหมายถึงว่า ความเร็วของกระสุนปืนต้องค่อยๆลดความเร็วลงเรื่อยๆจนกระทั่งเป็นศูนย์ด้วยแรงเสียดทานของอากาศและแรงโน้มถ่วงตัวกระสุนเอง แล้วจึงตกสู่พื้นดิน งานนี้สงสัยคงต้องใช้ทั้งฟิสิกส์และของไหล รวม 2 วิชาเสียแล้ว
ยกตัวอย่างง่ายๆ ลองเอาความเร็วที่ปากกระบอกของกระสุน .22 มาคำนวณโดยใช้สูตรพื้นฐานการเคลื่อนที่แบบโปรเจคไตล์ดูครับ จะเห็นได้ว่าค่าผิดพลาดค่อนข้างมาก วิธีง่ายที่สุดก็คงหาข้อมูลหรือหาสูตรจากฝรั่งหรือใครที่เรียนของไหลมาก็ลองคำนวณหาแรงเสียดทาน เพื่อจะแปลงในรูปของความเร็วสุดท้ายของกระสุนดูครับ ถ้าสามารถหาความเร็วสองแนวแกนได้ เราก็สามารถหาความเร็วที่ตกกระทบได้จริง และจะเข้าใจด้วยว่าทำไมกระสุนที่ยิงแล้วตกลงมาจึงยังเหลือพลังงานปะทะที่เป็นสาเหตุทำอันตรายถึงแก่ชีวิตได้...
แต่ถ้าถามว่าความเร็วแค่ไหน? จึงเริ่มมีผลกับแรงเสียดทานและมีผลกับความเร็วของกระสุน ตอนนี้ผมเองยังตอบไม่ได้เช่นกัน ส่วนที่เรียนมาก็คืนอาจารย์ไปหมดแล้ว...
ถ้าท่านใดมีเพิ่มเติมเห็นต่างจากนี้..ช่วยเพิ่มเติมด้วยนะครับ