สิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญา ในการดำเนินการขอให้ศาลลงโทษผู้กระทำความผิด มี ๒ ทางเลือกครับ คือ
๑. แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนภายในกำหนดอายุความ เพื่อให้รัฐ (พนักงานอัยการ) เป็นผู้ดำเนินคดีแทนเรา - เมื่อพนักงานสอบสวนรับเรื่องไว้แล้ว จะทำการเรียกผู้ถูกกล่าวหาให้มาแจ้งข้อกล่าวหา และทำการสอบคำให้การผู้ต้องหาและพยานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และสรุปสำนวนลงความเห็นว่าควรสั่งฟ้องคดีหรือไม่ึีครับ
- ในกรณีมีความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหา ก็จะส่งสำนวนและความเห็นไปยังพนักงานอัยการให้ทำการพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งหากพนักงานอัยการมีความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหา ก็จะทำสำนวนคำฟ้องยื่นฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลในเขตอำนาจต่อไปครับ
๒ ผู้เสียหายเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลด้วยตนเองครับ - ในกรณีที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการได้สรุปสำนวน มีความเห็นไม่สั่งฟ้องผู้ต้องหา หรือกรณีที่พนักงานสอบสวนดำเนินคดีล่าช้าเกินควร หรือผู้เสียหายประสงค์ที่จะเป็นโจทก์ยื่นฟ้องด้วยตนเอง ให้จัดทำสำนวนคำฟ้องคำขอท้ายฟ้องซึ่งจะต้องระบุข้อหาและคำขอให้ครบถ้วนตามกฎหมาย (ขอให้ลงโทษทางอาญาและสามารถขอเรียกเงินคืนพร้อมด้วยค่าเสียหายได้ หากมี) แต่ในคดีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีต่อศาลเองนั้น ศาลจะทำการไต่สวนมูลฟ้องคดีของท่านเสียก่อนที่จะรับคดีไว้พิจารณาหรือไม่
- ในกรณีที่ศาลเห็นว่าจำเลยน่าจะกระทำผิดจริง ศาลก็จะสั่งรับฟ้องท่านไว้พิจารณาต่อไป ซึ่งผู้ต้องหาจะตกเป็นจำเลยซึ่งต้องต่อสู้คดีและประกันตัวต่อศาลเหมือนกรณีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง แต่หากศาลมีคำสั่งว่าคดีไม่มีมูลพอเชื่อว่าจำเลยได้กระทำความผิด ศาลก็จะมีคำสั่งยกฟ้องต่อไป
-แต่ในส่วนหากผู้เสียหายดำเนินคดีฟ้องเองนั้น แนะนำให้ปรึกษาทนายความซึ่งสามารถเรียบเรียงคำฟ้องให้ถูกต้องและดำเนินว่าความในชั้นไต่สวนได้ดีกว่า เพราะหากทำคำฟ้องไม่ดี หรือข้อหาที่ตั้งไว้ไม่ถูกต้อง ศาลจะยกฟ้องเอาดื้อๆได้ครับ

ลองเลือกดูครับ
