พี่สมชาย กับ พี่ E_Mail พูดถูกแล้วครับ ถ้าเขาเรียกแล้วเราไม่จ่าย คนเรียกก็จะน้อยลง หรือถ้ายึกยักไม่ให้ก็ต้องไปว่ากันในกระบวนการยุติธรรม
หากทำให้เป็นบรรทัดฐานได้ดังนี้แล้ว ก็จะไม่มีการเรียกรับหรือยึกยัก เพราะตามระเบียบ คุณสมบัติครบต้องได้ อย่าเห็นเรื่องผิดเป็นเรื่องธรรมดา
คำว่า ข้าราชการ ในที่นี้หมายถึง เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการประจำเป็นหลัก โดยไม่รวมข้าราชการการเมืองไว้ด้วย ส่วน ค่านิยมของข้าราชการไทย หมายถึง ระบบความคิด ความเชื่อ หรือการกระทำต่าง ๆ ของข้าราชการที่มีลักษณะถาวรซึ่งข้าราชการยึดถือหรือใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ ค่านิยมของข้าราชการอาจเป็นไปในทิศทางที่ส่งเสริม และ/หรือ เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในปัจจุบันซึ่งในที่นี้ถือว่าเป็น ยุคปฏิรูประบบราชการ อันหมายถึง ยุคที่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพของกลไกของรัฐซึ่งครอบคลุมทั้งหน่วยงานของรัฐและ
เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการให้ปฏิบัติหน้าที่อำนวยความสะดวกและให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนโดยมุ่งไปที่ผลประโยชน์ของประชาชน ลดกฎระเบียบขั้นตอน ตัดความล่าช้า สร้างความน่าเชื่อถือ ไว้วางใจได้ เปิดเผย และโปร่งใสหรือถูกควบคุมตรวจสอบได้ ทั้งนี้ ภายใต้แนวทางของระบอบประชาธิปไตย ค่านิยมของข้าราชการไทยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ค่านิยมที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศอย่างน้อย 7 ประการ ได้แก่
1) ค่านิยมของการใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ2) ค่านิยมที่ยึดถือระบบพวกพ้องในทางมิชอบ 3) ค่านิยมที่ต้องการเป็นเจ้าคนนายคน
4) ค่านิยมในการประจบสอพลอ
5) ค่านิยมที่ชอบความสะดวกสบายและเกียจคร้าน6) ค่านิยมแบบปัจเจกชนนิยม
7) ค่านิยมในความเป็นอนุรักษ์นิยม
ค่านิยมของข้าราชการที่ควรเป็นไปในสังคมเพื่อการพัฒนาประเทศ
เพื่อช่วยให้การพัฒนาประเทศประสบผลสำเร็จเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะในยุคปฏิรูประบบราชการ จึงได้เสนอค่านิยมของข้าราชการที่ควรเป็นไปในสังคมเพื่อการพัฒนาประเทศไว้ด้วยซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่านิยมที่ตรงกันข้ามกับค่านิยมที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศดังกล่าวแล้ว สำหรับค่านิยมที่ควรเป็นไปในสังคมเพื่อการพัฒนาประเทศมี 7 ประการ ได้แก่
1) ค่านิยมในความซื่อสัตย์สุจริต
2) ค่านิยมในระบบคุณธรรม
3) ค่านิยมในหลักประชาธิปไตย
4) ค่านิยมที่ยึดถือหลักการมากกว่าตัวบุคคล
5) ค่านิยมในความประหยัดและขยัน
6) ค่านิยมของการรวมกลุ่ม
7) ค่านิยมในระเบียบวินัยค่านิยมที่ควรเป็นไปในสังคมเพื่อการพัฒนาประเทศทั้ง 7 ประการนี้ ในที่สุดจะนำไปสู่ "ค่านิยมหลักที่พึงปรารถนา" นั่นก็คือ "ค่านิยมประชาชน" หรือ "ค่านิยมที่รับใช้ประชาชน" อันถือว่าเป็นจุดหมายปลายทางสูงสุด (ultimate end) ของการพัฒนาค่านิยมของข้าราชการ