กรณี ระบบโควต้า เริ่มต้นขึ้นในสมัย รสช.
ผิดครับ
ระบบโควต้า มีมาตั้งแต่ พ.ศ.2490 และปรับจำนวนเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ จนหยุดนิ่งมาตั้งแต่ พ.ศ.2535
และการปรับเพิ่มนี้ เขาไม่ได้เพิ่มโควต้า แต่เพิ่มกันที่จำนวนผู้ถือโควต้า เหตุผลก็คือถ้าเพิ่มจำนวนปืนในแต่ละร้าน คนเซ็นได้แต่คำขอบคุณ
แต่ถ้าเพิ่มจำนวนใบอนุญาต คนเซ็นจะมีความสุขมากกว่า

โอ้... เข้าใจแล้วครับ...
อยากรู้จังว่า"ความสุขของคนเซ็นต์"ที่ว่าฯ มันสามารถ"วัดผลแล้วเทียบสเกลเป็นตัวเลข"ได้เท่าไหร่น๊อ... ฮา
ตัวเลขตามที่หน้าม้าออกมาเร่ขาย กทม.สี่ล้านห้า ตจว.สี่ล้านหก แต่จะถึงคนเซ็นเท่าไหร่ ต้องว่ายน้ำข้ามคลองหลอดไปถามเอาเอง
ขอบพระคุณท่านผู้การครับ...
แล้วนายสมชายก็คำนวณต่อ ตามประสาคนชอบคำนวณครับ... เมื่อสามารถวัดผลความสุขเป็นหน่วยได้ เราก็สามารถคำนวณความสุขเฉลี่ยต่อกระบอกต่อปี...
จำนวนสั้นต่อปี 30 จำนวนยาวต่อปี 50 รวมเป็น 80 ต่อปี... นี่ยังไม่ได้แยก ว่าสั้นมักสูงกว่ายาว เอาถัวรวมกันไปเลยก็แล้วกัน...
เอาจำนวนความสุขหารด้วยจำนวนสั้นบวกยาวได้เป็น 4,500,000/80 = 56,250 หน่วย... แปลว่ามีต้นทุน"ความสุข"ต่อกระบอกเท่ากับ 56,250 หน่วย...
ความสุขนี้จะกระจายลงไปในปืนแต่ละกระบอก แล้วความสุขนี้มันเหมือนเมล็ดพืช ที่สามารถออกดอกผลงอกงามได้ตามวันเวลาที่ผ่านไป เฉกเช่นเมล็ดถั่ว เมล็ดธัญพืชที่หว่านลงผืนไร่นา...
สมมติว่าเมล็ดแห่งความสุขสามารถออกดอกผลได้สิบเปอร์เซ็นต์(ยังไม่ได้บวกค่าใช้จ่ายในการเตรียมดิน+ปุ๋ย+ยาฆ่าแมลง+ค่าแรง)... ก็แปลว่าค่าความสุขล้วนๆ ยังไม่ได้รวมต้นทุนค่าของจะเป็น 56,250*1.1 = 61,875 หน่วย... นายสมชายสามารถสรุปได้ว่าปืนแต่ละกระบอกมีความสุขรวมอยู่ข้างในแล้วอย่างน้อยกว่าหกหมื่นหน่วยแห่งความสุขครับ...
ชาวนาชาวไร่ จะได้ความสุขนี้ไปโดยถ้วนหน้า... ขอได้รับความปรารถนาดีจากความสุขด้วยเถิดนี้ครับ...
นายสมชายขอรับรองว่าทั้งหมดนี่เป็นเรื่องการวัดผลตัวเลขแห่งความสุขครับ... มิได้มีความหมายถึงความทุกข์หรือตัวเลขอื่นใดทั้งสิ้น...