LIGHTNING 
ฟ้าผ่า เป็นปรากฎการณ์ ที่เกิดขึ้นใน บรรยากาศ อันเกิดจากการคาย ประจุไฟฟ้า ที่สะสมในก้อนเมฆ เพียงแต่ การเกิดฟ้าผ่า ไม่ต้องมี แท่งตัวนำ การสะสมของประจุ ที่มีขั้วต่างกัน เป็นผลทำ ใหัเกิด สนามไฟฟ้า ระหว่างกลุ่มประจุเหล่านั้น เมื่อประจุ มีการสะสมจำนวนมาก ทำให้ความเครียด สนามไฟฟ้า เพิ่มสูงขึ้น เกินค่าความคงทน ของอากาศต่อแรงดันไฟฟ้า ทำให้เกิดการคายประจุขึ้น อัน เป็นจุดกำเนิดของการเกิด ฟ้าผ่าขึ้น การคายประจุ อาจเกิดขึ้น ระหว่างก้อนเมฆ หรือ ระหว่าง ก้อนเมฆ กับ พื้นโลก ซึ่งเรียก ปรากฏการณ์ นี้ว่า "ฟ้าผ่า" อันเป็นปรากฎการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับ ความเป็นไป ของชีวิตมนุษย์ บนโลกตลอดเวลา
การเกิดฟ้าผ่า
รายละเอียด ของกระบวนการ กลไกการแยกของประจุที่แน่ชัด ถูกต้อง แท้จริงนั้น ตราบเท่าทุกวันนี้ ยังไม่ทราาบแน่ชัด แม้จะมีหลาย ทฤษฎีที่สร้างมาเพื่ออธิบาย ว่าฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้อย่างไรโดยสรุปจาก ทฤษฎีต่างๆนั้น จะอธิบายถึง ประจุอิสระสะสม ในก้อนเมฆนั้น เกิดจากการเสียดสี ระหว่าง กระแสลมของ พายุ กับ ละอองไอน้ำ หรือ ก้อนเมฆ ที่อยู่ภายในบรรยากาศ ทำให้ละอองน้ำ มีประจุเป็นลบ และ อากาศมีประจุบวก เมื่อกระแสลม พัดขึ้นสู่เบือ้งบน ทำให้ ส่วนบนของ ก้อนเมฆ มีประจุบวก ส่วนละอองน้ำ มีประจุลบ นั้น ถูกพัดพาขึ้นเบื้องบน กระทบกับ ความเย็นเบื้องสูง จึงกลั่นตัว จึงเคลื่อนลงสู่ส่วนล่าง ของก้อนเมฆ ทำให้ส่วนล่างของก้อนเมฆ มีประจุลบ ถ้าเกล็ดน้ำ มีน้ำหนักเกินที่อากาศ จะพยุงตัว ก็ตกลงสู่พื้นโลก การกระจายตัวของประจุบวก และ ประจุลบ ในก้อนเมฆ จะมีการเคลื่อนตัวตามกระแสลม ประจุที่สะสมอยู่ในก้อนเมฆ ซึ่งมีทั้งประจุบวกและ ลบจึงทำให้เกิดสนาม ไฟฟ้าขึ้นระหว่างกลุ่มประจุบวก กับประจุลบ หรือ ทำให้เกิดประจุเหนี่ยวนำขึ้น ที่พื้นโลก ความเครียดสนามไฟฟ้าสูงขึ้น เมื่อประจุสูงสะสมมากขึ้น ถ้าความเครียดสนามไฟฟ้า สูงขึ้นถึงค่าวิกฤต ทำให้เกิด การเบรคดาวน์ขึ้น ค่าความเครียดสนามไฟฟ้า วิกฤตของอากาศ ที่สภาวะบรรยากาศ มีค่าประมาณ 25 -30 kV /cm แต่ในก้อนเมฆ ที่อยู่ระดับสูง เหนือพื้นโลก มีความดัดบรรยากาศต่ำ ความเครีดสนามไฟฟ้า วิกฤต ประมาณ 10 kV /cm ก็สูงพอ ที่จะ ทำให้เกิด การดีสชาร์ค ได้ ฉะนั้นเมื่อจุดใดๆ ในก้อนเมฆ มีความเครียด สนามไฟฟ้าถึงจุดนี้ ก็ เป็นจุดเริ่มต้น ของการเกิดฟ้าผ่า ประจุจาก ก้อนเมฆ จะดีสชาร์จลงสู่พื้นโลก ได้ด้วยความเร็ว ประมาณ 1 ใน 10 ของ ความเร็วแสง คือประมาณ 30,000 กิโลเมตร ต่อวินาทวินาที ประจุดีสชาร์ค ลงสู่พื้นโลก เป็นลำแสงจ้านี้ เรียกว่า "ลำฟ้าผ่า " (main stroke) และ มีกระแสมากมาย ไหลผ่าน ตามลำฟ้าผ่านี้ ในช่วงระยะเวลาอันสั้น เรียกว่า "กระแสฟ้าผ่า"ี
ลักษณะฟ้าผ่าพื้นโลก
ลักษณะของฟ้าผ่าระหว่างก้อนเมฆกับพื้นโลกอาจอธิบายได้ด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ คือ
1) ฟ้าผ่าขึ้นหรือฟ้าผ่าลง
2) ขั้วของกระแสฟ้าผ่า เป็นบวกหรือเป็นลบ
3) รูปคลื่นกระแสฟ้าผ่า
4) ขนาดของกระแสฟ้าผ่า
5) จำนวนครั้งฟ้าผ่าต่อเนื่อง
ผลของฟ้าผ่า
ผลของฟ้าผ่าที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรืออันตราย อาจแยกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1) ความร้อนอันเป็นผลทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่สิ่งมีชีวิต
2) แรงกลหรือแรงระเบิด ฟ้าผ่าอาจทำให้เกิดแรงระเบิดได้มากมายเป็นผลทำให้
สิ่งที่ถูกผ่าพังทะลาย
3) ผลทางไฟฟ้าเป็นอันตรายแก่ทั้งชีวิตคนและสัตว์
วิธีป้องกันฟ้าผ่าอาคารและสิ่งก่อสร้างสูงเด่น
การป้องกันฟ้าผ่า หมายถึงการป้องกันมิให้เกิดอันตรายอันเนื่องมาจากฟ้าผ่า ซึ่ง เป็นผลมาจากความร้อน แรงกล และ ผลของไฟฟ้าฟ้าผ่ามักก่อให้เกิดความเสียหาย และ เป็นอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน ถ้าหากไม่มีการป้องกันหรือกระทำการป้องกันไม่ถูกวิธี
การป้องกันฟ้าผ่าอาคารและสิ่งก่อสร้างสูงเด่น
สิ่งก่อสร้างในที่โล่งหรือสูงเด่นกว่าสิ่งอื่นๆ ในบริเวณเดียวกันมักเป็นเป้าหมาย อย่างดี เมื่อตัดสินใจที่จะทำการป้องกันก่อนลงมือสร้าง การป้องกันอันตรายที่เกิดจากฟ้าผ่า มิให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้าง วิธีที่ปลอดภัยที่สุดเท่าที่มนุษย์รู้จักในปัจจุบัน คือ วิธีของฟาราเดย์ ส่วนประกอบของระบบป้องกันฟ้าผ่าแบบฟาราเดย์
1) สายอากาศล่อฟ้า(Air termfinal)
2) สายนำลงดิน(Down conductor) 3)รากสายดิน(Earth electrode)
การป้องกันฟ้าผ่าคนและสัตว์
มี 2 แบบคือถูกลำฟ้าผ่าโดยตรงเมื่อคนหรือสัตว์อยู่ในที่โล่งแจ้งเป็น จุดเด่น หรือมา จากสปาร์คด้านข้างโดยที่ฟ้าผ่าลงต้นไม้หรือสิ่งก่อสร้าง การป้องกันโดยอย่าอยู่ในที่โล่งขณะฝน ฟ้าคะนอง การพายเรือ หรือว่ายน้ำควรหลีกเลี่ยงการหลบฝนใต้ต้นไม้ควรห่างจากต้นไม้ประมาณ2-3เมตร
การหลบ หรือ หาที่กำบัง ขณะฝนฟ้าคะนอง ควรเลือกในที่มีระบบป้องกันฟ้าผ่า

ลำนี้ใหญ่มากๆ คาดว่าคงใกล้และรุนแรงมากครับ

Volcanic Lightning
Volcanic Lightning เป็น ปรากฏการณ์ธรรมชาติ อันมหัศจรรย์ ที่เกิดขึ้นระหว่างการเกิด ภูเขาไฟระเบิด จะเกิด พายุสายฟ้า ขึ้นในเถ้าภูเขาไฟที่กำลังพวยพุ่งขึ้นเหนือ ภูเขาไฟ โดยนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถค้นพบสาเหตุ ของ ปรากฏการณ์ โวลเคนิก ไลทนิ่ง (Volcanic Lightning) โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งสมมุติฐานว่า ปรากฏการณ์ โวลเคนิก ไลทนิ่ง นั้นน่าจะคล้ายการเกิด พายุสายฟ้า ( Thunderstorms ) และในการสัมนาเกี่ยวกับสภาวะอากาศ TPOD เมื่อ 17 กันยายน 2004 เหล่านักวิทยาศาสตร์ ได้สัมนากันว่าปรากฏการณ์นี้ อาดเกิดจากการที่อนุภาคของเถ้าภูเขาไฟเกิดการพุ่งชนกัน ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต ขึ้นในอนุภาคของเถ้าภูเขาไฟ และเป็นเหตุให้เกิดฟ้าผ่าขี้น ขณะเกิดภูเขาไฟระเบิด และเมื่อเร็วๆนี้ ก็มีสมมุติฐานใหม่ ว่าอาจเกิดจากที่เม็กม่า ได้ปลดปล่อยความชื้นออกมา
ทำไม จึงเกิดปรากฏหการณ์ โวลเคนิก ไลทนิ่ง แค่บางครั้ง การระเบิดบางครั้งที่ปล่อยเถ้าภูเขาไฟจำนวนมาก แต่เกิดฟ้าผ่าเพียงเล็กน้อย หรือไม่เกิดฟ้าผ่าเลย แต่การระเบิดบางครั้งที่มีเถ้าภูเขาไฟน้อย แต่เกิดฟ้าผ่าจำนวนมาก หินภูเขาไฟที่พ่นออกมาสามารถอธิบายได้ว่าถ้าหินภูเขาไฟมีความต้านทานไฟฟ้าสูง จะมีโอกาศที่จะเกิด ปรากฎการณ์ โวลเคนิก ไลทนิ่ง มากขึ้น จึงอาจจะอธิบายได้จากอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน อย่างสายไฟไส้ทองแดง ( ทองแดงมีความต้านทานไฟฟ้าต่ำ ) สายไฟจะไม่เกิดความร้อนและ ประกายไฟขึ้น แต่ถ้ากระแสไฟฟ้าขนาดเท่ากันไหลผ่าน ทังค์สแตน ( ไส้หลอดไฟ ) จะเห็นว่าไส้หลอดจะเกิดแสงสว่าง และความร้อนขึ้น
เหตุการณ์ ภูเขาไฟ Sakurajima ระเบิด เมื่อ 18 พฤษภาคม 1991 พร้อมกับการเกิด ปรากฏการณ์ โวลเคนิก ไลทนิ่ง (Volcanic Lightning) เครดิตรูปภาพโดย Sakurajima Volcananological Observatory

เหตุการณ์ ภูเขาไฟ Pinatubo ในประเทศฟิลิปปินส์ ระเบิด ในปี 1991 พร้อมกับการเกิด ปรากฏการณ์ โวลเคนิก ไลทนิ่ง (Volcanic Lightning)

ภูเขาไฟ Redoubt ระเบิดใน Alaska และเกิด Volcanic Lightning

เหตุการณ์ ภูเขาไฟ Chaitin ในประเทศชิลี ระเบิด เมื่อ 6 พฤษภาคม 2008 พร้อมกับการเกิด ปรากฏการณ์ โวลเคนิก ไลทนิ่ง (Volcanic Lightning)

