ผมเคยทดลองปล่อยลูกดอกปาเป้าจากตึกที่ทำงานชั้นสี่กระแทกพื้นซีเมนต์
ลูกดอกยับเยินครับ....เนื่องจากแรงโน้มถ่วง
ถึงแม้ว่ากระสุนจะหมดพลังแล้วนะครับ...แต่เมื่อกระสุนได้เดินทางพ้นลำกล้องขึ้นฟ้าไปเป็นกิโล กระสุนจะมีพลังงานศักย์สะสมแปรผันกับความสูงครับ...
แปลว่ายิ่งสูง ยิ่งมีพลังงานสะสมเยอะ...เมื่อหล่นลงมาจะมีพลังงานมากกว่าตอนเมื่ออยู่ที่ต่ำๆใกล้ผิวโลก
(อย่างลูกดอกปาเป้านะครับ...ยี่ห้อเดียวกัน น้ำหนักเท่ากัน แต่ปล่อยจากความสูงไม่เท่ากัน ความแรงและพลังงานของลูกดอกเมื่อกระทบพื้นจะไม่เท่ากัน สูงกกว่าย่อมกระทบพื้นแรงกว่า)
ดังนั้นเมื่อกระสุนหมดพลังงานและอยู่กลางอากาศ แรงดึงดูดโลกจะค่อยๆทำให้กระสุนลดความเร็วขาขึ้น....จนกระทั่งจุดหนึ่งที่กระสุนเสียความเร็วจากดินปืนถึงจุดที่น้อยที่สุด แล้วจากนั้นแรงโ้น้มถ่วงโลกจะค่อยเพิ่มความเร็วและทิศทางใหม่ให้กับกระสุน.....ค่อยๆ....ดึงกระสุนกลับสู่โลก
ควา่มเร็วสุดท้ายของกระสุนผมเชื่อว่าสามารถฆ่าคนได้แน่นอน....ถึงจะมีแรงลมเข้ามาแต่แรงลมนั้น ไม่ได้ "ต้าน" ทิศทางการเคลื่อนที่ของกระสุนจนหักล้างได้มากขนาดนั้น
อัตราเร่งของการตกของวัตถุบนโลกเป็นค่าคงที่คือ 1 G = 9.8 เมตรต่อวินาทียกกำลังสอง
แปลว่าเมื่อเวลาผ่านไปสองวินาทีความเร็วจะมากกว่า 9.8 เมตรต่อวินาทีและจะมากขึ้นตามระยะเวลาครับ...สามวินาทีจะมากขึ้น
ดังนั้นเมื่อความสูงสุดท้ายของกระสุนที่เดินทางสูงสุด จะเป็นตัวกำหนดพลังงานศักย์ของกระสุน สูงมาก พลังงานศักย์เยอะ และใช้เวลาในการเดินทางลงสู่พื้นโลกนานขึ้น ความเร่งจะมากขึ้นครับ...
ตัวอย่างเช่นกระสวยอวกาศเดินทางกลับสู่พื้นโลกจากระดับความสูงเป็นร้อยๆกิโลเมตร อัตราเร่งของยานจะมากเป็นหลาย G (สูงสุดที่มนุษย์รับได้คือ 11 G) ความเร็วขนาดนี้จะทำให้ยานเสียดสีกับชั้นบรรยากกาศจนผิวนอกมีความร้อนสูงมาก
ทดลองปล่อยลูกหินขนาดหนึ่งกรัมจากความสูงหนึ่งเมตรใส่ศีรษะ เปรียบเทียบกับลูกหินขนาดเดียวกันที่ความสูงของตึกสี่ชั้น....และมากกว่านั้นให้เท่ากับความสูงของกระสุนที่เดินทางได้สูงสุดในอากาศ
ถึงใครจะบอกว่าไม่สามารถฆ่าคนให้ตายได้...แต่ผมไม่ทดลองคนหนึ่งละครับ....
