ขออนุญาตพี่16-link เนื่องจากเป็นการตอบกระทู้ที่มีประโยชน์มาก จึงนำมาให้อ่านกันอีก
สวัสดีครับ.....ปกติผมจะไม่ค่อยลงกระทู้มากนัก พอดีเห็นเรื่อง C&S ที่ถามกันอยู่ ก็เลยอยากจะแบ่งปันประสบการณ์ให้ฟัง ค่อยๆอ่านดูน่ะครับ....
การเปลี่ยนชุดลั่นไก......ต้องถามก่อนว่าเปลี่ยนเพื่ออะไร ?
ผมมี Kimber อยู่ 2 กระบอก ( Team Match II and Super Match ) เปลี่ยน C&S แบบ 3 ชิ้นลงที่ Super Match เพราะคิดว่าน้ำหนักไกจะเบาลง แต่....แทบจะเหมือนเดิม มีแค่ความรู้สึกว่า เสียงนกที่สับลง ไพเราะขึ้น (สาเหตุเพราะนกของ C&S เป็นแบบ Light Weight ไม่ทึบเหมือนกับที่ติดปืนมา) หลังจากนั้นถอด C&S ออก แล้วก็ใส่ชุดเดิมที่มากับตัวปืนลงไป เพราะคิดว่า C&S ไม่ค่อยเวิร์คกับผมเท่าไร (ความเห็นส่วนตัวน่ะ) หลังจากนั้น ก็ศึกษาระบบการทำงานของชุดลั่นไกเอาเองทั้งหมด คันไม้คันมือ แต่งไกเองซะเลย....
จากเดิมน้ำหนักไกที่ติดปืน Super Match ประมาณ 5 ปอนด์( 2 กิโลกว่า) หลังจากทำเอง เหลือ 700 กรัม (เคยทำได้ต่ำสุด 500 กรัม แต่อันตรายเกินไป) นำไปลงแข่ง ก็ประสบผลสำเร็จทุกรายการ ยกเว้นรายการชิงแชมป์ประเทศไทย เพราะนำ Team Match II ที่ได้มาไม่ถึงสัปดาห์ ลงแทนแต่พลาดไปเพราะยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับปืนใหม่ ในที่สุด Team Match II ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง เพราะไปได้ถ้วยของ พระเทพฯ ตอนแข่งที่ ร.๑ มาแทน หลังจากที่แต่งน้ำหนักไกให้เข้ากับตัวผมใหม่ ( ชุดลั่นไกเป็นของที่ติดปืนมาทั้งหมด ชุด C&S เก็บลงกล่องไปแล้ว )
จึงสรุปได้ว่า (ของผมเองน่ะครับ)
1 การเลือกใช้ชุดลั่นไก ที่สำคัญ Sear และ นก ควรเป็นชุดเดียวกัน หรือยี่ห้อเดียวกัน
2 การใช้ตะไบ เพื่อฝน Sear กับ นก ถ้าทำไม่ดี ยิง 1 จะได้ 2 หรือ 3 เพราะจะเกิดอาการที่เรียกว่า "นกตาม" อันตรายที่สุด
3 การเปลี่ยนชุด C&S ไม่ได้หมายถึงน้ำหนักไกจะลดลงในทันที จะต้องดัดแหนบเป็นการเพิ่มเติมควบคู่กันจึงจะได้ผล
4 ผมเลือกใช้แหนบ 4 ชายแทน 3 ชาย เพราะช่วยเรื่องการลดน้ำหนักได้อีกหลายกรัม แต่ไม่ใช่ว่า แหนบ 4 ชาย จะดีกว่าแหนบ 3 ชายน่ะครับ
5 อย่าแต่งไกเอง ถ้ามีแม้กระทั่งข้อสงสัยเพียงข้อเดียว
หวังว่าข้อมูลข้างบน พอที่จะเป็นประโยชน์ในระดับหนึ่ง หลังจากที่แต่งน้ำหนักไกเบาลงแล้ว จะต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็น 2 เท่าในการใช้ปืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาจไม่เหมาะที่จะใช้สำหรับการ Tactical เลย
ค่อยๆคิดและไตร่ตรองก่อนตัดสินใจทำอะไรลงไปน่ะครับ เพราะผมเห็นหลายๆท่านที่ยิงปืนด้วยกันกับผม หลงทางกันไปหลายคน กว่าจะกลับมาได้ หมด $$$ ไปเยอะ
ก่อนจะจบ.....ท่านทราบไหมว่าความแตกต่างของชุดลั่นไกนอกจากเรื่องวัสดุ และ น้ำหนักของวัสดุแล้ว มีอะไรอีก ? ถ้าท่านทราบ ก็จะเข้าใจเรื่อง ระบบการลั่นไก ได้ง่ายเพิ่มขึ้น
โชคดีทุกๆท่าน และ ขอให้สนุกกับกีฬายิงปืนน่ะครับ..........
ขอบคุณครับที่ความเห็นของผมนั้นสามารถที่จะให้ความเข้าใจกับทุกๆท่านได้ ความเป็นจริงแล้วการเปลี่ยนแค่ C&S อย่างเดียวนั้นยังไม่เพียงพอที่ไกจะเบาลงได้ เอาไว้มีโอกาสดีๆ ผมจะมาแอบบอกรายละเอียดเพิ่มเติม ......
พูดถึงเรื่องแหนบ.....เหมือนเดิมอีกนั่นแหละ ไม่เคยมีใครให้ความกระจ่างกับผมเลยตอนเริ่มเล่นปืนเมื่อปีที่แล้ว สุดท้ายก็ศึกษาเองตามเคย
แหนบ 3 ชาย เป็นแหนบมาตรฐานที่ติดมากับตัวปืนแทบทุกยี่ห้อ (ผมไม่เคยเจอแหนบ 4 ชายที่มาพร้อมกับปืนเลยครับ) เป็นเหล็กสปริงที่มีคุณสมบัติดีดตัวเองกลับ รายละเอียดค่อนข้างมาก กลัวอ่านแล้วจะง่วง แล้วเจ้าแหนบนี่แหละ คือตัวการสำคัญที่จะกำหนดน้ำหนักไก และ ตัวที่จะทำให้นกสับสามารถอยู่ในตำแหน่ง ง้างนก (Clocking) ค้างได้
การใช้งานทั้งแบบ 3-4 ชาย 99% เหมือนกันทุกประการ เพียงแต่แหนบ 4 ชาย มีชายหนึ่งทำหน้าที่กด สะพานไกโดยตรงไว้ตลอดเวลา ทำให้เวลาเราเดินไกก่อนที่จะยิงจริงมีความรู้สึกตึงๆนิดหนึ่ง (นิดเดียวจริง) ในขณะที่แหนบ 3 ชาย จะใช้ชายที่กด Disconnector กดไกพร้อมกันไปเลย
ผมเคยใส่ 4 ชายกับ Super Match ปรากฎว่า หลังอ่อนของผมนั้น ค่อนข้างเข้าลำบาก พอเข้าได้ หลังอ่อนไม่สามารถเซฟปืนผมได้ พูดง่ายๆ ไม่กดหลังอ่อน ไกของผมก็สามารถทำงานตามปกติ ยังงงอยู่เหมือนกัน

?
แล้วเช่นเคย.....ความเห็นส่วนตัวของผมนั้น แหนบ 3 ชายจะสะดวกกว่าและเพียงพอแล้วกับการใช้งาน ทั้งปั้น X หรือยิงต่อสู้ หรือยิงกระป๋อง.......กรณีที่ต้องการเปลี่ยนเป็นแหนบ 4 ชาย สำหรับผมแล้ว ผมทำเพื่อลดน้ำหนักไกลงอีกนืดนึงเท่านั้น แล้วตอนนี้ปืนผม หลังอ่อนก็ยังไม่เซฟปืน ต้องใช้วิธีล็อคนกด้วยตัวเซฟนกเท่านั้น....
อย่าไปกังวลมากเลยครับ 3 ชายก็พอแล้ว.....
คำแนะนำ ........
ก่อนที่จะดัดแหนบ ขอให้ท่านไปซื้อแหนบใหม่มาตัวหนึ่ง ( 3ชาย 500บาท, 4 ชาย 600 บาท ประมาณนั้น) แล้วให้ช่างถอดแหนบที่มากับตัวปืนเก็บเอาไว้ แล้วให้ดัดแหนบตัวที่ซื้อมาใหม่แทน
เท่านี้ก่อนน่ะครับ
****ผมเข้าใจว่า มีอาจารย์ปืนหลายๆท่านก็อ่านอยู่เหมือนกัน ช่วยแนะนำผมด้วยน่ะครับ โดยเฉพาะเรื่องหลังอ่อนของผม****