ชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์
ลำโพง จัดว่าเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่สุดในการกำหนดบุคลิกเสียงของซิสเต็ม นักเล่นเครื่องเสียงที่มีประสบการณ์จึงแนะนำให้เลือกลำโพงที่ใจที่ถูกใจก่อน เป็นอับดับแรกสำหรับระบบโฮมเธียเตอร์ ลำโพงถือเป็นด่านสุดท้ายที่จะถ่ายทอดเสียงจากภาพยนตร์ที่คุณชื่นชอบ ให้ได้อรรถรสเหมือนคุณไปนั่งอยู่ในเหตุการ์จริงถ้าหากคุณใช้ความพถีพิถันใน การเลือกลำโพงเธียเตอร์แล้วละก็ สวรรค์ภายในบ้านก็อยู่แค่เอื้อม แต่ถ้าพื้นที่ในบ้านของคุณคับแคบเกินกว่าจะบรรจุลำโพงโฮมเธียเตอร์ตัวใหญ่ๆ สัก5-6 ตัวลงไปได้ล่ะ คุณจะทำอย่างไร? ไม่ต้องห่วงครับ เพราะปัจจุบันมีชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์หรือ Home Theater Speaker Package หลายรุ่นออกมาจำหน่าย เพื่อให้สามารถจัดวางได้ในพื้นที่อันจำกัดได้และบทความนี้จะนำเสนอแนวทางการ เลือกซื้อชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ให้ได้ตรงใจคุณมากที่สุด
ทางเลือกของผู้บริโภค
ในปัจจุบัน คุณสามารถพบเห็นลำโพงหลากหลายรูปแบบจากบริษัทต่างๆ แต่ถ้าจะจำแนกโดยใช้ขนาดเป็นเกณฑ์ เราสามารถแบ่งลำโพงออกเป็น ลำโพงตั้งพื้น (Floor Standing Speaker) โดยทั่วไปจะมีความสูงตั้งแต่ 2 ฟุตขึ้นไปออกแบบมาสำหรับใช้งานในห้องขนาดใหญ่ ประเภทที่สองคือ ลำโพงวางหิ้ง (Bookshelf Speaker) หรือวางขาตั้ง มีขนาดไม่เกิน 2 ฟุต ออกแบบสำหรับใช้งานในห้องขนาดเล็ก ส่วนประเภทสุดท้ายคือ ลำโพง Sub/Satellite ประกอบด้วยลำโพงแซทเทิลไลต์ขนดเล็กสูงไม่ถึงฝ่ามือ ตอบสนองความถี่จาก Midrange ไปถึง High Frequency ทำงานร่วมกับ Subwoofer สำหรับความถี่ต่ำ ลำโพงประเภทนี้จะทำงานได้ดีในพื้นที่ขนาดเล็ก และการนั่งฟังในระยะใกล้ๆ

ปัจจุบันชุดโฮมเธียเตอร์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วระบบเสียงเซอร์ราวนด์ท่ได้มาตรฐานได้แก่ ระบบ DTS และ Dolby Digital แบบ 5.1 CH ดังนั้นคุณจึงต้องมีลำโพง 6 ขึ้นไป สำหรับคู่หน้า, เซอร์ราวนด์,เซ็นเตอร์ และซับวูฟเฟอร์ คนที่มีชุดลำโพงฟังเพลงอยู่แล้ว อาจเลือกหนทางที่ประหยัดโดยการซื้อฃำโพงมาเพิ่มเติมแต่มักมีปัญหาเรื่องความกลมกลืนของเสียง ทาลที่ดีกว่านั้นก็คือ เลือกซื้อลำโพงที่เป็นเซ็ตเดียวกัน จะให้เสียงที่กลมกลืนกว่า แต่ก็ต้องใช้งบประมาณและกินพื้นที่ในการติดตั้ง ยิ่งลำโพงตัวใหญ่ก็ยิ่งกินพื้นที่มาก สำหรับคนที่มีพื้นที่หรืองบประมาณจำกัด อาจหันมาเล่นชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์แบบ Sub/Satellite ที่ครบครันในเซ็ตเดียวสามารถจัดวางได้ในพื้นที่จำกัด และให้คุณภาพเสียงดีสำหรับการฟังระยะใกล้ๆ
อะไรคือชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์
คำว่า ชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ หรือ Home Theater Speaker Package ที่จะกล่าวถึงในบทความนี้หมายถึงชุดลำโพงสำหรับใช้งานในระบบเสียงเซอร์ราวนด์ (ปัจจุบันเป็น 5.1 แชนเนล) ประกอบด้วย
1.ลำโพงแซทเทิลไลต์สำหรับคู่หน้า, เซอร์ราวนด์ และเซ็นเตอร์
2.ลำโพงซับวูฟเฟอร์ จำหน่ายพร้อมกันในแพ็คเกจเดียว สามารถนำมาต่อร่วมกับเอวีรีซีฟเวอร์แล้วสามารถใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องซื้อลำโพงเพิ่มอีก

ทำไมต้องเป็นชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์
หลายคนอาจมีข้อข้องใจว่ามำไมต้องใช้ชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ตัวเล็กกระจิ๋วหลิว ในเมื่อมีลำโพงวางหิ้งขนาดเล็กแบบแยกชุดหลายรุ่นหลายยี่ห้อที่ได้รับการผลิตมาเพื่อรองรับการใช้งานด้านโฮมเธียเตอร์อยู่แล้ว หรือแม้แต่นำลำโพงฟังเพลงมาใช้ก็ยังได้ อีกทั้งการเลือกลำโพงที่ใหญ่กว่าย่อมได้เสียงที่เต็มที่กว่ามิใช่หรือ? นั่นก็เป็นความจริงส่วนหนึ่งแต่อย่าลีมว่าในโลกนี้ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง ทางผุผลิตคงเล็งเห็นแล้วว่าชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ตัวเล็กๆ มีข้อได้เปรียบบางอย่างที่คุณต้องเหลียวมอง เราลองมาดูกันครับว่า มีเหตุผลใดบ้างที่ทำให้คุณต้องเลือกใช้ชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ สำหรับโฮมเธียเตอร์ซิสเต็มของคุณ
• พื้นที่การใช้งาน ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงขนาดของห้องของก้อง แต่เป็นพื้นที่สำหรับจัดวางชุดโฮมเธียเตอร์ ในกรณีที่คุณต้องการติดตั้งชุดโฮมเธียเตอร์ในพื้นที่ไม่เกิน 4 x 6 เมตร หรือติดตั้งลำโพงวางหิ้งไปแล้วก็ยังเกะกะบ้านอยู่ การเลือกชุดลำโพงประเภท Sub/Satellite จะได้เปรียบลำโพงวางหิ้งประเภทฟูลเร้นทั้งหลาย เนื่องจากขนดเล็กกว่ามากนั่นเอง
• ระยะห่างระหว่างจอภาพกับตำแหน่งการนั่งชม เป็นเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของจอภาพกับระยะการนั่งชม ถ้าที่บ้านของคุณมีแค่จอทีวีขนาดไม่เกิน 60 นิ้ว การนั่งห่างจอเกินไปก็จะรับชมภาพได้ไม่เต็มตา ภาพที่ได้จะเล็กเกินไป เมือ่ตำแหน่งที่นั่งถูกกำหนดด้วยขนาดของจอภาพเช่นนี้ ถ้าคุณเลือกใช้ลำโพงวางหิ้งแบบฟูลเร้นที่มักต้องการกำลังขับพอสมควร จึงจะให้รายละเอียดเสียงเต็มที่ ผลก็คือคุณจะได้รับฟังเสียงที่ดังเกินไป แต่ถ้าเลือกใช้ชุดลำโพงขนาดเล็ก ที่ต้องการกำลงขับ คุณจึงไม่จำเป็นต้องเร่งวอลลุ่มมากนักเสียงก็ออกมาครบถ้วนโดยไม่ต้องเร่งวอลลุ่มดังมาก นี่ก็เป็นข้อได้เปรียบอีกอย่างหนึ่ง
• กำลังขับชองเอวีรีซีฟเวอร์ คุณต้องดูกำลังขับบองเอวีรีซีฟเวอร์ของคุณด้วยว่า มันเพียงพอที่จัขับลำโพงห้ได้เสียงคุณภาพดีหรือไม่ถ้าเอวีรีซีฟเวอร์ของคุณมีกำลังขับต่ำกว่าเกินไป ผลที่จะได้รับจะเลวร้ายมากทีเดียว อีกทั้งการเร่งวอลลุ่มมากเกินไปเพื่อให้ได้สียงออกมาครบถ้วนออาจทำให้แอม)เกิดอาการที่เรียกว่า Clipping ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายทั้งแอมป์และลำโพง ดังนั้นการเลือกลำโพงขนาเล็ก ที่ทำงานเฉพาะย่านเสียงกลางและแหลมจึงน่าจะปลอดภัยกับเอวีรีซีฟเวอร์มากกว่า
ชุดลำโพงที่มีภาคขยายในตัว

นอกจากชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ หรือ Home Theater Speaker Package แล้ว ปัจจุบันมีชุดลำโพงที่มีลักษณะคล้ายกันวางจำหน่ายอยู่ด้วย ทางผู้ผลิตมักจะใช้ชื่อว่า Home Theater System ซึ่งเป็นชุดลำโพงขนาดเล็กเช่นกัน แต่จะมีภาคขยายเสียงสำหรับลำโพง 5.1 Ch ในตัว (Fhome Theater Speaker Package มีภาคขยายสำหรับ Subwoofer เท่านั้น) ส่วนใหญ่วงจรขยายนี้จะอยู่ใน Subwoofer ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้เอวีรีซีฟเวอร์ในการขยายเสียง แต่ผู้ที่จะใช้ชุดลำโพงประเภทนี้จะต้องใช้เครื่องเล่นดีวีดีที่มีภาคถอดรหัสเสียงเซอร์ราวนด์ทั้ง DTS และ Dolby Digital สังเกตง่ายๆคือ ที่ชั้วต่อสัญญาณเสียงหลังเครื่องจะมีช่องต่อ 5.1 Ch Analog Output อยู่
ตัวอย่างของชุดโพงประเภทนี้ได้แก่ Soken DHT-400,Leona HT Blue5.1,Leona Smooth 5.1
• ไม่มีที่ติดตั้ง ในบางครั้งแม้ว่าคุณจะเลือลำโพงวางหิ้งที่คิดว่ามีขนาดเล็กแล้ว แต่มันก็ยังต้องการขาตั้งเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดอยู่ดี ทำให้มีปัญหาเรื่องพื้นที่ใช้สอยภายในบ้าน หรือบางครอบครัวที่มีเด็กๆอยู่ที่บ้าน อุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้เสมอ การเลือกชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์นับป็นทางออกที่เหมาะสม เพราะขนาดที่เล็กของมันทำให้กินพื้นที่น้อย และยังสามารถติดตั้งได้หลากหลายกว่า ทังแขวนผนัง วางบนขาตั้ง หรือวางบนชั้นหนังสือก็ยังไหว ถ้าคุณลองนำลำโพงเหล่านี้ไปติดผนังคุณจะพบว่ามันโล่งสบายตากว่ากันมาก อีกทั้งปลอดภัยจากมือเด็กอีกต่างหาก
• ความสวยงาม สำหรับผู้มีสุนทรีย์ในหัวใจ คงไม่อยากเห็นห้องที่เต็มไปด้วยลำโพงเหมือนกับกำลังทดลองอะไรบางอย่าง การออกแบบลำโพงและติดตั้งอย่างเหมาะสมทำให้ห้องของคุณดูดีขึ้นเยอะด้วยขนาดที่เล็กของลำโพงเหล่านี้ เมื่อติดตั้งแล้วจะดูรียบร้อยกว่าลำโพงตัวใหญ่ๆ มาก (ลำโพงยุคใหม่มักจะมีหน้าแคยแต่ก้นลึก การติดผนังทำให้มีส่วนที่ยื่นออกมาจากผนังมาก) ในปัจจุบันบรรดาผู้ผลิตต่างก้ออกแบบชุดลำโพงของตนให้มีสีสันที่เข้ากับการตกแต่งบ้านของแต่ละคน หรือจะพ่นสีทับก็สามารถทำได้ ในขณะที่ลำโพงทั่วๆไปมักจะเป็นลายไม้หรือไม่ก็สีดำ
• สามารถอัพเกรดได้ในราคาประหยัด ถ้าพูดถุงความกระทัดรัดหลายคนอาจนำไปเปรียยเทียบกับชุด Home Theater In A Box แต่ถ้ามองความสามารถในการอัพเกรดซิสเต็มแล้ว ยังไงๆการเล่นแบบแยกชิ้นก็ชนะขาด ถ้าเปรียบเทียบระหว่าง Home Theater In A Box ที่คุณซื้อครั้งเดียวยกกล่อง มักมีขั้วต่อแบบเฉพาะตัวใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่นไม่ได้ หรือมีขั้วต่อน้อยเกินไป เทียบกับการเล่นแบบแยกชิ้นที่ประกอบด้วย เครื่องเล่นดีวีดี, เอวีรีซีฟเวอร์ และชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ คุณจะเห็นว่าอย่างหลังมีความเป็นดีวีโอไฟล์กว่าเยอะ มันด้อยกว่าชุดแยกชิ้นชุดใหญ่เพียงแค่ขนาดของลำโพงที่เล็กกว่าเท่านั้น ส่วนคุณสมบัติอื่นๆ ไม่ต่างกันเลย
ข้อเสนอแนะในการเลือกซื้อชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์
หลังจากทีคุณนั่งคิดนอนคิดอยู่หลายตลบ จนกระทั่งตัดสินใจได้แล้วว่าจะใช้ชีวิตร่วมกับชุดลำโพงโฮมธียเตอร์สักชุด แต่ไม่รู้จะเลือกชุดไดดี เพราะดูแล้วก็เหมือนกันไปหมด ไม่ต้องกังวลครับ ต่อไปนี้เป็นข้อเสนอแนะที่จะทำให้คุณเลือกชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์อย่างไม่ผิดหวัง
•ความสะดวกในการติดตั้ง เนื่องจากลำโพงประเภทนี้ได้รับการออกแบบมาให้สามารถติดตั้งได้หลากหลาย คุณต้องรู้ความต้องการของตัวเองก่อนว่า คุณจะเอาลำโฑงเหล่านี้ไปใช้ที่ไหนอย่างไร สมมุตว่าคุณจะใช้แบบวางขาตั้ง คุณก็ต้องดูว่าลำโพงที่คุณหมายตานั้น ต้องใช้ขาตั้งที่ออกแบบมาแฉพาะหรือเปล่า แล้วถ้าใช้ บริษัทผู้แทนจำหน่ายได้นำเข้าขาตั้งมาด้วยหรือเปล่า เนื่องจากลำโพงบางรุ่นจะทำตู้เอียงหรือโค้ง ไม่สามารถวางบนพื้นได้ รวมทั้งอย่าลืมบวกราคาขาตั้งเข้าไปด้วย หรือถ้าหากคุณต้องการแขวนผนัง ก็ดูว่าลำโพงนั้นมีแอ็คเซสเซอร์รี่สำหรับการแขวนผนังครบถ้วนหรือเปล่า (ลำโพงประเภทนี้มักจะแถม Wall Bracket หรือไม่ก็เป็นขาตั้งสำหรับวางบนหิ้งมาให้ด้วย)
•อย่ามองข้าม Subwoofer ในขณะที่หลายคนให้ความสนใจกับตัวลำโพงแซเทิลไลท์ ว่าของยี่ห้อใดจะมีขนาดใหญ่กว่ากัน เป็นแบบกี่ทาง หรือใช้ไดรเวอร์ขนาดกี่นิ้ว แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับ Subwoofer นั่นอาจทำให้คุณพลาดได้ อย่าลืมว่าชุดลำโฑงโฮมเธียเตอร์เป็นลำโพงประเภท Sub/Satellite ที่ขาดตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้และความถี่ต่ำของซิสเต็มทั้งหมดก็มาจาก Subwoofer ด้วย ถ้าคุฦณต้องการคุณภาพ อย่าลืมให้ความสนใจกับ Subwoofer ด้วย ไม่ใช่เรื่องขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ตู้เปิดหรือตู้ปิด แต่เป็นเรื่องของฟังก์ชั่นการปรับแต่งที่อำนวยความสะดวกในการใช้งานจริง ให้ได้คุณภาพเสียงสูงสุด Subwoofer ควรมีลูกเล่นต่างๆ เช่นเดียวกับ Subwoofer แบบแยกชิ้น ได้แก่ 1.ควรเป็น Active Subwoofer เนื่องจากมันมีกำลังขับในตัว ทำให้ไม่ต้องใช้แอมป์ภายนอกมาขับ 2. มี Volume ในตัวเพื่อให้คุณ Fine Tune ระดับเสียงของซัฟวูฟเฟอร์ให้กลมกลืนกับชุดลำโพงแซทเทิลไลต์มากที่สุก 3. สมารถปรับจุดตัดความถี่ได้ เพราะตรงนี้เป็นหัวใจสำคัญที่จะพลิกคุรภาพเสียงจากหน้ามือเป็นหลังมือได้เช่น 4. มีขั้วอินพุตทั้งแบบ Hi Level และ Low Level จุดนี้ทำให้มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน เมื่อคุณมีเอวีรีซีฟเวอร์ที่ไม่มีช่องรีซีฟเวอร์ Subwoofer Output คุณก็สามารุดึงสายจากขั้วต่อลำโพงมาเข้าที่ช่อง Hi Level ได้
• ขั้วต่อลำโพง เป็นประตูสำหรับเชื่อมระหว่างตัวลำโพงกับแอมป์ในท้องตลาดขั้วต่อลำโพงมีสองแบบคือ ไบดิ้งดฑสต์ กับแบบสปริงหนีบที่มีคุณภาพแย่กว่า สำหรับนักเล่นที่ต้องการคุณภาพเสียง คุณอาจต้องการเพิ่มคุณภาพโดยการเปลี่ยนสายลำโพงให้มีคุณภาพส๔งขึ้น และสายลำโพงเหล่านี้ก็มักมีขนาดใหญ่ด้วย ปัญหาก็คือ ด้วยการออกแบบตู้ให้ขนาดเล็ก ทำให้ขั้วต่อลำโพงมีขนาดเล็กไปด้วย จากไบดิ้งดำสต์ในลำโพงธรรมดาก็กลายเป็นไบดิ้งดพสต์ขนาดจิ๋ว ทำให้ใช้กับสายลำโพงขนาดใหญ่ไม่ได้ นี่ก็เป็นจุดหนึ่งที่ควรนำมาพิจารณา
• คุณภาพของลำโพงเซ็นเตอร์ สำหรับท่านที่คุณเคยกับระบบสเตอริโอ อาจไม่ให้ความสำคัญกับลำโพงเซ็นเตอร์มากนัก แต่คุณร็หรือไม่ว่า เสียงซาวนด์แทรคจากภาพยนตร์ส่วนใหญ่มาจากเซ็นเตอร์ฉะนั้นอย่ามองข้ามจุดนี้ ถ้าคุณลองสังเกตดูจะพบว่าลำโพงเซ็นเตอร์ของชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์จะมี 2 ลักษณะคือ 1. เป็นลำโพงแบบเดียวกับคุ๋หน้าและเซอร์ราวนด์ กับ 2. เป็นลำโพงเซ็นเตอร์โดยเฉพาะไม่เหมือนกับคู่หน้าและเซอร์ราวนด์ อาจจะใช้ไดรเวอร์ชนิดเดียวกัน แต่มีจำนวนมากว่า หรืออาจจะใช้ไดรเวอร์ขนาดใหญ่กว่าไปเลย ซึ่งมักมีคุณภาพสูงกว่าลำโพงคู่หน้าและเซอร์ราวนด์ ถ้าหากชุดลำโพงที่คุณเปรียบเทียบมีราคาใกล้เคียงกัน คุณสมบัติอื่นๆ เหมือนกัน แต่อีกชุดใชเซ็นเตอร์คุณภาพดีกว่าย่อมมีความได้เปรียบ
• จุดตัดของความถี่ Subwoofer อย่าลืมว่าชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ใช้ลำโพงขนาดเล็กมาก ทำให้การตอบสนองความถี่ต่ำของลำโพงแซทเทิลไลต์อย่างเก่งก็แค่ 120 Hz ดังนั้นจุดตัดความถี่ของซัฟวูฟเฟอร์ควรจะสูงกว่าซัฟวูฟเฟอร์แยกชิ้น เพื่อให้ครอบคลุมไปถึงความถี่คัตออฟของลำโพงแซทเทิลไลต์
• ไดรเวอร์ความถี่ต่ำยิงออกด้านหน้าหรือยิงลงพื้น ? ตอบได้เลยว่าไม่ต้องสนใจ เพราะจะยิงออกตรงไหนมันเป็นเรื่องของการออกแบบที่ผู้ออกแบบจะเลือกแบบตู้ให้เหมาะสมกับสเป็คของไดรเวอร์ ตัวหนึ่งอาจจะเหมาะสมกับการออกแบบให้ยิงเสียงลงพื้น ถ้าให้ยิงเสียงออกด้านหน้าอาจไม่ดีก็ได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องของผู้ออกแบบจริงๆที่เหลือคุณก็สามารถ Fine Tune ให้ได้เสียงที่ถูกใจได้
บทสรุป
จะทำอไรก็ขอให้เดินทางสายกลางครับ แม่กระทั่งชุดโฮมเธียเตอร์ อะไรที่คนอื่นใชแล้วดี อาจไม่เหมาะสมกับคุณก็ได้ ถ้าคุณมีพื้นที่จำกัดแล้วดันทุลังเลือกลำโพงตัวใหญ่ๆ มาใช้งาน คุณอาจดึงประสิทธิภาพของลำโพงมาใช้ได้ไม่เต็มที่ การเลือกชุดลำโพงขนาดเล็กลงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ไม่ต้องเกรงว่าคุณจะมีทางเลือกน้อยเพราะมีชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ให้คุณเลือกหลายระดับครับ
ขอขอบคุณนิตยสาร Videophile Vol.6 No.63