Emotical คือพัฒนาการจริงหรือ?
เป็นประเด็นที่ต้องถกเถียงกันอย่างจริงจังในวงวรรณกร รมไทย กับภาษาสื่อสารยุคใหม่ที่เรียกกันว่า "Emotical"
ต้นกำเนิดของมัน มาจากสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงอารมณ์แทนผู้พูด สามารถหาได้ตามเวปบอร์ด แชทรูม และเอมเอสเอนตัวอย่างเช่น
: ) = ยิ้ม
XD = ยิ้มดีใจสุดๆ
; ) = ยิ้มขยิบตา
-_- = ทำหน้าตาเบื่อโลก
-_-; = ทำหน้าตาเบื่อโลกและเหงื่อตก
-_-; ,,|,, = ทำหน้าตาเบื่อโลก เหงื่อตกและชูนิ้วกลาง
OTL = ลงไปนั่งคุกเข่าอย่างท้อแท้
orz = เหมือนข้างบน แต่ตัวจะเล็กกว่า
/gg = giggle หรือหัวเราะขำขัน
olo = อวัยวะเพศชาย
[๐ ๐] = C = เมก้าซาวะ เหล่านั้นคือตัวอย่างของภาษา Emotical ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยของวัยรุ่น เราสามารถพบเห็นมันได้ในฟอร์เวิร์ด
เกมออนไลน์ แมสเสจมือถือ หรือแม้กระทั่งวรรณกรรมที่ขายตามร้านหนังสือ ปัจจุบันนั้นยังคงมีการถกเถียงและยอมรับภาษา Emotical กันอยู่
ว่าสมควรแล้วหรือยังที่จะนำมาใช้ในวรรณกรรมให้คนทั่ว ไปอ่าน ถ้าหากมองในแง่ของวัฒนธรรมแล้ว Emotical ก็นับเป็นมิติใหม่ของภาษาที่ถูกใช้
ไปทั่วโลกหากจะว่ากันตามจริงแล้วมันถือเป็นวัฒนธรรมของโลกยุคใ หม่เลยทีเดียว
แต่หากมองในแง่ของความผิดเพี้ยนแล้วนั้น ก็ย่อมเป็นเรื่องใหญ่ที่สั่นคลอนรากฐานภาษาดั้งเดิมข องประเทศ
ภาษา เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงออกถึงความเป็นเอกราชของประเทศน ั้นๆ หากการรับเอาภาษาอื่นมาใช้งานนั้นทำให้คนขาดจิตสำนึกในภาษาแม่แล้ว
มันอาจจะกลายเป็นความหายนะของภาษาในเร็ววัน
ดั่งหลักการ "เปลี่ยนแปลงแต่ไม่เปลี่ยนไป" การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องแย่ แต่การเปลี่ยนไป เป็นเรื่องที่น่ากลัว ภาษาไทย
ไม่ใช่ภาษาที่ตายแล้ว หากแต่เป็นภาษาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้สวยงามได้ เสมอ
หากการรับนำข้อดีของ Emotical มาใช้ให้ถูกที่ถูกกาลเป็นเรื่องที่สมควร
การใช้ภาษาให้ถูกต้องตามหลักภาษาก็ย่อมเป็นเรื่องที่ ต้องกระทำตั้งแต่ตอน นี้
สุดท้ายนี้
การเขียนภาษาไทยผิดๆ ถือเป็นคนละประเด็นกับการ(ตั้งใจ?)ใช้ภาษาไทยแบบวิบั ติๆ นะครับเพราะการเขียนคำผิดนี่เกิดจากความเข้าใจผิด
หรือรับรู้มาผิดๆ เท่านั้นเอง แก้ไขได้ไม่ยากโดยวิธีแก้ก็แค่หัดเขียนบ่อยๆ ให้มันถูก เดี๋ยวก็หายครับ
