เข็มแทงชนวนของ Glock ถูกออกแบบให้สั่นตัวเมื่อกระแทกจานท้ายกระสุน เพื่อไม่ให้หัก งอ หรือบิดเบี้ยวผิดรูป
อีกทั้งยังถูกออกแบบให้สัมผัสกับส่วนสไลด์เหล็กน้อยที่สุด เพื่อลดการสึกหรอและแตกหักมากที่สุด
อีกทั้งเนื้อสไลด์ของ Glock ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้แข็งแกร่งใกล้เคียงเพชร ขณะที่เข็มแทงชนวนผลิตจากโลหะที่อ่อนขวา
จึงไม่มีเหตุผลใดสนับสนุนความเชื่อที่ว่าการยิงแห้งแบบรังเพลิงเปล่าทำให้ผนังหน้าห้องเข็มแทงชนวนแตกหัก
ด้วยความเคารพ ....

การแตกร้าวของผนังหน้าห้องเข็มแทงชนวน (หรือเรียกว่าผนังรับท้ายปลอกกระสุน หรือฝรั่งเรียกbreechface) เกิดขึ้นจริงครับ
ดูไม่น่าจะเกิด เพราะเข็มแทงชนวนของกล็อกมันลอยๆพุ่งไปด้วยแรงสปริง และมวลก็น้อย
แต่มันเกิดเพราะความประจวบ(ไม่)เหมาะ
อธิบายได้ว่า....
เมื่อลั่นไกยิงโดยไม่มีท้ายกระสุนมารับ...เข็มแทงชนวนก็ต้องมีจุดอื่นที่กระทบเพื่อหยุดการเคลื่อนที่ของมวลของตัวมัน
ยิงจริงเข็มจะหยุดที่ท้ายกระสุน แต่ยิงแห้งไม่มีกระสุน ก็จะกระทบขอบด้านในของรูที่เห็นเข็มโผล่ออกมานั่นแหละครับ
แรงแม้ไม่มากแต่เคาะบ่อยๆถี่ๆที่จุดเดิม
ส่วนเนื้อเหล็กสไลด์ของกล็อกชุบแข็งมาก...เป็นการชุบทั้งแท่ง .... แข็งนั้นดี แต่เมื่อแข็งมากก็ได้ความเปราะตามมาด้วย
ถ้าส่องกล้องดูโครงสร้างของเนื้อเหล็ก จะเห็นว่าเหล็กส่วนผสมอะไรๆ กรรมวิธีไหนๆ มันก็ไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกันสมบูรณ์
ความบังเอิญหนึ่งในพัน หนึ่งในหมื่น ที่จุดเปราะมาอยู่ที่ตำแหน่งโดนเข็มมาเคาะพอดีๆ และบังเอิญที่เจ้าของยิงแห้งบ่อยมากๆ
....มันก็แตกร้าวได้...
ราวเกือบ ๑๐ ปีย้อนหลัง มีรายงานเรื่องนี้อยู่มาก ผมเห็นด้วยตาคลำด้วยมือตัวเองก็มี
กล็อกก็ได้ปรับแก้...ที่แน่ๆคือแก้ที่ขอบมุมขอบบ่าตัวเข็ม จุดที่เข็มมีโอกาสกระทบ... ดังนั้น ในปืนรุ่นใหม่ที่ออกมาปัญหาก็หายไป
คนมีกล็อกรุ่นเก่าอาจร้อง...อ้าว...แล้วของผมล่ะ ..... ตอบว่าถ้าแจ็คพอทมาตกที่เรา มันแตกไปนานแล้ว ... ถึงวันนี้ได้ก็ไม่แตกแล้ว

แต่....มีแต่....ปืนรุ่นไหนๆ ปืนอะไรๆก็ใส่ลูกดัมมี่เวลายิงแห้ง(เน้น..มากๆ)เถอะครับ ...
ปืนชำรุด แม้ผู้ผลิตจะเปลี่ยนปืนเปลี่ยนอะไหล่ให้ ..... แต่ระเบียบกฎหมายบ้านเราไม่เอื้อให้ทำได้ง่ายๆครับ
