เป็นความผิด ตาม ป.อาญา ม.๓๗๑ จนท.ตำรวจเมื่อเปรียบปรับ แล้ว จักต้องคืนมีดไม่มีอำนาจริบ อำนาจริบมีเป็นของศาล เท่านั้น ครับ
แต่ในกรณี นี้ เกิดขึ้น ในพื้นที่ ซึ่งคงประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉินฯ อยู่ในอำนาจ ของ กอฉ.ที่ต้องเฝ้าระวัง
จนท.มีอำนาจ ตามประกาศ อาจยึดไว้ ชั่วคราว ซึ่งผมไม่ทราบรายละเอียด
ถ้าเป็นมีดที่มีราคาแพง ควรติดต่อไปยัง จนท.ที่เปรียบเทียบปรับ ขอคืนมีด..
หรือขอทราบเหตุผลที่ยึดมีด เพื่อสงวนสิทธิที่จะขอรับมีดคืน เมื่อพ้นการประกาศไปแล้ว ครับ.
ตามพี่โรสครับ

ปัญหานี้มีมานานพอสมควรครับ
แต่ไม่เห็นมีใครจะใช้สิทธิขอคืน ในกรณีปรับเสร็จ แต่ไม่คืนมีดต่อเจ้าพนักงาน ให้เป็นกรณีตัวอย่างสักที
เคยรวบรวมหลักกฎหมายและข้อมูลไว้อ่านเอง ครั้งหนึ่งในเรื่องนี้ แต่ไม่ขอยืนยันได้ว่าถูกต้องหรือไม่

เมื่ออาวุธมีดดังกล่าว พนักงานสอบสวนใช้อำนาจยึดไว้ในฐานะเป็นของกลาง และเป็นหลักฐานในคดีตามมาตรา ๓๗๑
ซึ่งความผิดตามมาตรา ๓๗๑ พนักงานสอบสวนซึ่งเห็นว่า จำเลยไม่สมควรได้รับโทษจำคุก
กฎหมายให้อำนาจพนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบปรับ โดยกำหนดค่าปรับ ให้ผู้ต้องหาชำระ
เมื่อผู้ต้องหาตกลงยินยอมชำระค่าปรับนั้นแล้ว ต้องถือว่าคดีดังกล่าวย่อมเลิกกัน และถือว่าคดีถึงที่สุดแล้ว
เมื่ออำนาจริบทรัพย์สิน เป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ นอกจากนี้ มาตรา ๓๗๑ ให้อำนาจศาลริบมีดของกลางในความผิดตามมาตรา ๓๗๑
ซึ่งโดยหลักแล้ว คดีที่มีการยึดของกลางไว้ ศาลมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้สั่งริบของกลาง หรือพนักงานอัยการมิได้ขอให้ริบของกลางนั้น
เจ้าของทรัพย์สิน ย่อมสามารถขอคืนของกลางหรือทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานยึดไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้
และไม่จำต้องยื่นคำร้องขอคืนต่อศาล แต่ให้ยื่นต่อผู้ยึดของกลางนั้นไว้ ( เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๖๘๔/๒๕๔๓)
นอกจากนี้ ความเห็นผม เมื่อมีด มิใช่เป็นทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิด ในอันที่ศาลจะต้องริบทุกกรณี
แต่ มีด ถือเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานพาอาวุธ ตามมาตรา ๓๗๑ เท่านั้น
เมื่อไม่ปรากฎว่าศาลได้มีคำสั่งริบมีดดังกล่าว ต้องถือว่ามีดอยู่ในฐานะของกลางในคดี จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
และเมื่อคดีนี้ถึงที่สุดด้วยการชำระค่าปรับ การยึดมีดของกลางในคดี ย่อมหมดความจำเป็นที่ยึดไว้ต่อไป
และต้องคืนมีด ให้แก่ผู้ต้องหาหรือแก่ผู้อื่นซึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของนั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น
ซึ่งต่อมา หากขอรับคืนของกลางในคดี เนื่องจากศาลมิได้มีคำสั่งริบไว้
และเจ้าพนักงานปฏิเสธไม่ยอมคืน ไม่ว่าด้วยเหตุใด แต่การไม่คืนของกลางดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด
จะถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ยังไม่ได้เต็มปากนัก
แต่การไม่คืนของกลางดังกล่าว น่าจะเป็นการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ ที่มีผลระงับ ริดรอน สิทธิของผู้ต้องหา ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์
อันถือได้ว่าคำสั่งไม่คืนดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครอง...... (ว่าไปนั้น)

ซึ่งหากผลสุดท้าย หากเปรียบเทียบปรับแล้วต้องคืนมีด เพราะไม่มีคำสั่งศาลให้ริบ
งานนี้ คงมีการวางนโยบาลคดีใหม่ ให้ต้องส่งฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล เพื่อให้มีคำสั่งริบมีดอย่างถูกต้องแล้วละครับ

ปล. อันนี้เป็นแนวความคิดส่วนตัวนะครับ อ้างอิงอะไรไม่ได้
