เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
กรกฎาคม 20, 2025, 03:22:31 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หากประเทศเราไม่มีกองทุนน้ำมันจะเกิดอะไรกับผู้ใช้น้ำมันอย่างเราๆ บ้าง  (อ่าน 1576 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
your-ประชาธิปไตย
Sr. Member
****

คะแนน 925
ออฟไลน์

กระทู้: 509


« เมื่อ: ธันวาคม 09, 2010, 09:56:43 PM »

 
ตามหัวข้อเลยครับ..... จาก http://www.pantip.com/cafe/ratchada/topic/V10007330/V10007330.html


และนี่คือตัวอย่างความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 15    

รายได้หลัก ของประเทศ ตอนนี้คือ ภาษีน้ำมัน

นอกนั้น ไม่เห็น โครงการอะที่ได้เงินเข้ามาเลย

เห็นมีแต่ ขยันใช้เงินภาษี และ แจก อุ้ม ต่างๆนาๆ


เฮ้อ ..

จากคุณ : ek_  
เขียนเมื่อ : 9 ธ.ค. 53 17:21:14  
ถูกใจ : PPXRT2, Kwangcity2009

  
 
  ความคิดเห็นที่ 16  

ไม่มีเงินกองทุนน้ำมัน .... กระทรวงพลังงาน ก็เหมือนบ้านร้างครับ...

ใครก็ไม่อยากไปอยู่...55555 เหมือนเมื่อ 2-3 เดือนก่อน เอาเงินไปติดอุปกรณ์แก๊ส ให้แท็กซี่ฟรี....

โปร่งใสไหม ตรวจสอบได้ไหม ทั่วถึงไหม แล้ว .. ติดให้ทำไมกับแท็กซี่ ไม่เกี่ยวกับกองทุนเลย เพราะแท็กซี่ ไม่เคยเติมน้ำมัน

แดรก.... คำตอบสุดท้ายครับ

จากคุณ : Liverpool  
เขียนเมื่อ : 9 ธ.ค. 53 17:22:33 A:124.122.219.51 X: TicketID:286702  
  

  
 ความคิดเห็นที่ 17    

กองทุนน้ำมัน เป็นเครื่องมือให้รัฐบาลใช้บริหารจัดการการใช้พลังงานในประเทศ

1.ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ปีไหนจำไม่ได้ ในช่วงที่น้ำมันตลาดโลกราคาสูงขึ้นมาก รัฐบาลให้กองทุนน้ำมันจ่ายทดแทน เพื่อพยุงราคาไม่ให้น้ำมันแพงขึ้นตามตลาดโลก เพราะถ้าปล่อยให้น้ำมันในประเทศขึ้นราคา ราคาสินค้าต่างๆจะทยอยกันขึ้นราคา เมื่อขึ้นแล้ว ก็ไม่เคยลง แม้ราคาน้ำมันจะกลับมาที่เดิม ซึ่มีผลต่อภาวะเศรษฐกินโดยรวมในประเทศ ทั้งภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และGDP การตรึงราคาน้ำมันเป็นสิ่งจำเป็น เมื่อรัฐบาลคาดการณ์ว่าราคาในตลาดโลกที่สูงมากนี้ คงเกิดขึ้นเพียงช่วงสั้นๆ ในครั้งนี้ ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ทุกอย่างเป็นไปตามความคาดหมาย

2.ถัดมาอีก 1-2 ปี ในรัฐบาลทักษิณเช่นกัน ราคาน้ำมันตลาดโลกสูงขึ้นอีก รัฐบาลใช้วิธีเดิมรับมือ แต่คราวนี้ ผิดคาด/ผิดพลาด ราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างยาวนาน จนในที่สุดกองทุนน้ำมันติดลบ รัฐบาลต้องเอางบประมาณมาอุดหนุน สุดท้ายต้องมอบตัว ปล่อยราคาน้ำมันเป็นไปตามตลาดโลก

3.หลายโรงงาน ได้พัฒนาระบบประหยัดพลังงาน ได้รับเงินอุดหนุนจากกองทุนนี้

4.ก๊าซหุงต้ม ถ้าไม่มีกองทุนน้ำมัน คงได้ใช้ลิตรละ 20 กว่าบาท แม่ค้าข้าวแกงต้องหาเรื่องขึ้นราคา จาก 30-40 คงขึ้นไปเป็น 40-50 บาท

5.เข้าใจว่าระบบขนส่งมวลชน ระบบราง ได้รับเงินอุดหนุนจากกองทุนน้ำมัน

จากคุณ : ลุงเต่า    
เขียนเมื่อ : 9 ธ.ค. 53 17:32:43  
ถูกใจ : oummie

  
 
  ความคิดเห็นที่ 18    

ในที่สุด รัฐบาลนี้ก็ได้ทำตามที่หาเสียงไว้ได้แล้ว  ลดการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน  555

แต่เขาไม่ได้บอกไว้ในนโยบายนี่ว่า เขาจะไม่เพิ่มภาษี ... เขาก็ขึ้นภาษีมาซะเท่าตัว  จาก 3 บาท เป็นเกือบ 7 บาท เล่นซะเต็มเหนี่ยวเลย ... นี่ยังเหลืออีกไม่กี่บาทจะมิดเพดานแล้วนะ

ทำใจเถอะ โดนแน่ ๆ

ท่านรัฐมนตรีคลัง ก็บอกแล้วว่าภาษีสรรพสามิตจากน้ำมันเป็นรายได้หลัก หากลดไป จะทำให้มีปัญหาได้  และราคาน้ำมันลดลง คนจนไม่ได้ประโยชน์ มีแต่คนรวยได้ประโยชน์  (คนจน เกษตรกร ไม่ได้ขึ้นรถเมล์ รถบัส หรือใช้รถกระบะขนพืชผลมาขาย กันเหรอ ?  ค่ารถทัวร์ขึ้น ค่ารถเมล์ขึ้น คนไม่มีรถขับไม่เดือดร้อน?)

จากคุณ : เ ห็ ด ห อ ม  
เขียนเมื่อ : 9 ธ.ค. 53 18:16:26  
  

  
 
  ความคิดเห็นที่ 19  

ผู้ใช้น้ำมันใช้น้ำมันถูกลง

ผู้ใช้แกสใช้แกสแพงเท่าที่ควรจะเป็น

รัฐบาลถังแตก ไม่มีเงินถลุงแจกชาวบ้านหาเสียง

จากคุณ : รู้น้อย  
เขียนเมื่อ : 9 ธ.ค. 53 18:32:09 A:58.64.104.212 X: TicketID:128728  
  

  
 
ความคิดเห็นที่ 20  

คนอยู่สูง คนเป็นผู้นำ
ที่มีคุณธรรม เค้าต้องทำให้ ไม่ใช่ทำเอา

เงินประชาชนถ้าไปแล้วกลับมาให้เพื่อคนส่วนใหญ่
หรือความเจริญประเทศ...รับได้

แต่ถ้าเอาไปแล้ว จัดการไม่เป็น
เอาไปผลาญ สร้างประโยชน์กลุ่มตัวเอง

อยากได้ก็เอาไป
แต่จำเอาไว้...ผมไม่เต็มใจให้

จากคุณ : zZzz (เริงรื่น)  
เขียนเมื่อ : 9 ธ.ค. 53 19:01:16
  
  http://www.pantip.com/cafe/ratchada/topic/V10007330/V10007330.html

  
 
  
 
 
  


บันทึกการเข้า

"ข้าพเจ้าต่อสู้เพื่อคุณธรรมที่อยู่ในใจของข้าพเจ้า ใครที่ขัดขวางคุณธรรมนั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ใด เราจะถือว่าเป็นศัตรู"
ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ...
ban.cha
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: ธันวาคม 09, 2010, 09:59:53 PM »

ประชาชนจะใช้น้ำมันในราคาที่แพงตามกลไกตลาดครับ เศร้า
บันทึกการเข้า
Yut64
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 7665
ออฟไลน์

กระทู้: 9988



« ตอบ #2 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2010, 11:08:05 AM »

ปล่อยไปตามกลไกตลาดก็ดีเหมือนกันนะจะได้อยู่ในโลกความเป็นจริงรู้สึกว่าเราฟุ่มเฟือยกับพลังงานมากไปแล้ว
ดึกดื่นเที่ยงคืนยังสว่างไสวอยู่เลย
บันทึกการเข้า
ก๊วยเจ๋ง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 134
ออฟไลน์

กระทู้: 2848



« ตอบ #3 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2010, 02:24:06 PM »

น้ำมันแพงของทุกอย่างในชีวิตเราก็แพงตามครับ
บันทึกการเข้า

dignitua-รักในหลวง
เราจะสู้เพื่อในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1414
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8341


จะมีพรุ่งนี้ ได้อีกกี่วัน...


« ตอบ #4 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2010, 11:08:51 PM »

 1. กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ได้ให้อำนาจนายกรัฐมนตรี ในการออกคำสั่งนายกรัฐมนตรี ในการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ปัจจุบันคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ใช้ในจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2546

1.1 พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516

(1) ในช่วงวิกฤตการณ์น้ำมันของโลก ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2516-2517) ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และหาซื้อได้ยากก่อให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันขึ้นในประเทศไทย รัฐบาลจึงได้พยายามแทรกแซงกลไกตลาดน้ำมัน โดยได้ออกพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 เพื่อใช้เป็นกลไกในการกำหนดมาตรการในการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยวัตถุประสงค์ของพระราชกำหนดประกาศไว้ว่า

“โดยที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้ทวีสูงขึ้นเป็นลำดับ และน้ำมันดิบที่จะซื้อได้มีปริมาณลดน้อยลง ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นในประเทศไทย ฉะนั้น เพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของประเทศ และความผาสุกของประชาชน จำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขและป้องกันภาวะการณ์ดังกล่าวให้ทันต่อเหตุการณ์ ในการนี้นายกรัฐมนตรีจำเป็นต้องมีอำนาจในการกำหนดมาตรการต่างๆ ได้ โดยฉับพลัน ไม่จำเป็นต้องให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ แยกปฏิบัติการตามกฎหมายที่มีอยู่”

(2) พระราชกำหนดนี้ มีอายุ 1 ปี แต่ต่อมาก็ได้มีการออกพระราชกำหนดต่ออายุ จนกระทั่งปี 2520 จึงได้ตราเป็นพระราชกำหนดให้มีผลบังคับใช้ต่อไปไม่มีกำหนด

(3) พระราชกำหนดนี้ กำหนดอำนาจแก่นายกรัฐมนตรีในการออกมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง

1.2 คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546

นายกรัฐมนตรี โดยอาศัยอำนาจตามข้อ 3 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ได้ออกคำสั่งนายกรัฐมนตรี กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน คือ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546 โดยได้กำหนดกลไกที่สำคัญในการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ การจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน และจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

2. ความเป็นมาของการจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

2.1 ในปี 2520 โอเปคขึ้นราคาน้ำมันดิบ แต่รัฐบาลได้ขึ้นราคาขายปลีกในสัดส่วนที่น้อยกว่าราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น รัฐบาลสมัยนายกรัฐมนตรีธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้ใช้มาตรการลดอัตราภาษีผลิตภัณฑ์น้ำมันลงตามส่วนของต้นทุนน้ำมันดิบ แต่ในกรณีน้ำมันเตาการลดอัตราภาษีไม่พอเพียงกับต้นทุนราคาน้ำมันดิบ รัฐบาลจึงได้ใช้วิธีลดภาษีที่เก็บจากน้ำมันเบนซินมากกว่าต้นทุนที่เพิ่ม และกันเงินส่วนนี้ไว้ในกองทุน โดยได้อาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ออกคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 178/2520 ลงวันที่ 19 กันยายน 2520 เรื่อง การกำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันส่งเงินเข้ากองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ค้าน้ำมัน เพื่อจัดตั้งกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยให้โรงกลั่นน้ำมัน และผู้นำเข้าส่งเงินเข้ากองทุน และเงินกองทุนนี้นำไปชดเชยให้ผู้ค้าน้ำมันเตา

2.2 ในปี 2521 รัฐบาลสมัยนายกรัฐมนตรีพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ได้ประกาศเพิ่มค่าเงินบาท ร้อยละ 1 ทำให้ผู้นำเข้าได้กำไรเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าว รัฐบาลเห็นว่ากำไรส่วนนี้มิได้เกิดจากการดำเนินการ จึงได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 206/2521 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2521 จัดตั้งกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินตราต่างประเทศ) และกำหนดให้ผู้นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงส่งกำไรที่เกิดจากการเพิ่มค่าเงินบาทเข้ากองทุนดังกล่าว เพื่อเก็บไว้ใช้ทดแทนเมื่อราคาน้ำมันดิบสูงขึ้น

2.3 ในปี 2522 ประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียมได้ประกาศขึ้นราคาน้ำมันดิบถึง 4 ครั้ง รัฐบาลสมัยนั้นซึ่งมีพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงเห็นควรให้หาวิธีการที่จะตรึงราคาขายปลีกของน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศ โดยไม่ต้องปรับตามราคาน้ำมันดิบที่เปลี่ยนไปทุกครั้ง และอีกประการหนึ่งต้องการจะรวมกองทุนต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นเข้าเป็นกองทุนเดียวกัน จึงได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ออกคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สร. 0201/9 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2522 จัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งได้รวมกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งตั้งตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 178/2520 ลงวันที่ 19 กันยายน 2520 กับกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินตราต่างประเทศ) ซึ่งจัดตั้งตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 206/2521 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2521 เข้าด้วยกัน กำหนดกฎเกณฑ์การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ และชดเชยจากกองทุนฯ รวมทั้งการปฏิบัติในการส่งเงินเข้ากองทุนฯ และขอรับเงินชดเชยจากกองทุนฯ และกำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบในส่วนต่างๆ

3. วัตถุประสงค์ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ตามเจตนารมย์ของพระราชกำหนดฯ คือ ใช้เป็นกลไกของรัฐในการป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง และใช้ในการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศ จากกรณีที่ราคาในตลาดโลกสูงขึ้น เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความเดือดร้อนของประชาชนให้น้อยที่สุด

ในปี 2534 รัฐบาลได้ยกเลิกการควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันเบนซิน ก๊าด ดีเซลและเตา โดยเหลือเพียงก๊าซปิโตรเลียมเหลว (ก๊าซหุงต้ม หรือ LPG ) ที่ยังคงมีการควบคุมราคาอยู่ ปัจจุบันกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จึงใช้ในการรักษาระดับราคาของก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นหลัก

4. การบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

4.1 ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546 ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ทำหน้าที่ในการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งมีหน้าที่ ดังนี้

กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการคำนวณราคา และกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักร ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักร
กำหนดค่าการตลาดสำหรับการซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิง
กำหนดค่าขนส่งไปยังคลังก๊าซและค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาก๊าซ ณ คลังก๊าซ ตลอดจนกำหนดราคาขายก๊าซ ณ คลังก๊าซเป็นราคาเดียวกันทุกแห่งทั่วราชอาณาจักร
กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนหรืออัตราเงินชดเชยสำหรับก๊าซที่ซื้อหรือได้มาจากผู้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม ซึ่งเป็นผู้ผลิตได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติในราชอาณาจักร น้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักร น้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักรน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ส่งออก น้ำมันเชื้อเพลิงที่จำหน่ายให้แก่เรือเพื่อใช้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร และก๊าซหุงต้มที่จำหน่ายให้แก่ประชาชน
กำหนดชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุน หรือไม่ให้ได้รับเงินชดเชย
กำหนดราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นและคำนวณราคาขายปลีก
พิจารณากำหนดอัตราภาษีให้อยู่ในระดับไม่ต่ำกว่าอัตราภาษีต่ำสุดและไม่สูงกว่าอัตราภาษีสูงสุด
กำหนดให้โรงกลั่นแจ้งราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นต่อคณะกรรมการ
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามคำสั่งนี้
ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
4.2 ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นผู้จัดการกองทุนฯ มีอำนาจหน้าที่จ่ายเงินกองทุนตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546 โดยได้มีการออกระเบียบกระทรวงพลังงาน ว่าด้วยการฝากและการเบิกจ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2546

5. หน่วยงานที่รับผิดชอบเงินกองทุนฯ

5.1 การออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนอัตราเงินชดเชย ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว ค่าเก็บรักษาก๊าซและค่าขนส่งก๊าซไปยังคลังก๊าซส่วนภูมิภาค เป็นหน้าที่ของสำนักงานนโยบายพลังงานและแผนพลังงาน ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการฯ

5.2 การส่งเงินเข้ากองทุนฯ จะอยู่ในความรับผิดชอบของกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) โดยกรมสรรพสามิตรับผิดชอบในกรณีน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำในราชอาณาจักร กรมศุลกากรรับผิดชอบในกรณีน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร การส่งเงินเข้ากองทุนจะกระทำพร้อมกับการชำระภาษีอากร โดยชำระตามอัตราที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ประกาศกำหนดแล้วหน่วยงานทั้งสองจะส่งเงินเข้าบัญชีเลย โดยสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) จะตรวจสอบเอกสารความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง

5.3 การขอรับเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ผู้มีสิทธิ์รับเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันจะยื่นเรื่องที่กรมสรรพสามิต หรือกรมศุลกากร หน่วยงานเหล่านี้จะทำการตรวจสอบและสั่งจ่ายเงินทดรองจ่ายของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งได้รับมาจากสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน)

5.4 สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) จะต้องทำรายงานการรับ / จ่ายและเงินคงเหลือ ของกองทุนน้ำมันเสนอต่อกระทรวงพลังงานทุกเดือน

ทั้งนี้ สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) อยู่ระหว่างการรับโอนงานจากกรมบัญชีกลาง โดยปัจจุบันกรมบัญชีกลางทำหน้าที่แทนสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน)

6. บัญชีเงินฝากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

ธนาคารกรุงไทย มี 2 บัญชี ชื่อ บัญชี “กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กระทรวงการคลัง)” เป็นเงินฝากกระแสรายวัน

- สาขาถนนศรีอยุธยา :   ในส่วนของกรมสรรพสามิต
- สาขาคลองเตย :   ในส่วนของกรมศุลกากร
ธนาคารออมสินและธนาคารกรุงไทย เป็นบัญชีออมทรัพย์ รวม 2 บัญชี จะโอนเงินจากกระแสรายวันเข้ามาเพื่อรับดอกผลจากดอกเบี้ย

7. รายรับ/รายจ่ายของกองทุนน้ำมันฯ

7.1 รายรับ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะมีรายรับจากอัตราเงินส่งเข้ากองทุนของน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ตามประกาศคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ดังนี้

อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
หน่วย : บาท/ลิตร

    น้ำมันเชื้อเพลิง
ที่ผลิตในประเทศ   น้ำมันเชื้อเพลิง
นำเข้า
เบนซินออกเทน 95   0.50   0.50
เบนซินออกเทน 91   0.30   0.30
แก๊สโซฮอล์   0.27   0.27
ก๊าด   0.10   0.10
ดีเซลหมุนเร็ว   0.50   0.50
ดีเซลหมุนช้า   0.50   0.50
เตา   0.06   0.06
7.2 รายจ่าย กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง อาจมีรายจ่ายตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2546 ดังต่อไปนี้

เป็นเงินจ่ายชดเชยตามอัตราที่คณะกรรมการฯ กำหนด
ค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตามหมวดรายจ่ายภายในวงเงินงบประมาณการจ่ายประจำปีที่คณะกรรมการอนุมัติ ดังนี้
ค่าจ้างชั่วคราว
ค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ
ค่าครุภัณฑ์
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการใดๆ เพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการใดๆ เพื่อให้การเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง หรือการจ่ายเงินชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นไปอย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ
 

 

รายงานโดยส่วนปิโตรเลียม
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
2 มีนาคม 2547
บันทึกการเข้า

เขรางค์-รักในหลวง
.........สะบายดี.........
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 801
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 9564



« ตอบ #5 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2010, 11:26:01 PM »

ผมเข้าไปอ่านตามลิ้งที่ท่านเจ้าของกระทู้อ้างถึงแล้วนะครับ   มีหลายความเห็นที่คิดว่าน้ำมันจะถูกลงซึ่งคิดตรงกับผม

แต่ตัวอย่างที่ท่านยกมาให้ดูนั้น   ผมคิดว่าท่านควรส่งเอกสารยืนยันตัวตนเสียก่อน   แล้วค่อยไปตั้งในห้องการเมืองน่าจะเหมาะกว่านะครับ
บันทึกการเข้า

...ไม้ใหญ่จะยืนต้านแรงช้างสารอยู่ได้   ก็ด้วยรากแข็งแรงที่หยั่งลึกลงในดิน...
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.231 วินาที กับ 22 คำสั่ง