ขั้นตอนที่ 3 การคลายแรงดันและการเข้าสู่ตำแหน่งเริ่มต้น
เริ่มต้นด้วยการปิดวาล์ว B และ๋ท่อบรรจุแก็สของปืนออกแล้วไปทำหน้าสงสั้ย จากนั้นค่อยๆเปิดวาล์ว C Pที่ยังคงค้างในระบบจะค่อยๆดันน้ำมันผ่านวาล์ว C ออกมายังถังเก็บ ซึ่งน้ำที่ควบแน่นแล้วตกอยู่ด้านล่างของถึงอัดก็จะไหลมากับน้ำมันเข้าสู่ถึงเก็บน้ำมันจนหมดก็จะเห็นฟองอากาศพุ่งออกมาพร้อมกับน้ำมันและน้ำ ถ้าแรงดันคงค้างยังไม่หมดก็เปิดวาล์ว A ช้าๆ แรงดันในถังเก็บ 02 ก็จะมาช่วยดันน้ำมันและน้ำออกจากระบบ เมื่อหมดแล้วก็ทำการปิดวาล์ว C แรงดันจากถัง02 ก็จะชาร์ตเข้าสู่ถังเก็บอีกครั้งพร้อมที่จะอัดกระบอกต่อไป สำหรับน้ำที่จมอยู่ใต้ถึงเก็บน้ำมัน ก็คงไม่ยากเกินกว่า Eng บ้านนอก จะทำการดักจับไว้ไม่ให้ไหลกลับเข้าไปในระบบในจังหวะต่อไป
จะสังเกตุว่า เกจจะทำหน้าที่วัดแรงดันของสภาวะต่างๆได้เมื่อทำการ เปิด หรือปิดวาล์วจึงมีความจำเป็นแค่ 1 อัน(1800บาท)
สังเกตุว่า ถ้าใช้เชควาล์วแทนที่วาล์ว A ในจังหวะคลายเข้าสู่สภาวะเริ่มต้น เราจะไม่สามารถควบคุมความเร็วในกระบวนการย้อนกลับได้ ซึ่งอาจเกิดคือ 1. แรงดันจากถัง 02ที่รุนแรงอาจทำการปั่นป่วนในระบบจนทำให้น้ำกับน้ำมันผสมกันจนเป็นเมือกสีขาว(กาวน์)และไม่สามารถควบแน่นไ้ด้ที่แรงดันบรรยากาศ น้ำมันก็จะเสียคุณสมบัติ
สังเกตว่า ระบบเป็นระบบปิด ความชื้นขึ้นอยู่กับความสะอาดของ02 และน้ำมัน 02สำหรับปืนของเราก็ได้รับการกรองความชื้นอีกขั้นตอนหนึ่ง ถ้ายังไม่แห้งพอก็นำสารดูดความชื้นมาต่อพ่วงเข้ากับวาล์ว A อีก ความชื้นจากถังก็จะถูกกรองก่อนที่จะเข้าระบบ(ถ้ายังไม่แห้งก็ใส่หลายๆอัด ซึ่งสารดูดความชื้นนี้ หาง่ายๆจาก ดรายเออร์ ของแอร์ บ้าน หรือแอร์รถยนต์นั่นแหละครับ) คำถามต่อไปคงเป็นความแข็งแรงของวัสดุ และความร้อนในระบบใช่ใหม่ครับ
ผมมีความคิดเห็นเพิ่มเติมดังนี้
1.สาเหตุที่ต้องใช้เกจน์ ตัวที่ 2
เพื่อเอาไว้ตรวจสอบและเปรียบเทียบแรงดันคงเหลือกับแรงดันที่อัดไปแล้ว
เมื่อเราทำการเพิ่มแรงดันจะไม่สามารถเปรียบเทียบแรงดันได้
สังเกตุว่าเรกกูเรเตอร์สำหรับแก๊สหรืออ๊อกซิเจนที่ขายกันในท้องตลาดล้วนแล้วแต่มีเกจน์ 2 ตัวเพื่อใช้ตรวจสอบแรงดันภายในถังกับแรงที่ผ่านออกไปแล้ว ซึ่งจริงๆแล้วตัวที่จะได้ใช้งานบ่อยๆมีเพียงแค่ตัวเดียว แต่อีกตัวถึงจะได้ใช้งานน้อยแต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ครับ สำหรับราคาไม่น่าเกิน 500 บาทครับ
2.สำหรับ
เช๊ควาล์วติดเพื่อให้ระบบทำงานได้ต่อเนื่องขึ้นเพราะจังหวะอัดเพื่อเพิ่มแรงดันเช๊ควาล์วจะเป็นตัวกันไม่ให้อากาศย้อนกลับ พอจังหวะดูดอากาศก็จะไหลผ่านไปโดยอัตโนมัติ เข้าไปเก็บในห้องเพิ่มแรงดันและดันชุดลูกสูบเพื่อให้ลูกสูบเลื่อนลง สำหรับแรงกระแทกที่จะเกิดขึ้นสามารถควบคุมโดยใช้วาล์ว C โดยหลักการก็เหมือนกับเราใช้แม่แรงยกรถขึ้น พอจังหวะที่จะเอาลงถ้าค่อยๆคลายวาล์วรถก็จะค่อยๆลง แต่ถ้าปล่อยวาล์วเร็วมันก็จะลงเร็ว สำหรับวาล์ว A ผมคิดว่ามีติดอยู่กับถังทุกถังแล้ว
3.เรื่องวัสดุผมคิดว่าถ้าขนาดไม่ใหญ่ใช้ท่อสตีม หรือท่อสเตก็ได้ เพราะทั้งสองแบบไม่มีตะเข็บและหนา แต่ถ้าขนาดใหญ่คิดว่าใช้กระบอกไฮโดรลิกมาดัดแปลง