เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤษภาคม 04, 2025, 12:56:49 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ร่วมกันทำ FMEA และอรรถประโยช์ เพื่อสร้างเครื่อง"อัดอากาศแรงดันสูงแบบมวลคงที่"  (อ่าน 13247 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
pramuan
ไม่เคืองแค้นน้อยใจในโชคชะตา ไม่เสียดายชีวาถ้าสิ้นไป
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 19
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 305


จักยอมตายหมายให้เกีรติดำรงจะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา


« ตอบ #15 เมื่อ: มกราคม 10, 2011, 10:43:41 PM »

แต่ทุกอย่างที่ได้ออกแบบไว้ต้องได้รับการแก้ไขเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้ใช้งาน(ง่าย  ถูก เบา)ก็ขอความอนุเคราะห์ทุกท่านช่วยวิจารณ์ด้วยนะครับ
    สำหรับเรื่องความร้อนที่เกิดจากกระบวนการ   ถ้าลองจับถังดำน้ำดูก็จะรู้ว่ามันไม่ร้อนเลย  ความร้อนที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากพลังงานภายในแต่เกิดจากการทะเลาะกันระหว่างมวลภายใน   สังเกตุว่าถ้าเปรียบกับรถยนต์  ถ้ามอเตอร์สตาร์ทหมุนช้าแต่ทรงพลังมาก ก็ไม่สามรถทำให้รถสตาร์ทติดได้เนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้นไม่เพียงพอ(ดีเซล)  การอัดของเราที่อัดด้วยมือก็เพื่อให้อากาศได้ระบายความร้อนผ่านน้ำมันและผนั่งกระบอกสูบสู่ภายนอก  เครื่องยนต์ดีเซลอัตราส่วนกำลังอัดเท่ากับ 9ถึง11 ต่อ1  มหาศาลแถมยังอัดด้วยความเร็วสูงมาก  ย่อมเกิดความร้อนเป็นธรรมดา  แต่เราใช้มือกด  ถ้าได้ศึกษาเรื่องเทอร์โมไดนามิกส์มาบ้างก็จะทราบว่าเราใช้อัตราส่วนกำลังอัดเพียง2.5ต่อ 1 ก็จะได้แรงดันที่ต้องการ ถ้าคำนวนจากสูตรของบอล์ยลอวส์  ก็จะพบว่า  เมื่อเราทราบ p2  และ V2  และทราบ p1 ก็จะสามารถทราบได้ว่า  เราต้องให้ v1 เท่าไดจึงจะทำให้เมื่อลด v1 จนเหลือ V2  แล้วได้แรงดัน 200-500-100000-40000000000 bar
         ขอตอบอย่างคนไม่มีความรู้ว่า    การใช้มืออัดด้วยความเร็วสูงสุดก็ไม่สามารถทำให้เกิดความร้อนพอที่จะเผาน้ำมันดีเซลได้  ยิ่งถ้าใช้น้ำมันไฮโดรลิกส์แล้วยิ่งไม่ต้องกังวลเลย

      ป.ล.  สำหรับคำศัพท์ถ้าใช้ถูกบ้างผิดบ้าง ก็ขออภัยด้วยนะครับเพราะว่า ไม่ค่อยถนัดเท่าไร  อย่าลืมช่วยกันวิจารณ์ด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า

กระสุนปืนใหญ่ของไทยตกที่ใด   ที่นั่นคือถิ่นไทย
pramuan
ไม่เคืองแค้นน้อยใจในโชคชะตา ไม่เสียดายชีวาถ้าสิ้นไป
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 19
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 305


จักยอมตายหมายให้เกีรติดำรงจะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา


« ตอบ #16 เมื่อ: มกราคม 10, 2011, 10:52:01 PM »

เติมจากถังหลักเข้าไปที่ถังปั๊ม ถ้าแรงดันไม่ถึงก็ใช้ปั๊มมืออัดเพิ่มเข้าไปให้ได้แรงดันตามต้องการค่อยเติมจากถังปั๊มเข้าไปที่ถังปืน
ผมเข้าใจถูกต้องมั้ยครับ คุณpramuan




ถูกต้องครับ  เราสามารถกำหนดแรงดันต่ำสุดของถังหลักได้ว่าต้องการประหยัดเท่าไร จากนั้นก็นำไปคำนวนจากปริมาตรของปืนที่ต้องใช้  เราก็จะทราบว่า ขนาดของถังปั้มของเราควรมีปริมาตรเท่าได  ตัวอย่างเช่น  กระบอกประจุแก็สของปืนมี v =500cc   เรากำหนดให้แรงดันเริ่มต้นเท่ากับ 10000บาร์   อัดด้วยอัตราส่วนในการอัดเท่ากับ 1:2  กำหนดให้ถังอัดของเรามีปริมาตร 1000cc  เราก็จะได้แรงดันเมือทำการอัดจนปริมาตรเหลือ 500cc  เท่ากับ 20000 บาร์ เป็นต้นครับ

ผิดถูำกช่วยแนะนำด้วย  เข้าใจอย่างนี้ครับ
บันทึกการเข้า

กระสุนปืนใหญ่ของไทยตกที่ใด   ที่นั่นคือถิ่นไทย
pramuan
ไม่เคืองแค้นน้อยใจในโชคชะตา ไม่เสียดายชีวาถ้าสิ้นไป
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 19
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 305


จักยอมตายหมายให้เกีรติดำรงจะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา


« ตอบ #17 เมื่อ: มกราคม 10, 2011, 11:11:28 PM »

  สำหรับคำถามสำหรับความประหยัด ก็ลองคิดดูซิครับ  ระบบปิด ไม่มีการปล่อยแรงดันออกสู่ภายนอก ยกเว้นตอนที่ดันน้ำมันกลับถัง  และตอนที่เราปลดกระบอกประจุแก็สของปืนออกจากข้อต่อสายเท่านั้น มวลของอากาศที่เสียไปจะน้อยมาก(ที่ค้างอยู่ในสายเท่านั้น) หรือถ้ายังประหยัดไม่่่พอก็  ย้ายวาล์ว B  ไปไว้ที่ปลายสายที่ต่อเข้ากับปืนก็จะทำให้มีอากาศที่ค้างอยู่ในรอยต่อไม่เกิน 7 ลูกบาศก์เซนติเมตร เท่านั้นครับแต่ที่ไม่ย้ายวาล์ว  B ไปไว้ที่ปลายสายก็เนื่องจาก สายจะต้องรับแรงดันตลอดเวลา  คุณภาพของสายจะลดลง   ลองคิดดู  สาย ราคาเป็นพันบาท  กับอากาศที่เสียไป ไม่เกิน 1สตางค์ จะเลือกทางไหน  แต่ก็ยอมรับว่า ถ้าปล่อยแรงดันในสายออกขณะที่ ปิดวาล์ว B อาจมีความชื้นจากอากาศภายนอกเข้าไปในสายที่ปลายเปิดบ้างแต่ก็น้อยมาก สำหรับผมถือว่าคุ้มค่า
         เราอัดแรงดันมาราคา xxx บาท แต่ใช้ได้จนเกือบหมด แถมยังได้ลมคุณภาพดี  ราคาเครื่องไม่เกิน4000บาท แถมยังทดแทน Hand pump  แบบเดิมได้ด้วย   ถังดำน้ำราคาเป็นหมื่นแรงดันลดลงเรื่อยๆ กับถัง02  ทั่วไปราคาไม่ถึง2000แถมยังสามารถปรับแรงดันได้ด้วย      ยืนโยกhand pumpแบบเดิม 200  กว่าครั้งทำให้หายใจเร็ว  กล้ามเนื้อเกิดการสั่น  หัวใจเต้นเร็ว  ยิงไม่ดี        กับการกดไืฮโดรลิกส์ 200ครั้ง  ซึ่งมีระยะชัก ไม่เกิน 10 ซ.ม. ไม่เหนื่อย            ผมว่าคุ้มค่าสำหรับการลงทุนนะ
บันทึกการเข้า

กระสุนปืนใหญ่ของไทยตกที่ใด   ที่นั่นคือถิ่นไทย
tongzeed
Hero Member
*****

คะแนน 120
ออฟไลน์

กระทู้: 1016



« ตอบ #18 เมื่อ: มกราคม 10, 2011, 11:19:53 PM »

อ้างถึง
เราอัดแรงดันมาราคา xxx บาท แต่ใช้ได้จนเกือบหมด แถมยังได้ลมคุณภาพดี  ราคาเครื่องไม่เกิน4000บาท แถมยังทดแทน Hand pump  แบบเดิมได้ด้วย   ถังดำน้ำราคาเป็นหมื่นแรงดันลดลงเรื่อยๆ กับถัง02  ทั่วไปราคาไม่ถึง2000แถมยังสามารถปรับแรงดันได้ด้วย      ยืนโยกhand pumpแบบเดิม 200  กว่าครั้งทำให้หายใจเร็ว  กล้ามเนื้อเกิดการสั่น  หัวใจเต้นเร็ว  ยิงไม่ดี        กับการกดไืฮโดรลิกส์ 200ครั้ง  ซึ่งมีระยะชัก ไม่เกิน 10 ซ.ม. ไม่เหนื่อย            ผมว่าคุ้มค่าสำหรับการลงทุนนะ

ผมเข้าใจแค่นี้ครับ ถ้าทำได้จริง สนับสนุน ครับ
บันทึกการเข้า
cm84e
Jr. Member
**

คะแนน 11
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 99



« ตอบ #19 เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 02:27:44 AM »

เป็นกำลังใจให้ครับ   เยี่ยม
บันทึกการเข้า
spyman
Full Member
***

คะแนน 19
ออฟไลน์

กระทู้: 172


« ตอบ #20 เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 10:05:18 AM »

http://www.airgunexpo.com/calc/calc_fill.cfm?

ลองเข้าไปคำนวนการใช้ลมดูครับ ถังบ้านเรา น่าจะ 11 ลิตร ไม่แน่ใจครับ
หลายๆท่านอาจจะมีแหล่งพลังงานใกล้ๆบ้าน แต่บางคนไกลมาก
เท่าที่เห็นวิธีแก้ปัญหา คือ มีถัง 1 ถัง กับ สูบแรงดันสูง เติมจากถัง ประมาณ 2000 psi แล้ว top up จากสูบอีกที
อย่างที่ 2 คือ มี ถัง สองถัง ถังหนึ่งเติมแบบแรก แล้วเอาถังสอง ท๊อบอัพ พอถังที่ 1 ลมตก ก็เอาถังที่สองมาแทนถัง1
และไปเติม ถัง 1 มาเป็นตัวท็อบอัพ แทน


บันทึกการเข้า
pramuan
ไม่เคืองแค้นน้อยใจในโชคชะตา ไม่เสียดายชีวาถ้าสิ้นไป
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 19
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 305


จักยอมตายหมายให้เกีรติดำรงจะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา


« ตอบ #21 เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 01:13:56 PM »

ลองเข้าไปคำนวนการใช้ลมดูครับ ถังบ้านเรา น่าจะ 11 ลิตร ไม่แน่ใจครับ
หลายๆท่านอาจจะมีแหล่งพลังงานใกล้ๆบ้าน แต่บางคนไกลมาก
เท่าที่เห็นวิธีแก้ปัญหา คือ มีถัง 1 ถัง กับ สูบแรงดันสูง เติมจากถัง ประมาณ 2000 psi แล้ว top up จากสูบอีกที
อย่างที่ 2 คือ มี ถัง สองถัง ถังหนึ่งเติมแบบแรก แล้วเอาถังสอง ท๊อบอัพ พอถังที่ 1 ลมตก ก็เอาถังที่สองมาแทนถัง1
และไปเติม ถัง 1 มาเป็นตัวท็อบอัพ แทน


ขอบคุณครับสำหรับคำแนะนำได้ไปดูมาแล้ว  ซึ่งแรงดันได้คำนวนไว้เป็นอย่างดีแล้ว  แต่ปัญหาก็คือยังไม่ทราบว่า ปริมาตร ของกระบอกประจุแก็สของตัวปืนส่วนมาก กี่ CC เพื่อคำนวนหาปริมาตรของ V1     ใครรู้ช่วยตอบด้วย         
สำหรับเรื่องของคำว่าแหล่งพลังงาน  กระผมไม่ได้บอกนะครับว่าต้องเป็นถัง 02 เท่านั้น  อะไรก็ได้ที่สามารถสร้างแรงดันได้ ตัวอย่างเช่น  ปั้มลมทั่วไปสร้างได้ประมาณ 12-15 บาร์ คอมเพรสเซอร์แอร์บ้าน (ของเก่าราคา6-700บาท) สร้างได้ประมาณ 50 บาร์  ถัง02สร้างได้ประมาณ 100 บาร์  เป็นต้น  แรงพลังงานเหล่านี้แหละจะเป็นการสร้างพลังงานตั้งต้น(เพื่อทดแทนพลังงานจากร่างกาย)เพื่อนำไปสร้างพลังงานที่สูงกว่าจากเครื่องนี้  แน่นอนว่า ถ้า พลังงานตั้งต้นมีน้อยมาก ขนาดของเครื่องก็ต้องใหญ่เป็นธรรมดา แต่ถ้าเริ่มประมาณ 100บาร์ขนาดของเครื่องก็จะเล็กมาก      และถ้ากระบอกประจุแก็สของปืนมีปริมาตรมาก  เครื่องก็ต้องใหญ่  แต่ถ้ามีปริมาตรเล็กเครื่องก็มีขนาดเล็ก  อย่างนี้แหละ   แต่การนำอากาศจากภายนอกเข้ามาอัด ต้องเตรียมตัวรับความชื้นที่ปนเข้ามาด้วยนะครับ       
บันทึกการเข้า

กระสุนปืนใหญ่ของไทยตกที่ใด   ที่นั่นคือถิ่นไทย
AJ_6080
พระราม2 กทม.
Hero Member
*****

คะแนน 1600
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5415


บารมี-มีได้เพราะความดี...


« ตอบ #22 เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 02:05:09 PM »

อยู่ระหว่าง 180-250 ซีซี. ครับอยู่รุ่นของปืนแต่ละกระบอกและยี่ห้อครับ...
บันทึกการเข้า

  ผมรักในหลวง...ครับ
pramuan
ไม่เคืองแค้นน้อยใจในโชคชะตา ไม่เสียดายชีวาถ้าสิ้นไป
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 19
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 305


จักยอมตายหมายให้เกีรติดำรงจะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา


« ตอบ #23 เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 03:35:42 PM »

ขอบ คุณครับ
บันทึกการเข้า

กระสุนปืนใหญ่ของไทยตกที่ใด   ที่นั่นคือถิ่นไทย
sitta.
Hero Member
*****

คะแนน 488
ออฟไลน์

กระทู้: 7275


« ตอบ #24 เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 04:04:05 PM »

พอเห็นวาวล์ A ในรูปก็เข้าใจแจ่มแจ้งเลยครับ ตามคำอธิบายสามารถทำให้เป็นไปได้แน่นอน
แต่ผมก็ยังไม่ได้คิดละเอียดว่าอุปกรณ์จะต้องใหญ่เล็กแค่ไหนจะหนักเบาแค่ไหน

พอจะบอกได้ไหมครับว่า อากาศในถังหลักจะเหลือน้อยสุดได้เท่าไหร่? ตรงนี้ผมคิดว่าน่าจะมีในระดับหนึ่งเพราะความสามารถของตัวอัด
ก็มีขีดจำกัดในระดับหนึ่งเหมือนกัน  ถ้าจะให้เพิ่มแรงอัดได้ 200 บาร์  ก็ต้องบีบปริมาตรอากาศเหนือน้ำมันลงให้ได้ 200 เท่า
แต่พอดีว่าอากาศมีแรงดันในระดับหนึ่งแล้ว สมมุติว่าเหลือ 50 บาร์  ก็ต้องบีบดันอากาศขึ้นไปอีก 150 เท่า เพราะยังไงก็ต้องมีค่าแรงดันที่
มากกว่าแรงดันในถังลมของปืนด้วย  สมมุติว่าแรงดันในถังลมปืนมีแรงดัน 190 บาร์แล้ว ก็หมายถึงต้องสร้างแรงดันในตัวไฮดรอลิกให้ได้ 191 บาร์
แต่สมมุติว่าถังหลังเหลือแรงดัน 50 บาร์ ดังนั้นพอปล่อยลมเข้าในถังไฮดรอลิกก็จะได้แรงดัน 50 บาร์หรืออาจน้อยกว่านิดหน่อน
ดังนั้นจึงต้องดันน้ำมันขึ้นไปให้เหลือปริมาตร 150:1  ผมก็ไม่ทราบว่าจะต้องโยกแย็กกี่ครั้งนั้นคงต้องดูปริมาตรของแย็กที่ใช้ประกอบด้วย
และแรงดันที่ไหลเข้ากระบอกลมของปืนจะได้ครั้งละกี่ซีซีในแต่ละแรงดันในถังหลัก   

แล้วเราจะรู้ได้ว่าแรงดันที่ไหลเข้าสู่ถังอัดลมของปืนเป็นลมหรือเป็นน้ำมันไฮดรอลิก??

สำหรับแรงดันเครื่องดีเซล ผมจำได้ลาง ๆ ว่า 22 ต่อ 1   ถ้าเป็นพวกเบนซินจะอยู่ระหว่าง 9-10-11 ต่อ 1
ถ้าเป็นเครืองอัดกาศล่วงหน้าเช่น ติดเทอร์โบ หรือ ซูเปอร์ชาร์ทเจอร์ อัตราส่วนจะลดลงไปอีก


สุดท้ายนี้ผมอยากให้เครื่องระบบแบบนี้มีตัวตนจริง ๆ นะ 
บันทึกการเข้า
komatsu
Hero Member
*****

คะแนน 319
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4139


How far is near??


« ตอบ #25 เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 05:28:06 PM »

ขั้นตอนที่ 3 การคลายแรงดันและการเข้าสู่ตำแหน่งเริ่มต้น
            เริ่มต้นด้วยการปิดวาล์ว B  และ๋ท่อบรรจุแก็สของปืนออกแล้วไปทำหน้าสงสั้ย  จากนั้นค่อยๆเปิดวาล์ว C            Pที่ยังคงค้างในระบบจะค่อยๆดันน้ำมันผ่านวาล์ว  C  ออกมายังถังเก็บ  ซึ่งน้ำที่ควบแน่นแล้วตกอยู่ด้านล่างของถึงอัดก็จะไหลมากับน้ำมันเข้าสู่ถึงเก็บน้ำมันจนหมดก็จะเห็นฟองอากาศพุ่งออกมาพร้อมกับน้ำมันและน้ำ  ถ้าแรงดันคงค้างยังไม่หมดก็เปิดวาล์ว A  ช้าๆ แรงดันในถังเก็บ 02 ก็จะมาช่วยดันน้ำมันและน้ำออกจากระบบ เมื่อหมดแล้วก็ทำการปิดวาล์ว C  แรงดันจากถัง02 ก็จะชาร์ตเข้าสู่ถังเก็บอีกครั้งพร้อมที่จะอัดกระบอกต่อไป  สำหรับน้ำที่จมอยู่ใต้ถึงเก็บน้ำมัน ก็คงไม่ยากเกินกว่า Eng บ้านนอก จะทำการดักจับไว้ไม่ให้ไหลกลับเข้าไปในระบบในจังหวะต่อไป แบร่
       จะสังเกตุว่า  เกจจะทำหน้าที่วัดแรงดันของสภาวะต่างๆได้เมื่อทำการ เปิด หรือปิดวาล์วจึงมีความจำเป็นแค่ 1 อัน(1800บาท)    
        สังเกตุว่า   ถ้าใช้เชควาล์วแทนที่วาล์ว A  ในจังหวะคลายเข้าสู่สภาวะเริ่มต้น เราจะไม่สามารถควบคุมความเร็วในกระบวนการย้อนกลับได้ ซึ่งอาจเกิดคือ 1.  แรงดันจากถัง 02ที่รุนแรงอาจทำการปั่นป่วนในระบบจนทำให้น้ำกับน้ำมันผสมกันจนเป็นเมือกสีขาว(กาวน์)และไม่สามารถควบแน่นไ้ด้ที่แรงดันบรรยากาศ  น้ำมันก็จะเสียคุณสมบัติ
        สังเกตว่า  ระบบเป็นระบบปิด ความชื้นขึ้นอยู่กับความสะอาดของ02 และน้ำมัน  02สำหรับปืนของเราก็ได้รับการกรองความชื้นอีกขั้นตอนหนึ่ง  ถ้ายังไม่แห้งพอก็นำสารดูดความชื้นมาต่อพ่วงเข้ากับวาล์ว A อีก  ความชื้นจากถังก็จะถูกกรองก่อนที่จะเข้าระบบ(ถ้ายังไม่แห้งก็ใส่หลายๆอัด ซึ่งสารดูดความชื้นนี้ หาง่ายๆจาก ดรายเออร์ ของแอร์ บ้าน หรือแอร์รถยนต์นั่นแหละครับ)

     คำถามต่อไปคงเป็นความแข็งแรงของวัสดุ  และความร้อนในระบบใช่ใหม่ครับ

ผมมีความคิดเห็นเพิ่มเติมดังนี้
1.สาเหตุที่ต้องใช้เกจน์ ตัวที่ 2 เพื่อเอาไว้ตรวจสอบและเปรียบเทียบแรงดันคงเหลือกับแรงดันที่อัดไปแล้ว
เมื่อเราทำการเพิ่มแรงดันจะไม่สามารถเปรียบเทียบแรงดันได้ สังเกตุว่าเรกกูเรเตอร์สำหรับแก๊สหรืออ๊อกซิเจนที่ขายกันในท้องตลาดล้วนแล้วแต่มีเกจน์ 2 ตัวเพื่อใช้ตรวจสอบแรงดันภายในถังกับแรงที่ผ่านออกไปแล้ว ซึ่งจริงๆแล้วตัวที่จะได้ใช้งานบ่อยๆมีเพียงแค่ตัวเดียว แต่อีกตัวถึงจะได้ใช้งานน้อยแต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ครับ สำหรับราคาไม่น่าเกิน 500 บาทครับ

2.สำหรับเช๊ควาล์วติดเพื่อให้ระบบทำงานได้ต่อเนื่องขึ้นเพราะจังหวะอัดเพื่อเพิ่มแรงดันเช๊ควาล์วจะเป็นตัวกันไม่ให้อากาศย้อนกลับ  พอจังหวะดูดอากาศก็จะไหลผ่านไปโดยอัตโนมัติ เข้าไปเก็บในห้องเพิ่มแรงดันและดันชุดลูกสูบเพื่อให้ลูกสูบเลื่อนลง  สำหรับแรงกระแทกที่จะเกิดขึ้นสามารถควบคุมโดยใช้วาล์ว C โดยหลักการก็เหมือนกับเราใช้แม่แรงยกรถขึ้น พอจังหวะที่จะเอาลงถ้าค่อยๆคลายวาล์วรถก็จะค่อยๆลง แต่ถ้าปล่อยวาล์วเร็วมันก็จะลงเร็ว  สำหรับวาล์ว A ผมคิดว่ามีติดอยู่กับถังทุกถังแล้ว

3.เรื่องวัสดุผมคิดว่าถ้าขนาดไม่ใหญ่ใช้ท่อสตีม หรือท่อสเตก็ได้ เพราะทั้งสองแบบไม่มีตะเข็บและหนา แต่ถ้าขนาดใหญ่คิดว่าใช้กระบอกไฮโดรลิกมาดัดแปลง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2011, 05:34:24 PM โดย komatsu » บันทึกการเข้า

komatsu
Hero Member
*****

คะแนน 319
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4139


How far is near??


« ตอบ #26 เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 05:38:25 PM »

ผมเคยเจอเจ้าตัวนี้ แต่ใช้ใช้อากาศเป็นขับแรงดันครับ  Smiley Smiley





คุณอู๋ครับ ระบบของคุณอู๋เป็นการเพิ่มแรงดันออกให้ได้ 5000 psi
โดยใช้อุปกรณ์ในภาพ
แต่เราต้องคอยเปิดปิดวาวล์ด้าน 100 psi in หรือเปล่าครับ หรือว่ามันอัตโนมัติ

ยังไงก็ตามผมก็ยังคิดถึงปั๊มลมรุ่นแรกที่คุณอู๋คิดจะสร้างเอง มันยังติดตาอยู่จนทุกวันนี้ครับ
คิดว่าต้องปิดนะครับ ส่วนเรื่องปั๊มมีปัญหาตรงคราบน้ำมันที่ติดมากับอากาศครับจะเห็นได้ชัดเมื่อมีการสะสมมากๆครับพี่สิทธา
บันทึกการเข้า

pramuan
ไม่เคืองแค้นน้อยใจในโชคชะตา ไม่เสียดายชีวาถ้าสิ้นไป
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 19
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 305


จักยอมตายหมายให้เกีรติดำรงจะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา


« ตอบ #27 เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 08:01:24 PM »

พอเห็นวาวล์ A ในรูปก็เข้าใจแจ่มแจ้งเลยครับ ตามคำอธิบายสามารถทำให้เป็นไปได้แน่นอน
แต่ผมก็ยังไม่ได้คิดละเอียดว่าอุปกรณ์จะต้องใหญ่เล็กแค่ไหนจะหนักเบาแค่ไหน

พอจะบอกได้ไหมครับว่า อากาศในถังหลักจะเหลือน้อยสุดได้เท่าไหร่? ตรงนี้ผมคิดว่าน่าจะมีในระดับหนึ่งเพราะความสามารถของตัวอัด
ก็มีขีดจำกัดในระดับหนึ่งเหมือนกัน  ถ้าจะให้เพิ่มแรงอัดได้ 200 บาร์  ก็ต้องบีบปริมาตรอากาศเหนือน้ำมันลงให้ได้ 200 เท่า
แต่ พอดีว่าอากาศมีแรงดันในระดับหนึ่งแล้ว สมมุติว่าเหลือ 50 บาร์  ก็ต้องบีบดันอากาศขึ้นไปอีก 150 เท่า เพราะยังไงก็ต้องมีค่าแรงดันที่
มากกว่า แรงดันในถังลมของปืนด้วย  สมมุติว่าแรงดันในถังลมปืนมีแรงดัน 190 บาร์แล้ว ก็หมายถึงต้องสร้างแรงดันในตัวไฮดรอลิกให้ได้ 191 บาร์
แต่สมมุติว่าถังหลังเหลือแรงดัน 50 บาร์ ดังนั้นพอปล่อยลมเข้าในถังไฮดรอลิกก็จะได้แรงดัน 50 บาร์หรืออาจน้อยกว่านิดหน่อน
ดัง นั้นจึงต้องดันน้ำมันขึ้นไปให้เหลือปริมาตร 150:1  ผมก็ไม่ทราบว่าจะต้องโยกแย็กกี่ครั้งนั้นคงต้องดูปริมาตรของแย็กที่ใช้ ประกอบด้วย
และแรงดันที่ไหลเข้ากระบอกลมของปืนจะได้ครั้งละกี่ซีซีในแต่ละแรงดันในถังหลัก   

แล้วเราจะรู้ได้ว่าแรงดันที่ไหลเข้าสู่ถังอัดลมของปืนเป็นลมหรือเป็นน้ำมันไฮดรอลิก??


สำหรับคำถามที่ว่าขนาดของแรงดันและปริมาตรต้องมีขนาดเท่าไรสามารถอธิบายได้ด้วยสมการ   P1 *V1= K =P2*V2    สมการนี้ตอบได้ย่อหน้าแรกและย่อหน้าที่2ที่คุณถาม

ส่วนคำถามสุดท้าย  ขอตอบว่า   ถ้าเรารู้ว่าV ของกระบอกสูบมีขนาดเท่าใด  ก็ให้เติมน้ำมันในระบบเท่านั้น  เมื่อน้ำมันหมดตรงที่เต็มกระบอกสูบพอดี  แล้วปั้มมันจะเอาอะไรมาดูดและอัดได้ละครับ

   ยังไม่ทันได้เห็นหน้าผมก็คิดว่าถ้าุ่คุณเป็นเพื่อนทหารด้วยกัน   คนอย่างนี้แหละที่ผมจะยอมไปรบเคียงบ่่าเคียงไหลด้วย ไหว้
บันทึกการเข้า

กระสุนปืนใหญ่ของไทยตกที่ใด   ที่นั่นคือถิ่นไทย
pramuan
ไม่เคืองแค้นน้อยใจในโชคชะตา ไม่เสียดายชีวาถ้าสิ้นไป
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 19
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 305


จักยอมตายหมายให้เกีรติดำรงจะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา


« ตอบ #28 เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 08:25:59 PM »

ผมมีความคิดเห็นเพิ่มเติมดังนี้
1.สาเหตุที่ต้องใช้เกจน์ ตัวที่ 2 เพื่อเอาไว้ตรวจสอบและเปรียบเทียบแรงดันคงเหลือกับแรงดันที่อัดไปแล้ว
เมื่อเราทำการเพิ่มแรงดันจะไม่สามารถเปรียบเทียบแรงดันได้ สังเกตุว่าเรกกูเรเตอร์สำหรับแก๊สหรืออ๊อกซิเจนที่ขายกันในท้องตลาดล้วนแล้วแต่มีเกจน์ 2 ตัวเพื่อ ใช้ตรวจสอบแรงดันภายในถังกับแรงที่ผ่านออกไปแล้ว ซึ่งจริงๆแล้วตัวที่จะได้ใช้งานบ่อยๆมีเพียงแค่ตัวเดียว แต่อีกตัวถึงจะได้ใช้งานน้อยแต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ครับ สำหรับราคาไม่น่าเกิน 500 บาทครับ

2.สำหรับเช๊ควาล์วติดเพื่อให้ระบบทำงานได้ต่อเนื่องขึ้นเพราะ จังหวะอัดเพื่อเพิ่มแรงดันเช๊ควาล์วจะเป็นตัวกันไม่ให้อากาศย้อนกลับ  พอจังหวะดูดอากาศก็จะไหลผ่านไปโดยอัตโนมัติ เข้าไปเก็บในห้องเพิ่มแรงดันและดันชุดลูกสูบเพื่อให้ลูกสูบเลื่อนลง  สำหรับแรงกระแทกที่จะเกิดขึ้นสามารถควบคุมโดยใช้วาล์ว C โดยหลักการก็เหมือนกับเราใช้แม่แรงยกรถขึ้น พอจังหวะที่จะเอาลงถ้าค่อยๆคลายวาล์วรถก็จะค่อยๆลง แต่ถ้าปล่อยวาล์วเร็วมันก็จะลงเร็ว  สำหรับวาล์ว A ผมคิดว่ามีติดอยู่กับถังทุกถังแล้ว

3.เรื่องวัสดุผมคิดว่าถ้าขนาดไม่ ใหญ่ใช้ท่อสตีม หรือท่อสเตก็ได้ เพราะทั้งสองแบบไม่มีตะเข็บและหนา แต่ถ้าขนาดใหญ่คิดว่าใช้กระบอกไฮโดรลิกมาดัดแปลง



1. ครับเห็นด้วยครับสำหรับGage 2ตัว   แต่แนวคิดตั้งต้นของเครื่องคือต้องทำให้ราคาไม่สูงเท่า Hand pump จากต่างประเทศ  ก็เลยออกแบบระบบให้ใช้งาน Gage แค่ 1 ตัว  แต่ถ้าจะใช้ 2 ตัวก็จะทำให้ระบบการทำงานง่ายขึ้นมากครับ ไหว้

2. เห็นด้วยครับสำหรับเช็ควาล์ว  ในตอนแรกที่ออกแบบก็คิดจะใช้เช็ควาล์ว  แต่มันติดปัญหาตรงที่ว่า   ต่างจังหวัด  ไม่สามารถ หาเช็ควาล์วที่ทนแรงดันขนาด 250บา์ร์ได้เนื่องจากใช้งานน้อย  และก็ไม่รู้ว่าราคามันจะสูงแค่ไหน  จะทำให้ต้นทุนในการสร้างสูงขึ้นแค่ไหน  ก็เลยคิดว่าประหยัดไว้ก่อน  แต่ถ้าใครจะเอาไปใส่เพิ่มก็ดีมากเลยครับ  แต่ก็ต้องระวังเรื่องการทำงานของเช็ควาล์ว  เช็ควาล์วส่วนมากทำงานด้วยระบบกลไก ซึ่งมีโอกาศรั่วได้มากกว่า วาล์วธรรมดา  ซึ่งตรงบริเวณวาล์ว A ถ้าใช้เกจน์ตัวเดียว ก็จะไม่สามารถตรวจจับได้เลยว่าเกิดการรั่วไหลหรือเปล่า
3. สำหรับวัสดุนั้นต้องขอบคุณมากครับที่ช่วยแนะนำซึ่งกำลังเป็นปัญหาอยู่พอดี  แต่การออกแบบต้องทำการคำนวน ค่าความเค้นที่ีเกิดจากแรงดัน ณจุดรับแรงดันต่างๆ ก็เลยยุ่งยากหน่อย    ถ้า FOS มากเกินไป น้ำหนักของเครื่องก็จะมากเกินไปแบกกันไม่ไหว   สำหรับเครื่องที่ออกแบบไว้ที่เห็นในรูป น้ำหนักก็ประมาณ  ป.ก. M60 นั่นแหละครับ ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า

กระสุนปืนใหญ่ของไทยตกที่ใด   ที่นั่นคือถิ่นไทย
komatsu
Hero Member
*****

คะแนน 319
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4139


How far is near??


« ตอบ #29 เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 08:47:35 PM »

ถ้าเป็นเช๊ควาล์วแบบนี้ผมมี 1 ตัว สำหรับระบบไฮโดรลิกรับแรงดัน 3000 psi ( 206 บาร์) ยินดีมอบให้เพื่อเป็นการร่วมด้วยช่วยกัน ถ้าพี่ประมวล (ขออภัยถ้าเรียกผิด ไหว้ ) สนใจ PM แจ้งที่อยู่ครับ  Wink Wink

สำหรับวัสดุที่จะเอามาทำคิดว่าในบ้านเราต้องพยามค้นหา เพราะคุณสมบัติที่ต้องการนั้นหายากจริงๆ
 




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2011, 08:50:16 PM โดย komatsu » บันทึกการเข้า

หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 23 คำสั่ง