เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤษภาคม 23, 2025, 11:29:36 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โมง ทุ่ม ตี ยาม ย่ำ และไกลปืนเที่ยง  (อ่าน 2665 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6924


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« เมื่อ: มกราคม 21, 2011, 02:42:14 AM »


โมง ทุ่ม ตี ยาม ย่ำ และไกลปืนเที่ยง


การบอกเวลาของไทยนั้นมี ๒ แบบ คือ แบบทางการ และแบบไม่เป็นทางการ โดยแบบแรกนั้นจะมีหน่วยเป็นนาฬิกา เริ่มตั้งแต่ ๐ นาฬิกาเรื่อยไปจนถึง ๒๔ นาฬิกา ตามหลักสากลที่กำหนดว่า ๑ วันมี ๒๔ ชั่วโมง ส่วนแบบหลังจะมีหน่วยที่ไม่แน่นอน อาทิ โมง ทุ่ม ตี ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเป็นเวลาช่วงไหนของวัน

เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการบอกเวลาในอดีต เมื่อครั้งนาฬิกายังไม่แพร่หลาย ขณะนั้นจะมีเฉพาะสถานที่สำคัญอย่างศาลาว่าการหรือวัดเท่านั้นที่จะมีนาฬิกาใช้ ฉะนั้นจึงต้องมีการส่งสัญญาณเพื่อบอกเวลาให้คนทั่วไปทราบ จะได้กะประมาณการดำเนินชีวิตในแต่ละวันได้อย่างถูกต้อง การส่งสัญญาณดังกล่าวจะใช้เครื่องมือที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงวัน กลายเป็นที่มาของหน่วยนับเวลาที่ไม่เหมือนกันนั่นเอง

ในตอนกลางวันจะบอกเวลาโดยอาศัยการตีฆ้อง ซึ่งจะให้เสียงดัง ?โหม่ง? โดยชั่วโมงแรกของวันตามทัศนะคนไทยคือ ๗ นาฬิกา ( เพราะนับจากเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นประมาณ ๖ นาฬิกา ไม่ได้ถือตามฝรั่งที่เอาเวลา ๑ นาฬิกาเป็นชั่วโมงแรกของวัน ) ทางการก็จะตีฆ้อง ๑ ครั้ง กลายเป็น ๑ โหม่ง หรือ ๑ โมงเช้า เวลา ๘ นาฬิกาก็จะตี ๒ ครั้ง เป็น ๒ โมงเช้า เวลา ๙ นาฬิกาก็จะ ๓ ครั้งเป็น ๓ โมงเช้า เรื่อยไปจนถึงเวลา ๑๑ นาฬิกาหรือ ๕ โมงเช้า บางครั้งก็จะเรียกว่า ?เวลาเพล? ตามเวลาที่พระฉันเพล ส่วนเวลา ๑๒ นาฬิกาจะเรียกว่า ?เที่ยงวัน?

ชั่วโมงแรกหลังจากเที่ยงวันก็จะกลับมาตีฆ้อง ๑ ครั้งอีกที เวลา ๑๓ นาฬิกาจึงเรียกว่า ๑ โมงบ่าย หรือ บ่าย ๑ โมง เวลา ๑๔ นาฬิกาก็จะตี ๒ ครั้ง เป็นบ่าย ๒ โมง เรื่อยไปจนถึงเวลา ๑๖ และ ๑๗ นาฬิกา อาจเรียกว่าบ่าย ๔ โมง บ่าย ๕ โมง (ตามลำดับ) หรือจะเรียกว่า ๔ โมงเย็น ๕ โมงเย็น (ตามลำดับ) ก็ได้ แต่วิธีเรียกอย่างหลังจะเป็นที่นิยมมากกว่าในปัจจุบัน ส่วนเวลา ๑๘ นาฬิกานั้นจะเรียก ๖ โมงเย็นก็ได้ แต่ในอดีตจะใช้คำว่า ?ย่ำค่ำ? เพราะเป็นเวลาคาบเกี่ยวระหว่างกลางวันกับกลางคืน พระก็มักตีกลองรัวในเวลานี้ก็อาจเรียกว่า ย่ำกลอง ได้เช่นกัน

คำว่า ?ย่ำ? พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายไว้ว่า ?ก. เหยียบหนัก ๆ ซ้ำ ๆ, ถ้าเหยียบในลักษณะเช่นนั้นอยู่กับที่ เรียกว่า ย่ำเท้า, เดินในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; ตีกลอง หรือฆ้องถี่ ๆ หลายครั้งเพื่อบอกเวลาสำหรับเปลี่ยนยาม เรียกว่า ย่ำกลอง ย่ำฆ้อง, ย่ำยาม ก็เรียก, ถ้ากระทำในเวลาเช้า เรียกว่า ย่ำรุ่ง (ราว ๖ นาฬิกา), ถ้าทำในเวลาค่ำ เรียกว่า ย่ำค่ำ (ราว ๑๘ นาฬิกา).?

เวลา ๑๘ นาฬิกานี้ พระมักจะ ย่ำกลอง ย่ำฆ้อง หรือ ย่ำระฆัง เพื่อบอกเวลาสิ้นสุดวันให้ชาวบ้านในชนบทได้รับรู้ ครั้นความเจริญมีมากขึ้นจนทุกบ้านต่างมีนาฬิกาใช้ บทบาทของการย่ำกลองจึงหมดไป อย่างไรก็ดี เรื่องราวของการบอกเวลาลักษณะนี้ยังมีหลักฐานปรากฏในเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ด้วย เป็นตอนที่พระอภัยมณีต้องเป่าปี่เพื่อหยุดการปะทะกันระหว่างทหารกองทัพของนางละเวงกับทหารกองทัพของพระอภัยมณีเอง ความว่า

.
วิเวกหวีดกรีดเสียงสำเนียงสนั่น ...... คนขยั้นยืนขึงตะลึงหลง
ให้หวิววาบซาบทรวงต่างง่วงงง ............. ลืมณรงค์รบสู้เงี่ยหูฟัง
พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต............... ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง
ว่าจากเรือนเหมือนนกมาจากรัง .............. อยู่ข้างหลังก็จะแลชะแง้คอย
ถึงยามค่ำย่ำฆ้องจะร้องไห้ ............... ร่ำพิไรรัญจวนหวลละห้อย
โอ้ยามดึกดาวเคลื่อนเดือนก็คล้อย.............. น้ำค้างย้อยเย็นฉ่ำที่อัมพร



สำหรับเวลากลางคืนจะใช้กลองเป็นเครื่องบอกเวลา เมื่อเลยเวลาย่ำค่ำมา ๑ ชั่วโมง (คือเวลา ๑๙ นาฬิกา ) ก็จะตีกลอง ๑ ครั้ง เสียงดัง ?ตุ้ม? กลายเป็นเวลา ๑ ทุ่ม เมื่อเลยเวลาย่ำค่ำมา ๒ ชั่วโมง ( ๒๐ นาฬิกา ) ก็จะตีกลอง ๒ ครั้ง เสียงดัง ?ตุ้ม ตุ้ม? กลายเป็นเวลา ๒ ทุ่มนั่นเอง และจะเป็นอย่างนี้เรื่อยไปจนถึงเวลา ๒๓ นาฬิกาหรือ ๕ ทุ่ม หลังจากนั้นอีก ๑ ชั่วโมงก็เป็นเวลา ?เที่ยงคืน?

หลังเที่ยงคืนไปแล้วจะเปลี่ยนมาตีแผ่นโลหะเพื่อบอกเวลาแทนกลอง เข้าใจว่าเพื่อให้เสียงเบาลง จะได้ไม่รบกวนชาวบ้านที่กำลังหลับพักผ่อน อย่างไรก็ตาม เสียงตีแผ่นโลหะจะมีลักษณะแหลม สามารถบอกเวลาให้กับผู้ที่ยังไม่นอนได้ และก็ไม่เป็นการปลุกคนที่หลับไปแล้วด้วย อนึ่ง เสียงจากการตีแผ่นโลหะนั้นก็ฟังไม่ชัดพอที่จะถอดออกมาเป็นคำได้ การบอกเวลาในช่วงนี้จึงไม่ได้มีหน่วยเป็นเสียงเคาะแบบทุ่มหรือโมงอย่างเวลาช่วงก่อนหน้านี้ คงใช้คำว่า ?ตี? นำหน้าจำนวนครั้งที่เคาะแผ่นโลหะ นั่นคือ เวลา ๑ นาฬิกา จะตีแผ่นโลหะ ๑ ครั้ง เรียกว่าเวลาตีหนึ่ง เวลา ๒ นาฬิกาก็จะตี ๒ ครั้ง เรียกว่า ตีสอง เรื่อยไปจนถึงเวลา ๕ นาฬิกา ก็จะเรียกว่าตีห้า

ครั้นเวลา ๖ นาฬิกาก็จะเรียกว่า ย่ำรุ่ง เพื่อให้เข้าคู่กับ ย่ำค่ำ นั่นเอง แต่ในปัจจุบัน คนนิยมเรียกเวลานี้ว่า ๖ โมงเช้ามากกว่า และด้วยเหตุนี้ คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันจึงพลอยเรียกเวลา ๗ นาฬิกา ๘ นาฬิกา ... ว่า ๗ โมงเช้า ๘ โมงเช้าตามไปด้วย

เรื่องของเวลา ?ทุ่มโมง? นั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายไว้ในหนังสือ ?นิทานโบราณคดี? ตอนหนึ่ง ดังนี้

?เมื่อวันแรกไปถึงเมืองพาราณสี เวลาค่ำฉันนั่งกินอาหารกับพวกที่ไปด้วยกัน
และพวกข้าราชการอังกฤษ ยังไม่ทันแล้วเสร็จ พอเวลายามหนึ่ง (๒๑:๐๐ นาฬิกา)
ได้ยินเสียงตีฆ้องโหม่งทางประตูวังย่ำลา ๑ เช่นเดียวกันกับตีฆ้องตีระฆังย่ำยามใน
เมืองไทย ฉันนึกประหลาดใจ จึงถามข้าราชการอังกฤษที่อยู่ในเมืองนั้นว่า ตีฆ้องย่ำ
เช่นนั้นหมายความว่าอย่างไร เขาตอบว่า ?เป็นสัญญาเรียกคนมาเปลี่ยนพวกที่อยู่ยาม?
พอฉันได้ยินอธิบายก็จับใจแทบจะร้องออกมาว่า ?อ๋อ? เพราะวิธีตีฆ้องระฆังยามใน
เมืองไทย เมื่อถึงเวลาเช้า ๖:๐๐ นาฬิกา เวลาเที่ยงวัน (๑๒:๐๐ นาฬิกา) เวลาค่ำ
(๑๘:๐๐ นาฬิกา) และเวลากลางคืน ยาม ๑ (๒๑:๐๐ นาฬิกา) เวลาเที่ยงคืน(๒๔:๐๐
นาฬิกา) เวลา ๓ ยาม (๓:๐๐ นาฬิกา) ก็ตีย่ำทำนองเดียวกับได้ยินที่เมืองพาราณสี
แม้คำที่ไทยเราพูด ก็เรียกเวลา ๖ นาฬิกาเช้า ว่า ?ย่ำรุ่ง? คำที่พูดว่า ?ย่ำ? คงมาจาก
ย่ำฆ้องระฆังนั่นเอง แต่ฉันยังไม่คิดมาแต่ก่อนว่าเหตุใดจึงตีย่ำ เมื่อได้ฟังอธิบายที่
เมืองพาราณสีก็เข้าใจซึมซาบในทันทีว่า ?ย่ำ? เป็นสัญญาเรียกคนเปลี่ยนยาม เห็นว่า
ประเพณีไทยแต่โบราณ เวลากลางวันให้คนอยู่ยามผลัดละ ๖ ชั่วนาฬิกา แต่กลางคืน
ผลัดระยะ ๓ นาฬิกา และยังแลเห็นสว่างต่อไปอีก ด้วยประเพณีตีระฆังยามที่
พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ เมื่อตีย่ำระฆัง แล้วมีคนเป่าแตรงอนและเป่าปี่ตี
มโหรทึกประโคมต่อไปอีกพักหนึ่ง และเวลานี้พระบรมศพหรือพระศพเจ้านายตลอด
จนศพขุนนางผู้ใหญ่บรรดาที่มีกลองชนะประโคม ย่อมประโคมกลองชนะตรงกับ
ย่ำฆ้องระฆังยามทั้งกลางวันและกลางคืน อาการประกอบกันให้เห็นว่า การย่ำฆ้อง
ระฆังเป็นสัญญาเรียกคนมาเปลี่ยนยาม การประโคมเป็นสัญญาบอกว่าพวกอยู่ยามใหม่
ได้เข้ามาประจำหน้าที่พร้อมกันแล้ว มูลของประเพณีย่ำฆ้องระฆังยามและประโคม
พระศพในเมืองไทย เห็นเป็นดังกล่าวมาและอาจจะได้มาจากอินเดียแต่ดึกดำบรรพ์?


ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทหารเรือยิงปืนใหญ่ในเวลาเที่ยงวัน เพื่อให้พ่อค้าวาณิชและประชาชนทั้งหลายที่เข้ามาติดต่อค้าขายในกรุงเทพฯ ได้ทราบเวลาเที่ยง และจะได้ตั้งนาฬิกาของตัวให้ตรงกัน

และด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้ทหารเรือ ทำหน้าที่สำคัญของชาติอย่างการเทียบเวลามาตั้งแต่ครั้งนั้น ปัจจุบันกองทัพเรือจึงยังคงทำหน้าที่เป็นผู้รักษาเวลามาตรฐานประเทศไทยต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้

ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในเขตพระนครก็จะได้ยินเสียงปืนใหญ่ ในตอนเที่ยงทุกวัน ส่วนบ้านใครที่อยู่ไกลออกไปจนไม่ได้ยินเสียงปืน ก็จะถูกเรียกว่าไกลปืนเที่ยงซึ่งหมายความว่า อยู่ไกลจากเมืองหลวง ห่างไกลความเจริญ เมืองหลวงมีเรื่องอะไร ก็ไม่รู้เรื่องรู้ราวนั่นเอง




อ้างอิง จำนงค์ ทองประเสริฐ. ?ทุ่ม-โมง-นาฬิกา? ใน ภาษาไทยไขขาน.กรุงเทพฯ:แพร่พิทยา,๒๕๒๘ .
ดำรงราชานุภาพ,สมเด็จกรมพระยา.นิทานโบราณคดี.พิมพ์ครั้งที่ ๑๕.กรุงเทพฯ:บรรณาคาร , ๒๕๔๓.
สุนทรภู่.พระอภัยมณี.พิมพ์ครั้งที่ ๑๔.กรุงเทพฯ:บรรญาคาร,๒๕๑๗.

บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6924


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 21, 2011, 02:47:27 AM »

ไกลปืนเที่ยง
posted on 18 May 2006 22:39 by zedth  in Navy-Story สำนวน ไกลปืนเที่ยง นั้น มีความหมายว่า ไม่รู้อะไร เพราะอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญ ซึ่งที่มาของสำนวนนี้ก็มาจากทหารเรือครับ

โดยมีที่มาจากการยิงปืนเที่ยง หรือ การยิงปืนใหญ่เพื่อบอกเวลาเที่ยงวันนั่นเอง

การยิงปืนเที่ยงนั้น เริ่มมีขึ้นครั้งแรก ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ทรงมีพระประสงค์ ที่จะให้พ่อค้าวานิช และประชาชนทั้งหลาย ที่เข้ามาติดต่อค้าขายในกรุงเทพได้ทราบเวลาเที่ยง และจะได้ตั้งนาฬิกาของตัวให้ตรงกัน

ในการยิงปืนเที่ยงครั้งแรก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทหารเรือเป็นผู้ยิง ณ ตำหนักแพ หรือ ท่าราชวรดิฐ ในปัจจุบัน และทรงกำหนดให้ยิงเฉพาะในวันเสาร์ และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ พระชลยุทธโยธินทร์ (ต่อมาได้รับพระราชทานยศเป็น นายพลเรือโท และมีบรรดาศักดิ์เป็น พระยา) เป็นเจ้าพนักงาน ออบเซอร์เวตตอรี่หลวง ทำหน้าที่ตรวจสอบเวลาของกรุงเทพฯ ให้ตรงกับเวลาที่หอออบเซอร์เวตตอรี่หลวง ณ เมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษ (Royal Observatory Greenwich)

ต่อมาเมื่อ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ได้ทรงจัดตั้งกองทหารปืนใหญ่ขึ้นในกรมทหารล้อมวัง จึงได้ทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ทหารปืนใหญ่เป็นผู้ยิงปืนเที่ยง ณ ป้อมทัศนาทินกร ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตก ของพระบรมมหาราชวัง ซึ่งพระพุทธเจ้าหลวงก็ทรงอนุญาต โดยทรงให้ยิงทุก ๆ วัน จากที่ยิงเฉพาะแค่วันเสาร์วันเดียว โดยในการนี้ พระองค์ได้ทรงให้ออกประกาศดังนี้

วัน ๓ เดือน ๕ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีชวด ยังเป็น นพศก ๑๒๔๙ ด้วยพระชลยุทธโยธินทร์ เจ้าพนักงาน ออบเซอร์เวตตอรี่หลวง รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า ให้ยิงปืนเที่ยงในวันเสาร์ เพื่อจะให้เป็นประโยชน์แก่ ผู้ที่จะต้องการตั้งนาฬิกาให้ตรงกับเวลามัธยม (คือ มินไตม์ Mean Time) กรุงเทพฯ เสมอทุกวันเสาร์มา แต่ถึงกระนั้นก็เป็นที่ลำบากอยู่ ด้วยทุกวันนี้การค้าขายเจริญมากขึ้น เรือที่เข้าออกมีขึ้นเป็นอันมาก แลมีความปราถนาเวลามัธยมกรุงเทพฯอยู่ด้วยกันทุกลำ เพราะฉะนั้นจึงทรงพระราชดำริ โดยความที่ทรงพระกรุณาแก่ราษฎรที่ไปมาค้าขายในกรุงเทพฯ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ที่จะตั้งนาฬิกาได้ตรงเวลามัธยมกรุงเทพฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยิงปืนเที่ยง ทุก ๆ วัน เมื่อผู้ใดได้ยินเสียงปืนแล้ว ต้องเข้าใจว่าเป็นเวลาเที่ยงตามเวลามัธยม (มินไตม์) กรุงเทพฯ ที่หอออบเซอร์เวตตอรี่หลวงกำหนด จะได้ยิงปืนใหญ่ที่ป้อมทัศนาทินกร ด้านตะวันตก ของพระบรมมหาราชวัง แต่ ณ วัน ๗ เดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีชวด ยังเป็น นพศก ตรงเวลาเที่ยงเสมอไป ทุก ๆ วัน อย่าให้ผู้ใดผู้หนึ่งสงสัย ตกใจว่าเกิดเพลิง หรือเหตุการณ์ ถ้าพ้นเวลาเที่ยงแล้ว ฤๅ ก่อนเที่ยงจึงควรถือเอาว่ามีเหตุได้ ถ้าเกิดเพลิงขึ้นในเวลาเที่ยง ฤๅใกล้เที่ยง จะยิงเป็นสองนัด จึงให้ถือเอาว่ามีเหตุได้

ต่อมา การยิงปืนเที่ยงของทหารปืนใหญ่ ไม่สะดวก จึงได้โอนหน้าที่ในการยิงปืนเที่ยงกลับมาให้ทหารเรือเป็นผู้ทำหน้าที่นี้อีก ครั้ง ตั้งแต่ วันที่ 29 เมษายน 2447 โดยได้ทำการเปลี่ยนที่ยิงปืนเที่ยง มาตามลำดับดังนี้ คือ ที่เรือพระที่นั่งมหาจักรี , ป้อมวิไชยประสิทธิ์ , พระราชวังเดิม และตั้งแต่ วันที่ 1 กุมภาพนธ์ 2448 กรมเรือกลและป้อม ได้จัดเรือที่จอดในกรุงเทพฯ ผลัดกันยิงปืนเที่ยง และตั้งแต่ วันที่ 18 ธันวาคม 2457 ก็ได้ย้ายมายิงที่ สนามหญ้าหน้ากองทัพเรือกลชั้น 4 (ทางด้านใต้ของท่าราชวรดิฐ) จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2477 จึงได้หยุดยิง เพราะการยิงปืนเที่ยงหมดความจำเป็น อันเนื่องมาจาก การแพร่หลายของการส่งสัญญาณบอกเวลาทางวิทยุ


เรือพระที่นั่งมหาจักรี


ป้อมวิไชยประสิทธิ์

และด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้ทหารเรือ ทำหน้าที่สำคัญของชาติอย่างการเทียบเวลามาตั้งแต่ครั้งกระโน้น ปัจจุบันกองทัพเรือจึงยังคงทำหน้าที่เป็นผู้รักษาเวลามาตรฐานประเทศไทยต่อ เนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ ดังที่ผมได้เคยเล่าให้ฟังมาก่อนหน้านี้แล้ว

ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในเขตพระนคร ก็จะได้ยินเสียงปืนใหญ่ ในตอนเที่ยงทุกวัน ส่วนบ้านใครที่อยู่ไกลออกไป จนไม่ได้ยินเสียงปืน ก็จะถูกเรียกว่า ไกลปืนเที่ยงซึ่งหมายความว่า อยู่ไกลจากเมืองหลวง ห่างไกลความเจริญ เมืองหลวงเค้ามีเรื่องอะไร ก็ไม่รู้เรื่องรู้ราวนั่นเองครับ

ส่วนระยะทางเท่าใดถึงจะไม่ได้ยินเสียงปืนนั้น ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน แต่คิดว่าน่าจะไกลโขอยู่ เพราะเสียงปืนใหญ่นั้น ไม่ใช่เบา ๆ เลย และสมัยนั้น ตึกสูง ๆ ก็ไม่มี ทำให้ไม่มีสิ่งกีดขวาง หรือตัวดูดซับคลื่นเสียง ทำให้เสียงปืนสามารถแผ่ไปในระยะทางที่ไกล
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 21, 2011, 02:52:29 AM โดย pasta » บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
amfine02 รักในหลวง
Full Member
***

คะแนน 142
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 402


เรียกผมว่าป้องครับ


« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 21, 2011, 02:54:05 AM »

ขอบคุณครับ ผมไกลปืนเที่ยงจริงๆ ฮาา
ปล เพิ่งรู้จริงๆครับ
บันทึกการเข้า

[/url]
pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6924


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« ตอบ #3 เมื่อ: มกราคม 21, 2011, 04:20:11 AM »

ขอบคุณครับ ผมไกลปืนเที่ยงจริงๆ ฮาา
ปล เพิ่งรู้จริงๆครับ


ครับผม  Cheesy
บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
somsakbck
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 974
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 9671


เรามาเยือนโลกใบนี้แค่เพียงชั่วคราว...แล้วก็จะจากไป


« ตอบ #4 เมื่อ: มกราคม 21, 2011, 09:00:28 AM »

เดี๋ยวผมจะต่อด้วยคำว่า " มักกะสัน" ครับคุณ pasta...........(แหะๆ.....คอเดียวกัน)

        " มักกะสัน"เป็นชื่อชาวเมือง มาดากัสซาร์ ในเกาะเซลีเบส ประเทศอินโดนีเซีย คนพวกนี้อพยพหนีฮอลันดามาพึ่งไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คนไทยโบราณเรียกชื่อ "มาดากัสซาร์" เพี้ยนเป็น "มักกะสัน" และเรียกคนที่มาจากเกาะนี้ว่า แขกมักกะสัน.....


ที่มา : ดร.ญาดา (อารัมภีร) อรุณเวช  เขียนใน ต่วย'ตูน เรื่อง คนอัปลักษณ์
บันทึกการเข้า



โลกมีทรัพยากรให้ทุกคนใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างเพียงพอ...แต่ไม่เพียงพอสำหรับคนโลภเพียงคนเดียว : มหาตะมะ คานธี
คมขวาน รักในหลวง
"จากดินแดนที่ราบสูงแห่งใบขวาน ข้ามแม่น้ำ ข้ามทะเล(ถ้านั่งเครื่อง) ข้ามภูเขา สู่ดินแดนแห่งด้ามขวาน "
Hero Member
*****

คะแนน 1830
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 19896


ดนตรี คืออาภรณ์ของปราชญ์


เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: มกราคม 21, 2011, 12:44:18 PM »

        ขอบคุณ ครับ ท่าน pasta
เดี๋ยวผมจะต่อด้วยคำว่า " มักกะสัน" ครับคุณ pasta...........(แหะๆ.....คอเดียวกัน)

        " มักกะสัน"เป็นชื่อชาวเมือง มาดากัสซาร์ ในเกาะเซลีเบส ประเทศอินโดนีเซีย คนพวกนี้อพยพหนีฮอลันดามาพึ่งไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คนไทยโบราณเรียกชื่อ "มาดากัสซาร์" เพี้ยนเป็น "มักกะสัน" และเรียกคนที่มาจากเกาะนี้ว่า แขกมักกะสัน.....


ที่มา : ดร.ญาดา (อารัมภีร) อรุณเวช  เขียนใน ต่วย'ตูน เรื่อง คนอัปลักษณ์
        ถ้าผมมีโอกาสจดทะเบียนสมรส(ใหม่)
จะเลือกจดที่สำนักงานเขตฯนี้  เพราะชื่อมันฟังดูดี   ขำก๊าก ขำก๊าก ขำก๊าก
บันทึกการเข้า

คลิ๊ก ทริปจักรยาน   "บินเดี่ยว ทางไกล ตามใจฝัน"     ลูกอิสาน พลัดถิ่น  จากแดนดิน  "ไหปลาแดก"  เร่ร่อน รอนแรม เดินทางดั้นด้น  มาสู่  "โคนต้นสะตอ"
pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6924


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« ตอบ #6 เมื่อ: มกราคม 21, 2011, 01:06:03 PM »

เดี๋ยวผมจะต่อด้วยคำว่า " มักกะสัน" ครับคุณ pasta...........(แหะๆ.....คอเดียวกัน)

        " มักกะสัน"เป็นชื่อชาวเมือง มาดากัสซาร์ ในเกาะเซลีเบส ประเทศอินโดนีเซีย คนพวกนี้อพยพหนีฮอลันดามาพึ่งไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คนไทยโบราณเรียกชื่อ "มาดากัสซาร์" เพี้ยนเป็น "มักกะสัน" และเรียกคนที่มาจากเกาะนี้ว่า แขกมักกะสัน.....


ที่มา : ดร.ญาดา (อารัมภีร) อรุณเวช  เขียนใน ต่วย'ตูน เรื่อง คนอัปลักษณ์
        ขอบคุณ ครับ ท่าน pasta
เดี๋ยวผมจะต่อด้วยคำว่า " มักกะสัน" ครับคุณ pasta...........(แหะๆ.....คอเดียวกัน)

        " มักกะสัน"เป็นชื่อชาวเมือง มาดากัสซาร์ ในเกาะเซลีเบส ประเทศอินโดนีเซีย คนพวกนี้อพยพหนีฮอลันดามาพึ่งไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คนไทยโบราณเรียกชื่อ "มาดากัสซาร์" เพี้ยนเป็น "มักกะสัน" และเรียกคนที่มาจากเกาะนี้ว่า แขกมักกะสัน.....


ที่มา : ดร.ญาดา (อารัมภีร) อรุณเวช  เขียนใน ต่วย'ตูน เรื่อง คนอัปลักษณ์
        ถ้าผมมีโอกาสจดทะเบียนสมรส(ใหม่)
จะเลือกจดที่สำนักงานเขตฯนี้  เพราะชื่อมันฟังดูดี   ขำก๊าก ขำก๊าก ขำก๊าก


ครับผม  Cheesy
บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
somsakbck
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 974
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 9671


เรามาเยือนโลกใบนี้แค่เพียงชั่วคราว...แล้วก็จะจากไป


« ตอบ #7 เมื่อ: มกราคม 21, 2011, 01:19:30 PM »

        ถ้าผมมีโอกาสจดทะเบียนสมรส(ใหม่)
จะเลือกจดที่สำนักงานเขตฯนี้  เพราะชื่อมันฟังดูดี   ขำก๊าก ขำก๊าก ขำก๊าก

ฮึๆ.........ฝันไปเถอะ......ฮา
บันทึกการเข้า



โลกมีทรัพยากรให้ทุกคนใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างเพียงพอ...แต่ไม่เพียงพอสำหรับคนโลภเพียงคนเดียว : มหาตะมะ คานธี
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 21 คำสั่ง