เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤษภาคม 03, 2025, 01:26:02 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: HP200 เครื่องอัดอากาศแรงดันสูงและเรกูเลเตอร์สำหรับเพิ่มหรือลดแรงดันจากถังดำน้ำ  (อ่าน 18935 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
pramuan
ไม่เคืองแค้นน้อยใจในโชคชะตา ไม่เสียดายชีวาถ้าสิ้นไป
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 19
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 305


จักยอมตายหมายให้เกีรติดำรงจะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา


« ตอบ #15 เมื่อ: มกราคม 25, 2011, 10:09:07 AM »

ผมเห็นลูกสูบของตัว hand pump แล้ว อดนึกถึงลูกเบี้ยวความเร็วรอบต่ำไม่ได้
ลูกเบี้ยวตัวนี้มันจะช่วยลดภาระการโยกลงไปมาก เพราะมันจะหมุนด้วยมอเตอร์ความเร็วต่ำ
คงจะเป็นเพราะผมขี้เกียจมั๊งครับ เลยนึกไปอีกสเต๊ป
ไม่ทราบว่าจดสิทธิบัตรแล้วหรือยังครับ
ถ้ายังไม่ได้จดให้รีบจดเลยครับ

ถ้าจะต้องลงมือทำตามแบบ คิดว่าใช้เวลาทำนานไหมครับ

สำหรับลูกเบี้ยวคิดไ้ว้แล้วแต่ต้อง รอ รุ่นต่อไป ตามหลักการตลาดนะครับราคามันจะสูงขึ้น ไม่เหมาะกับช่วงโปรโมท   สำหรับการจดสิทธิบัตรมีคำแนะนำไหมครับ   ลิขสิทธิ์ผมยอมให้ชาวอวป.ละเมิทได้เพียงเวปเีดียวครับเพราะร่วมสร้างมาด้วยกัน ไหว้
อีก 3-4 วันตัวแรกจะออกแล้วคงต้องรอต่อไปครับ น้ำลายหก

ุคุณkomutsu ไม่ทราบหายตัวไปไหนแล้วเครื่องกำลังรอคำแนะนำอยู่นะครับ ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 25, 2011, 10:32:17 AM โดย pramuan » บันทึกการเข้า

กระสุนปืนใหญ่ของไทยตกที่ใด   ที่นั่นคือถิ่นไทย
pramuan
ไม่เคืองแค้นน้อยใจในโชคชะตา ไม่เสียดายชีวาถ้าสิ้นไป
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 19
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 305


จักยอมตายหมายให้เกีรติดำรงจะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา


« ตอบ #16 เมื่อ: มกราคม 25, 2011, 01:20:21 PM »

สำหรับระบบอัติโนมัติกระผมก็คิดไว้เหมือนกัน อาจจะไม่ต้องยุ่งยากกับการทำระบบแมคคานิคของแคม  กระผมมองไว้คือ ไฮดรอลิกส์ปั้ม ที่ออกแบบมาสร้างแรงดันให้กับกระบอกตรงๆเลย  แต่ราคาเครื่องก็จะพุ่งสูงอาจแตะหลักหมื่น ซึ่งคนประหยัดอย่างผมคงไม่มีตังซื้อครับ  ต้องหาวิธีลดต้นทุนก่อนจึงจะเอาออกมาให้ชมกันครับ ไหว้
บันทึกการเข้า

กระสุนปืนใหญ่ของไทยตกที่ใด   ที่นั่นคือถิ่นไทย
sitta.
Hero Member
*****

คะแนน 488
ออฟไลน์

กระทู้: 7275


« ตอบ #17 เมื่อ: มกราคม 25, 2011, 01:52:22 PM »

ขอให้ออกแบบให้สามารถบำรุงรักษาถอดประกอบเปลี่ยนอะไหล่ได้ด้วยตนเอง เช่น
1. การเปลี่ยนซีลตามจุดต่าง ๆ
2. การเปลี่ยนวัสดุกรอง
3. คู่มือ ตารางทอร์คในการกวดสกรูตามจุดต่าง ๆ

ข้อ 1 และ  2 สำคัญมากครับ คิดว่าต้องได้รับการบำรุงถี่หรือห่างเป็นไปตามคุณภาพของวัสดุ
ส่วนข้อ 3 นี้ หากคนประกอบแรงไม่ดีอย่างเก่งก็รั่ว แต่มีคู่มือไว้เพื่อสำหรับคนที่แรงดีเกินคาด
อันจะทำให้เกิดอบุัติเหตุและอุปกรณ์เสียหายได้

และที่ลืมไม่ได้คือ ความปลอดภัยมาเป็นอันดับแรกครับ เพราะน้ำมันไฮดรอลิกที่รั่วพุ่งออกมา
เพราะแรงดันอัด 200 บาร์ ผมว่ามันก็มีอันตรายมากกว่าลมรั่วครับ
ผมมักจะห้อยแว่นการ์ดไว้ที่หัวถังแรงดันสูง และทุกครั้งที่ผมเติมลมกับแรงดันสูง ผมจะใส่แว่นการ์ดป้องกันไว้เสมอ

เรื่่องจดสิทธิบัตรนั้นผมเคยเข้ารับการอบรมเมื่อปี ปี 2546  ยังพอจำได้ว่า
ลักษณะผลิตภัณฑ์แบบที่คุณ pramuan ทำไว้ น่าจะอยู่ในการเรื่องของการประดิษฐ์
จึงต้องจดสิทธิบัตรไว้ ไม่งั้นมีใครแอบเอาแบบไปจดก่อนก็เสร็จครับ เขาถือเอกสารวันเดือนปีเป็นสำคัญ
แม้ว่าจะไม่ผลิตภัณฑ์เป็นรูปร่าง แค่เขียนแบบไว้ก็สามารถจดสิทธิบัตรไว้ได้เลยครับ
คุณ pramuan จะเป็นเจ้าของลิขสิทธ์ไปโดยอัตโนมัติหรือเปล่าผมจำไม่ค่อยได้
ส่วนใครจะขอซื้อลิขสิทธิ์ไปทำก็มาติดต่อเป็นคราว ๆ ไป มีกำหนดกี่ปีก็ตกลงกันในสัญญา

ผมเองตอนนี้ก็ทยอยจดลิขสิทธิ์พวกซอพแวร์ไว้ครับ  มีหน่วยงานรับผิดชอบร่างสัญญาหาลูกค้าครบวงจร
เลยไม่รู้เรืองรายละเอียดลึก ๆ รอแค่ไปเป็นวิทยากร

ยังไงผมก็คิดว่ามาถึงวันนี้ จดสิทธิบัตรน่าจะสำคัญกว่าการทำออกมาขายนะครับ
มีทางเลือกอยู่ว่าจะจดสิทธิบัตรให้กองทัพ หรือ จะจดให้ตัวเรา ต้องคิดให้รอบด้านให้ถ้วนก่อนตัดสินใจครับ

บันทึกการเข้า
pramuan
ไม่เคืองแค้นน้อยใจในโชคชะตา ไม่เสียดายชีวาถ้าสิ้นไป
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 19
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 305


จักยอมตายหมายให้เกีรติดำรงจะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา


« ตอบ #18 เมื่อ: มกราคม 25, 2011, 05:09:39 PM »

ขอให้ออกแบบให้สามารถบำรุงรักษาถอดประกอบเปลี่ยนอะไหล่ได้ด้วยตนเอง เช่น
1. การเปลี่ยนซีลตามจุดต่าง ๆ
2. การเปลี่ยนวัสดุกรอง
3. คู่มือ ตารางทอร์คในการกวดสกรูตามจุดต่าง ๆ

ข้อ 1 และ  2 สำคัญมากครับ คิดว่าต้องได้รับการบำรุงถี่หรือห่างเป็นไปตามคุณภาพของวัสดุ
ส่วนข้อ 3 นี้ หากคนประกอบแรงไม่ดีอย่างเก่งก็รั่ว แต่มีคู่มือไว้เพื่อสำหรับคนที่แรงดีเกินคาด
อันจะทำให้เกิดอบุัติเหตุและอุปกรณ์เสียหายได้

และที่ลืมไม่ได้คือ ความปลอดภัยมาเป็นอันดับแรกครับ เพราะน้ำมันไฮดรอลิกที่รั่วพุ่งออกมา
เพราะแรงดันอัด 200 บาร์ ผมว่ามันก็มีอันตรายมากกว่าลมรั่วครับ
ผมมักจะห้อยแว่นการ์ดไว้ที่หัวถังแรงดันสูง และทุกครั้งที่ผมเติมลมกับแรงดันสูง ผมจะใส่แว่นการ์ดป้องกันไว้เสมอ

เรื่่องจดสิทธิบัตรนั้นผมเคยเข้ารับการอบรมเมื่อปี ปี 2546  ยังพอจำได้ว่า
ลักษณะผลิตภัณฑ์แบบที่คุณ pramuan ทำไว้ น่าจะอยู่ในการเรื่องของการประดิษฐ์
จึงต้องจดสิทธิบัตรไว้ ไม่งั้นมีใครแอบเอาแบบไปจดก่อนก็เสร็จครับ เขาถือเอกสารวันเดือนปีเป็นสำคัญ
แม้ว่าจะไม่ผลิตภัณฑ์เป็นรูปร่าง แค่เขียนแบบไว้ก็สามารถจดสิทธิบัตรไว้ได้เลยครับ
คุณ pramuan จะเป็นเจ้าของลิขสิทธ์ไปโดยอัตโนมัติหรือเปล่าผมจำไม่ค่อยได้
ส่วนใครจะขอซื้อลิขสิทธิ์ไปทำก็มาติดต่อเป็นคราว ๆ ไป มีกำหนดกี่ปีก็ตกลงกันในสัญญา

ผมเองตอนนี้ก็ทยอยจดลิขสิทธิ์พวกซอพแวร์ไว้ครับ  มีหน่วยงานรับผิดชอบร่างสัญญาหาลูกค้าครบวงจร
เลยไม่รู้เรืองรายละเอียดลึก ๆ รอแค่ไปเป็นวิทยากร

ยังไงผมก็คิดว่ามาถึงวันนี้ จดสิทธิบัตรน่าจะสำคัญกว่าการทำออกมาขายนะครับ
มีทางเลือกอยู่ว่าจะจดสิทธิบัตรให้กองทัพ หรือ จะจดให้ตัวเรา ต้องคิดให้รอบด้านให้ถ้วนก่อนตัดสินใจครับ


รับทราบรับปฏิบัติครับ แต่ตอนนี้เหตุการณ์บ้านเมืองไม่ค่อยสงบคงต้องให้ความสำัคัญอันดับ 1 ที่เรื่องงานละครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 25, 2011, 05:16:51 PM โดย pramuan » บันทึกการเข้า

กระสุนปืนใหญ่ของไทยตกที่ใด   ที่นั่นคือถิ่นไทย
pramuan
ไม่เคืองแค้นน้อยใจในโชคชะตา ไม่เสียดายชีวาถ้าสิ้นไป
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 19
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 305


จักยอมตายหมายให้เกีรติดำรงจะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา


« ตอบ #19 เมื่อ: มกราคม 25, 2011, 09:09:01 PM »

มือปืนเคยเจอปัญหาเหล่านี้ไหม น้ำลายหก
- ต้องลงทุนซื้อถังราคาแพง  หรือซื้อมากกว่า 1ถังเพื่อให้ได้แรงดันสูงตามต้องการ ตกใจหน้าซีด
- เติมแรงดันมาแล้วแต่ก็ใช้ได้ไม่นานก็แรงดันตก ไม่สามารถวัดกลุ่มกระสุนได้เนื่องจากมีปัจจัยของแรงดันเข้ามากวนใจ เศร้า
- ถังที่เติมมาแรงดันสูงกว่าต้องการถ้าจะลดก็ต้องเปิดทิ้งทำให้สิ้นเปลืองมาก ยี๊
- อัดด้วยHandpumpแต่ได้ของแถมเป็นน้ำผสมมาด้วย หัวเราะร่าน้ำตาริน
- ยืนยิงอยู่เฉยๆแต่เหมือนกับกำลังยิงปืนทางยุทธวิธี(ยิงไปวิ่งไป) หัวใจเต้นทีก็ไปซ้าย 2 คลิก อีกทีก็บน 3คลิก เพราะโยกHandpumpแบบเดิม โดนชก
- อุตสาห์ซือถังราคาแพงมาแล้วแต่เจ้าของร้านเติมก็ช่างเล่นตัวเหลือเกิน  แบร่  
- ร้านที่เติมได้แรงดันตามต้องการต้องเดินทางไปข้ามอำเภอ หรือข้ามจังหวัดไปเติม ตกใจ
- แอบเก็บเงินค่าเหล้าไ้ว้วันละเล็กละน้อยซื้อปืนซักกระบอก  แต่ก็ต้องเก็บเงินต่อไปเพื่อซื้อถังราคาแสนแพงอีก (แต่ก็ดีต่อสุขภาพนะครับผมเลิกเหล้าได้3ปีแล้ว) หัวเราะร่าน้ำตาริน เยี่ยม
-  อยากจะรู้จริงๆว่าถ้ายิงด้วยปืนคู่ใจกระบอกนี้ที่350บาร์มันจะออกมาแบบใหน จูบบบบ
-  นกบางชนิดถ้าความเร็วกระสุนมากเกินไปมันก็ตาย แต่ไปตายไกลเหลือเกินวิ่งตามไปถ่ายรูปด้วยไม่ได้ คิก คิก
- ปลาบางชนิดก็ไม่เคยโผล่ใกล้ผิวน้ำต่ำกว่า 3 นิ้วเลยถ้าความเร็วกระสุนมาขึ้นกว่านี้ก็คงเรียบร้อยไปแล้ว เศร้า
- หัวกระสุนในฝัน  ที่วาดหวังมาว่าจะแต่งงานด้วย คุณเธอก็มีน้ำหนักมากเกิืน  เกินที่ปืนกระบอกนี้จะแบกได้ที่แรงดันต่ำเธอเลยต้องเป็นนางในฝันต่อไป
- อยากได้จริงๆเลยไอ้ปืนอัดลมขนาด  .50 BMG เนี่ย แต่ไม่รู้ว่าถ้าแอบเอาเข้ามาแล้วจะเอาอะไรไปเติมมันหนอ เยาะเย้ย
- เห็นชาวบ้านเขายิงกระป๋องปลากระป๋องได้ทะลุ7 -8ใบแต่ทำไม่เรายิงไม่ได้ ขำก๊าก
- จะยิง 50เมตรแต่เลงเผื่อเป็นเมตรกล้องของฉันมองไม่เห็นแล้ว กิ๊วก๊าว

HP- 01ช่วยได้แน่นอน(ทีวีไดเรกชัดๆ)ยิ้มีเลศนัย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 25, 2011, 09:32:09 PM โดย pramuan » บันทึกการเข้า

กระสุนปืนใหญ่ของไทยตกที่ใด   ที่นั่นคือถิ่นไทย
Sweety Tangmo
มือปืนมังสวิรัติ...(ไม่ทำ...แต่ทานได้...)
Hero Member
*****

คะแนน 447
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1452


พันธมิตรปืนสปริง...Diana M54


« ตอบ #20 เมื่อ: มกราคม 25, 2011, 09:51:34 PM »

โอ้...ซาร่า...มันยอดไปเลย... น้ำลายหก
บันทึกการเข้า

พี่ม้า...ขา
pramuan
ไม่เคืองแค้นน้อยใจในโชคชะตา ไม่เสียดายชีวาถ้าสิ้นไป
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 19
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 305


จักยอมตายหมายให้เกีรติดำรงจะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา


« ตอบ #21 เมื่อ: มกราคม 26, 2011, 04:00:57 PM »

ระบบดูดซับความชื้นและน้ำมัน
    สำหรับระบบดูดซับความชื้นก็เป็นไปอย่างที่แสดงในภาพ หลอดที่เห็นจะติดตั้งบนท่ออัดซึ่งเป็นตำแหน่งที่อากาศที่จะเข้าและออกระบบจะมีโอกาสที่จะสัมผัสกับสารเคมีได้อย่างทั่วถึงและประหยัดปริมาตรV2ที่สุด  การเติมก็ทำได้ง่ายๆแค่ถอดวาล์วด้านจ่ายเข้าปืนออกจากนั้นถอดกรองหยาบออกจากนั้นก็หันช่องทางออกของท่อไปในทางที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง    เปิดวาล์ว A แรงดันในถังก็จะอัดเอาสารเคมีหรืออะไรก็ตามพุ่งออกมาจนหมด จากนั้นก็บรรจุสารเคมีใหม่เข้าไป ประกอบตระแกรงกรองหยาบ ประกอบวาล์วเข้าที่เดิมก็สามารถใช้งานได้ปรกติ  สำหรับท่านที่เกรงว่าสาเคมีจะเกิดอันตรายจากการดันของอากาศที่อยู่ภายในก็ต้องใช้วิธีตะแคงเครืื่องเอาสารเคมีที่อยู่ด้านในออกมา  สำหรับปริมาตรของช่องบรรจุสารเคมีนั้นกำหนดให้มีปริมาตร 100cc เท่ากันหมดทุกรุ่นเพื่อสะดวกในการคำนวน  ในช่องว่าง 100 c c ที่กำหนดให้ท่านจะใส่อะไรลงไปก็ได้ เพราะทางผมจะใส่ถ่านกำมันต์ เข้าไปเนื่องจากเพียงพอต่อความต้องการของระบบ  และหาซื้อได้สะดวกที่สุด 

สำหรับคู่มือการใช้งานนั้นจะทำอย่างละเีอียด  รวมถึงข้อควรระวัง และ การซ่อมแซม     


* ชุดกรอง.jpg (74.41 KB, 1122x906 - ดู 1167 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

กระสุนปืนใหญ่ของไทยตกที่ใด   ที่นั่นคือถิ่นไทย
pramuan
ไม่เคืองแค้นน้อยใจในโชคชะตา ไม่เสียดายชีวาถ้าสิ้นไป
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 19
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 305


จักยอมตายหมายให้เกีรติดำรงจะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา


« ตอบ #22 เมื่อ: มกราคม 26, 2011, 09:02:35 PM »

บอลวาล์วขนาดเล็กที่ทนแรงดันได้ 200 บาร์หาได้ที่ไหนใดรรู้ช่วยตอบหนูที  ตอนนี้หาได้แค่ 1000 PSIWOG ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 26, 2011, 09:05:35 PM โดย pramuan » บันทึกการเข้า

กระสุนปืนใหญ่ของไทยตกที่ใด   ที่นั่นคือถิ่นไทย
sitta.
Hero Member
*****

คะแนน 488
ออฟไลน์

กระทู้: 7275


« ตอบ #23 เมื่อ: มกราคม 27, 2011, 01:14:32 PM »

บอลวาล์วขนาดเล็กที่ทนแรงดันได้ 200 บาร์หาได้ที่ไหนใดรรู้ช่วยตอบหนูที  ตอนนี้หาได้แค่ 1000 PSIWOG ไหว้

ลองเสาะหาข้อมูลจากคุณหมานที่พี่ชายเป็นครูสอนดำน้ำดูก็ได้ครับ

วาวล์ที่ใช้จะมีรูปรางแบบอื่นอีกหรือเปล่าผมไม่ทราบครับ
แต่แบบที่คุณหมานทำให้เป็นวาวล์หัวบิดเป็นแฉกสามด้านแบบนี้ครับ
แบบที่เห็นนี้ผมไม่ทราบว่าออกแบบมาเป็นวาวล์สำหรับระบายลมโดยเฉพาะหรือเปล่า
หรือสามารถใช้เป็นประตูเปิดปิดลมได้ด้วย

ตรงรูระบายลมผมก็เห็นเกลียวนะครับ แต่ไม่ได้ต่อไปใช้ทำอะไรปล่อยแรงดันในสายให้หมดไป




 
บันทึกการเข้า
nuy_rc 3D Extreme
คุดไห่เลิ้ก..ก๊นไห่เถิง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 65
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1325



« ตอบ #24 เมื่อ: มกราคม 27, 2011, 02:35:40 PM »

สุดยอดครับ  สนับสนุนให้จดสิทธิบัตรครับ  ผมก็มีงานด้านอิเล็คทรอนิคอยู่ 1 ชิ้นยังไม่ได้จดเหมือนกัน กำลังศึกษารายละเอียดอยู่ว่าจะดำเนินการอย่างไรครับ
บันทึกการเข้า
pramuan
ไม่เคืองแค้นน้อยใจในโชคชะตา ไม่เสียดายชีวาถ้าสิ้นไป
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 19
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 305


จักยอมตายหมายให้เกีรติดำรงจะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา


« ตอบ #25 เมื่อ: มกราคม 27, 2011, 07:09:26 PM »

ตอนนี้ใช้วาล์วลม 1000 WOG psi ซึ่งมีหน้าตัดตรงบอลวาล์ว เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 mmถ้าคิดเป็นพื้นที่หน้าตัดที่รับแรงดันก็ประมาณ 78 ตารางมิลลิเมตร ซึ่งแรงดันที่กระทำกับบอลของวาล์วที่แรงดัน 200 บาร์ก็ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อตารางมิลเมตร  ซึ่งช่องทางเข้าของวาล์วได้เจาะรู้ขนาดเส้นผ่านศูนน์กลาง เท่ากับ 2 มิลลิเมตรคิดเป็นพื้นที่รับความดันเท่ากับประมาณ 3.5  ตารางมิลลิเมตร รูดังกล่าวเมื่อขันเกลียวจะสัมผัสกับบอลพอดี ซึ่งก็เท่ากับว่าบอลวาล์วจะได้รับแรงจากความดันที่เกิดจากการอัด ประมาณ  2 คูณด้วย 3.5 เท่ากับ 7 กิโลกรัม  แรงดันที่ท่อสามารถสร้างให้กับบอลของวาล์วได้ 7 กกต่อ 3.5ตารางมิลเมตร   ถ้าทำให้ปลายของท่อสัมผัสกับบอลของวาล์ว บอลก็จะได้รับแรงดันในขณะที่วาล์วกำลังปิด 7  กก

พ.ท. 78 ตารางมิลลิเมตรของวาล์วตามมาตรฐานแล้ว WP อยู่ที่ 1000 PSIซึ่งประมาณ 68 ก.ก.ต่อตารางเซนติเมตร เท่ากับ 0.68 ก.ก.ต่อตารางมิลลิเมตร
ถ้าเปิดหน้าบอลวาล์วที่ไม่รวม FOS 2-2.5 เท่าของWP   หน้าบอลวาล์วที่เปิดรับแรงดันตามค่ามาตรฐานของวาล์ว ที่ 1000PSI เท่ากับ 78 คูณ0.68 เท่ากับ
53.68 ก.ก.  คือบอลของวาล์วจะสามารถรับแรงที่เกิดจากความดัน 1000PSI รวม 53.68 กก

แต่ท่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง2ม.ม.ที่ปลายชนกับบอลของวาล์วสร้างแรงที่เกิดจากความดันได้แค่ 7 กก.  แต่บอลของวาล์วที่WPรับแรงที่เกิดจากความดันได้ 53.68 กก  ดังนั้น บอลของวาล์วและโครงสร้างของบอลวาล์วก็สามารถทนแรงที่เกิดจากความดันของท่อเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 มมที่200 บาร์ได้สบายสบาย


ไม่รู้คิดถูกหรือเปล่า  เอามาคิดให้ปวดหัวเล่นๆ  ใครรู้ช่วยปวดหัวด้วยกันครับ
บันทึกการเข้า

กระสุนปืนใหญ่ของไทยตกที่ใด   ที่นั่นคือถิ่นไทย
sitta.
Hero Member
*****

คะแนน 488
ออฟไลน์

กระทู้: 7275


« ตอบ #26 เมื่อ: มกราคม 28, 2011, 10:06:54 AM »

ตอนนี้ใช้วาล์วลม 1000 WOG psi ซึ่งมีหน้าตัดตรงบอลวาล์ว เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 mmถ้าคิดเป็นพื้นที่หน้าตัดที่รับแรงดันก็ประมาณ 78 ตารางมิลลิเมตร ซึ่งแรงดันที่กระทำกับบอลของวาล์วที่แรงดัน 200 บาร์ก็ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อตารางมิลเมตร  ซึ่งช่องทางเข้าของวาล์วได้เจาะรู้ขนาดเส้นผ่านศูนน์กลาง เท่ากับ 2 มิลลิเมตรคิดเป็นพื้นที่รับความดันเท่ากับประมาณ 3.5  ตารางมิลลิเมตร รูดังกล่าวเมื่อขันเกลียวจะสัมผัสกับบอลพอดี ซึ่งก็เท่ากับว่าบอลวาล์วจะได้รับแรงจากความดันที่เกิดจากการอัด ประมาณ  2 คูณด้วย 3.5 เท่ากับ 7 กิโลกรัม  แรงดันที่ท่อสามารถสร้างให้กับบอลของวาล์วได้ 7 กกต่อ 3.5ตารางมิลเมตร   ถ้าทำให้ปลายของท่อสัมผัสกับบอลของวาล์ว บอลก็จะได้รับแรงดันในขณะที่วาล์วกำลังปิด 7  กก

พ.ท. 78 ตารางมิลลิเมตรของวาล์วตามมาตรฐานแล้ว WP อยู่ที่ 1000 PSIซึ่งประมาณ 68 ก.ก.ต่อตารางเซนติเมตร เท่ากับ 0.68 ก.ก.ต่อตารางมิลลิเมตร
ถ้าเปิดหน้าบอลวาล์วที่ไม่รวม FOS 2-2.5 เท่าของWP   หน้าบอลวาล์วที่เปิดรับแรงดันตามค่ามาตรฐานของวาล์ว ที่ 1000PSI เท่ากับ 78 คูณ0.68 เท่ากับ
53.68 ก.ก.  คือบอลของวาล์วจะสามารถรับแรงที่เกิดจากความดัน 1000PSI รวม 53.68 กก

แต่ท่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง2ม.ม.ที่ปลายชนกับบอลของวาล์วสร้างแรงที่เกิดจากความดันได้แค่ 7 กก.  แต่บอลของวาล์วที่WPรับแรงที่เกิดจากความดันได้ 53.68 กก  ดังนั้น บอลของวาล์วและโครงสร้างของบอลวาล์วก็สามารถทนแรงที่เกิดจากความดันของท่อเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 มมที่200 บาร์ได้สบายสบาย


ไม่รู้คิดถูกหรือเปล่า  เอามาคิดให้ปวดหัวเล่นๆ  ใครรู้ช่วยปวดหัวด้วยกันครับ




ความแข็งแรงของอุปกรณ์เกิดจากการคำนวณส่วนหนึ่งที่ดูเผิน ๆ ว่าอุปกรณ์รับได้ แต่ที่สำคัญอีกส่วนคือวัสดุช่างที่จะนำมาทำ ว่ามีคุณสมบัติอย่างไร
มีวาวล์ทองเหลืองดูหน้าตาเหมือนกัน แต่คงเป็นคุณสมบัติส่วนผสมไม่เหมือนกัน เลยรับแรงดันได้ไม่เท่ากัน


คุณสมบัติของวัสดุที่จะนำมาทำเป็นอุปกรณ์ก็เรื่องสำคัญมาก 
กิจกรรมแรงดันสูงพิเศษแบบนี้ทุกอย่างต้อง 100 เปอร์เซนต์ครับ ทั้งการคำนวณและคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์
ต้องไปด้วยกันครับ   ดังนั้นเมือเราหยิบอุปกรณ์ตัวหนึ่งขึ้นมา เราไม่อาจบอกได้เลยว่ามันรับแรงดันได้เท่าไหร่
นอกจากต้องไปถามผู้ผลิต เพราะเขาจะมีตารางเผื่อค่าความปลอดภัยของอุปกรณ์ตัวนั้น 


ออกผมฝากแนวคิดนี้ด้วยครับ
หากย้ายอุปกรณ์กรองความชื้นและไอน้ำมันจากบนมาติดด้านข้าง จะทำให้สามารถเพิ่มพื้นที่การกรองได้มากขึ้นกว่าแบบเดิม
จากภาพจะเห็นว่าแบบที่สอง จะมีเข็มขัดรัดกระบอกแรงดันไว้ด้วย ตรงนี้ก็เป็นข้อดีที่ได้โดยบังเอิญ เพราะในท่อแรงดันที่ยาวมาก
เมื่อมีแรงดันสูงกระเพื่อมมันจะโป่งตรงกลาง เขาจึงทำส่วนหนาเว้นไว้ตรงกลางหรือทำเว้นเป็นระยะถ้ายาวมาก เพื่อลดต้นทุนไม่ต้องทำท่อหนายาว ๆ
และได้ความแข็งแรงของตัวท่อเหมือนเดิม

บันทึกการเข้า
pramuan
ไม่เคืองแค้นน้อยใจในโชคชะตา ไม่เสียดายชีวาถ้าสิ้นไป
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 19
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 305


จักยอมตายหมายให้เกีรติดำรงจะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา


« ตอบ #27 เมื่อ: มกราคม 28, 2011, 12:27:03 PM »

ตอนนี้ใช้วาล์วลม 1000 WOG psi ซึ่งมีหน้าตัดตรงบอลวาล์ว เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 mmถ้าคิดเป็นพื้นที่หน้าตัดที่รับแรงดันก็ประมาณ 78 ตารางมิลลิเมตร ซึ่งแรงดันที่กระทำกับบอลของวาล์วที่แรงดัน 200 บาร์ก็ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อตารางมิลเมตร  ซึ่งช่องทางเข้าของวาล์วได้เจาะรู้ขนาดเส้นผ่านศูนน์กลาง เท่ากับ 2 มิลลิเมตรคิดเป็นพื้นที่รับความดันเท่ากับประมาณ 3.5  ตารางมิลลิเมตร รูดังกล่าวเมื่อขันเกลียวจะสัมผัสกับบอลพอดี ซึ่งก็เท่ากับว่าบอลวาล์วจะได้รับแรงจากความดันที่เกิดจากการอัด ประมาณ  2 คูณด้วย 3.5 เท่ากับ 7 กิโลกรัม  แรงดันที่ท่อสามารถสร้างให้กับบอลของวาล์วได้ 7 กกต่อ 3.5ตารางมิลเมตร   ถ้าทำให้ปลายของท่อสัมผัสกับบอลของวาล์ว บอลก็จะได้รับแรงดันในขณะที่วาล์วกำลังปิด 7  กก

พ.ท. 78 ตารางมิลลิเมตรของวาล์วตามมาตรฐานแล้ว WP อยู่ที่ 1000 PSIซึ่งประมาณ 68 ก.ก.ต่อตารางเซนติเมตร เท่ากับ 0.68 ก.ก.ต่อตารางมิลลิเมตร
ถ้าเปิดหน้าบอลวาล์วที่ไม่รวม FOS 2-2.5 เท่าของWP   หน้าบอลวาล์วที่เปิดรับแรงดันตามค่ามาตรฐานของวาล์ว ที่ 1000PSI เท่ากับ 78 คูณ0.68 เท่ากับ
53.68 ก.ก.  คือบอลของวาล์วจะสามารถรับแรงที่เกิดจากความดัน 1000PSI รวม 53.68 กก

แต่ท่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง2ม.ม.ที่ปลายชนกับบอลของวาล์วสร้างแรงที่เกิดจากความดันได้แค่ 7 กก.  แต่บอลของวาล์วที่WPรับแรงที่เกิดจากความดันได้ 53.68 กก  ดังนั้น บอลของวาล์วและโครงสร้างของบอลวาล์วก็สามารถทนแรงที่เกิดจากความดันของท่อเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 มมที่200 บาร์ได้สบายสบาย


ไม่รู้คิดถูกหรือเปล่า  เอามาคิดให้ปวดหัวเล่นๆ  ใครรู้ช่วยปวดหัวด้วยกันครับ




ความแข็งแรงของอุปกรณ์เกิดจากการคำนวณส่วนหนึ่งที่ดูเผิน ๆ ว่าอุปกรณ์รับได้ แต่ที่สำคัญอีกส่วนคือวัสดุช่างที่จะนำมาทำ ว่ามีคุณสมบัติอย่างไร
มีวาวล์ทองเหลืองดูหน้าตาเหมือนกัน แต่คงเป็นคุณสมบัติส่วนผสมไม่เหมือนกัน เลยรับแรงดันได้ไม่เท่ากัน


คุณสมบัติของวัสดุที่จะนำมาทำเป็นอุปกรณ์ก็เรื่องสำคัญมาก 
กิจกรรมแรงดันสูงพิเศษแบบนี้ทุกอย่างต้อง 100 เปอร์เซนต์ครับ ทั้งการคำนวณและคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์
ต้องไปด้วยกันครับ   ดังนั้นเมือเราหยิบอุปกรณ์ตัวหนึ่งขึ้นมา เราไม่อาจบอกได้เลยว่ามันรับแรงดันได้เท่าไหร่
นอกจากต้องไปถามผู้ผลิต เพราะเขาจะมีตารางเผื่อค่าความปลอดภัยของอุปกรณ์ตัวนั้น 


ออกผมฝากแนวคิดนี้ด้วยครับ
หากย้ายอุปกรณ์กรองความชื้นและไอน้ำมันจากบนมาติดด้านข้าง จะทำให้สามารถเพิ่มพื้นที่การกรองได้มากขึ้นกว่าแบบเดิม
จากภาพจะเห็นว่าแบบที่สอง จะมีเข็มขัดรัดกระบอกแรงดันไว้ด้วย ตรงนี้ก็เป็นข้อดีที่ได้โดยบังเอิญ เพราะในท่อแรงดันที่ยาวมาก
เมื่อมีแรงดันสูงกระเพื่อมมันจะโป่งตรงกลาง เขาจึงทำส่วนหนาเว้นไว้ตรงกลางหรือทำเว้นเป็นระยะถ้ายาวมาก เพื่อลดต้นทุนไม่ต้องทำท่อหนายาว ๆ
และได้ความแข็งแรงของตัวท่อเหมือนเดิม


สำหรับเรื่องวาล์ว  จากห้วงที่ผ่านมาได้ได้แสวงหาข้อตกลงใจว่าจะใช้วาล์วชนิดใด  กระผมตกลงใจใช้ วาล์วหัวถังของรถ NGV เนื่องจาก  WP ที่ 200-240บาร์ TPที่ 600บาร์ ไม่ทราบว่ามีความคิดเห็นว่าประการใดครับ

สำหรับเรื่องของถังกรองความชื้น
- ถ้าดูจากภาพที่ 1และ2   จะอธิบายว่า  ในภาพที่เราเห็นว่าเป็นแท่งทรงกระบอกที่มองเห็นภายนอกนั้นอย่าเข้าใจผิดว่าเป็นท่ออัดแรงดัน    ที่เห็นเอาเข็มขัดไปรัดไว้นั้นเป็นเพียง "ถังเก็บน้ำมัน"ซึ่งถังเก็บน้ำมันนี้จะอยู่ชั้นนอกสุดใช้ท่อเหล็กบาง  เพื่อปกปิดโครงสร้างและระบบการทำงานที่อยู่ภายในท่อ  ท่ออัดแรงดันจะอยู่ชั้นในสุด  ไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าและไม่สามารถถอดออกได้เนื่องจากต้องกระทำอย่างแน่นหนาที่สุด  และไม่รู้ว่าจะถอดออกมาทำอะไรเพราะภายในถังไม่มีอะไร  ถ้าต้องการล้างก็แค่น้ำน้ำมันดรายมาเทใส่ตรงช่องเติมและเขย่าๆเทออกก็เพียงพอ การรัดที่ท่อในภาพจึงไม่ได้ส่งผลถึงความแข็งแรงของระบบแต่ประการใด
 - สำหรับเหตุผลของการติดระบบกรองความชื้นไว้ที่ด้านบนของเครื่องนั้น   ลองนึกภาพตามนะครับ   ถ้าเป็นแบบที่ติดด้านข้าง  เมื่อเปิดวาล์ว A  อากาศจากแหล่งจ่ายจะใหลเข้าสู่ระบบโดยไม่ผ่านอุปกรณ์กรอง ซึ่งถ้าเป็นแหล่งจ่ายที่ไม่สะอาดพอโดยนำเอาความชื้นมาด้วย ความชื้นก็จะเข้ามาสัมผัสกับน้ำมัน  น้ำมันก็จะเสียสภาวะของการเป็นสารส่งกำลังและอาจทำให้ระบบของเครื่องเกิดสนิมภายในเมื่อเก็บไว้เป็นเวลานาน ทำให้เกิดความเสียหายกับเครื่องได้ครับ
- ถ้าติดไว้ด้านข้าง  ธรรมชาติของของเหลวต้องไหลลงที่ต่ำเสมอ  เมื่อมีของเหลวควบแน่นเกิดขึ้นในถังกรอง มันก็จะมุ่งหน้าตรงเข้าหลอดแก็สทันทีที่มีแรงดันครับ
- เหตุที่กำหนดปริมาตรของถังกรองที่ 100 cc นั้นก็เพราะว่า  ถ้าพิจารณาจากสมการที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วนั้นจะพบว่า ปริมาตรในส่วนที่ไม่สามารถนำน้ำมันเข้าไปแทนที่ได้ใจจังหวะการอัดนั้นจะส่งผลให้ปริมาตรของส่วนที่น้ำมันสามารถเข้าไปแทนที่ได้ต้องเพิ่มขึ้นจำนวนมากกว่า 3 เท่าของปริมาตร ซึ่งจะส่งผลให้ขนาดของเครื่องต้องใหญ่ขึ้นไปอีกประมาณ 3 เท่าของปริมาตรของถังกรองก็เลยต้องทำการควบคุมปริมาตรของถังกรองให้อยู่ในขนาดที่พอเหมาะ
- สำหรับความสามารถในการดูดซับความชื้นนั้น  ถ้ามองดูอัตราการไหลของระบบจะพบว่า  เราอัดด้วยกระบอกสูบที่มีปริมาตรของลูกสูบประมาณ 5 cc ดังนั้นทุกๆครั้งที่เรากด มวลของอากาศจะเคลื่อนที่ไปในถังกรองไม่เกิน 2 cm.ซึ่งอากาศจะมีเวลาในการสัมผัสกับสารเคมี เท่ากับช่วงเวลาที่ยาวนานมาก จึงไม่ต้องกังวลเรื่องของความสามารถครับ
     ซึ่งแตกต่างจากระบบที่เราเคยเห็นมา อัตราการไหล หรือโฟเลท  สูงมาก เวลาที่จะทำปฏิกริยากับสารเคมีน้อยมาเนื่องด้วยมวลของอากาศเคลื่อนที่ผ่านสารเคมีด้วยระยะเวลาสั้นๆ  เขาก็เลยออกแบบให้ถังกรองที่เราเห็นมีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาว เพื่อให้มวลของอากาศมีเวลาได้สัมผัสกับสารเคมีนานขึ้นครับ

                                                                                            ขอบคุณครับ ต้องไปเอาชิ้นส่วนที่สั่งทำไว้แล้วจะได้ทดลองกันเร็วๆ              ...............................ประมวล
บันทึกการเข้า

กระสุนปืนใหญ่ของไทยตกที่ใด   ที่นั่นคือถิ่นไทย
pramuan
ไม่เคืองแค้นน้อยใจในโชคชะตา ไม่เสียดายชีวาถ้าสิ้นไป
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 19
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 305


จักยอมตายหมายให้เกีรติดำรงจะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา


« ตอบ #28 เมื่อ: มกราคม 28, 2011, 01:32:45 PM »

แต่เหนือสิ่งอื่นใด  คำว่าลูกค้าคือ พระเ้จ้าก็ยังใช้ได้ผลเสมอครับ     ต้องไม่ลืมว่า เครื่องนี้ไม่ได้ผลิตไวรอขาย แต่ต้องสั่งทำเฉพาะปืนแต่ละกระบอก  ข้อดีก็คือคุณสามารถกำหนดคุณภาพ ราคา สิ่งที่คุณต้องการได้เสมอ  ไม่ว่าจะเป็นวาล์ว  ตำแหน่งของถังกรอง ปริมาตรของถังกรอง แม่แรง  สาย ขนาดของสาย ชนิดของวาล์ว   คุณสมารถเลือกได้  อาจเป็นอุปกรณ์ที่คุณจัดหามาให้ หรือคุณมีอยู่แล้ว ก็ส่งมาให้ผมทำก็สามารถทำได้ทั้งหมด  อาจมาในแบบของภาพสเก็ต ดรอวอิง หรือส่งของมาให้ทำ  หรืออื่นๆ ได้ทั้งหมดเลย  ตัวเครื่องจะชุบทอง ชุบโครมเมียม รมดำ
ทำสี ได้หมด มันดีตรงนี้คือผมทำตามหลักความปลอดภัย และ การใช้งาน  คุณ กำหนดความต้องการในการใช้   โอ้ซาร่ามันยอดมากเลย  หรือใครมีความเห็นที่แตกต่างก็แนะนำด้วยนะครับ หลงรัก
บันทึกการเข้า

กระสุนปืนใหญ่ของไทยตกที่ใด   ที่นั่นคือถิ่นไทย
sitta.
Hero Member
*****

คะแนน 488
ออฟไลน์

กระทู้: 7275


« ตอบ #29 เมื่อ: มกราคม 28, 2011, 02:24:20 PM »

ตอนนี้ใช้วาล์วลม 1000 WOG psi ซึ่งมีหน้าตัดตรงบอลวาล์ว เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 mmถ้าคิดเป็นพื้นที่หน้าตัดที่รับแรงดันก็ประมาณ 78 ตารางมิลลิเมตร ซึ่งแรงดันที่กระทำกับบอลของวาล์วที่แรงดัน 200 บาร์ก็ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อตารางมิลเมตร  ซึ่งช่องทางเข้าของวาล์วได้เจาะรู้ขนาดเส้นผ่านศูนน์กลาง เท่ากับ 2 มิลลิเมตรคิดเป็นพื้นที่รับความดันเท่ากับประมาณ 3.5  ตารางมิลลิเมตร รูดังกล่าวเมื่อขันเกลียวจะสัมผัสกับบอลพอดี ซึ่งก็เท่ากับว่าบอลวาล์วจะได้รับแรงจากความดันที่เกิดจากการอัด ประมาณ  2 คูณด้วย 3.5 เท่ากับ 7 กิโลกรัม  แรงดันที่ท่อสามารถสร้างให้กับบอลของวาล์วได้ 7 กกต่อ 3.5ตารางมิลเมตร   ถ้าทำให้ปลายของท่อสัมผัสกับบอลของวาล์ว บอลก็จะได้รับแรงดันในขณะที่วาล์วกำลังปิด 7  กก

พ.ท. 78 ตารางมิลลิเมตรของวาล์วตามมาตรฐานแล้ว WP อยู่ที่ 1000 PSIซึ่งประมาณ 68 ก.ก.ต่อตารางเซนติเมตร เท่ากับ 0.68 ก.ก.ต่อตารางมิลลิเมตร
ถ้าเปิดหน้าบอลวาล์วที่ไม่รวม FOS 2-2.5 เท่าของWP   หน้าบอลวาล์วที่เปิดรับแรงดันตามค่ามาตรฐานของวาล์ว ที่ 1000PSI เท่ากับ 78 คูณ0.68 เท่ากับ
53.68 ก.ก.  คือบอลของวาล์วจะสามารถรับแรงที่เกิดจากความดัน 1000PSI รวม 53.68 กก

แต่ท่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง2ม.ม.ที่ปลายชนกับบอลของวาล์วสร้างแรงที่เกิดจากความดันได้แค่ 7 กก.  แต่บอลของวาล์วที่WPรับแรงที่เกิดจากความดันได้ 53.68 กก  ดังนั้น บอลของวาล์วและโครงสร้างของบอลวาล์วก็สามารถทนแรงที่เกิดจากความดันของท่อเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 มมที่200 บาร์ได้สบายสบาย


ไม่รู้คิดถูกหรือเปล่า  เอามาคิดให้ปวดหัวเล่นๆ  ใครรู้ช่วยปวดหัวด้วยกันครับ




ความแข็งแรงของอุปกรณ์เกิดจากการคำนวณส่วนหนึ่งที่ดูเผิน ๆ ว่าอุปกรณ์รับได้ แต่ที่สำคัญอีกส่วนคือวัสดุช่างที่จะนำมาทำ ว่ามีคุณสมบัติอย่างไร
มีวาวล์ทองเหลืองดูหน้าตาเหมือนกัน แต่คงเป็นคุณสมบัติส่วนผสมไม่เหมือนกัน เลยรับแรงดันได้ไม่เท่ากัน


คุณสมบัติของวัสดุที่จะนำมาทำเป็นอุปกรณ์ก็เรื่องสำคัญมาก 
กิจกรรมแรงดันสูงพิเศษแบบนี้ทุกอย่างต้อง 100 เปอร์เซนต์ครับ ทั้งการคำนวณและคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์
ต้องไปด้วยกันครับ   ดังนั้นเมือเราหยิบอุปกรณ์ตัวหนึ่งขึ้นมา เราไม่อาจบอกได้เลยว่ามันรับแรงดันได้เท่าไหร่
นอกจากต้องไปถามผู้ผลิต เพราะเขาจะมีตารางเผื่อค่าความปลอดภัยของอุปกรณ์ตัวนั้น 


ออกผมฝากแนวคิดนี้ด้วยครับ
หากย้ายอุปกรณ์กรองความชื้นและไอน้ำมันจากบนมาติดด้านข้าง จะทำให้สามารถเพิ่มพื้นที่การกรองได้มากขึ้นกว่าแบบเดิม
จากภาพจะเห็นว่าแบบที่สอง จะมีเข็มขัดรัดกระบอกแรงดันไว้ด้วย ตรงนี้ก็เป็นข้อดีที่ได้โดยบังเอิญ เพราะในท่อแรงดันที่ยาวมาก
เมื่อมีแรงดันสูงกระเพื่อมมันจะโป่งตรงกลาง เขาจึงทำส่วนหนาเว้นไว้ตรงกลางหรือทำเว้นเป็นระยะถ้ายาวมาก เพื่อลดต้นทุนไม่ต้องทำท่อหนายาว ๆ
และได้ความแข็งแรงของตัวท่อเหมือนเดิม


สำหรับเรื่องวาล์ว  จากห้วงที่ผ่านมาได้ได้แสวงหาข้อตกลงใจว่าจะใช้วาล์วชนิดใด  กระผมตกลงใจใช้ วาล์วหัวถังของรถ NGV เนื่องจาก  WP ที่ 200-240บาร์ TPที่ 600บาร์ ไม่ทราบว่ามีความคิดเห็นว่าประการใดครับ

สำหรับเรื่องของถังกรองความชื้น
- ถ้าดูจากภาพที่ 1และ2   จะอธิบายว่า  ในภาพที่เราเห็นว่าเป็นแท่งทรงกระบอกที่มองเห็นภายนอกนั้นอย่าเข้าใจผิดว่าเป็นท่ออัดแรงดัน    ที่เห็นเอาเข็มขัดไปรัดไว้นั้นเป็นเพียง "ถังเก็บน้ำมัน"ซึ่งถังเก็บน้ำมันนี้จะอยู่ชั้นนอกสุดใช้ท่อเหล็กบาง  เพื่อปกปิดโครงสร้างและระบบการทำงานที่อยู่ภายในท่อ  ท่ออัดแรงดันจะอยู่ชั้นในสุด  ไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าและไม่สามารถถอดออกได้เนื่องจากต้องกระทำอย่างแน่นหนาที่สุด  และไม่รู้ว่าจะถอดออกมาทำอะไรเพราะภายในถังไม่มีอะไร  ถ้าต้องการล้างก็แค่น้ำน้ำมันดรายมาเทใส่ตรงช่องเติมและเขย่าๆเทออกก็เพียงพอ การรัดที่ท่อในภาพจึงไม่ได้ส่งผลถึงความแข็งแรงของระบบแต่ประการใด
 - สำหรับเหตุผลของการติดระบบกรองความชื้นไว้ที่ด้านบนของเครื่องนั้น   ลองนึกภาพตามนะครับ   ถ้าเป็นแบบที่ติดด้านข้าง  เมื่อเปิดวาล์ว A  อากาศจากแหล่งจ่ายจะใหลเข้าสู่ระบบโดยไม่ผ่านอุปกรณ์กรอง ซึ่งถ้าเป็นแหล่งจ่ายที่ไม่สะอาดพอโดยนำเอาความชื้นมาด้วย ความชื้นก็จะเข้ามาสัมผัสกับน้ำมัน  น้ำมันก็จะเสียสภาวะของการเป็นสารส่งกำลังและอาจทำให้ระบบของเครื่องเกิดสนิมภายในเมื่อเก็บไว้เป็นเวลานาน ทำให้เกิดความเสียหายกับเครื่องได้ครับ
- ถ้าติดไว้ด้านข้าง  ธรรมชาติของของเหลวต้องไหลลงที่ต่ำเสมอ  เมื่อมีของเหลวควบแน่นเกิดขึ้นในถังกรอง มันก็จะมุ่งหน้าตรงเข้าหลอดแก็สทันทีที่มีแรงดันครับ
- เหตุที่กำหนดปริมาตรของถังกรองที่ 100 cc นั้นก็เพราะว่า  ถ้าพิจารณาจากสมการที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วนั้นจะพบว่า ปริมาตรในส่วนที่ไม่สามารถนำน้ำมันเข้าไปแทนที่ได้ใจจังหวะการอัดนั้นจะส่งผลให้ปริมาตรของส่วนที่น้ำมันสามารถเข้าไปแทนที่ได้ต้องเพิ่มขึ้นจำนวนมากกว่า 3 เท่าของปริมาตร ซึ่งจะส่งผลให้ขนาดของเครื่องต้องใหญ่ขึ้นไปอีกประมาณ 3 เท่าของปริมาตรของถังกรองก็เลยต้องทำการควบคุมปริมาตรของถังกรองให้อยู่ในขนาดที่พอเหมาะ
- สำหรับความสามารถในการดูดซับความชื้นนั้น  ถ้ามองดูอัตราการไหลของระบบจะพบว่า  เราอัดด้วยกระบอกสูบที่มีปริมาตรของลูกสูบประมาณ 5 cc ดังนั้นทุกๆครั้งที่เรากด มวลของอากาศจะเคลื่อนที่ไปในถังกรองไม่เกิน 2 cm.ซึ่งอากาศจะมีเวลาในการสัมผัสกับสารเคมี เท่ากับช่วงเวลาที่ยาวนานมาก จึงไม่ต้องกังวลเรื่องของความสามารถครับ
     ซึ่งแตกต่างจากระบบที่เราเคยเห็นมา อัตราการไหล หรือโฟเลท  สูงมาก เวลาที่จะทำปฏิกริยากับสารเคมีน้อยมาเนื่องด้วยมวลของอากาศเคลื่อนที่ผ่านสารเคมีด้วยระยะเวลาสั้นๆ  เขาก็เลยออกแบบให้ถังกรองที่เราเห็นมีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาว เพื่อให้มวลของอากาศมีเวลาได้สัมผัสกับสารเคมีนานขึ้นครับ

                                                                                            ขอบคุณครับ ต้องไปเอาชิ้นส่วนที่สั่งทำไว้แล้วจะได้ทดลองกันเร็วๆ              ...............................ประมวล

โอ...ใช่ครับ ผมคิดผิดไป เพราะกระบอกที่เห็นด้านนอกนั้นคือเปลือกที่เอาไว้เก็บน้ำมัน ส่วนกระบอกอัดลมจะอยู่ภายในอีกชั้น 
ส่วนเหตุผลสารดูดความชื้นถ้าติดไว้ด้านบน จะสามารถรักษาคุณภาพของน้ำมันไฮโดรลิกให้ปลอดภัยจากความชื้นนั้น เหตุผลโอเคครับถือว่าผ่าน

ที่ผมคิดติดด้านข้างก็เพราะว่าเกรงว่าสารดูดความชื้นจะหลุดเข้าไปในน้ำมันไฮโดรลิก ซึ่งส่วนใหญ่ระบบไฮโดรลิกที่เสียมักมีสาเหตุมาจาก
น้ำมันไม่สะอาด  ลืมนึกไปว่าถ้ามีความชื้นเข้าไปในน้ำมัน ก็อาจทำให้ภายในเกิดสนิมและเป็นสิ่งสกปรกทำให้ระบบพังได้เหมือนกัน
อันที่จริงระบบนี้ก็ไม่มีอุปกรณ์ที่จะเสียดสีกันมากจุด น่าจะมีแค่ที่ตัวแย็กและจุด C เท่านั้น


สิ่งหนึ่งที่ผมยังไม่เคยมีประสบการณ์ ประสบการณ์ที่ว่าคือ ในความดันสูงขนาด 200 บาร์  อากาศจะสามารถผสมกับน้ำมันไฮโดรลิกได้หรือเปล่า

โดยทั่วไปแล้วระบบไฮโดรลิกจะเป็นระบบปิด น้ำมันจะหมุนเวียนใช้ในระบบ
น้ำมันจะดันอุปกรณ์ลูกสูบในกระบอกมีซีลทำหน้าที่กันแรงดันรั่ว  เรียกว่าไม่ได้มาโผล่ลืมตาเห็นภายนอกระบบเลย
ความสะอาดของน้ำมันไฮโดรลิกจึงยืนยาวหากไม่มีอะไรเล็ดรอดเข้าไปอยู่ในน้ำมัน อันที่จริงในระบบก็มีถังพักน้ำมันและกรองให้แล้วอีกขั้น
เพื่อป้องกันน้ำมันไฮโดรลิกสกปรก   


ด้วยเพราะระบบนี้ไม่มีลูกสูบคอยดันอากาศแต่ใช้ผิวน้ำมันลอยตัวอัดดันอากาศ  ในบรรยากาศปกติอากาศเบากว่าจึงลอยสูง
แยกตัวกับน้ำมันที่หนักกว่าอย่างชัดเจน   แต่ในสภาพแรงอัด 200 บาร์ มันไม่เหมือนเดิมแล้ว จึงสงสัยว่าอากาศจะเข้าไปแทรกในน้ำมันได้หรือเปล่า
ผมเพียงนึกถึงก๊าซชนิดหนึ่งที่ผ่านการอัดด้วยแรงดันสูง จนมันผสมแทรกอยู่ในน้ำได้และกลายเป็นน้ำอัดลมในที่สุด 

ก็ไม่แน่นะ ถ้าอากาศสามารถผสมตัวกับน้ำมันไฮโดรลิกได้ในแรงอัดสูง ก็อาจต้องมีอุปกรณ์ลูกสูบเพิ่มขึ้น
แต่ถ้าหากคุณ pramuan ทดสอบแล้วผ่าน ก็ถือว่าขอสงสัยนี้ยุติลง


ถ้าทุกอย่างลงตัว ผมขอประเดิมสั่งทำ 1 ชุดครับ




บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.13 วินาที กับ 22 คำสั่ง