ตอนนี้ใช้วาล์วลม 1000 WOG psi ซึ่งมีหน้าตัดตรงบอลวาล์ว เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 mmถ้าคิดเป็นพื้นที่หน้าตัดที่รับแรงดันก็ประมาณ 78 ตารางมิลลิเมตร ซึ่งแรงดันที่กระทำกับบอลของวาล์วที่แรงดัน 200 บาร์ก็ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อตารางมิลเมตร ซึ่งช่องทางเข้าของวาล์วได้เจาะรู้ขนาดเส้นผ่านศูนน์กลาง เท่ากับ 2 มิลลิเมตรคิดเป็นพื้นที่รับความดันเท่ากับประมาณ 3.5 ตารางมิลลิเมตร รูดังกล่าวเมื่อขันเกลียวจะสัมผัสกับบอลพอดี ซึ่งก็เท่ากับว่าบอลวาล์วจะได้รับแรงจากความดันที่เกิดจากการอัด ประมาณ 2 คูณด้วย 3.5 เท่ากับ 7 กิโลกรัม แรงดันที่ท่อสามารถสร้างให้กับบอลของวาล์วได้ 7 กกต่อ 3.5ตารางมิลเมตร ถ้าทำให้ปลายของท่อสัมผัสกับบอลของวาล์ว บอลก็จะได้รับแรงดันในขณะที่วาล์วกำลังปิด 7 กก
พ.ท. 78 ตารางมิลลิเมตรของวาล์วตามมาตรฐานแล้ว WP อยู่ที่ 1000 PSIซึ่งประมาณ 68 ก.ก.ต่อตารางเซนติเมตร เท่ากับ 0.68 ก.ก.ต่อตารางมิลลิเมตร
ถ้าเปิดหน้าบอลวาล์วที่ไม่รวม FOS 2-2.5 เท่าของWP หน้าบอลวาล์วที่เปิดรับแรงดันตามค่ามาตรฐานของวาล์ว ที่ 1000PSI เท่ากับ 78 คูณ0.68 เท่ากับ
53.68 ก.ก. คือบอลของวาล์วจะสามารถรับแรงที่เกิดจากความดัน 1000PSI รวม 53.68 กก
แต่ท่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง2ม.ม.ที่ปลายชนกับบอลของวาล์วสร้างแรงที่เกิดจากความดันได้แค่ 7 กก. แต่บอลของวาล์วที่WPรับแรงที่เกิดจากความดันได้ 53.68 กก ดังนั้น บอลของวาล์วและโครงสร้างของบอลวาล์วก็สามารถทนแรงที่เกิดจากความดันของท่อเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 มมที่200 บาร์ได้สบายสบาย
ไม่รู้คิดถูกหรือเปล่า เอามาคิดให้ปวดหัวเล่นๆ ใครรู้ช่วยปวดหัวด้วยกันครับ
ความแข็งแรงของอุปกรณ์เกิดจากการคำนวณส่วนหนึ่งที่ดูเผิน ๆ ว่าอุปกรณ์รับได้ แต่ที่สำคัญอีกส่วนคือวัสดุช่างที่จะนำมาทำ ว่ามีคุณสมบัติอย่างไร
มีวาวล์ทองเหลืองดูหน้าตาเหมือนกัน แต่คงเป็นคุณสมบัติส่วนผสมไม่เหมือนกัน เลยรับแรงดันได้ไม่เท่ากัน
คุณสมบัติของวัสดุที่จะนำมาทำเป็นอุปกรณ์ก็เรื่องสำคัญมาก
กิจกรรมแรงดันสูงพิเศษแบบนี้ทุกอย่างต้อง 100 เปอร์เซนต์ครับ ทั้งการคำนวณและคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์
ต้องไปด้วยกันครับ ดังนั้นเมือเราหยิบอุปกรณ์ตัวหนึ่งขึ้นมา เราไม่อาจบอกได้เลยว่ามันรับแรงดันได้เท่าไหร่
นอกจากต้องไปถามผู้ผลิต เพราะเขาจะมีตารางเผื่อค่าความปลอดภัยของอุปกรณ์ตัวนั้น
ออกผมฝากแนวคิดนี้ด้วยครับ
หากย้ายอุปกรณ์กรองความชื้นและไอน้ำมันจากบนมาติดด้านข้าง จะทำให้สามารถเพิ่มพื้นที่การกรองได้มากขึ้นกว่าแบบเดิม
จากภาพจะเห็นว่าแบบที่สอง จะมีเข็มขัดรัดกระบอกแรงดันไว้ด้วย ตรงนี้ก็เป็นข้อดีที่ได้โดยบังเอิญ เพราะในท่อแรงดันที่ยาวมาก
เมื่อมีแรงดันสูงกระเพื่อมมันจะโป่งตรงกลาง เขาจึงทำส่วนหนาเว้นไว้ตรงกลางหรือทำเว้นเป็นระยะถ้ายาวมาก เพื่อลดต้นทุนไม่ต้องทำท่อหนายาว ๆ
และได้ความแข็งแรงของตัวท่อเหมือนเดิม

สำหรับเรื่องวาล์ว จากห้วงที่ผ่านมาได้ได้แสวงหาข้อตกลงใจว่าจะใช้วาล์วชนิดใด กระผมตกลงใจใช้ วาล์วหัวถังของรถ NGV เนื่องจาก WP ที่ 200-240บาร์ TPที่ 600บาร์ ไม่ทราบว่ามีความคิดเห็นว่าประการใดครับ
สำหรับเรื่องของถังกรองความชื้น
- ถ้าดูจากภาพที่ 1และ2 จะอธิบายว่า ในภาพที่เราเห็นว่าเป็นแท่งทรงกระบอกที่มองเห็นภายนอกนั้นอย่าเข้าใจผิดว่าเป็นท่ออัดแรงดัน ที่เห็นเอาเข็มขัดไปรัดไว้นั้นเป็นเพียง "ถังเก็บน้ำมัน"ซึ่งถังเก็บน้ำมันนี้จะอยู่ชั้นนอกสุดใช้ท่อเหล็กบาง เพื่อปกปิดโครงสร้างและระบบการทำงานที่อยู่ภายในท่อ ท่ออัดแรงดันจะอยู่ชั้นในสุด ไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าและไม่สามารถถอดออกได้เนื่องจากต้องกระทำอย่างแน่นหนาที่สุด และไม่รู้ว่าจะถอดออกมาทำอะไรเพราะภายในถังไม่มีอะไร ถ้าต้องการล้างก็แค่น้ำน้ำมันดรายมาเทใส่ตรงช่องเติมและเขย่าๆเทออกก็เพียงพอ การรัดที่ท่อในภาพจึงไม่ได้ส่งผลถึงความแข็งแรงของระบบแต่ประการใด
- สำหรับเหตุผลของการติดระบบกรองความชื้นไว้ที่ด้านบนของเครื่องนั้น ลองนึกภาพตามนะครับ ถ้าเป็นแบบที่ติดด้านข้าง เมื่อเปิดวาล์ว A อากาศจากแหล่งจ่ายจะใหลเข้าสู่ระบบโดยไม่ผ่านอุปกรณ์กรอง ซึ่งถ้าเป็นแหล่งจ่ายที่ไม่สะอาดพอโดยนำเอาความชื้นมาด้วย ความชื้นก็จะเข้ามาสัมผัสกับน้ำมัน น้ำมันก็จะเสียสภาวะของการเป็นสารส่งกำลังและอาจทำให้ระบบของเครื่องเกิดสนิมภายในเมื่อเก็บไว้เป็นเวลานาน ทำให้เกิดความเสียหายกับเครื่องได้ครับ
- ถ้าติดไว้ด้านข้าง ธรรมชาติของของเหลวต้องไหลลงที่ต่ำเสมอ เมื่อมีของเหลวควบแน่นเกิดขึ้นในถังกรอง มันก็จะมุ่งหน้าตรงเข้าหลอดแก็สทันทีที่มีแรงดันครับ
- เหตุที่กำหนดปริมาตรของถังกรองที่ 100 cc นั้นก็เพราะว่า ถ้าพิจารณาจากสมการที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วนั้นจะพบว่า ปริมาตรในส่วนที่ไม่สามารถนำน้ำมันเข้าไปแทนที่ได้ใจจังหวะการอัดนั้นจะส่งผลให้ปริมาตรของส่วนที่น้ำมันสามารถเข้าไปแทนที่ได้ต้องเพิ่มขึ้นจำนวนมากกว่า 3 เท่าของปริมาตร ซึ่งจะส่งผลให้ขนาดของเครื่องต้องใหญ่ขึ้นไปอีกประมาณ 3 เท่าของปริมาตรของถังกรองก็เลยต้องทำการควบคุมปริมาตรของถังกรองให้อยู่ในขนาดที่พอเหมาะ
- สำหรับความสามารถในการดูดซับความชื้นนั้น ถ้ามองดูอัตราการไหลของระบบจะพบว่า เราอัดด้วยกระบอกสูบที่มีปริมาตรของลูกสูบประมาณ 5 cc ดังนั้นทุกๆครั้งที่เรากด มวลของอากาศจะเคลื่อนที่ไปในถังกรองไม่เกิน 2 cm.ซึ่งอากาศจะมีเวลาในการสัมผัสกับสารเคมี เท่ากับช่วงเวลาที่ยาวนานมาก จึงไม่ต้องกังวลเรื่องของความสามารถครับ
ซึ่งแตกต่างจากระบบที่เราเคยเห็นมา อัตราการไหล หรือโฟเลท สูงมาก เวลาที่จะทำปฏิกริยากับสารเคมีน้อยมาเนื่องด้วยมวลของอากาศเคลื่อนที่ผ่านสารเคมีด้วยระยะเวลาสั้นๆ เขาก็เลยออกแบบให้ถังกรองที่เราเห็นมีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาว เพื่อให้มวลของอากาศมีเวลาได้สัมผัสกับสารเคมีนานขึ้นครับ
ขอบคุณครับ ต้องไปเอาชิ้นส่วนที่สั่งทำไว้แล้วจะได้ทดลองกันเร็วๆ ...............................ประมวล
โอ...ใช่ครับ ผมคิดผิดไป เพราะกระบอกที่เห็นด้านนอกนั้นคือเปลือกที่เอาไว้เก็บน้ำมัน ส่วนกระบอกอัดลมจะอยู่ภายในอีกชั้น
ส่วนเหตุผลสารดูดความชื้นถ้าติดไว้ด้านบน จะสามารถรักษาคุณภาพของน้ำมันไฮโดรลิกให้ปลอดภัยจากความชื้นนั้น เหตุผลโอเคครับถือว่าผ่าน
ที่ผมคิดติดด้านข้างก็เพราะว่าเกรงว่าสารดูดความชื้นจะหลุดเข้าไปในน้ำมันไฮโดรลิก ซึ่งส่วนใหญ่ระบบไฮโดรลิกที่เสียมักมีสาเหตุมาจาก
น้ำมันไม่สะอาด ลืมนึกไปว่าถ้ามีความชื้นเข้าไปในน้ำมัน ก็อาจทำให้ภายในเกิดสนิมและเป็นสิ่งสกปรกทำให้ระบบพังได้เหมือนกัน
อันที่จริงระบบนี้ก็ไม่มีอุปกรณ์ที่จะเสียดสีกันมากจุด น่าจะมีแค่ที่ตัวแย็กและจุด C เท่านั้น
สิ่งหนึ่งที่ผมยังไม่เคยมีประสบการณ์ ประสบการณ์ที่ว่าคือ ในความดันสูงขนาด 200 บาร์ อากาศจะสามารถผสมกับน้ำมันไฮโดรลิกได้หรือเปล่า
โดยทั่วไปแล้วระบบไฮโดรลิกจะเป็นระบบปิด น้ำมันจะหมุนเวียนใช้ในระบบ
น้ำมันจะดันอุปกรณ์ลูกสูบในกระบอกมีซีลทำหน้าที่กันแรงดันรั่ว เรียกว่าไม่ได้มาโผล่ลืมตาเห็นภายนอกระบบเลย
ความสะอาดของน้ำมันไฮโดรลิกจึงยืนยาวหากไม่มีอะไรเล็ดรอดเข้าไปอยู่ในน้ำมัน อันที่จริงในระบบก็มีถังพักน้ำมันและกรองให้แล้วอีกขั้น
เพื่อป้องกันน้ำมันไฮโดรลิกสกปรก
ด้วยเพราะระบบนี้ไม่มีลูกสูบคอยดันอากาศแต่ใช้ผิวน้ำมันลอยตัวอัดดันอากาศ ในบรรยากาศปกติอากาศเบากว่าจึงลอยสูง
แยกตัวกับน้ำมันที่หนักกว่าอย่างชัดเจน แต่ในสภาพแรงอัด 200 บาร์ มันไม่เหมือนเดิมแล้ว จึงสงสัยว่าอากาศจะเข้าไปแทรกในน้ำมันได้หรือเปล่า
ผมเพียงนึกถึงก๊าซชนิดหนึ่งที่ผ่านการอัดด้วยแรงดันสูง จนมันผสมแทรกอยู่ในน้ำได้และกลายเป็นน้ำอัดลมในที่สุด
ก็ไม่แน่นะ ถ้าอากาศสามารถผสมตัวกับน้ำมันไฮโดรลิกได้ในแรงอัดสูง ก็อาจต้องมีอุปกรณ์ลูกสูบเพิ่มขึ้น
แต่ถ้าหากคุณ pramuan ทดสอบแล้วผ่าน ก็ถือว่าขอสงสัยนี้ยุติลง
ถ้าทุกอย่างลงตัว ผมขอประเดิมสั่งทำ 1 ชุดครับ