som36
ชาว อวป.
Full Member
  
คะแนน 29
ออฟไลน์
กระทู้: 404
|
 |
« ตอบ #15 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2011, 08:42:17 PM » |
|
1.ประเด็นความเป็นเจ้าบ้าน ไม่ใช่คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืนครับ สบายใจได้ 2.ประเด็นการย้ายทะเบียนบ้าน ขอแนะนำว่าควรย้าย ไปท้องที่ที่ตนปฏิบัติราชการประจำอยู่ แนะว่าย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านพักของส่วนราชการที่ตนสังกัด ถ้าไม่มีก็ขอย้ายเข้าทะเบียนบ้าน ของหัวหน้าส่วนราชการเรา ถ้าไม่มีอีกก็ไปจีบปลัดทะเบียน ขอย้ายเข้าบ้านพักของปกครอง กรณีถ้าบ้านเกิด กับที่ทำงาน อยู่คนละจังหวัด แนะนำให้ย้ายทะเบียนบ้าน นะครับ เคยเจอนายทะเบียน รุ่นเก๋า อ้างระเบียบทะเบียนราษฎร ที่กำหนดให้แจ้งย้ายออก ภายใน 15 วัน กรณีย้ายที่อยู่ (ถ้าจะอ้าง) 3.ให้เตรียมเหตุผล ความจำเป็น ในการมีอาวุธปืนกับนายอำเภอ ที่เราทำงานอยู่ หาคนที่สนิทกับนายช่วยพูดให้ น่าจะราบรื่น นะครับ ขอให้โชคดี เจอนายดี ไม่งี่เง่า ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
SA-KE
เมื่อเดินผิด ย่อมมิใช่มนุษย์
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 702
ออฟไลน์
กระทู้: 3612
เรารักในหลวง
|
 |
« ตอบ #16 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2011, 09:13:58 PM » |
|
ปัญหาของข้าราชการ กับ บุคคลธรรมดา คำว่า " ภูมิลำเนา" ถ้าจะต้องเอาตามกฎหมายจริงๆ ลองค้นดูน่ะครับว่า ความหมายที่แตกต่างกัน คือ ภูมิลำเนาของข้าราชการ มีกฎหมายรองรับอยู่หรือไม่ว่า? ต้องเป็นภูมิลำเนา " อันเป็นถิ่นที่ได้ทำตามหน้าที่นั่น " ลองค้นหาดูก่อน ครับ..ถ้านายอำเภอท่านเข้าใจถูก..ก็ว่ากันไปตามขั้นตอนครับ ..  แต่อย่างว่า ..บ้านเราบางทีหามาตรฐาน ไม่เจอเหมือนกัน ทั้งๆที่พณฯท่านทั้งหลายจบจากโรงเรียนนายอำเภอเดียวกัน..  ลองดูครับ อดทนอีกหน่อย เลือกทางเดินตัวเอง แต่ขอให้สมปราถนาในทางที่เลือกครับ.. 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
คนต่างกับสัตว์ที่ "ความคิด" , คนต่างกับมนุษย์ที่ "ศีลธรรม"
|
|
|
ตี๋ br
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 1484
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 10239
|
 |
« ตอบ #17 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2011, 09:34:34 PM » |
|
 น่าเห็นใจครับ แต่น่าจะมีทางออกนะ ข้าราชการด้วยกัน ผมประชาชนเต็มขั้นยังมีทางออกเลยครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
c.tong - รักในหลวง
Hero Member
   
คะแนน 205
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 2739
ป่าต้นน้ำ คือ ชีวิต
|
 |
« ตอบ #18 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2011, 10:43:46 PM » |
|
จริงๆ แล้วการออก ป.3 ใช้มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แค่มาตรานี้มาตราเดียวถ้าไม่ขัดต่อมาตรานี้นายทะเบียนก็ไม่มีเหตุผลที่จะไม่ออก ป.3 ให้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
c.tong - รักในหลวง
Hero Member
   
คะแนน 205
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 2739
ป่าต้นน้ำ คือ ชีวิต
|
 |
« ตอบ #19 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2011, 10:45:58 PM » |
|
อันนี้เอามาให้อ่านเล่นๆ เป็นรวบรวมของคุณ ธำรง ครับ
จากปัญหาเรื่องการใช้เวลานานและปัญหาการขอ ป.๓ ...... อ่านจากปัญหาของสมาชิกหลายๆท่าน
ผมขออนุญาตรวบรวมข้อมูลจากที่ได้มีผู้รู้ได้แสดงไว้และจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง แล้วหยิบประเด็นนี้มาเป็นหัวข้อสนทนาเพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น เป็นกลางๆโดยไม่ต้องเจาะจงไปถึงเจ้าหน้าที่ หรือนายทะเบียนฯท่านใดโดยปราศจากหลักฐาน
ขอเรียนเชิญให้ความรู้ความเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันนะครับ.......
ในความเข้าใจของผม
ในแต่ละจังหวัดจะมีระเบียบของจังหวัดในการพิจารณาอนุญาตฯซึ่งใช้ต้นร่างเดียวกันของกรมการปกครอง มาเป็นแนวทางให้นายทะเบียนฯแต่ละท้องที่ใช้ปฏิบัติ ส่วนกรุงเทพฯจะมีกรอบเวลาที่ต่างไปบ้างเล็กน้อย
บทบาทของเราๆในฐานะผู้ขออนุญาตฯ.....ก็คือยื่นคำร้องป.๑ให้ได้.... และควรมีหลักฐานการรับเอกสาร อาจจะเป็นใบรับ/ใบนัด หรือเลขที่รับหนังสือประจำวัน หรือทำสำเนาคำร้องป.๑ ให้เจ้าหน้าที่ที่รับเรื่องลงนาม/ลงวันที่ที่รับไว้ เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิง
ซึ่งหลังจากรับคำร้องป.๑ของเราแล้ว ถ้าว่าตามแนวทางระเบียบกรมการปกครอง นายทะเบียนมีหน้าที่ที่ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน ๑๕ วัน (กทม. ๔๕ วัน)
ในขั้นตอนการรับเรื่องนี้เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ต้องรับคำร้อง จะปฏิเสธหรืออ้างอย่างใดไม่ได้ ทราบมาว่าในบางพื้นที่ก็มีการไม่รับคำร้อง อ้างว่าให้คุยกับนายฯก่อน บางพื้นที่ถึงขั้นต้องแจ้งความว่าเจ้าหน้าที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ที่ไม่ยอมรับหรือทำลายคำร้อง ในความเป็นจริงถ้าผู้ขอฯได้เตรียมหลักฐานเอกสารที่มีสาระสำคัญมาครบถ้วนตามระเบียบแล้ว เจ้าหน้าที่ควรต้องรับเอกสารและคำร้องป.๑ไว้ ถ้าจะปฏิเสธก็ย่อมได้ แต่ก็ควรให้เขียนเป็นลายลักษณอักษรว่าปฏิเสธการรับคำร้องด้วยเหตุผลใด
อย่างไรก็ตามนายทะเบียนฯอาจมีหนังสือเรียกให้ผู้ขอฯแสดงหลักฐาน/เพิ่มเติมอีก หรืออาจให้ชี้แจงเพิ่มเติม ซึ่งผู้ขอฯก็ควรจัดหา/ชี้แจง เพราะการหาข้อเท็จจริงเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการทางปกครอง เพื่อให้นายทะเบียนฯมีข้อมูลครบถ้วน
เมื่อยื่นคำร้องแล้วก็รอผลการพิจารณา ถ้านายทะเบียนฯยังไม่พิจารณาสั่งอนุญาต(หรือไม่อนุญาต) ให้แล้วเสร็จตามเวลา ก็ควรต้องทำเป็นหนังสือสอบถามใน ๒ หัวข้อ คือ ๑/ การออกใบ ป.๓ ได้ดำเนินการไปถึงขั้นตอนใด ๒/ อำเภอได้ออกระเบียบว่าด้วยขั้นตอน และระยะเวลาปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานทะเบียนอาวุธปืนตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ ไว้หรือไม่ หากไม่ได้ออก เหตุใดจึงไม่ออก หากออกไว้แล้ว การออกใบ ป.๓ ตามข้อ ๑ เป็นไปตามระเบียบดังกล่าวหรือไม่
ถ้านายทะเบียนฯไม่ตอบ หรือตอบแบบไม่ควรตอบ หรือทำไม่รู้ไม่ชี้ ไม่มีทางเร่งรัดอย่างอื่น จะฟ้องศาลปกครองก็ได้ ว่านายทะเบียนฯปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า ขอให้ศาลสั่งให้นายทะเบียนฯพิจารณาให้แล้วเสร็จในเวลาตามที่ศาลกำหนด
การพิจารณาของนายทะเบียนฯนั้น บางท่านก็ตีความว่าตัวมีอำนาจการใช้ดุลยพินิจอย่างกว้างขวาง จะอนุญาตหรือไม่ก็ได้ แต่โดยหลักแล้ว การใช้ดุลพินิจทางปกครอง หมายถึงการพิจารณาว่าหลักฐานที่ยื่นประกอบการขออนุญาตถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ไม่ใช่ว่าผู้ขออนุญาตมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว นายทะเบียนฯจะมีอำนาจเหนือกฎหมาย โดยการใช้ดุลพินิจว่าจะอนุญาตหรือไม่ก็ได้ แบบที่ข้าราชการฝ่ายปกครองบางท่านเข้าใจผิดกันอยู่
ถ้านายทะเบียนฯอนุญาต ออกใบอนุญาตป.๓ แล้วเราก็นำใบป.๓ไปซื้อไปโอนรอป.๔ต่อไป ตอนนี้ถือว่าได้รับอนุญาตแล้ว แม้ป.๔นายทะเบียนฯจะยังออกไม่แล้วเสร็จ ซึ่งศาลฎีกาเคยมีคำวินิจฉัยไว้ ว่าการได้รับป.๓คือการได้รับอนุญาตให้มีและใช้แล้ว จึงไม่น่ากังวลเรื่องล่าช้าของขั้นตอนการออกป.๔เท่าใดนัก
แต่ถ้านายทะเบียนฯปฏิเสธการออกใบอนุญาตป.๓ ก็ต้องทำเป็นหนังสือแจ้งมา(ถ้าเกิดนายทะเบียนฯไม่อนุญาต แต่บอกด้วยปากเปล่า อันนี้เราต้องก็ทำหนังสือร้องขอให้นายทะเบียนฯออกคำสั่งมาเป็นหนังสือ) คำสั่งปฏิเสธการออกใบอนุญาตซึ่งถือเป็นคำสั่งทางปกครอง ซึ่งต้องมีเนื้อหาสมบูรณ์ให้ได้ทราบว่านายทะเบียนให้ดุลยพินิจอย่างไรที่ไม่อนุญาต ผู้ขอฯก็จะได้ดูว่าชอบด้วยข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และการใช้ดุลยพินิจหรือไม่ ถ้าเห็นว่าเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ขอฯก็สามารถใช้สิทธิตามมาตรา๖๓ ของพ.ร.บ.อาวุธปืนฯซึ่งกำหนดไว้ว่า มาตรา ๖๓ ถ้านายทะเบียนท้องที่ปฏิเสธการออกใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้ยื่นคำขอใบอนุญาตอาจอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการปฏิเสธเป็นหนังสือ คำอุทธรณ์ให้ยื่นต่อนายทะเบียนท้องที่ และให้นายทะเบียนเสนอคำอุทธรณ์นั้นต่อรัฐมนตรีโดยมิชักช้า คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้แจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้ยื่นคำขอใบอนุญาต เมื่อผู้ขอฯยื่นคำอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผ่านนายทะเบียนฯแล้ว นายทะเบียนฯอาจฟังคำโต้แย้งแล้วเปลี่ยนใจมาอนุญาตก็ได้ ซึ่งก็น่าจะอยู่ในกรอบเวลาให้คิดอยู่สัก๑เดือน ไม่งั้นก็ต้องส่งเรื่องให้รัฐมนตรีฯวินิจฉัยอุทธรณ์ ถึงตรงนี้อีกภายใน๑เดือนก็ควรรู้ผลว่ารัฐมนตรีฯวินิจฉัยอย่างไร
ถ้ายื่นอุทธรณ์แล้วโดนดองเรื่องก็ควรทำหนังสือสอบถามไปที่นายทะเบียนฯอีก ถ้านายทะเบียนฯไม่ตอบ หรือตอบแบบไม่ควรตอบ ตรงนี้ก็อีกทีที่ฟ้องศาลปกครองก็ได้ ว่านายทะเบียนฯปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า (แถมอาจได้พ่วงว่ารัฐมนตรีฯปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าไปด้วย) ขอให้ศาลสั่งให้พิจารณาให้แล้วเสร็จในเวลาตามที่ศาลกำหนด
มาถึงการพิจารณาคำอุทธรณ์ ถ้ารัฐมนตรีฯวินิจฉัยเห็นตามนายทะเบียนว่าไม่อนุญาต ก็ควรต้องมีรายละเอียดแสดงเหตุผลการวินิจฉัยอุทธรณ์ที่แจ้งชัด เพื่อเราจะได้พิจารณาเช่นกันว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าเห็นว่าข้อใดส่วนใดไม่ถูกต้องก็จะได้จับประเด็นฟ้องต่อศาลปกครองต่อไป แต่ถ้ารัฐมนตรีฯสั่งยกอุทธรณ์ ไม่อนุญาต โดยไม่แสดงเหตุผล ก็ไม่ต้องห่วง อันนี้ยิ่งดีเพราะเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ถูกต้องเสียแต่ต้นแล้ว ยิ่งชี้ต่อศาลได้ง่าย
ต้องขอทำความเข้าใจว่า การฟ้องศาลปกครอง เป็นการฟ้องว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐมีคำสั่งทางปกครองที่ไม่ถูกต้อง ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งนั้น และขอให้ศาลมีคำบังคับ กรณีนี้จึงเป็นการขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งของรัฐมนตรีฯและนายทะเบียน และขอให้ศาลออกคำบังคับให้นายทะเบียนฯปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย (หมายเหตุ :- ขอแก้ไข....ศาลปกครองมีอำนาจสั่งให้นายทะเบียนฯทำตามกฎหมาย...มักจะไม่สั่งเป็นการเจาะจง)
ไม่ได้เป็นการฟ้องร้องกล่าวโทษข้าราชการ/เจ้าพนักงานของรัฐ
ข้าราชการที่มีวิสัยทัศน์ จะเข้าใจว่าการฟ้องศาลปกครองจะทำให้เกิดบรรทัดฐาน เพราะกรอบของระเบียบราชการบางส่วนบังคับให้ข้าราชการต้องกระทำการในสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับกฏหมาย แต่ก็มีข้าราชการอีกบางส่วนที่ไม่กล้ารับกับการถูกฟ้องหรือการแพ้คดีปกครอง มองว่าเป็นความเสื่อมเสียต่อตนเองหรือภาพพจน์ของหน่วยงาน เพราะแนวคิดว่าตนเป็นผู้ปกครอง จึงมีการตีรวน/เบี่ยงประเด็นอยู่บ้าง เพื่อไม่ให้คดีไปสู่ศาล
คนจะฟ้องศาลปกครอง ต้องมุ่งมั่นและตั้งใจแล้ว ว่าจะต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมให้กับตนเองและสังคม เพราะกรอบเวลาในศาลปกครองอาจต้องใช้เวลากว่าหนึ่งปี เพื่อให้ผู้ฟ้องและผู้ถูกฟ้องได้แสดงหลักฐานเหตุผล และศาลก็ต้องแสวงหาข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน ให้เกิดความเป็นธรรม
ขอออกตัวว่าไม่ได้มาเชียร์ให้เป็นปฏิปักษ์กับนายทะเบียนฯ เพียงแต่อยากสนับสนุนการเรียกร้องสิทธิโดยชอบในการมีและใช้อาวุธปืน และให้ถูกต้องเที่ยงธรรมตามที่กฎหมายได้วางกรอบคุณสมบัติบุคคลไว้แล้วในมาตรา๑๓ของพ.ร.บ.อาวุธปืนฯ
ด้วยความมุ่งหวัง เพื่อส่งเสริมสิทธิให้คนดีมีอาวุธ และ ไม่ให้อาวุธปืนนั้นตกไปยังบุคคลบางจำพวก
..ที่ไม่สมควรจะให้มีอาวุธปืนนั้นได้
ถึงตรงนี้ ใครมีปัญหามีความคับข้องใจ แล้วถามแกมบ่นกันเข้ามา ก็คงต้องเลือกวิธีการ เพราะแต่ละบุคคลก็่มีสถานะหรือภูมิหลังแตกต่างกัน.. ความคิดแตกต่างกัน...ก็ย่อมมีวิธีการที่แตกต่างกัน
ดังนั้นใครจะไปกราบกรานอ้อนวอน....ไปใช้เงินจ้างร้าน....ไปหาคนมีอำนาจมาช่วย ....หรือจะย้ายบ้านหนี
... หรือจะถอดใจโทษตัวเองว่าเกิดมาวาสนาน้อย
. ก็แล้วแต่ใจกันครับ
ขออภัย...เข้ามาแก้ไข...ไปสอบค้นระเบียบมา....ขั้นตอนของส่วนภูมิภาค ... เขียนว่า "นายทะเบียนท้องที่รับคำขอและพิจารณาหากอนุญาตออกใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน (แบบ ป.๓) หากไม่อนุญาตแจ้งผู้ขอทราบ ๑๕ วัน"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
malakor
Newbie
คะแนน 2
ออฟไลน์
กระทู้: 13
|
 |
« ตอบ #20 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2011, 09:48:15 AM » |
|
ขอขอบคุณ คำตอบที่19 และคำตอบของทุกๆคนมากครับ ผมขอเพิ่มเติมอีกเรื่องหนึ่งครับ เมื่อต้นปี 2551 ผมเคยได้ใบป.3มาครั้งหนึ่งแล้ว ขนาด.38(ไม่จ่ายใต้โต๊ะ)ยื่นคำขอใช้เวลา1เดือน ไม่เคยทวงถามสักครั้ง นายทะเบียนที่เดียวกันแต่นายอำเภอคนละคนปลัดคนเดิม ยอมรับว่าตอนนั้นผมประทับใจมาก... ตอนนั้นผมยังไม่ได้เป็นข้าราชการ ทำงานอยู่ต่างจังหวัด ไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน ทะเบียนบ้านเดิม...แต่ไม่ได้ซื้อปืนเพราะเจอจังหวะต้องใช้เงินไปรักษาพ่อที่ป่วยก่อน...ใบป.3เลยหมดอายุ...ทุกวันนี้ผมปฏิบัติราชการต่อประชาชนผมจะต้องปรับปรุงอีกเยอะ เพราะถ้าเขามาเจอการปฏิบัติราชการเหมือนอย่างที่ผมเจอ เขาคงจะมีความรู้สึกเหมือนอย่างผมที่เคยเจอมา....
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
malakor
Newbie
คะแนน 2
ออฟไลน์
กระทู้: 13
|
 |
« ตอบ #21 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2011, 10:02:57 AM » |
|
เพิ่มเติมน่ะครับ ในข้อที่2 ที่นายทะเบียนปฏิเสธ เขากลัวว่าผมจะกระทำผิดกฎหมายนำปืนไปใช้อีกที่หนึ่ง ซึ่งการกระทำแบบนี้เป็นการผิดกฎหมายผมรู้ดีอยู่แล้ว...แล้วผมจะกระทำทำไม่...ถ้าจะใช้งานกันจริงผมก็ขอเเจ้งย้ายให้ถูกต้อง ซึ่งเป็นหน้าที่ของผมที่จะปฏิบัติให้ถูกกฎหมายอยู่เเล้ว...กลัวว่าจะกระทำผิดเลยไม่ไห้...ผมอายุ34ปีครับ ประวัติไม่เสียเพราะก่อนจะบรรจุก็สอบประวัติพิมลายนิ้วมือที่ท้องที่บ้านเกิดเมื่อปีที่เเล้ว...ตอนนี้ขอ 9มม.ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
renold
บุคคลทั่วไป
|
 |
« ตอบ #22 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2011, 10:15:28 AM » |
|
พูดกันจริงๆนะครับ...ถ้าผมย้ายมาอยู่ทะเบียนบ้านที่ทำงาน เเล้วผมจะเป็นเจ้าบ้านของใครล่ะครับ เพิ่งบรรจุบ้านก็ไม่มี...และอีกอย่างหนึ่งคือผมกลับบ้านเกิดไปเยี่ยมแม่ทุกอาทิตย์แม่ผมอยู่คนเดียว...ผมไม่อยากย้ายที่อยู่ เขาน่าเห็นใจผมบ้างนะครับ...หรือผมอาจจะเป็นผู้เคราะห์ร้ายคนหนึ่ง...ผมไม่อยากร้องเรียน...ไม่อยากฟ้องศาล...แต่คิดว่าต่อไปคงหลีกเลี่ยงไม่ได้...ผมทำงานราชการยังกลัวการร้องเรียนเลยครับ...เพราะทุกวันนี้ยังมีช่องทางร้องเรียนเยอะมาก...เขาไม่กลัวกันบ้างหรืออย่างไรไม่รู้...ได้พูดบ้างค่อยสบายใจครับ...
ตอนที่ผมย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่ที่อำเภอที่ ที่ทำงาน  ผมไม่ได้ขอเลขที่ทะเบียนบ้านใหม่นะครับ แต่เอาชื่อไปฝากไว้กับคนรู้จักกันที่มีภูมิลำเนาในเขตเท่านั้น ก็ไม่มีปัญหา อีกข้อคือ ไปขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านของที่ทำงาน จะได้สมุดทะเบียนบ้านใหม่(กรณีไม่เคยมีใครขอมาก่อน) โดยเอาเลขที่ทะเบียนบ้านของที่ทำงานเป็นบ้านเลขที่ของตัวเอง และมีเราเป็นเจ้าบ้านด้วยครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
c.tong - รักในหลวง
Hero Member
   
คะแนน 205
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 2739
ป่าต้นน้ำ คือ ชีวิต
|
 |
« ตอบ #23 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2011, 06:57:16 PM » |
|
เพิ่มเติมน่ะครับ ในข้อที่2 ที่นายทะเบียนปฏิเสธ เขากลัวว่าผมจะกระทำผิดกฎหมายนำปืนไปใช้อีกที่หนึ่ง ซึ่งการกระทำแบบนี้เป็นการผิดกฎหมายผมรู้ดีอยู่แล้ว...แล้วผมจะกระทำทำไม่...ถ้าจะใช้งานกันจริงผมก็ขอเเจ้งย้ายให้ถูกต้อง ซึ่งเป็นหน้าที่ของผมที่จะปฏิบัติให้ถูกกฎหมายอยู่เเล้ว...กลัวว่าจะกระทำผิดเลยไม่ไห้...ผมอายุ34ปีครับ ประวัติไม่เสียเพราะก่อนจะบรรจุก็สอบประวัติพิมลายนิ้วมือที่ท้องที่บ้านเกิดเมื่อปีที่เเล้ว...ตอนนี้ขอ 9มม.ครับ
ไม่เกี่ยวนะครับ ทะเบียนบ้านอยู่ที่ไหน ปืนก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ที่นั้นนะครับ นอกจากย้ายบ้านไปอยู่ที่ใหม่แบบถาวร อย่างนี้ต้องแจ้งการย้ายอาวุธปืนไปด้วยครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
chaiwat_colt.45
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 95
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 1170
|
 |
« ตอบ #24 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2011, 10:19:56 PM » |
|
ผมว่าไม่น่าจะเกี่ยวกับการเป็นเจ้าบ้านนะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
11 มม.
|
|
|
JUNGLE
ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว
Hero Member
   
คะแนน 1203
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 17188
การต่อสู้คือชัยชนะ
|
 |
« ตอบ #25 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 01:32:06 AM » |
|
นายอำเภออยากลองของ
ใช่ครับ... นายอำเภอปฏิเสธ ป.๓ ปืนสวัสดิการ... ก็เหมือนกับขัด...........
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
saengsakul-รักในหลวง
Full Member
 
คะแนน 111
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 360
|
 |
« ตอบ #26 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 04:12:36 AM » |
|
ผมรับราชการอยู่ต่างจังหวัด พึ่งบรรจุ ทะเบียนบ้านอยู่บ้านเกิด (อีกจังหวัดหนึ่ง) ซื้อปืนสวัสดิการ สน.สก.เป็นปืนกระบอกเเรกและกระบอกเดียวในชีวิต ไปยื่นขอ ป.3 ที่อำเภอบ้านเกิด(ไม่จ่ายใต้โต๊ะ)ใช้เวลา 2 อาทิตย์ ผลออกมาว่าไม่ได้ มีเหตุผล2ข้อ (1) ไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน (2) นายอำเภอกลัวว่าจะเอาปืนไปใช้ในจังหวัดที่ทำงาน แล้วผมจะทำยังไงดีครับ...
ข้อ ๒ ไม่น่าจะเอามาเป็นข้ออ้าง ในเมื่อเจ้าของกระทู้ทำงานอยู่จังหวัดใดปืนก็ต้องอยู่ข้างกายใว้ป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน ไม่ว่าบ้านที่อยู่อาศัยจะเป็นบ้าน เช่าหรือบ้านของทางราชการ....ขอเอาใจช่วยเจ้าของกระทู้ สู้ต่อไปตามวิถีทาง ตามครรลองที่ถูกต้อง + ๑ เป็นกำลังใจให้ครับ เมื่อมีปัญหาเข้ามาปรึกษาขอคำแนะนำ พี่ๆ ในเวป.อวป.ที่มีความรู้มีประสพการณ์ จะให้ความเมตตาให้คำแนะนำเป็นแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องต่อไปครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Builderman-รักในหลวง
บางอย่างเอากลับคืนมาได้ แต่บางอย่างเอากลับคืนมาไม่ได้
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 142
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 1161
แมวจะสีขาวหรือสีดำไม่สำคัญ ตราบใดที่มันยังจับหนู
|
 |
« ตอบ #27 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 09:16:56 AM » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
แผ่นดินนี้ ได้มีวีรชนคนรุ่นก่อน ได้ปกป้องรักษาไว้ให้คนรุ่นหลังดังเช่นพวกเราในวันนี้ แล้วเราคนในรุ่นนี้ ที่กำลังจะเป็นคนรุ่นก่อนต่อไป จะทำสิ่งใดไว้ให้คนรุ่นหลัง ตักตวง เห็นแก่ตัว คิดเห็นเพียงผลประโยชน์ของตนเป็นที่ตั้งอย่างนั้นหรือ คำว่า " ไท " เราไม่เคยเป็นทาส ไม่เคยขาดซึ้งความสามัคคี
|
|
|
Builderman-รักในหลวง
บางอย่างเอากลับคืนมาได้ แต่บางอย่างเอากลับคืนมาไม่ได้
ชาว อวป.
Hero Member
  
คะแนน 142
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 1161
แมวจะสีขาวหรือสีดำไม่สำคัญ ตราบใดที่มันยังจับหนู
|
 |
« ตอบ #28 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 09:19:28 AM » |
|
ลองพูดคุยกับท่านนายทะเบียนดูอีกครั้งครับ หากต้องการมี อวป. จริง ๆ กระบอกแรกด้วย ไม่น่าที่จะไม่อนุญาตนะครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
แผ่นดินนี้ ได้มีวีรชนคนรุ่นก่อน ได้ปกป้องรักษาไว้ให้คนรุ่นหลังดังเช่นพวกเราในวันนี้ แล้วเราคนในรุ่นนี้ ที่กำลังจะเป็นคนรุ่นก่อนต่อไป จะทำสิ่งใดไว้ให้คนรุ่นหลัง ตักตวง เห็นแก่ตัว คิดเห็นเพียงผลประโยชน์ของตนเป็นที่ตั้งอย่างนั้นหรือ คำว่า " ไท " เราไม่เคยเป็นทาส ไม่เคยขาดซึ้งความสามัคคี
|
|
|
nitrogen
บุคคลทั่วไป
|
 |
« ตอบ #29 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2011, 09:29:15 AM » |
|
ผมรับราชการอยู่ต่างจังหวัด พึ่งบรรจุ ทะเบียนบ้านอยู่บ้านเกิด (อีกจังหวัดหนึ่ง) ซื้อปืนสวัสดิการ สน.สก.เป็นปืนกระบอกเเรกและกระบอกเดียวในชีวิต ไปยื่นขอ ป.3 ที่อำเภอบ้านเกิด(ไม่จ่ายใต้โต๊ะ)ใช้เวลา 2 อาทิตย์ ผลออกมาว่าไม่ได้ มีเหตุผล2ข้อ (1) ไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน (2) นายอำเภอกลัวว่าจะเอาปืนไปใช้ในจังหวัดที่ทำงาน แล้วผมจะทำยังไงดีครับ...
ผมก็บรรจุใหม่อยู่จังหวัดอื่นที่ไม่ใช่บ้านเกิดครับ ขอกระบอกแรก ปืนลูกซอง 5 นัด ซื้อร้าน ผ่านไปด้วยดี กระบอกที่สอง ปืนสั้น โครงการ สน.สก. ขนาด .45 ก็ผ่านฉลุย สิ้นเดือนนี้จะไปยื่น ขอลูกกรด TOZ ของ สนอส. สักหน่อย จะได้ครบทั้งซื้อร้านและโครงการ อิอิ ปล. ที่สำคัญไม่ได้ใต้โต๊ะแก่นายทะเบียนเลยครับ  ท่านลองเข้าไปคุยกับนายทะเบียนดูอีกทีครับ ขอให้โชคดีนะครับ 
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 11, 2011, 09:30:59 AM โดย nitrogen รักในหลวง »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|