เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤษภาคม 21, 2025, 04:36:17 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: * * * รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม * * *  (อ่าน 1463 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6924


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2011, 11:12:56 AM »

ที่มา นสพ. ข่าวสด

เปรียญธรรม


การสอบพระปริยัติธรรม ถือเป็นการวัดความรู้ชั้นสูงของคณะสงฆ์ไทย สืบทอดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตราบจนถึงปัจจุบัน

การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี มี 8 ระดับ คือ

ชั้นที่ 1 เรียกว่า ประโยค 1-2

ชั้นที่ 2 เรียกว่า เปรียญธรรม 3 ประโยค ผู้สอบชั้นนี้จะได้รับการเทียบเท่าวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) ถ้าเป็นพระภิกษุจะมีคำนำหน้าชื่อ ว่า พระมหา ถ้าเป็นสามเณรจะมีคำว่า เปรียญ ต่อท้ายนามสกุล ใช้คำนำหน้าเช่นนี้จนถึงประโยค ป.ธ.9

ชั้นที่ 3 เรียกว่า เปรียญธรรม 4 ประโยค

ชั้นที่ 4 เรียกว่า เปรียญธรรม 5 ประโยค ผู้ที่สอบได้ชั้นนี้หากได้รับแต่งตั้งให้เป็นครูสอน 1 ปี และสอนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 300 ชั่วโมง สามารถนำมาขอใบเทียบวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้

ชั้นที่ 5 เรียกว่า เปรียญธรรม 6 ประโยค ผู้สอบได้ชั้นนี้มีวุฒิเทียบเท่าการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยไม่ต้องมีใบเทียบวุฒิ

ชั้นที่ 6 เรียกว่า เปรียญธรรม 7 ประโยค

ชั้นที่ 7 เรียกว่า เปรียญธรรม 8 ประโยค

ชั้นที่ 8 เรียกว่า เปรียญธรรม 9 ประโยค

ทั้งนี้ การศึกษาระดับประโยค 1-2 และเปรียญธรรม 3 ประโยค เรียกว่า เปรียญตรี คือ ผู้ที่จะมีสิทธิสอบประโยค 1-2 ขึ้นไปจะต้องสอบได้นักธรรมชั้นตรีก่อน

ระดับเปรียญธรรม 4-6 ประโยค เรียกว่า เปรียญโท คือ ผู้ที่จะมีสิทธิสอบเปรียญธรรม 4 ประโยคขึ้นไปจะต้องสอบได้นักธรรมชั้นโทก่อน

ระดับเปรียญธรรม 7-9 ประโยค เรียกว่า เปรียญเอก คือ ผู้ที่จะมีสิทธิสอบเปรียญธรรม 7 ประโยคขึ้นไปจะต้องสอบได้นักธรรมชั้นเอกก่อน

สำหรับเปรียญธรรม 9 ประโยค หรือป.ธ.9 เป็นระดับชั้นสูงสุดของการศึกษาแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย

พระภิกษุหรือสามเณรที่มีสิทธิ์สอบไล่ในชั้นป.ธ.9 ต้องสอบไล่ได้ป.ธ.8 และต้องสอบไล่ได้นักธรรมเอกก่อน จึงจะมีสิทธิ์สอบไล่ในชั้นนี้ได้

ส่วนการสอบไล่ป.ธ.9 ในปัจจุบัน จัดสอบ ณ วัดสามพระยา กรุงเทพฯ ในช่วงเดือนมกราคมจนถึงเดือนมีนาคมของทุกปี โดยการกำกับของมหาเถรสมาคมและสำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง

พระภิกษุ-สามเณรผู้สอบได้ป.ธ.9 เมื่อเข้ารับพระราชทานประกาศนียบัตร พัดเปรียญ ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตน ศาสดาราม จะได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดเจ้าพนักงานขับรถหลวงส่งถึงพระอาราม

ส่วนสามเณรผู้สอบไล่ได้ในชั้นป.ธ.9 โดยมีอายุไม่เกิน 20 ปี จะได้รับพระมหากรุณาธิคุณทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับการบรรพชา อุปสมบทในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง โดยได้รับพระราชทานเครื่องอัฐบริขาร

***********************************************************************************************************************************

  ไหว้  ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่าน  สวัสดีครับ . . . pasta   หลงรัก
บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
JUNGLE
ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว
Hero Member
*****

คะแนน 1203
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 17188


การต่อสู้คือชัยชนะ


« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2011, 11:28:50 AM »

ไหว้

บันทึกการเข้า
-M-O-N-G-
<ลูกพ่อขุนผาเมือง>
Sr. Member
****

คะแนน 131
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 817



« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2011, 01:08:09 PM »

ขอบคุณครับ ไหว้ ... ขออนุญาตเพิ่มเติมอีกนิดครับ การศึกษาพระธรรมเริ่มจากการสอบพระนวกะ เป็นปีเเรก ต่อมาก็สอบเป็น นักธรรมชั้นตรี,ชั้นโท,ชั้นเอก  เเล้วค่อยสอบพระเปรียญธรรม ...ผมเคยบวชเรียนสมัยเป็นเณรน้อยเมื่อจบ ป.6 จนสอบได้ นักธรรมชั้นตรี ..สอบยากมากต้องใช้ความจำล้วนๆ หนังสือมีกี่เล่มก็ต้องท่องจำให้ได้ทุกหน้าทุกบท ผมต้องสอบนักธรรมชั้นตรีถึง 2 ปี กว่าจะสอบได้...ตอนนั้นอยู่ วัดสุวรรณณาราม บางกอกน้อย..ต้องมาสอบที่วัดระฆังโฆสิตาราม.....
บันทึกการเข้า

pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6924


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« ตอบ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2011, 01:22:17 PM »

ไหว้



 ไหว้ >  581 <  หลงรัก
ขอบคุณครับ ไหว้ ... ขออนุญาตเพิ่มเติมอีกนิดครับ การศึกษาพระธรรมเริ่มจากการสอบพระนวกะ เป็นปีเเรก ต่อมาก็สอบเป็น นักธรรมชั้นตรี,ชั้นโท,ชั้นเอก  เเล้วค่อยสอบพระเปรียญธรรม ...ผมเคยบวชเรียนสมัยเป็นเณรน้อยเมื่อจบ ป.6 จนสอบได้ นักธรรมชั้นตรี ..สอบยากมากต้องใช้ความจำล้วนๆ หนังสือมีกี่เล่มก็ต้องท่องจำให้ได้ทุกหน้าทุกบท ผมต้องสอบนักธรรมชั้นตรีถึง 2 ปี กว่าจะสอบได้...ตอนนั้นอยู่ วัดสุวรรณณาราม บางกอกน้อย..ต้องมาสอบที่วัดระฆังโฆสิตาราม.....

 ไหว้ > 117 <  หลงรัก
บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
RMAY
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2011, 09:37:09 PM »

ผม อาบังนักธรรมตรี คร้าบ Grin
บันทึกการเข้า
supreme
Hero Member
*****

คะแนน 127
ออฟไลน์

กระทู้: 1187



« ตอบ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2011, 11:00:07 PM »

 ไหว้

เคยมีพระอาจารย์เล่าให้ฟังว่า  เปรียญแรกๆจะยาก เพราะต้องเรียนภาษาบาลีให้ได้  เฉพาะกฎของไวยากรณ์ก็มีหลายร้อยข้อที่ต้องท่องจำ  เข้าใจความหมาย (แปลได้) และใช้ให้เป็น(วิเคราะห์)  อาจต้องใช้เวลาหลายปีมากกว่าจะสอบถึงเปรียญ ๓ พอพ้นจากเปรียญ ๓ ไปแล้วจะสบายขึ้น ปีเดียวอาจสอบได้เปรียญ ๔ กับ ๕ แล้วก็จะเริ่มยากขึ้นอีกครั้ง ถ้าจำไม่ผิดก็ประมาณเปรียญ ๖ ขึ้นไป ส่วนเปรียญ ๙ นั้นยากที่สุดของที่สุด  ส่วนใหญ่พระป่าจะเรียนกันให้ได้เปรียญแรกๆ  เพื่อความเข้าใจในภาษาบาลี เวลาศึกษาอะไรก็จะสะดวก และเข้าใจได้ลึกซึ้ง ไม่ว่าจะความหมายปกติ หรือสภาวะต่างๆ นอกจากนี้ก็สามารถสื่อสารกับพระด้วยกันเองโดยไม่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ
บันทึกการเข้า

การศึกษาโดยไม่คิด ไร้ประโยชน์    การคิดโดยไม่ศึกษา เป็นอันตราย
มะเอ็ม
Hero Member
*****

คะแนน 348
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4749


"ปักษ์ใต้บ้านเรามันเหงาจังไม่มีคนนั่งแลหนังโนราห์"


« ตอบ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2011, 08:44:15 AM »

ขอบคุณน้องอรรถ ครับเคยงงอยู่เหมือนกันเรื่องลำดับนักธรรมของพระ เยี่ยม เยี่ยม
บันทึกการเข้า
pasta
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 8119
ออฟไลน์

กระทู้: 6924


ล้นเกล้าเผ่าไทย


« ตอบ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2011, 10:03:02 AM »

ผม อาบังนักธรรมตรี คร้าบ Grin

เยี่ยม > 727 <  หลงรัก
ไหว้

เคยมีพระอาจารย์เล่าให้ฟังว่า  เปรียญแรกๆจะยาก เพราะต้องเรียนภาษาบาลีให้ได้  เฉพาะกฎของไวยากรณ์ก็มีหลายร้อยข้อที่ต้องท่องจำ  เข้าใจความหมาย (แปลได้) และใช้ให้เป็น(วิเคราะห์)  อาจต้องใช้เวลาหลายปีมากกว่าจะสอบถึงเปรียญ ๓ พอพ้นจากเปรียญ ๓ ไปแล้วจะสบายขึ้น ปีเดียวอาจสอบได้เปรียญ ๔ กับ ๕ แล้วก็จะเริ่มยากขึ้นอีกครั้ง ถ้าจำไม่ผิดก็ประมาณเปรียญ ๖ ขึ้นไป ส่วนเปรียญ ๙ นั้นยากที่สุดของที่สุด  ส่วนใหญ่พระป่าจะเรียนกันให้ได้เปรียญแรกๆ  เพื่อความเข้าใจในภาษาบาลี เวลาศึกษาอะไรก็จะสะดวก และเข้าใจได้ลึกซึ้ง ไม่ว่าจะความหมายปกติ หรือสภาวะต่างๆ นอกจากนี้ก็สามารถสื่อสารกับพระด้วยกันเองโดยไม่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ

 ไหว้ > 51 < เยี่ยม
ขอบคุณน้องอรรถ ครับเคยงงอยู่เหมือนกันเรื่องลำดับนักธรรมของพระ เยี่ยม เยี่ยม

  ไหว้  > 260 < หลงรัก
บันทึกการเข้า

พาสตา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B2

โชคดีเป็นของคนกล้า วาสนาเป็นของคนจริง จงชนะความร้าย ด้วยความดี
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 20 คำสั่ง