ขอแบ่งปันประสบการณ์ครับ
ผมเคยไปเป็นพยานในศาล คดีปืนต้องห้ามตามพรบ.อาวุธปืน คดีนี้เป็นปืนรุ่นหนึ่งที่นำเข้ามาแบบกึ่งอัตโนมัติ ได้รับการยืนยันจากต่างประเทศว่า ปืนกระบอกนี้ยิงแบบเซมิออโตเท่านั้น กล่าวคือเหนี่ยวไกทีละ 1 นัด (ตรวจสอบจาก Serial Number ได้) ซึ่งปืนในปัจจุบันถูกดัดแปลงให้สามารถยิงเป็นชุดได้ (Full Automatic)
อาวุธปืนดังกล่าวมีทะเบียนปืนถูกต้อง แต่เนื่องจากสภาพปืนปัจจุบันจึงทำให้เจ้าของอาวุธปืนโดยดำเนินคดีข้อหาครอบครองอาวุธปืนที่ไม่สามารถครอบครองได้ จากปืนถูกต้องตามกฏหมายกลายเป็นปืนผิดกฏหมายไป และอาวุธปืนต้องถูกยึดไปด้วย
ผู้ครอบครองปืนคนปัจจุบันซื้อต่อจากบุคคล ไม่ได้ซื้อจากร้านค้าโดยตรงครับ
กับคำถามที่ว่า "เจ้าหน้าที่ทราบได้อย่างไรว่าปืนดังกล่าวสามารถยิงเป็นชุดได้"
คำตอบ "ปืนดังกล่าวถูกนำไปตรวจสอบและยิงทดสอบ และผู้ยิงทดสอบเจอผลการยิงเป็นชุุดเลยเป็นเรื่อง"
ในส่วนของปืนที่มีทะเบียน แต่ถ้าปืนดังกล่าวมีคุณสมบัติที่ไม่สามารถครอบครองได้ ถึงจะมีใบป.4 ก็ช่วยอะไรไม่ได้ และ ใบอนุญาตย่อมถูกเพิกถอน รวมทั้งเจ้าของอาวุธปืนจะต้องถูกดำเนินคดีอีกต่างหาก ทะเบียนปืนก็เพิกถอนได้เช่นกัน
ประเทศไทยถือจะจำกัดเรื่องอาวุธปืน แต่ทุกวันนี้เราก็ยังสามารถมีอาวุธปืนไว้เล่นบ้าง ป้องกันตัวบ้าง สะสมบ้าง จึงอยากให้ทุกท่านคิดดีๆ ก่อนที่จะทำอะไรที่ไม่ดีจนเจ้าหน้าที่เขาต้องออกกฏหมายห้ามและจำกัดเรื่องอาวุธปืนมากกว่านี้
เหมือนคนเอายาเสพติดไปใส่ในขวดยาถูกกฏหมาย ยาเสพติดก็ไม่ได้แปลงเป็นยาถูกกฏหมายแต่อย่างใด เพียงแค่ตบตาผู้อื่น แต่เมื่อถูกตรวจสอบ ย่อมไม่สามารถหนีความผิดไปได้ ส่วนใดเป็นผู้นำยาเสพติดไปใส่ในขวดยาย่อมต้องรับกรรมกับผลที่กระทำ ถ้าผู้ครอบครองขวดยาถูกหลอกจากผู้นำยาเสพติดไปใส่ไว้ แล้วบอกว่า "มันถูกกฏหมาย" ผู้หลอกเขาก็ย่อมต้องรับกรรมด้วย
คิดเอาเองใช่ไหมว่ามี ป.4 ก็ช่วยอะไรไม่ได้
ขอบอกว่าคิดผิดแล้วครับ
กฎกระทรวงฉบับที่ห้ามออกใบอนุญาตทุกประเภท (กฎ 11) นั้นเขาห้ามเฉพาะปืนบรรจุเองที่ลำกล้องยาว 160 มม.ขึ้นไป
ส่วนกฎกระทรวงที่ห้ามปืนกล (กฎ 3) นั้น เขาห้ามเฉพาะเรื่องนี้
"ข้อ ๒ ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตสำหรับ
ให้ทำหรือ
สั่งหรือนำเข้าซึ่งอาวุธปืน หรือเครื่องกระสุนปืน สำหรับอาวุธปืนดังต่อไปนี้เพื่อการค้าหรือ เพื่อใช้ส่วนตัว คือ
(๑) ปืนกลทุกชนิด และทุกขนาด"
แต่ไม่ได้ห้ามเรื่อง ป.4
จะวิจารณ์ข้อกฎหมาย ต้องอ่านให้ละเอียดครับ
ครับเรื่องนี้ถ้าดูตามกฎหมาย + กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตสำหรับ
ให้ทำหรือ
สั่งหรือนำเข้าโดย
ไม่ได้ห้ามออกใบ ป.๔ ด้วยแต่อย่างใด แต่เคยมีคดีที่พอจะเทียบเคียงกันได้ซึ่งคดีดังกล่าวเป็นเรื่องซองกระสุนเกิน ๑๐ นัด
( ปัจจุบันแก้ไขเป็น ๒๐ นัด แล้ว ) ซึ่งศาลฎีกาเคยตัดสินไว้ทำนองว่าเมื่อห้ามทำ สั่ง หรือนำเข้า ก็ห้ามไม่ให้ครอบครองด้วย
และถือว่าซองกระสุนปืนดังกล่าวเป็นแบบที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้แม้ซองกระสุนปืนดังกล่าวจะใช้กับอาวุธปืนของ
ตนเองที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมายได้กฎตาม ซึ่งผมไม่ค่อยจะเห็นด้วยสักเท่าไหร่เพราะกฎหมายอาญาต้องตีความ
โดยเคร่งครัด ซึ่งเรื่องนี้ผมก็เห็นด้วยกับผู้การครับว่าถ้าจะทำให้ถูกต้องจะต้องให้รัฐมนตรีลงนามสองกระทรวง แบบกฎกระทรวง
ฉบับที่ ๑๑ ไม่ใช่ให้ มท.๑ ลงนามคนเดียวแบบกฎกระทรวงฉบับที่ ๓ ซึ่งเรื่องนี้เป็นปัญหาในทางปฏิบัติโดยเฉพาะกรณีจับได้
เฉพาะกระสุนปืน ๕.๕๖ มม. ว่าเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้หรือไม่ เพราะถ้าดูกฎกระทรวงฉบับที่
๑๑ จะไม่ห้าม แต่กฎกระทรวงฉบับที่ ๓ ห้ามตาม ข้อ ๒ ( ๑ ) แต่กฎกระทรวงฉบับที่ ๓ ก็ไม่ใช่กฎกระทรวงที่บัญญัติถึงอาวุธ
ปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้โดยตรง -_-"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๖๓๖ / ๒๕๕๑ ซองกระสุนปืนเป็นอาวุธปืนตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน
วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.๒๔๙๐ มาตรา ๔ (๑) ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ.๒๔๙๑) ออกตาม
ความใน พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.๒๔๙๐ ข้อ ๑ แม้ซองกระสุนปืนของ
กลางสามารถใช้ร่วมกับอาวุธปืนของกลางที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ก็ตาม หากเป็นซองกระสุนที่สามารถบรรจุกระสุนได้
เกินกว่า ๑๐ นัด แล้วก็เป็นซองกระสุนปืนชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ.๒๔๙๑)
ออกตามความใน พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.๒๔๙๐ ข้อ ๒ (๑๒) จำเลย
จึงมีความผิดฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง
และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.๒๔๙๐ มาตรา ๕๕ , ๗๘ วรรคหนึ่ง และซองกระสุนปืนของกลางเป็นทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่า
ผู้ใดมีไว้เป็นความผิด จึงให้ริบตาม ป.อ. มาตรา ๓๒