การศึกษาไทย...ทำไม? ต้อง กวดวิชา ทำไมเด็กไทยต้องไปเรียนกวดวิชา เพราะโรงเรียนสอนไม่ดี หรือค่านิยม....พาไป หลากหลายคำถามที่ต้องเจอะแล้วต้องสงสัยว่าทำไม...ต้อง ไปหาที่เรียนเสริม เพราะอะไร?...เพราะผู้สอนไม่มีเทคนิคการจูงใจ หรือบรรยากาศในชั้นเรียนไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ อะไรคือสาเหตุที่ต้องเรียนเพิ่ม!! มีท่านผู้รู้เคยให้ความเห็นว่า การเรียนในโรงเรียนเป็นเหมือนอาหารหลัก ซึ่งให้ความรู้พื้นฐานแก่เด็กเพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ขณะที่การกวดวิชาเป็นเหมือนการให้วิตามินเสริมกับนักเรียน เพราะเป็นความรวบรัดและเข้มข้น ถ้าเด็กมีพื้นฐานความรู้ไม่ดีถึงจะกวดวิชาก็ไม่ส่งผลดีต่อตัวเด็ก และต้องยอมรับว่าการกวดวิชามีผลต่อสุขภาพจิตของเด็ก
การกวดวิชาจะจำกัดกรอบความคิดของเด็กในขณะที่ควรคิดได้มากกว่านั้น ทำให้ไม่มีเวลาทบทวนหนังสือ และจะทำให้เหนื่อยมาก ดังนั้น การเรียนที่ดีจึงควรจะมีเวลาทบทวนสิ่งที่เรียนไปแล้ว ไม่ควรทุ่มเวลาให้กับการกวดวิชามากนัก แม้การกวดวิชาอาจให้แนวคิดใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาได้บ้าง แต่ก็ไม่สำคัญเท่าไร เพราะปัญหาหนึ่งสามารถแก้ไขได้หลายวิธี การเรียนในห้องและทบทวนบทเรียนอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นหลักใหญ่ที่เด็กนักเรียน ต้องตระหนักให้มั่น และที่สำคัญต้องจัดเวลาให้เป็นและจัดเวลาให้ได้
การแก้ไขปัญหาการกวดวิชาควรเป็นวาระสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการอีกเรื่อง หนึ่ง เพราะเมื่อวิเคราะห์เหตุผลของการกวดวิชาแล้ว ได้พบคำตอบที่สะท้อนให้เห็นถึงจุดอ่อนของระบบการศึกษาไทย ซึ่งเน้นการแข่งขันและการเอาชนะสูง
รวมถึงปัญหาการเรียนการสอนของโรงเรียนในปัจจุบัน ที่ยังไม่ได้มาตรฐานที่ควรเป็น ตลอดจนการเหลื่อมล้ำมาตรฐานของแต่ละโรงเรียน
เมื่อพิจารณาในส่วนของประโยชน์ของการกวดวิชาสะท้อนให้เห็นถึงระบบการศึกษา ไทยที่เน้นเรื่องการสอบเป็นสำคัญ โดยพบว่านักเรียนที่เรียนกวดวิชาอยู่ในปัจจุบันจะมีความคาดหวังว่า การกวดวิชาจะช่วยให้ได้เทคนิคในการทำข้อสอบมากขึ้น ช่วยให้เข้าใจในวิชาที่เรียนมากขึ้น ช่วยเพิ่มโอกาสการสอบเข้าศึกษาต่อได้ และได้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์
โดยภาพรวมแล้ว การที่ผู้ปกครองนิยมส่งบุตรหลานไปกวดวิชานั้น ได้ตอกย้ำและยืนยันปัญหาการศึกษาของไทยที่มีมาเป็นเวลายาวนาน คือ มีความเหลื่อมล้ำ แตกต่างและมีความไม่เท่าเทียมกัน สะท้อนปัญหาสำคัญของการศึกษาไทย คือ เน้นการเรียนการสอนที่ตัดสินด้วยระบบการสอบสูง มีการแข่งขันมาก และการเรียนการสอนในโรงเรียนยังมีปัญหา โดยเฉพาะในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ระบบดังกล่าวนำไปสู่ค่านิยมของการเลือกสถาบันมีชื่อเสียง
ทางแก้จึงกลับมาอยู่ที่พื้นฐานหลัก คือการส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาการสอนอย่างแท้จริงและมีคุณภาพสูงพร้อมทั้งมี ความสนุกและน่าสนใจ ในขณะเดียวกันรัฐก็จะต้องทำให้ความไม่เท่าเทียมกันทางการศึกษานั้นลดน้อยลง โดยภาพรวมจึงต้องดู 2 แนวทางหลัก คือในส่วนของการกวดวิชา รัฐจะต้องร่วมมือกับเด็ก ผู้ปกครอง และโรงเรียนกวดวิชา ต้องกำหนดเกณฑ์คุณภาพของโรงเรียนกวดวิชา ส่งเสริมเป็นโครงการระยะสั้น เตรียมความพร้อมให้เด็กที่ขาดโอกาสเรียนเสริม และในส่วนของระบบการศึกษาโดยรวมจะต้องปรับระบบการสอบคัดเลือกเข้า มหาวิทยาลัยหรือเข้าศึกษาต่อในระดับ ชั้นต่างๆ ใหม่ รวมถึงการกระจายคุณภาพและโอกาสทางการศึกษาให้กว้างขวางใกล้เคียงกัน
นับวันโรงเรียนกวดวิชายิ่งขยายไปทุกระดับการศึกษา มีทั้งโรงเรียนกวดวิชาในระดับอนุบาลเพื่อให้ลูกหลานได้เข้าโรงเรียนประถมดีๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นกระจกที่สะท้อนปัญหาการศึกษาออกมาอย่างชัดเจน แต่ผู้รับผิดชอบยังแก้ปัญหาไม่ได้ อนาคตคงต้องเปิดโรงเรียนกวดวิชาให้กระทรวงเสมามานั่งเรียน จะได้ช่วยกันพัฒนาวิธีการส่งเสริมโรงเรียน ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความมั่นใจของนักเรียนและผู้ปกครอง ให้มีความเชื่อถือในระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
************************************************************************************************************************************************ ก๊อปปี๊มาจากเวปอื่น >>> สวัสดีครับ... pasta <<< ลูกสาวผมอยู่ ม.5
สระบุรี วันจันทร์ เรียนกฏหมาย 17.00 - 18.00 น. ( เริ่มตั้งแต่ ม. 4 )
สระบุรี วันเสาร์ เรียนคณิตศาสตร์ 11.00 - 13.00 น. ( เริ่มตั้งแต่ ป.5 )
งามวงค์วาน วันอาทิตย์ เรียนคณิตศาสตร์ 09.00 - 14.00 น. ( เริ่มตั้งแต่ ม.3 )
เหตุผล
- อ่อนคณิตศาสตร์
- เสริมกฏหมายตอนนี้ลูกสาวอยู่ ม.6
สระบุรี วันอังคาร,วันศุกร์ 17.00 - 19.00 น. เรียนคณิตศาสตร์ กับครูที่สอนของโรงเรียนที่เรียนอยู่
สระบุรี วันเสาร์ 10.30 - 12.30 น. เรียนภาษาอังกฤษ กับครูที่สอนของโรงเรียนที่เรียนอยู่
กทม. พญาไท วันอาทิตย์ 10.00 - 14.00 น. เรียนภาษาอังกฤษ กับชาวต่างชาติเหตุผล - อ่อนคณิตศาสตร์
- ภาษาอังกฤษพื้นฐานดีอยู่แล้ว แต่ลูกสาวต้องการเรียนก้าวขึ้นไปข้างหน้า
- รักสัตว์รักสัตย์รักดนตรี
-