เราได้ซื้อโครงการบ้านจัดสรรโครงการหนึ่งและทางโครงการได้เรียกเก็บค่าบริการสาธารณะล่วงหน้า
และในสัญญาระบุว่า
โครงการจะเป็นผู้ดำเนินการให้มีบริการสาธารณะ โดยจะเรียกเก็บค่าบริการจากเรา ในวันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
เราต้องจ่ายค่าบริการสาธารณะล่วงหน้า 5 ปี โดยต้องให้โครงการเป็นผู้เก็บรักษา
และใช้เงินดังกล่าว เวลาครบกำหนด 5 ปี คือปลายปี 2557
และตามสัญญา การจ่ายค่าส่วนกลางล่วงหน้ากับโครงการ
เมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว การจัดเก็บ จะให้จัดเก็บโดย
1.โครงการจะเป็นผู้จัดเก็บเอง
2.เมื่อมีการจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรร โดยจัดเก็บตามอัตราตามที่นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นกำหนด
และถ้ามีเงินค่าส่วนกลางเหลือ ทางโครงการจะโอนให้แก่นิติบุคคลบ้านจัดสรรที่ตั้งขึ้น
ทั้งนี้แล้วแต่เหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นก่อน หากมีการเปลี่ยนแปลงค่าบริการจากที่ตกลงไว้
ทางโครงการหรือนิติบุคคลจะแจ้งให้ทราบ
แล้วตอนท้ายของสัญญา ระบุว่า ข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆมีผลบังคับใช้ระหว่างคู่สัญญาโดยสมบูรณ์ตลอดไป
ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ
เราได้เข้าอยู่ ปลายปี 52
และ เริ่มจัดตั้งนิติบุคคลบ้านจัดสรรกลางปี 53
นิติบุคคลหมู่บ้านมีมติให้จัดเก็บค่าส่วนกลางตั้งแต่ปี 54
ที่สำคัญคือทางโครงการได้โอนค่าส่วนกลางที่โครงการเก็บล่วงหน้าจากเราไปให้นิติบุคคลแล้วหลังจากที่ตั้งขึ้น
เราไม่จ่ายค่าส่วนกลางที่ทางนิติบุคคลหมู่บ้านเรียกเก็บได้รึเปล่าครับ
โดยเราบอกว่าเราได้จ่ายล่วงหน้าไปแล้วยังไม่ถึงกำหนด
และทางโครงการได้โอนเงินที่เราจ่ายนั้นให้กับนิติบุคคลหมู่บ้านที่ได้ตั้งขึ้น
หรือ เราต้องจ่ายตามที่นิติบุคคลหมู่บ้านเรียกเก็บ
แล้วเราเรียกเงินที่เราจ่ายล่วงหน้าไปแล้วคืน
จากนิติบุคคลหมู่บ้านที่ได้รับโอนจากโครงการครับ
ตาม พ.ร.บ. จัดสรรที่ดิน ทางโครงการมีหน้าที่ดูแล บำรุงรักษาสาธารณูปโภค
แล้วทางโครงสามารถผลักภาระมาให้เราเป็นผู้จ่ายเงิน โดยบอกว่าเป็นค่าบริการได้รึเปล่าครับ
เราจะมีข้อต่อสู้อย่างไรบ้างครับ
Ha Ha Ha ฮา "ฮั่นแน่" เรื่องพรบ.จัดสรร อ่ะ ฮา
ยายเคยอ่าน แล้วลืมไปหลายเรื่อง อ่ะ ฮา
กรณีซื้อแล้วเข้าอยู่ ในปี 52
(ซื้อเมื่อไหร่ ค่าส่วนกลางเขาเริ่มคิด ตั้งแต่ตอนซื้อ เขาคิดสองอัตรา คือ ยังไม่เข้าอยู่ กับ ยกครอบครัวเข้ามาอาศัย)
กรณีนี้ ยายคิดว่า เข้าอยู่ทันที จ่ายค่าส่วนกลางล่วงหน้า 5 ปี
หลักๆทุกแห่ง เขาก็ใช้วิธีนี้ อ่ะ ฮา
ปี 53 โครงการ มอบเงิน รวมถึง โอนให้นิติบุคคลที่ตั้งขึ้น บริหาร ก็แปลว่าขายหมดแล้ว
เงินที่โอนให้ นิติบุคคล มันเหลือเท่าไหร่ เพียงพอต่อการ บริหารต่อ หรือไม่
ถ้าไม่พอ ก็ต้องมาเริ่มต้นเก็บใหม่ อ่ะ ฮา
เพราะถ้าไม่ชำระ ก็คงจะไม่มีเงินจ่ายค่า ไฟ ตามทางเดิน หรือค่ายาม ค่าคนสวน อ่ะ ฮา
ทีนี้ก็ตกเป็นภาระ ของคนที่อาศัย อยู่ในนั้น อ่ะ ฮา
เรื่องสาธารณูปโภค เมื่อปิดโครงการแล้ว จะตกเป็นของส่วนรวม
ที่เป็นความกันอยู่ มีเรื่อง โครงการยังขายไม่หมด แล้วรีบตั้งนิติบุคคลขึ้นมาบริหาร
แน่นอน เจ้าของโครงการเขาถือ กรรมสิทธิในที่ดิน หรืออาคาร มากกว่าคนซื้อ
เวลาเขา "โหวต" เสียงเลือกตั้ง กรรมการ พวกเขา "ชนะ" ได้สิทธิบริหาร อ่ะฮา
ทีนี้ จะ"ปู้ยี่ ปู้ยำ" เงิน ที่ถืออยู่ อย่างไรก็ได้ อ่ะ
พอขายโครงการหมด ก็บอกว่า "เงินหมด" แล้วอ่ะ ฮา
พวกเอ็งเอาไปบริหารกันเองเถอะ ฮา
ทีนี้ตอบ คำถามสุดท้าย อ่ะ ฮา
ท่านจะจ่าย หรือไม่จ่าย อ่ะ ฮา