เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤษภาคม 17, 2025, 12:01:46 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 35 36 37 [38] 39 40 41 ... 71
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ขอความเห็นเรื่องแรงบิด แรงม้า ของสองรุ่นนี้หน่อยครับ  (อ่าน 197221 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #555 เมื่อ: มกราคม 01, 2013, 08:55:19 PM »

ผมจำหน้าตากราฟแรงบิดของตัวdieselได้ครับ อย่างที่นายสมชายว่าครับ บิดสูงสุดมีมาแคบๆ แล้วมันจะเหี่ยวไปเรื่อยๆ จนเหลือประมาณ 300 ครับ ที่ผมจำได้ เพราะตอนนั้น ผมเลือกระหว่างดีเซลกับเบนซินครับ จะเห็นได้ว่า แม้แรงบิดจะเหี่ยวอย่างไร มันก็ประมาณ บิดสูงสุดของตัวเบนซิน อยู่ดี แต่กลับวิ่้ง0-100เท่ากัน แล้วจะบอกว่า แรงบิดคือความเร่งกันอยู่ได้

เรื่องขับยาก ไม่มีปัญาหาอย่างที่นายสมชายว่าเลยครับ เพราะ ECU มันค่อนข้างฉลาดมากครับ มันจับอาการ อ่านใจเราได้หมดว่า ณ ตอนนั้นเราต้องการทำอะไร จะด้อยกว่าตรงfeeling  ความเร้าใจของเสียง ตอนเร่งนั้นแหละ ประกอบกับ ณ ตอนนั้น รถดีเซล มี defectเยอะ เลยจำใจเล่น เบนซินครับ

รอบมันตันเร็วครับ... รอบสูงสุดมันจะอยู่ที่แรงม้าสูงสุดนั่นแหละ แล้วเร่งจากรอบ 1600 รอบแผล็บเดียวมันก็ไต่ขึ้นไปที่ 4000 กว่ารอบแล้วก็รอบตันอยู่ตรงนั้นครับ... ต่อให้ ECU ฉลาดแค่ไหนก็ต้องเปลี่ยนเกียร์ไล่เรโชกันให้ครบทุกเกียร์ แล้วก็อัตราเร่งสะดุดเวลาไป 2 เรื่อง คือเรื่องสะดุดจากเปลี่ยนเกียร์แล้วไต่รอบใหม่ กับเรื่องสะดุดที่เหยียบคันเร่งแล้วไม่เร่งในทันที่ที่เหยียบ ซึ่งเป็นปัญหาธรรมชาติของเครื่องดีเซลเรื่อง Trottle Response สู้เครื่องเบ็นซินไม่ได้...

เครื่องดีเซลมีปัญหากับ Trottle Response ไปแค่สองสามครั้งในระหว่างจับเวลา ก็ทำให้ 0 - 100 เสียเปรียบไปแล้วเป็นวินาทีแล้วครับ... ในขณะที่เครื่องเบ็นซินเร่ง 0 - 100 นั่นรับรองว่าไม่ทันได้ใช้เกียร์สูงสุดเสียด้วยซ้ำ เป็นเพราะแบนด์วิธแรงบิดสูงสุดมันกว้างกว่า เร่งแล้วรอบมันไม่ตัน หากอัตราเร่งมันยึง"ดึง"ไหลขึ้นได้เรื่อย ECU ก็ยังไม่สั่งเปลี่ยนเกียร์ อัตราเร่งก็ไม่สะดุด 0 - 100 ก็เลยดูดีจนขึ้นมาไล่เรียกับเครื่องดีเซลที่แรงบิดมหาศาลกว่าครับ...

เครื่องดีเซลแรงบิดย่านแคบ+รอบเครื่องตันเร็ว แบบนี้ไม่เหมาะกับเอามาขับวัดอัตราเร่งแบบ"วืดดดด ม้วนเดียวจบ"แบบ 0 - 100 ครับ, แต่จะเหมาะกับขับในเมืองมุดซ้ายมุดขวาใช้แรงบิดในรอบต่ำย่านที่ได้เปรียบ เช่นวิ่งตามๆกันมาแล้วมีช่องปุ๊บก็มุดปั๊บโยกเลนแล้วเร่งเกาะท้ายคันหน้า(เว้นระยะห่างให้ปลอดภัยด้วย)ครับ... แต่เครื่องเบ็นซินหากมุดที่ความเร็วสูงก็จะได้เปรียบ เพราะยิ่งย่านความเร็วต่ำสุดกับสูงสุดห่างกันเท่าไหร่ รอบเครื่องจะยืดหยุ่นได้ดีกว่า ไม่ต้องเปลี่ยนเกียร์บ่อย...

แต่จะว่าไปแล้วสูตรที่เหมาะสมและลงตัวที่สุดจะเป็น แรงบิดแค่ที่ 200 นิวตั้นก็พอ ให้มาตั้งแต่ 2000 รตน.แล้วกราฟแฟลตให้ย่านแรงบิดกว้างหน่อย, น้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1200 กก., ตัวรถยาวประมาณ 4.5 เมตร กว้างประมาณ 1.8 เมตร, รอบเครื่องตันประมาณ 6000 รตน. ... ที่ว่ามานี่คือสูตรในอุดมคติครับ รถขับสนุก(ที่ไม่ใช่ซูปเปอร์คาร์) ทุกค่ายจะออกมาลงตัวแถวนี้หมด แรงกว่านี้ก็ไม่ค่อยได้ใช้ แรงน้อยกว่านี้ก็ขับไม่สนุก...

คันล่าสุดที่"ตั้งใจ"ให้ขับสนุกโดยเฉพาะเลยตั้งแต่อยู่บนโต๊ะเขียนแบบก็คือ Toyota 86 กับคู่แฝดซูบารุไงครับ... ตามที่ว่าเป๊ะเลย แถมยังขับหลัง บาลานซ์ นน. หน้า/หลัง ได้ 50/50 อีกต่างหาก...
บันทึกการเข้า
TakeFive
Sr. Member
****

คะแนน 171
ออฟไลน์

กระทู้: 794


« ตอบ #556 เมื่อ: มกราคม 01, 2013, 09:23:07 PM »

- เราคุยกันด้วยเรื่องของแรงม้าสูงสุด กับ แรงบิดสูงสุด  แต่ถ้าหัวหมอว่าทุกอย่างต้องเท่ากันเป๊ะ กราฟต้องขึ้นเท่ากัน พื้นที่ใต้กราฟต้องเท่ากัน
แบบนี้ไม่ต้องคุยไม่ต้องเทียบครับ เพราะมันจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมันคือ "เครื่องยนต์ตัวเดียวกัน" ไม่รู้จะเอามาเทียบให้ได้ประโชน์อะไรขึ้นมา

ถ้าจะคุยกันแบบเป็นวิทยาศาสตร์ ไม่ควรเอาแค่ บิด/ม้า สูงสุดมาคุยครับ เวลาทีมแข่งรถ ท่ีเป็น professional หน่อย ก็ต้องเอากราฟมาวิเคราห์กันทั้งนั้นครับ เอาจุดpeakมาคุยกัน มันบอกอะไรไม่ได้ครับ



 - เพราะฉะนั้นมันชัดเจนว่าถ้า รถคันเดิม  อัตราทดรวมเท่าเดิม  น้ำหนักรถเท่าเดิม  แรงบิดมากขึ้นหมายความว่า อัตราเร่งย่อมเพิ่มขึ้นตามแรงบิด

เริ่มยาวหลายประเด็นมากเกินล่ะ ผมถามคำเดียว แรงบิดเพิ่มขึ้น แรงม้าไม่เพิ่มหรือครับ?



บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #557 เมื่อ: มกราคม 01, 2013, 09:51:12 PM »

เริ่มยาวหลายประเด็นมากเกินล่ะ ผมถามคำเดียว แรงบิดเพิ่มขึ้น แรงม้าไม่เพิ่มหรือครับ?

มีครับ...

ประสบการณ์ตรงของนายสมชายเองเลยระหว่างเครื่องโตโยต้าทวินแคมรุ่นเก่า 2T-G ที่เคยวางในโตโยต้า KE-70 รุ่นประมาณปี 1983 สมัยนายสมชายเรียนมหาลัย, สเปคคือ 115 แรงม้า 6,400 rpm และแรงบิด 105 นิวตั้น 5,200 rpm ... เทียบกับเครื่อง 3ZZ-FE รุ่นที่วางในอัลติสโฉมที่เพิ่งตกรุ่นกัน โดยทั้งคู่ 1.6 เหมือนกัน, สเปค 3ZZ-FE คือ 109 แรงม้า ที่ 6000 rpm. แรงบิด 150 นิวตั้นที่ 3800 rpm. ...

จะเห็นว่าเครื่องรุ่นเก่าแรงม้ามากกว่า แต่แรงบิดต่ำกว่า/มาที่รอบสูงกว่า ซึ่งนายสมชายขับหลายปีทั้งคู่ คุ้นมือคุ้นอัตราเริ่งขณะที่ใช้งานอยู่ทั้งคู่... แต่บอกได้เลยว่าอัลติสแรงบิดมากกว่า 50 นิวตั้นนี่ทำให้อัลติสขับง่ายกว่าอัตราเร่งดีกว่าแบบคนละเรื่องเลยครับ...
บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #558 เมื่อ: มกราคม 01, 2013, 11:25:22 PM »

เริ่มยาวหลายประเด็นมากเกินล่ะ ผมถามคำเดียว แรงบิดเพิ่มขึ้น แรงม้าไม่เพิ่มหรือครับ?

ตอบ. มันมีแน่นอนวิธีการเพิ่มแรงบิดลงที่ล้อ โดยที่ไม่ต้องทำอะไรกับเครื่องยนต์เพิ่มเติม แรงม้าเท่าเดิม แต่แรงบิดเพิ่มขึ้น


งั้นคำถามเดียว รถคันเดิม เครื่องยนต์ตัวเดิม ถ้าแรงบิดเพิ่มขึ้นโดยที่แรงม้าเท่าเดิม "อัตราเร่ง" จะเพิ่มขึ้นหรือไม่?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 01, 2013, 11:27:27 PM โดย อรชุน-รักในหลวง » บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #559 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 08:42:58 AM »

แรงม้าเกิดจากคำนวณเอาแรงบิดคูณกับรอบเครื่องแล้วแปลงหน่วยด้วยค่าคงที่... ดังนั้นหากจะให้แรงบิดมากกว่าเดิมโดยผลลัพธ์แรงม้าเท่าเดิม ณ.ที่รอบเครื่องขณะใดขณะหนึ่ง, ก็แปลว่ารอบเครื่องจะต้องลดลงเพื่อให้ผลลัพธ์คือแรงม้าเท่าเดิม...

แต่ถ้าเราคุยเรื่องแรงบิดในขณะที่ให้รอบเครื่องอยู่ที่เดิมนั่นผิดเรื่องครับ เพราะแรงบิดหมายถึงพลังงานสำหรับเปลี่ยนรอบเครื่องจากรอบเครื่องขณะนั้นให้เป็นรอบที่สูงขึ้น ดังนั้นถ้า Fix รอบเครื่องเพื่อเปรียบเทียบแรงม้ากับแรงบิดในแง่มุมต่างๆ นั่นคือหลงประเด็นครับ... เพราะคือแรงบิดคืออัตราเร่งเพื่อไต่รอบขึ้น ส่วนแรงม้าในภาษาไทยนั้นมาจากภาษาอังกฤษว่า Brake Horse Power แปลทำนองว่าแรงสำหรับ"หยุด"เครื่องที่กำลังทำงานครับ...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #560 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 08:53:50 AM »

เครื่องรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ต่างมีพัฒนาการไปในทางเพิ่มแรงบิดตั้งแต่ที่รอบต่ำ แล้วให้มีย่านแรงบิดสูงลากรอบไปได้ไกลที่สุดโดยยังคงแรงบิดสูงเอาไว้ได้ให้ไกลเท่าที่ยังจำเป็นต้องใช้แรงบิดนั้นอยู่... ส่วนแรงม้านั้นไม่ค่อยเป็นประเด็นครับ เพราะแรงม้าสูงสุดมาจากรอบเครื่องสูงสุดซึ่งถ้าไม่ใช่รถใช้ในภารกิจพิเศษ(เช่นรถแข่งในสนามฯ) ก็ไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์จากตัวเลขที่ว่า...

ปัญหาเรื่องแรงบิดมีย่านแคบ หรือเรื่องประสิทธิภาพของเครื่องยนต์(Peak efficiency) สูงสุดอยู่ในย่านที่แคบ จึงเป็นจุดกำเนิดของเกียร์แบบ CVT โดยจะแปลงแรงบิดเป็นอัตราเร่งโดยคงรอบเครื่องเอาไว้ ณ. จุดที่ดีที่สุดซึ่งแล้วแต่วัตถุประสงค์ในการออกแบบ แต่โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นเรื่องประหยัดน้ำมัน หรือเรื่องอัตราเร่งดีก็มักหนีไม่พ้นแรงบิดสูงเข้าว่า ซึ่งอาจเกิดที่รอบต่ำก็ได้ นั่นคือแรงม้าอาจไม่สูง(เพราะตัวคูณ RPM มันต่ำ)...
บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #561 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 09:32:07 AM »

คือจริงๆแล้วมันไม่น่าจะเป็นประเด็นอะไรด้วยซ้ำครับพี่  การที่แรงบิดเพิ่มขึ้นทำให้อัตราเร่งเพิ่มขึ้นมันเป็นเรื่องพื้นฐานที่พิสูจน์ได้ด้วยตา
แล้วการที่แรงบิดเพิ่มขึ้น แรงม้าไม่จำเป็นต้องเพิ่มขึ้นตามเสมอไป  เพราะปัจจัยที่จะสร้างกำลังมันมีหลายอย่าง  ทั้งซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์

ถ้าใช้ฮาร์ดแวร์ก็คือปรับอัตราทดรวมให้สูงขึ้น แรงบิดที่ส่งผ่านไปยังล้อก็เพิ่มขึ้น อัตราเร่งเพิ่มขึ้นแต่ความเร็วปลายลดลง
ในขณะที่แรงม้าเท่าเดิม อยู่ในรอบเครื่องเดิมเพราะไม่ได้ทำอะไรกับตัวเครื่องยนต์

ถ้าใช้ซอฟท์แวร์ก็คือการปรับแต่งกล่อง ECU อันนี้เห็นได้ชัดจากรถญี่ปุ่นช่วงก่อนที่จะยกเลิกกฎหมายจำกัดแรงม้า
รถญี่ปุ่นแรงๆแต่ล่ะรุ่นทีออกมาแรงบิดเพิ่มมากขึ้น แต่แรงม้าเท่าเดิมคือ280 เพราะกฎหมายกำหนดไว้  วิธีจะทำให้แรงขึ้นแบบถูกกฎหมายก็คือเพิ่มแรงบิด
ยกตัวอย่างเช่น Mitsubishi 4G-63T ที่วางอยู่ใน Evolution IV ขึ้นมา แรงม้าชนเพดาน280PS แต่แรงบิดเพิ่มขึ้นทุกรุ่น
4G-63T Evolution IV 280 PS // 330 N·m
4G-63T Evolution V 280 PS // 373 N·m
4G-63T Evolution VI 280 PS // 380 N·m
4G-63T Evolution VII 280 PS // 385 N·m
บันทึกการเข้า
TakeFive
Sr. Member
****

คะแนน 171
ออฟไลน์

กระทู้: 794


« ตอบ #562 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 11:12:57 AM »

อย่าลืมว่าประเด็นที่ผมเถียง คือ อันนี้้

"แรงบิดจะเป็นตัวบ่งชี้ว่ารถคันใดวิ่งเร็วกว่าอีกคันครับ ยกตัวอย่าง รถคันแรกมี 115 แรงม้าที่6500รอบ แรงบิด 14 ก.ก./เมตรที่4500รอบ คันที่สองมี100แรงม้า แรงบิด 14 ก.ก./เมตรที่ 2750 รอบ ถามว่ารถคันแรกหรือคันที่สองวิ่งกว่ากันคำตอบก็คือ รถคันที่สองจะวิ่งเร็วกว่าคันแรกครับ เพราะแรงบิดสูงสุดมาที่รอบต่ำกว่า 2750 รอบแม้ว่าจะ14กก/เมตรเท่ากันทั้งสองคันก็ตาม แรงม้าเกินกันอีก15แรงก็ตาม รถคันแรกไม่มีทางไล่รถคันที่สองทันทุกกรณี อัตตราเร่ง0-100 คันที่สองก็ใช้เวลาน้อยกว่า จับมาอัดกัน0-400เมตร คันที่สองก็อยู่หน้าคันแรกอยู่ดี "

ซึ่งตามย่อหน้าที่copy&pasteมาเนี่ย ประเด็นมันอยู่ที่ม้าและบิดที่เครื่องน่ะครับ

- ตอบ. มันมีแน่นอนวิธีการเพิ่มแรงบิดลงที่ล้อ โดยที่ไม่ต้องทำอะไรกับเครื่องยนต์เพิ่มเติม แรงม้าเท่าเดิม แต่แรงบิดเพิ่มขึ้น
อันนั้นมันแน่นอนครับ ถ้าพี่อรชุนจะสื่อว่าทำโดยเกียร์/เฟืองท้าย

 - งั้นคำถามเดียว รถคันเดิม เครื่องยนต์ตัวเดิม ถ้าแรงบิดเพิ่มขึ้นโดยที่แรงม้าเท่าเดิม "อัตราเร่ง" จะเพิ่มขึ้นหรือไม่?
แรงบิดที่ว่านี่ มาจากล้อ หรือ เครื่องครับ ถ้าที่ล้อ ก็แน่นอน มันทำได้ และมันจะมีอัตราเร่ง ดีขึ้น
คือ ถ้า อยู่ที่เกียร์5 แล้วมาอยู่เกียร์3 แน่นอน รถพุ่งกว่า เพราะ total torque สูงกว่า ตราบใดทีแรงม้ามีมากพอ ก็จะเร่งได้ดีกว่า แต่ที่ผมพูด คือ ถ้าทำให้เครื่อง มีแรงบิด ณ ย่านนั้นๆมากขึ้น แรงม้ามันก็ต้องมากขึ้นตามไปด้วยอยู่แล้ว

แต่สิ่งที่เราต้องการจะคุย อยู่ที่ แรงม้า=ความเร็วสูงสุด แรงบิด=อัตราเร่ง สิ่งที่ผมจะบอกคือ จากในบทความ ผู้เขียนมองอย่างเดียว ว่า คันที่แรงบิดสูงกว่า จะมีอัตราเร่งที่ดีกว่า โดยบอกว่า แรงม้าไม่เกี่ยว ซึ่ง ผมก็พยายามจะบอกว่า สองอย่างนี้ มันคือ สิ่งเ้ดียวกัน จะเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ออกไปจากสมการไม่ได้ อัตราเร่งน่ะจุดๆหนึ่ง ของรถคันนหนึ่ง ต้องการทั้งแรงบิดและแรงม้า

ถ้าแรงบิดส่งผลต่ออัตราเร่งมากกว่าแรงม้าจริง เวลาที่ทีมแข่ง ไม่ว่าCircuit,Drag จะออกแบบชุดเกียร์ให้รถแรงที่สุด เหมาะสมกับสนามหนึ่งๆ และเครื่องยนต์หนึ่งๆ เค้าถึงเอากราฟแรงม้ามาplot แล้วใส่ จำนวนเกียร์ เวลาที่ใช้ในการเปลี่ยน อัตราทดเฟืองท้าย ความเร็วสูงสุด เข้าไปคำนวน สุดท้ายได้ออกมาเป็นอัตราทดที่เหมาะสมของแต่ละเกียร์ทางทฏษฎี สิ่งที่พูดนี่เป็นมาตรฐานที่เค้าทำกันทั้งนั้นสำหรับมืออาชีพ ตั้งแต่ทีมแข่งเล็กๆ ไปถึง F1 ทีพูดมา ผมไม่ได้สื่อว่าอัตราเร่ง คือ แรงม้า แรงบิดไม่ใช่ น่ะครับ  

Power กับ Torque มันเป็นสิ่งเดียวกัน แต่คนละมุมมอง Torque is measured, Power is calculated










บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #563 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 01:13:37 PM »

"แรงบิดจะเป็นตัวบ่งชี้ว่ารถคันใดวิ่งเร็วกว่าอีกคันครับ ยกตัวอย่าง รถคันแรกมี 115 แรงม้าที่6500รอบ แรงบิด 14 ก.ก./เมตรที่4500รอบ คันที่สองมี100แรงม้า แรงบิด 14 ก.ก./เมตรที่ 2750 รอบ ถามว่ารถคันแรกหรือคันที่สองวิ่งกว่ากันคำตอบก็คือ รถคันที่สองจะวิ่งเร็วกว่าคันแรกครับ เพราะแรงบิดสูงสุดมาที่รอบต่ำกว่า 2750 รอบแม้ว่าจะ14กก/เมตรเท่ากันทั้งสองคันก็ตาม แรงม้าเกินกันอีก15แรงก็ตาม รถคันแรกไม่มีทางไล่รถคันที่สองทันทุกกรณี อัตตราเร่ง0-100 คันที่สองก็ใช้เวลาน้อยกว่า จับมาอัดกัน0-400เมตร คันที่สองก็อยู่หน้าคันแรกอยู่ดี "

ตัดเฉพาะที่ Copy & Paste เอามาอธิบายเพิ่มเติมนะครับ... ส่วนเรื่องอื่นต้องอ่านและคิดตามในมุมมองแต่ละท่านก็แล้วกันครับ...

รถยนต์คันที่แรงบิดมาก่อนที่รอบต่ำ จะเร่งพุ่ง"ก่อน"คันที่แรงบิดมาที่รอบสูง(ออกตัวพร้อมกัน - เพราะแข่งกัน) เพราะคันที่แรงบิดมาที่รอบสูงนั้นจะต้องรอรอบสักพักนึง โดยที่ระหว่างที่รอบยังไม่ได้แรงบิดสูงสุด ช่วงนั้นจะเร่งได้แต่เนิบๆ และไหลฯ แต่ไม่กระชากครับ... ดังนั้นคันที่แรงบิดมาที่รอบต่ำจะกระชากฯ และแตะ 100 กม./ชม. ก่อน โดยที่รอบเครื่องยังไม่ถึงจุดที่แรงม้าสูงสุดเสียด้วยซ้ำไป...
บันทึกการเข้า
TakeFive
Sr. Member
****

คะแนน 171
ออฟไลน์

กระทู้: 794


« ตอบ #564 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 01:22:07 PM »

คือจริงๆแล้วมันไม่น่าจะเป็นประเด็นอะไรด้วยซ้ำครับพี่  การที่แรงบิดเพิ่มขึ้นทำให้อัตราเร่งเพิ่มขึ้นมันเป็นเรื่องพื้นฐานที่พิสูจน์ได้ด้วยตา
แล้วการที่แรงบิดเพิ่มขึ้น แรงม้าไม่จำเป็นต้องเพิ่มขึ้นตามเสมอไป  เพราะปัจจัยที่จะสร้างกำลังมันมีหลายอย่าง  ทั้งซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์

ถ้าใช้ฮาร์ดแวร์ก็คือปรับอัตราทดรวมให้สูงขึ้น แรงบิดที่ส่งผ่านไปยังล้อก็เพิ่มขึ้น อัตราเร่งเพิ่มขึ้นแต่ความเร็วปลายลดลง
ในขณะที่แรงม้าเท่าเดิม อยู่ในรอบเครื่องเดิมเพราะไม่ได้ทำอะไรกับตัวเครื่องยนต์

ถ้าใช้ซอฟท์แวร์ก็คือการปรับแต่งกล่อง ECU อันนี้เห็นได้ชัดจากรถญี่ปุ่นช่วงก่อนที่จะยกเลิกกฎหมายจำกัดแรงม้า
รถญี่ปุ่นแรงๆแต่ล่ะรุ่นทีออกมาแรงบิดเพิ่มมากขึ้น แต่แรงม้าเท่าเดิมคือ280 เพราะกฎหมายกำหนดไว้  วิธีจะทำให้แรงขึ้นแบบถูกกฎหมายก็คือเพิ่มแรงบิด
ยกตัวอย่างเช่น Mitsubishi 4G-63T ที่วางอยู่ใน Evolution IV ขึ้นมา แรงม้าชนเพดาน280PS แต่แรงบิดเพิ่มขึ้นทุกรุ่น
4G-63T Evolution IV 280 PS // 330 N·m
4G-63T Evolution V 280 PS // 373 N·m
4G-63T Evolution VI 280 PS // 380 N·m
4G-63T Evolution VII 280 PS // 385 N·m
ยังยืนยันคำเดิมว่า ถ้าคุยเรื่อง ม้าและบิดที่เครื่อง แรงบิดเพิ่ม ที่รอบใด แรงม้า ที่รอบนั้นก็จะสูงขึ้นด้วย อันนี้ต้องยอมรับก่อนว่ามันเป็นจริง ทุกกรณี
ส่วน ไอ้เครื่อง 4G ที่พี่เอามาลง ตัวเลขที่เห็นมันคือ แรงม้า-บิดสูงสุดครับ บอกแล้วว่าให้เอากราฟมาคุย เอาพื้นที่ใต้กราฟมาคุย ถ้ายังจะเอาแต่จุดpeakมาคุย มันก็ไม่จบไม่สิ้นครับ พนัน ฟันธงไปเลยว่า อย่า่งกรณี Evo VII กับ Evo IV เอาพื้นที่ใต้กราฟของแรงม้ามา เทียบกัน ก็ไม่เท่ากันครับ เครื่องที่แรงกว่า ก็ จะมี พ.ท. ใต้กราฟ ซึ่งก็คือ ค่าเฉลี่ย สูงกว่า ก็เท่านั้นเองครับ
บันทึกการเข้า
TakeFive
Sr. Member
****

คะแนน 171
ออฟไลน์

กระทู้: 794


« ตอบ #565 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 01:34:09 PM »

จาก spec ของเครื่อง 4G63 ผมเดาว่า เครื่องverสุดท้าย วิ่งดีกว่า เครื่องverแรก โดยถือสมมุติฐานว่า คงไม่มีใครทำของใหม่ให้ห่วยกว่าเดิม
ซึ่งถ้าดูข้อมูลแค่นี้ แล้ว บอกว่า แรงบิด=อัตราเร่ง

ในทางกลับกัน เราก็สามารถ ทำ ให้เครื่องมีแรงบิด ส.ส. เท่าเดิม โดยมีแรงม้า ส.ส. เพิ่มขึ้น ซึ่งก็ทำกันอยู่ทั่วไปครับ เ็ป็นการtune step แรกๆ ซึ่งก็ทำให้มีอัตราเร่งดีขึ้นกว่าเดิม แล้วแบบนี้ ทำไมไม่อ้างกันบ้างหล่ะครับ ว่า แรงม้าคือความเร่ง
บันทึกการเข้า
TakeFive
Sr. Member
****

คะแนน 171
ออฟไลน์

กระทู้: 794


« ตอบ #566 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 03:40:36 PM »

นายสมชายยังไม่เห็นกราฟของ E-Class สองคันที่ว่าครับ... แต่คันเครื่องดีเซลนั่นมีรอบเครื่องที่แรงบิดสูงสุด(1600 - 1800)ห่างกับรอบเครื่องที่แรงม้าสูงสุดไม่มาก(4200) แปลว่าแรงบิดมาไม่ต่อเนื่อง, และแรงบิดสูงสุดมีย่านแค่ 200 รตน.(1800 - 1600 รตน.) หากทดเกียร์ไม่ดีแล้วรอบขึ้นสูงเลยย่านแรงบิดสูงสุด อัตราเร่งจะตกครับ, แต่ถ้าหากได้เกียร์ที่ทดละเอียด หรือไร้รอยต่อไปเลยเช่น CVT จะเลี้ยงอัตราทดให้รอบอยู่แถวแรงบิดสูงสุดตลอด คันเบ็นซินจะสู้ไม่ได้ครับ...

ส่วนคันเครื่องเบ็นซินรอบเครื่องที่แรงบิดสูงสุดเป็นแบนด์กว้าง(ตั้งแต่ 2000 - 4300 รตน.)แล้วรอบเครื่องที่แรงม้าสูงสุดที่ 5500 ห่างจากจุดที่แรงบิดสูงสุดแค่นิดเดียว แปลว่าแรงบิดมาตั้งแต่ 2000 รอบแล้วยังฉูดฉาดได้จนเกือบรอบเครื่องสูงสุด(แรงม้าสูงสุด)... เลยทำให้ 0 - 100 ได้เวลาสั้นเพราะสม่ำเสมอกว่าครับ...

2 คันนี้นายสมชายว่าคันเบ็นซินขับง่ายกว่า เพราะไม่ต้องเขย่าเท้า(หรือกระทืบให้คิกดาวน์)ไล่ให้เกียร์ออโต้เปลี่ยนเกียร์... ช่วงเขย่าเท้า(หรือกระทืบฯ)ก็จะเสียจังหวะเร่ง...

ย้อนกลับไปอ่านที่ผมพิมไว้ว่าผิดพลาด ตกหล่นอะไร ไปบ้าง มาเห็น คห.ของพี่สมชายอันนี้ พึ่งมาเห็นแสงสว่างในการอธิบาย แรงบิด(ที่เครื่อง)ไม่ใช่ความเร่ง ครับ

ในกรณีมีเกียร์ CVT อย่างที่พี่สมชายว่า คราวนี้คุยกันง่ายเลยครับ เพราะเราสามารถโยนกราฟแรงบิดหน้าเครื่องทิ้งไปได้เลย  รอบที่เหมาะสมที่สุดในการทำอัตราเร่ง ก็ไม่ใช่ ย่านแรงบิดสูงสุดครับ แต่รอบที่เหมาะสมที่สุดคือรอบที่แรงม้าpeakที่สุด เพราะเราสามารถสร้างtorque(ที่ล้อ)เท่าไหร่ก็ได้  ดังนั้น ถ้า คัน เบนซินหนักเท่าดีเซล ใช้เกียร์CVTที่มีคุณสมบัติในอุดมคติ แบบพี่สมชายว่ามา ก็จะได้ อัตราเร่ง เท่ากัน ตลอดตั้งแต่ต้นจนจบครับ แต่ถ้าเอาแบบrealisticหน่อย คันเบนซิน จะมีอัตราเร่งขี่กว่ากันนิดๆ เพราะ รอบแรงม้าสูงสุด มีrangeที่กว้างกว่า คันดีเซลครับ

อันนี้ ขอเวลาผมไปหาreferrence ที่เชื่อว่า ทุกคนน่าจะยอมรับกันน่ะครับ คือ ผมจำมาจาก textbook ในการสร้างรถ F1 แต่จำชื่อไม่ได้  หน้าปกติเป็นสีแดงๆ เป้นรูปF1กำลังเข้าโค้งครับ
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #567 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 03:44:15 PM »

นายสมชายว่าต้องทำความเข้าใจกับคำศัพท์แรงบิด มาจาก Torque นั่นคือแรงที่กระทำครับ หรือ moment of force แปลว่าแรงที่กระทำต่อแกนหมุน... แต่แรงม้า Horse Power คือพลังงาน Energy ครับ...

แรงบิดเกี่ยวข้องโดยตรงกับอัตราเร่ง มาจากสูตรพื้นฐานคือ F = MA ครับ... ส่วนพลังงานมาจากผลลัพธ์ที่มวลนั้นเคลื่อนที่ครับ...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #568 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 03:47:27 PM »

Horse Power แปลงหน่วยเป็นวัตต์ เป็นจูลได้เพราะเป็น Energy, แต่แรงบิดแปลงหน่วยเป็นนิวตั้นได้เพราะเป็น Force ครับ... แรงบิดคืออัตราเร่งครับ...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #569 เมื่อ: มกราคม 02, 2013, 03:52:33 PM »

แรงม้าสูงสุดคือพลังงานสูงสุด นั่นคือมี Kinetic Energy สูงสุดครับ... สูตรของพื้นฐานพลังงานจลย์คือ 1/2*m*v*v ไม่เกี่ยวข้องกับอัตราเร่งครับ, แต่ยิ่งมีความเร็วสูงเท่าไหร่ก็ได้พลังงานจลย์สูง ซึ่งอาจสมดุลย์ไดนามิคอยู่ก็ได้ นั่นคือความเร็วคงที่ไม่ได้เร่งขึ้นเลย...
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 35 36 37 [38] 39 40 41 ... 71
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 21 คำสั่ง