เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤษภาคม 14, 2025, 03:08:31 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 6 7 8 [9]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ถามเรื่อง glock27 ครับ  (อ่าน 16836 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
at75
Hero Member
*****

คะแนน 99
ออฟไลน์

กระทู้: 3511



« ตอบ #120 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2013, 02:59:39 PM »

การถก เรื่องวิชการเป็นเรื่องดีครับได้ความรู้ แต่ถกแบบใช้อัตตา ของตนเองผมว่าไม่ค่อยสร้างสรรค์เท่าไหร่

ส่วนตัวอยากให้เจ้าของเลือกปืนที่ตนเองชอบนะครับ เพราะผมเองเคยเป็นอยู่ว่าซื้อปืนที่ดีที่คนอื่นเนะนำ แต่ตัวเองชอบไม่มากสุดท้ายก็ต้องขายปืนไปซื้อตัวที่ชอบอยู่ดี ตัวที่เจ้าของกระทู้ถาม ผมว่าดีครับ แต่ส่วนตัวผมเลือกg26g3 ด้วยเหตุผลเรื่องการทนสนิม กับลูกที่มากกว่า คือเรื่องป3 ไม่มีปัญหาแต่ ชอบเป็นการส่วนตัวในขนาด9  ถ้าโตกว่านั้นผมเลือก11 ครับ  คือ ถ้าชอบก็ซื้อเถอะครับ ผมเข้าใจหัวอกคนรักปืนเหมือนกัน

gen3 ทนสนิมกว่าหรือยังไงครับ  ไหว้

เจน3 ทำผิวด้วยเทนิเฟอร์ครับ ซึ่งเป็นจุดขายสำคัญของกล๊อกเพราะมันทนสนิมได้อย่างยอดเยี่ยม ปัจจุบัน เจน4 ได้ใช้การชุบผิดแบบ เมโลไนท์เหมือนสมิทMP ซึ่งเที่ยบกันแล้ว สู้แบบเดิมไม่ได้ครับ พี่พี่ท่านนึงเคยทดลองไว้ใน อวป. นี่แหล่ะครับผมหาลิ๊งไม่เจอ ครับ

ขอแสดงความคิดเห็นต่างออกไปครับ
Melonite เป็นชื่อทางการค้าครับ กรรมวิธีชุบแข็งคือนำชิ้นเหล็กแช่สารเคมี (Salt Bath)
Tenifer ก็เป็นชื่อทางการค้าเช่นกัน และใช้กรรมวิธีชุบแข็งแบบเดียวกับ Melonite
ชื่อเรียกวิธีการชุบแข็งนี้คือ nitrocarburizing เป็นการเติมไนโตรเจนและคาร์บอนเข้าไปในเนื้อเหล็ก
ขณะที่ Glock gen4 แม้จะเลิก Tenifer แต่ก็ยังชุบแข็งแบบ nitrocarburizing เหมือนเดิม
โดยเปลี่ยนการนำชิ้นเหล็กแช่สารเคมีมาเป็นอบแก๊สนานประมาณ 1-4 ชั่วโมง และยังได้ความแข็งเช่นเดียวกับ Tenifer
เงื่อนไขสำคัญของกระบวนการอบแก๊สคือต้องล้างชิ้นงานให้สะอาดปราศจากคราบใดๆ

http://en.wikipedia.org/wiki/Ferritic_nitrocarburizing


มีข้อความตรงไหนของผมที่พูดถึงความแข็งหรือไม่ครับ  ผมพูดถึงความทนสนิมครับ ซึ่งไดัรับการพิสูจน์โดยพี่ธำรงค์ แล้วว่าสู่แบบเดิมไม่ได้(ขออภัยพี่ที่ต้องกล่าวถึงครับ)
ส่วนเรื่อง ชื่อเรียกทางการค้าผมทราบครับ แต่มันก็ต่างกันทางกรรมวิธีอยู่ดี ถึงผิวจะแข็งเท่ากัน แต่เรื่องความทนสนิมต่างกันเยอะครับ
ที่ผม ไม่ชอบผิว แบบเมโลไนท์ หรือที่คุณเรียกว่า อบแก๊ส เพราะผมเคยเห็นมากับตา ตอนรุ่นพี่ผมไปรับปืนสวัสดิการ มา เปิดกล่องมาสนิมกินผิว mp9cไปตั้งแต่ยังไม่ได้ใช้เลย ถึงกับงง และที่ทราบมาปืนร้านหลายๆกระบอกของรุ่นนี้ ก็เป็นตั้งแต่ยังไม่ได้ตอกทะเบียนด้วยซ้ำ และที่ผู้ถาม กับผมคุยกัน ก็คุยเรื่องความทนสนิมครับ ไม่ใช่เรื่องความแข็งของผิวชิ้นงาน

ขอโทษอีกครั้งที่ผมเขียนอธิบายไม่ครบถ้วน
ใจมันเร็วกว่านิ้ว คิดง่ายๆแบบคนสมัยก่อนที่ชอบเรียกเหมารวมผงซักฟอกว่า "แฟ๊บ"
ข้อเท็จจริงก็คือ ผลที่ได้จากกระบวนการ nitrocarburizing คือความแข็ง ทนทานต่อรอยขูดขีด ทนทานต่อการกัดกร่อน
แต่ผมดันไปพูดแบบเคยปากแค่การชุบแข็งอย่างเดียว
ประเด็นของผมอยู่ที่การแยกแยะกระบวนการ nitrocarburizing ว่ามีอะไรบ้าง อะไรเหมือน อะไรต่าง
ส่วนเรื่องความทนทานการขูดขีดและการกัดกร่อนของปืน gen4 หรือ M&P ก็เริ่มคลี่คลาย
เพราะมีทั้งพี่ Ro@d - รักในหลวง และพี่ธำรง มาช่วยต่อยอด
ขอบคุณที่ให้ความกรุณาทักท้วงครับ

จริงๆ กรรมวิธี ในการผลิต แบบเดียวกันนั้น แต่ละบริษัท ก็มีเทคนิค และความลับที่ไม่เปิดเผยให้ผู้อื่นทราบครับ เพราะเป็นจุดขาย ของแต่ละบริษัท อย่างที่เห็นได้ชัดอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ โครงอัลลอยของซิก ซึ่งมีความแข็งแกร่งมาก แม้แต่ทุกวันนี้ ผลิตในอเมริกาแล้ว แต่โครงก้ยังผลิตในเยอร์มัน เพราะมันเป็นความลับทางการค้าครับ 

ถือว่าเป็นการถกกันทางวิชาการเพื่อความรู้นะครับท่าน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 20, 2013, 03:22:58 PM โดย at75 » บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #121 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2013, 03:26:30 PM »

จริงๆ กรรมวิธี ในการผลิต แบบเดียวกันนั้น แต่ละบริษัท ก็มีเทคนิค และความลับที่ไม่เปิดเผยให้ผู้อื่นทราบครับ เพราะเป็นจุดขาย ของแต่ละบริษัท อย่างที่เห็นได้ชัดอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ โครงอัลลอยของซิก ซึ่งมีความแข็งแกร่งมาก แม้แต่ทุกวันนี้ ผลิตในอเมริกาแล้ว แต่โครงก้ยังผลิตในเยอร์มัน เพราะมันเป้นความลับทางการค้าครับ

หลักๆคงจะเป็นอลูมินั่มอัลลอยเกรดอากาศยาน ASTM-B209 อัลลอยเบอร์นี้ค่า Ultimate Tensile Strength สูงถึง 83,000psi
ส่วนที่เป็นความลับน่าจะเป็นวิธีการอบชุบครับ
บันทึกการเข้า
at75
Hero Member
*****

คะแนน 99
ออฟไลน์

กระทู้: 3511



« ตอบ #122 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2013, 03:40:53 PM »

จริงๆ กรรมวิธี ในการผลิต แบบเดียวกันนั้น แต่ละบริษัท ก็มีเทคนิค และความลับที่ไม่เปิดเผยให้ผู้อื่นทราบครับ เพราะเป็นจุดขาย ของแต่ละบริษัท อย่างที่เห็นได้ชัดอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ โครงอัลลอยของซิก ซึ่งมีความแข็งแกร่งมาก แม้แต่ทุกวันนี้ ผลิตในอเมริกาแล้ว แต่โครงก้ยังผลิตในเยอร์มัน เพราะมันเป้นความลับทางการค้าครับ

หลักๆคงจะเป็นอลูมินั่มอัลลอยเกรดอากาศยาน ASTM-B209 อัลลอยเบอร์นี้ค่า Ultimate Tensile Strength สูงถึง 83,000psi
ส่วนที่เป็นความลับน่าจะเป็นวิธีการอบชุบครับ

ครับผม ผมว่าเหมือนทำอาหาร ให้วัตถุดิบ เหมือนกันทุกอย่างให้ทำสิบคนก็ไม่เหมือนกัน มันที่ที่เทคการทำครับ
บันทึกการเข้า
nogear
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 23
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 162


« ตอบ #123 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2013, 04:02:40 PM »

จริงๆ กรรมวิธี ในการผลิต แบบเดียวกันนั้น แต่ละบริษัท ก็มีเทคนิค และความลับที่ไม่เปิดเผยให้ผู้อื่นทราบครับ เพราะเป็นจุดขาย ของแต่ละบริษัท อย่างที่เห็นได้ชัดอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ โครงอัลลอยของซิก ซึ่งมีความแข็งแกร่งมาก แม้แต่ทุกวันนี้ ผลิตในอเมริกาแล้ว แต่โครงก้ยังผลิตในเยอร์มัน เพราะมันเป้นความลับทางการค้าครับ

หลักๆคงจะเป็นอลูมินั่มอัลลอยเกรดอากาศยาน ASTM-B209 อัลลอยเบอร์นี้ค่า Ultimate Tensile Strength สูงถึง 83,000psi
ส่วนที่เป็นความลับน่าจะเป็นวิธีการอบชุบครับ

ครับผม ผมว่าเหมือนทำอาหาร ให้วัตถุดิบ เหมือนกันทุกอย่างให้ทำสิบคนก็ไม่เหมือนกัน มันที่ที่เทคการทำครับ

เคยมีซิก229ทูโทน ยังสงสัยว่าทำไมสไลด์ทำในสหรัฐฯแล้วเฟรมทำไมยังต้องทำในเยอรมัน วันนี้ทราบแล้ว ขอบคุณพี่ๆครับ

อ้อ เผื่อ จขกท.ยังตามอ่าน ผมไม่ได้เชี่ยวชาญอะไรแค่อยากบอกว่าถ้าชอบก็ซื้อเถอะครับ ของเค้ามีมาตรฐานขายทั่วโลก
เรื่องกระสุนถ้ากลัวหายากก็คงต้องตุนไว้ มีไว้ซักห้ากล่องซ้อมวันไหนซื้อทดแทนอย่าให้ขาด คงใช้ไปได้ตลอดชีวิต
เรื่องแรงรีคอยล์สูงก็แก้ด้วยการออกกำลังกายซะหน่อย แข็งแรงขึ้นยิงอะไรก็พอไหว...
บันทึกการเข้า

-
PRIVACY
I don't want to survive, I want to live
Full Member
***

คะแนน 36
ออฟไลน์

กระทู้: 400


"Knowledge speaks, but wisdom listens."


« ตอบ #124 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2013, 08:12:38 PM »

จริงๆ กรรมวิธี ในการผลิต แบบเดียวกันนั้น แต่ละบริษัท ก็มีเทคนิค และความลับที่ไม่เปิดเผยให้ผู้อื่นทราบครับ เพราะเป็นจุดขาย ของแต่ละบริษัท อย่างที่เห็นได้ชัดอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ โครงอัลลอยของซิก ซึ่งมีความแข็งแกร่งมาก แม้แต่ทุกวันนี้ ผลิตในอเมริกาแล้ว แต่โครงก้ยังผลิตในเยอร์มัน เพราะมันเป้นความลับทางการค้าครับ

หลักๆคงจะเป็นอลูมินั่มอัลลอยเกรดอากาศยาน ASTM-B209 อัลลอยเบอร์นี้ค่า Ultimate Tensile Strength สูงถึง 83,000psi
ส่วนที่เป็นความลับน่าจะเป็นวิธีการอบชุบครับ
ขอถามครับ ตัวโครงอัลลอยของ Sig รุ่นหลังๆทุกรุ่นเลยหรือเปล่าครับที่ใช้อัลลอยเกรดอากาศยาน ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
NaiMai>รักในหลวง
ไม่ว่าจะมีพร้อมทุกสิ่ง แต่ก็ยังไม่มีสิ่งใดเหนือกว่าความมีสติ
Hero Member
*****

คะแนน 741
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 14573


นายใหม่ รักหมู่


เว็บไซต์
« ตอบ #125 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2013, 08:28:36 PM »

ขอถามครับ ตัวโครงอัลลอยของ Sig รุ่นหลังๆทุกรุ่นเลยหรือเปล่าครับที่ใช้อัลลอยเกรดอากาศยาน ขอบคุณครับ

 Grin อากาศยาน 1 ลำ มีชิ้นส่วนมากมาย แต่ละส่วนใช้โลหะต่างชนิดต่างคุณสมบัติกัน ชิ้นส่วนที่เป็นอลูมิเนียมที่ใช้ทำเครื่องบินก็มีหลายส่วน คุณสมบัติก็ต่างกันไป มีตั้งแต่คุณภาพทำกาละมัง จนถึงโครงสร้างที่รับแรงที่ต้องแข็งแรงมาก ๆ Grin
 Grin เพราะฉนั้นอย่าไปใส่ใจครับ ว่าเกรดอากาศยานหรือเปล่า เอาเป็นว่า มันแข็งแรงได้ตามที่ออกแบบและเจตนาในการผลิตปืนรุ่นนั้น ๆ ครับ อีกอย่าง ชื่อเสียงของ Sig เชื่อถือได้อยู่แล้ว Grin
บันทึกการเข้า

อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #126 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2013, 11:43:55 PM »

ขอถามครับ ตัวโครงอัลลอยของ Sig รุ่นหลังๆทุกรุ่นเลยหรือเปล่าครับที่ใช้อัลลอยเกรดอากาศยาน ขอบคุณครับ

ว่าตามพี่ใหม่อย่าไปใส่ใจครับ  ถ้ามันแข็งแรงเพียงพอและทำงานได้ตามสเป็ควัสดุไหนก็ใช้แทนได้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 8 [9]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.083 วินาที กับ 21 คำสั่ง