การถก เรื่องวิชการเป็นเรื่องดีครับได้ความรู้ แต่ถกแบบใช้อัตตา ของตนเองผมว่าไม่ค่อยสร้างสรรค์เท่าไหร่
ส่วนตัวอยากให้เจ้าของเลือกปืนที่ตนเองชอบนะครับ เพราะผมเองเคยเป็นอยู่ว่าซื้อปืนที่ดีที่คนอื่นเนะนำ แต่ตัวเองชอบไม่มากสุดท้ายก็ต้องขายปืนไปซื้อตัวที่ชอบอยู่ดี ตัวที่เจ้าของกระทู้ถาม ผมว่าดีครับ แต่ส่วนตัวผมเลือกg26g3 ด้วยเหตุผลเรื่องการทนสนิม กับลูกที่มากกว่า คือเรื่องป3 ไม่มีปัญหาแต่ ชอบเป็นการส่วนตัวในขนาด9 ถ้าโตกว่านั้นผมเลือก11 ครับ คือ ถ้าชอบก็ซื้อเถอะครับ ผมเข้าใจหัวอกคนรักปืนเหมือนกัน
gen3 ทนสนิมกว่าหรือยังไงครับ

เจน3 ทำผิวด้วยเทนิเฟอร์ครับ ซึ่งเป็นจุดขายสำคัญของกล๊อกเพราะมันทนสนิมได้อย่างยอดเยี่ยม ปัจจุบัน เจน4 ได้ใช้การชุบผิดแบบ เมโลไนท์เหมือนสมิทMP ซึ่งเที่ยบกันแล้ว สู้แบบเดิมไม่ได้ครับ พี่พี่ท่านนึงเคยทดลองไว้ใน อวป. นี่แหล่ะครับผมหาลิ๊งไม่เจอ ครับ
ขอแสดงความคิดเห็นต่างออกไปครับ
Melonite เป็นชื่อทางการค้าครับ กรรมวิธีชุบแข็งคือนำชิ้นเหล็กแช่สารเคมี (Salt Bath)
Tenifer ก็เป็นชื่อทางการค้าเช่นกัน และใช้กรรมวิธีชุบแข็งแบบเดียวกับ Melonite
ชื่อเรียกวิธีการชุบแข็งนี้คือ nitrocarburizing เป็นการเติมไนโตรเจนและคาร์บอนเข้าไปในเนื้อเหล็ก
ขณะที่ Glock gen4 แม้จะเลิก Tenifer แต่ก็ยังชุบแข็งแบบ nitrocarburizing เหมือนเดิม
โดยเปลี่ยนการนำชิ้นเหล็กแช่สารเคมีมาเป็นอบแก๊สนานประมาณ 1-4 ชั่วโมง และยังได้ความแข็งเช่นเดียวกับ Tenifer
เงื่อนไขสำคัญของกระบวนการอบแก๊สคือต้องล้างชิ้นงานให้สะอาดปราศจากคราบใดๆ
http://en.wikipedia.org/wiki/Ferritic_nitrocarburizing มีข้อความตรงไหนของผมที่พูดถึงความแข็งหรือไม่ครับ ผมพูดถึงความทนสนิมครับ ซึ่งไดัรับการพิสูจน์โดยพี่ธำรงค์ แล้วว่าสู่แบบเดิมไม่ได้(ขออภัยพี่ที่ต้องกล่าวถึงครับ)
ส่วนเรื่อง ชื่อเรียกทางการค้าผมทราบครับ แต่มันก็ต่างกันทางกรรมวิธีอยู่ดี ถึงผิวจะแข็งเท่ากัน แต่เรื่องความทนสนิมต่างกันเยอะครับ
ที่ผม ไม่ชอบผิว แบบเมโลไนท์ หรือที่คุณเรียกว่า อบแก๊ส เพราะผมเคยเห็นมากับตา ตอนรุ่นพี่ผมไปรับปืนสวัสดิการ มา เปิดกล่องมาสนิมกินผิว mp9cไปตั้งแต่ยังไม่ได้ใช้เลย ถึงกับงง และที่ทราบมาปืนร้านหลายๆกระบอกของรุ่นนี้ ก็เป็นตั้งแต่ยังไม่ได้ตอกทะเบียนด้วยซ้ำ และที่ผู้ถาม กับผมคุยกัน ก็คุยเรื่องความทนสนิมครับ ไม่ใช่เรื่องความแข็งของผิวชิ้นงาน
ขอโทษอีกครั้งที่ผมเขียนอธิบายไม่ครบถ้วน
ใจมันเร็วกว่านิ้ว คิดง่ายๆแบบคนสมัยก่อนที่ชอบเรียกเหมารวมผงซักฟอกว่า "แฟ๊บ"
ข้อเท็จจริงก็คือ ผลที่ได้จากกระบวนการ nitrocarburizing คือความแข็ง ทนทานต่อรอยขูดขีด ทนทานต่อการกัดกร่อน
แต่ผมดันไปพูดแบบเคยปากแค่การชุบแข็งอย่างเดียว
ประเด็นของผมอยู่ที่การแยกแยะกระบวนการ nitrocarburizing ว่ามีอะไรบ้าง อะไรเหมือน อะไรต่าง
ส่วนเรื่องความทนทานการขูดขีดและการกัดกร่อนของปืน gen4 หรือ M&P ก็เริ่มคลี่คลาย
เพราะมีทั้งพี่ Ro@d - รักในหลวง และพี่ธำรง มาช่วยต่อยอด
ขอบคุณที่ให้ความกรุณาทักท้วงครับ
จริงๆ กรรมวิธี ในการผลิต แบบเดียวกันนั้น แต่ละบริษัท ก็มีเทคนิค และความลับที่ไม่เปิดเผยให้ผู้อื่นทราบครับ เพราะเป็นจุดขาย ของแต่ละบริษัท อย่างที่เห็นได้ชัดอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ โครงอัลลอยของซิก ซึ่งมีความแข็งแกร่งมาก แม้แต่ทุกวันนี้ ผลิตในอเมริกาแล้ว แต่โครงก้ยังผลิตในเยอร์มัน เพราะมันเป็นความลับทางการค้าครับ
ถือว่าเป็นการถกกันทางวิชาการเพื่อความรู้นะครับท่าน