งั้นนายสมชายตอบข้อ 2 ก็แล้วกันครับ...
ว่าขอรั้งแบบเดิมมีปัญหาเรื่องเอาลูกหยอดเข้ารังเพลิงแล้วปล่อยให้ลำเลื่อนเดินหน้าไม่ได้ เพราะขอรั้งปลอกมันอ้างับจานท้ายไม่ถนัด(ต้องป้อนด้วยแม็กกาซีน) เนื่องจากมันแข็ง และตัวมันเองเป็นสปริงหน้าที่ดันท้ายลำกล้องให้อยู่กับที่ด้วย กลุ่มแน่นไม่แน่นก็มีผลจากแรงดันสปริงตัวนี้ด้วย ว่าดันให้ท้ายลำกล้องลงตำแหน่งเดิมได้คงที่หรือไม่... หากดื้อหยอดลูกเข้ารังเพลิงแล้วปิดลำเลื่อนแรงๆ มันก็ยิงได้ แต่ทำบ่อยปลายขอรั้งมันจะหัก แล้วเกี่ยวปลอกไม่ออก...
ดังนั้นหากใครไม่คิดจะใช้วิธีหยอดลูกด้วยมือเข้ารังเพลิงก็ไม่ต้องสนใจครับ... นายสมชายว่าขอรั้งปลอกแบบใหม่นั่นแหละ น่าไว้วางใจน้อยกว่าแบบดั้งเดิมที่เคยพิสูจน์ตัวเองในสงครามมาแล้วครับ...
ประเด็นนี้ น่าจะจบไปตั้งแต่อเมริกาบุกอิรัคแล้วนะครับ
ตอนนั้นมีการนำ M1911 ไปใช้ด้วย คือยังไม่ใช่ M45 แต่จะถือเป็นจุดกำเนิดของ M45 ก็ได้
ช่วงแรกใช้ขอรั้งฯ ของ Aftec แต่ปรากฏว่าถ้ามีทรายเข้าไปปืนจะติดขัดเร็วมาก จึงได้เปลี่ยนมาใช้ขอรั้ง ฯ แบบโบราณเหมือนเดิม
ขอถามเกี่ยวกับปืนตระกูล1911 ครับ
1.ลำกล้องเเบบทีท้ายรังเพลิงมีทางลาดกับเเบบไม่มีทางลาดท้ายรังเพลิง มีข้อดีข้อเสียต่างกันยังไงครับ จากที่อ่านในอวป.บอกไว้ว่าเเบบมีทางลาดช่วยให้ป้อนกระสุนเข้ารังเพลิงได้เเน่นอนกว่าเเบบไม่มี(โดยเฉพาะลูกหัวรู) เเละรังเพลิงยังอุ้มปลอกกระสุนไว้ทั้งหมด ลดโอกาสเกิดอาการปลอกเเตกคารังเพลิง เเต่ทำไมปืน1911 ระดับคัสตอมราคาเเพงหลายๆรุ่น ยังนิยมใช้ลำกล้องเเบบไม่มีทางลาดท้ายรังเพลิง
2.ขอรั้งปลอกเเบบโพล่ข้างสไลด์ การทำงานมันดีกว่าเเบบขอรั้งอยู่ในไสลด์อย่างเห็นได้ชัดไหมครับ ถ้ายิงมากๆเเล้วล้างโดยฉีดน้ำมันอัดเข้าไป โดยที่ไม่ได้ตอกสลักเอาขอรั้งออกมาล้าง ปืนจะเป็นอะไรไหมครับ
3.ขอรั้งปลอกเเบบpower extractor ของพาราออร์ดแนนซ์ ดีกว่าขอรั้งเเบบท่อนเดียวมากไหมครับ ทำไมถึงไม่ค่อยเป็นที่นิยม
.45 ไม่ต้องใช้แรมพ์โต ๆ ก็ได้ เท่าที่บราวนิงออกแบบไว้ ก็ดีพอแล้ว
แต่ถ้าเป็นกระสุนที่เล็กกว่า.45 ก็จะเกิดปัญหาเปิดท้ายปลอกมากเกินไป เพราะกระสุนเล็กลง ก็จะต้องเปิดทางลาดให้เฉียง ลึกเข้าไปในรังเพลิงมากขึ้น จึงต้องออกแบบแรมพ์ให้ยื่นลงมาข้างล่างมากขึ้น