ข่าวเกี่ยวข้อง
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9490000125463กลับมาเรื่อง วิเคราะห์ เศรษฐกิจ อีกรอบดีกว่า เพราะ ผมได้อ่านเรื่อง แอร์บัส A380ส่งมอบล่าช้า ทำให้นึกถึงตอนทำ S W O T analysis ตอนเรียนอยู่เลยหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาเขียน การวิเคราะห์เรื่องนี้ เป็นการวิเคราะห์จากบุคคลภายนอก ดังนั้นจึงไม่มีตัวเลขข้อมูลเชิงลึกมาให้ดูกัน และ เป็นการวิเคราะห์ เพื่อการเข้าใจอุตสาหกรรมการบินในอีกแง่มุมหนึ่ง
การแข่งขันในอุตสาหกรรมการบินหลังสงคราโลกครั้งที่ 2 เป็นเวลากว่า 40 ปี ที่การแข่งขันนั้นเป็นการแข่งขันระหว่างบริษัทในประเทศ สหรัฐอเมริกาเท่านั้น จนกระทั่งการเกิดบริษัท แอร์บัส อินดัสทรี ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของประเทศในยุโรป ในการรวมตัวกันตั้งบริษัทเพื่อผลิตเครื่องบินโดยสารเพื่อแย่งส่วนแบ่งการตลาดจาก สหรัฐ
ก่อนหน้าที่ แอร์บัส จะเปิดการขาย A-380 บริษัทแอร์บัส มีอัตตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเป็นเพียงบริษัทเดียวที่สามารถแย่งลูกค้าจากบริษัทโบอิ้งได้ชนิดที่ทางรัฐบาล อเมริกา ต้องแก้กฎหมายการผูกขาด (ที่ใช้แบ่งบริษัท EXON (ESSO) กับบริษัท โมบิล) ทำให้บริษัท โบอิ้ง สามรถซื้อบริษัท แม็กโดนัล ดักกลาส ผู้ผลิต เครื่องบินใหญ่เป็นอันดับ 2 ได้ (ผู้ผลิต เครื่องบินตระกูล DC และ MD เช่น DC10 และ MD11) เพื่อที่จะได้แข่งกับ แอร์บัสในด้านต้นทุน และ ลดคู่แข่งไปด้วยในตัว เพราะ บริษัท แอร์บัส ใช้วิธีตัดราคาขาย และ ลดแลกแจกแถมสารพัดวิธีเพื่อที่แย่งชิงลูกค้าจากบริษัทโบอิ้ง ให้ได้นั่นเอง ในการขายเครื่องบินบางรุ่นให้กับสายการบินบางบริษัท ทางบริษัท แอร์บัส ยังแถมการฝึกสอน นักบิน และ ช่างซ่อมเครื่องของ แอร์บัส ครั้งละ หลายสิบคน ให้มาฝึกหัดโดยออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด โดยที่ทาง โบอิ้ง สายการบินที่ซื้อเครื่องของ โบอิ้ง ต้องออกเองทั้งหมด
แผนการตลาดของแอร์บัส ยังรวมถึงการให้ประเทศที่มีส่วนร่วมในการผลิต เครื่องบิน (อังกฤษ, ฝรั่งเศษ, เยอรมัน, สเปน และ อิตาลี) ช่วยกันหาตลาด และ ร่วมเป็นลูกค้าไปด้วยในตัว
แต่ด้วยค่าเงินยูโรที่สูงกว่า เงิน ดอลล่า ถึงเกือบ 30% ทำให้ต้นทุนของเครื่อง แอร์บัส สูงขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากตอนเริ่มต้นในการเปลี่ยนค่าเงินมาใช้เงิน ยูโร ได้กำหนดค่าให้ 1 ยูโร เท่ากับ 1 ดอลล่า ส่วนค่าแรงในประเทศผู้ผลิต ก็เป็นไปตามค่าเงินที่สูงขึ้น เมื่อค่าเงินสูงขึ้น เกือบ 30% แต่ต้องมาตัดราคากับบริษัท โบอิ้ง ทำให้กำไรต่อลำของบริษัทยิ่งน้อยลงไปอีก
โครงการ A-380 เป็นโครงการใหญ่ที่ทางบริษัท แอร์บัส ทุ่มความหวังใว้มากเพื่อที่จะได้ไล่ทันกับบริษัท โบอิ้ง ทำให้ต้องเร่งรัดการค้นคว้าและ วิจัย เพื่อที่จะได้เครื่องบินโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ไม่ไช่เครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก) โดยให้มีการผลิตชิ้นส่วนจากประเทศในยุโรป แล้วมาประกอบและ ทดลองบินก่อนส่งมอบให้ลูกค้าที่ประเทศ ฝรั่งเศษ โดยที่เป็นเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้การขนส่งชิ้นส่วน และ เส้นทางการขนส่งต้องใช้เส้นทาง ๆ เรือ (เครื่องบินรุ่นอื่น ๆ ใช้การขนส่งทางเครื่องบินมาประกอบยังยังโรงงานแม่ที่ฝรั่งเศษ) ทำให้การขนส่งเป็นไปได้อย่างยุ่งยาก และเสี่ยงต่อการชำรุดในการขนส่งสูงมาก เพราะ ต้องรอทั้ง ระดับน้ำขึ้น น้ำลง และ ช่องว่าง เล็ก ๆ ในระหว่าง การลอดสะพาน ยิ่งตอนผ่านชุมชนเพื่อไปยังโรงงานประกอบยิ่งน่ากลัวการพลาดเป็นอย่างยิ่ง หากเกินการพลาดพลั้งในการขนส่งจะยิ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิต A-380 และ การล่าช้าในการผลิตได้เป็นเดือน ๆ เพราะ อัตตราการผลิต A-380 ตั้งใว้ที่ เดือนละ 1 ลำ หากชิ้นส่วนหลักเช่น ส่วนปีก หรือ ส่วนหาง จะต้องเสียเวลาในการซ่อม หรือ ไม่ก็ต้องรอการส่งมอบในเดือนต่อไป
กลับมามองทาง โบอิ้ง บ้าง ทางโบอิ้ง ผลิต โบอิ้ง 747 จากโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีสายการประกอบชิ้นส่วนหลัก ๆ ภายในโรงงานแห่งนี้เลย ทั้ง ปีก ลำตัวเครื่องบิน และ ส่วนหาง โดยก่อนสร้างโรงงานแห่งนี้ ได้มีการวางแผนการขนส่งล่วงหน้า โดยมีการวางรางรถไฟเพื่อเชื่อมต่อกับท่าเรื่อโดยตรง และ มี ทางวิ่งขึ้นของเครื่องบินที่ประกอบสำเร็จแล้ว ทำให้ลดต้นทุนในการผลิต และ สามารถควบคุมการผลิตได้ทุกขั้นตอน
Boeing C-17 Globemaster III
Boeing F/A-18E/Fนอกจากเครื่องบินโดยสารแล้ว บริษัทโบอิ้ง ยังมีลูกค้าที่เป็นองกรณ์ และ หน่วยงานของรัฐอีก เพราะ โบอิ้ง เป็นบริษัทที่ผลิตเครื่องบินขนส่ง และ เครื่องบินรบ รายใหญ่ของโลกอีกด้วย อย่าง Boeing C-17 Globemaster III ที่เป็นเครื่องบินขนส่งขนาดกลางแบบใหม่ของ สหรัฐ และ ยังไม่มีคู่แข่งไปอีกนานจนกว่า แอร์บัสจะออก A-400 ซึ่งอาจต้องรอไปอีกนานถึง 10 ปีก็ได้