เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤษภาคม 14, 2025, 03:12:03 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สหรัฐฯตัดงบช่วยเหลือ ยกเลิกฝึกร่วมไทย  (อ่าน 8194 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
SillyOldMan
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1984
ออฟไลน์

กระทู้: 7567


ผ่านทะเล เห็นบึงน้ำไร้ความหมาย


« ตอบ #45 เมื่อ: มิถุนายน 25, 2014, 10:28:48 PM »

ปรับตัวเถอะครับ ดอลล่าร์ไอ้กันจะวูบลงนรกในอีกไม่นาน

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=879722

ต้องมองเงินหยวนดับรัศมีดอลล่าร์ สหรัฐ ตั้งแต่วันนี้



อาจารย์ จิรพร  สุเมธีประสิทธิ์

sumetheeprasit@hotmail.com

 

เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เงินหยวนของจีนเป็นสกุลเงินที่สงวนไว้สำหรับคนจีนและกีดกันนักลงทุนต่างประเทศอย่างสิ้นเชิง

แต่มาถึงวันนี้ ทุกประเทศรวมทั้ง AEC กลับตกตะลึงกับกระแสความคาดหมายว่า เงินหยวนจีนจะเป็นเงินที่ใช้ในการค้าระดับโลกภายในปี 2015 นี้ เคียงบ่าเคียงไหล่เงินดอลล่าร์ สหรัฐ และเงินสกุลยูโร และเงินหยวนจีนจะใช้ในการค้าระหว่างประเทศถึง 1 ใน 3 ของปริมาณการค้าของโลกด้วย

ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้ เพราะรัฐบาลจีนเปลี่ยนนโยบายมาผลักดันให้เงินหยวนกลายเป็นสกุลเงินที่ใช้สำรองระหว่างประเทศของประเทศทั่วโลก หลังจากที่จีนได้ทำการตกลงกับ รัสเซีย เวียดนาม ไทยและญี่ปุ่นที่จะชำระเงินค่าสินค้าและบริการระหว่างกันด้วยเงินหยวน

จากตัวเลขของ SWIFT DATA ที่รวบรวมสกุลเงินที่ใช้ชำระค่าสินค้าระดับโลก พบว่า 15 สกุลหลักประกอบด้วยสกุลต่อไปนี้ (ณ มกราคา 2013)

อันดับ1.
 ยูโร
 40.17%
 
2.
 ดอลล่าร์สหรัฐ
 33.48%
 
3.
 ปอนด์อังกฤษ
 8.56%
 
4.
 เยนญี่ปุ่น
 2.56%
 
5.
 ดอลล่าร์ออสเตรเลีย
 1.85%
 
6.
 สวิสแพรงค์
 1.83%
 
7.
 ดอลล่าร์แคนาดา
 1.80%
 
8.
 ดอลล่าร์สิงคโปร์
 1.05%
 
9.
 ดอลล่าร์ฮ่องกง
 1.02%
 
10.
 เงินบาท
 3.97%
 
11.
 โครนสวีเดน
 0.96%
 
12.
 โครนนอร์เวย์
 0.80%
 
13.
 หยวนจีน
 0.63%
 
14.
 โครนเดนมาร์ค
 0.58%
 
15.
 รูเบิ้ลรัสเซีย
 0.56%
 

สิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่จีนเปิดตัวเงินหยวนในฐานะที่พร้อมจะขึ้นแท่นเงินที่ใช้ในการค้าระหว่างประเทศ สรุปได้ชัดเจน ดังนี้

ประการที่ 1

การตอบรับจากศูนย์กลางทางการเงินในยุโรป

บรรดาศูนย์กลางทางการเงินในยุโรปแสดงท่าทีตอบรับในทางบวกทันที และคาดหวังว่าตลาดเงินหยวนของตนจะได้เป็นศูนย์รวมในการค้าเงินหยวนของยุโรป ไม่ว่าจะเป็นลอนดอน ปารีส ซูริค แฟรงเฟิร์ต

ประการที่ 2

ธนาคารกลางของอังกฤษเป็นประเทศแรกที่อยู่ในกลุ่ม Group of Seven ที่จะลงนามทำ Currency-Swap Agreement กับธนาคารกลางจีน โดยธนาคารกลางจีนจะให้กู้เงินหยวนแก่ธนาคารกลางอังกฤษราว 400,000 ล้านหยวน(64,000ล้านดอลล่าร์)เพื่อใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ

ปรากฏการณ์เช่นนี้สะท้อนว่า มีธนาคารกลางของหลายประเทศที่มีนโยบายที่จะกระจายสกุลเงินที่เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศให้มีหลากหลายสกุลมากขึ้น

แม้แต่ออสเตรเลียก็ประกาศว่าจะประกาศว่าจะแปลงทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของตน 5% ไปสู่พันธบัตรที่เป็นหยวน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายกระชับความสัมพันธ์กับประเทศในเอเชียแปซิฟิค โดยเฉพาะจีน

ปัจจุบันการค้าระหว่างออสเตรเลียกับจีน ใช้เงินหยวนกับเงินดอลล่าร์ออสเตรเลียโดยตรง โดยไม่ผ่านเงินดอลล่าร์สหรัฐและเงินยูโรแล้ว

ประการที่ 3

หากพิจารณาจากการเรียงลำดับข้างต้น จะพบว่าเงินหยวนใช้ในธุรกรรมระหว่างประเทศในฐานะสกุลที่ใช้ชำระหนี้ในอันดับที่ 13 เมื่อมกราคมและอันดับ 11 เมื่อมิถุนายน 2013 ขึ้นมาจากปีก่อนหน้า 6 อันดับ

นอกจากนั้น มูลค่าการชำระเงินระหว่างประเทศที่เป็นเงินหยวนก็เพิ่มขึ้น 24 0%ต่อปีจนแซงหน้าเงินรูเบิ้ลรัสเซีย และโครนเดนมาร์คไปเรียบร้อย

การใช้เงินหยวนในตลาดสิงคโปร์เพิ่มขึ้น 30%ต่อเดือน ขณะที่การใช้เงินหยวนในอังกฤษเพิ่มขึ้นถึง40%

เฉพาะปี 2012 การชำระเงินระหว่างประเทศด้วยเงินหยวนเพิ่มขึ้นถึง 900,000 ล้านหยวนเทียบกับเมื่อปี 2010 ปริมาณการใช้เงินหยวนแทบไม่มีเลย

ประการที่ 4

วิกฤติการณ์หนี้สินยูโร และวิกฤติการณ์ทางการเงินในสหรัฐ รวมทั้งภาระหนี้สินภาครัฐของสหรัฐที่มากกว่า GDP ได้มีส่วนกระตุ้นให้เกิดกระบวนการกระจายสกุลเงินทุนสำรองระหว่างประเทศออกไปสู่สกุลอื่นอย่างชัดเจน เพื่อเพิ่มทางเลือกในการถือสกุลเงินอื่น ลดการกระจุกตัวอยู่แต่เฉพาะเงินดอลล่าร์สหรัฐตลอดไปแบบไม่มีทางเลือก ต้องรองรับผลกระทบที่เกิดปัญหาและวิกฤติรุนแรงกับยุโรปและสหรัฐอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ประการที่ 5

แม้ว่าแนวคิดของรัฐบาลจีนเองและของตลาดการเงินโลก รวมทั้งใน AEC จะเปลี่ยนไปในทางบวกและการยอมรับเงินหยวนมากขึ้น แต่สัดส่วนการค้าระหว่างประเทศที่มีการชำระเงินระหว่างกันด้วยเงินหยวนยังถือว่าต่ำมากเทียบกับมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของจีนในตลาดโลก

ประการที่ 6

ช่องทางหนึ่งที่จีนเปิดกว้างมากขึ้น เพื่อให้นักลงทุนต่างประเทศเข้าถึงเงินหยวนมากขึ้นคือ การเปิดให้กิจการต่างชาติออกตราสารหนี้ในฮ่องกงเป็นเงินหยวนได้ เรียกว่า “Dim Som Bond” (ติ่มซำบอนด์)

ประการที่ 7

นโยบายหลักของรัฐบาลจีน คือ วางเป้าหมายให้เงินหยวนของจีนลอยตัวในอีก 5 ปีนี้ ระหว่างนี้ จึงเป็นช่วงของการปรับฐาน พื้นฐาน กลไก และระบบต่างๆที่มีความจำเป็นเพื่อรองรับการขยายบทบาทของหยวนในตลาดต่างประเทศ

ประการที่ 8

การใช้เงินหยวนเป็นสกุลในการชำระเงินในตลาด Offshore มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในตลาดอังกฤษที่แสดงท่าทีออกนอกหน้าว่าต้องการสนับสนุนเงินหยวนในบทบาทระดับโลกในอนาคต

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ส่วนแบ่งตลาดของเงินหยวนในการชำระเงินระหว่างประเทศได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่าตัว เมื่อเทียบกับเงินสกุลส่วนใหญ่ในเอเซียที่ทรงตัว

ความท้าทายที่สำคัญที่จะเป็นตัวตัดสินอนาคตของเงินหยวนในฐานะของสกุลเงินระหว่างประเทศ ได้แก่

ประการที่ 1

ปริมาณเงินหยวนในตลาด Offshore จะต้องมีมากเพียงพอ และมีสภาพคล่องท่วมท้น เหมือนกรณีของเงินดอลล่าร์สหรัฐ

สภาพคล่องที่มีมากเพียงพอจะทำให้การติดต่อทางธุรกิจระหว่างประเทศไหลลื่นไม่มีการสะดุดหยุดลงจนเกิดปัญหากับคู่สัญญา

ประการที่ 2

ผลิตภัณฑ์และเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง ที่จะออกมารองรับความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของเงินหยวนกับสกุลเงินของประเทศที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง จะต้องมีหลากหลาย ต้นทุนป้องกันความเสี่ยงต้องต่ำและไม่แตกต่างจากเครื่องมือที่เป็นสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐ และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องในการแบกรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเงินหยวนได้

ประการที่ 3

ความเชื่อมโยงและถ่ายโอนสภาพคล่องของเงินหยวนระหว่างตลาดการเงินแต่ละตลาดจะต้องปิดช่องว่างด้าน Time Zone หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง การไหลของเงินหยวน Offshore จะต้องต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง เหมือนกรณีของเงินดอลล่าร์สหรัฐ ที่สามารถหาได้ในทุกภูมิภาคของโลก

ประการที่ 4

ความเพียงพอและการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพของบรรดา Clearing Bank เพื่อให้การชำระหนี้ระหว่างประเทศในส่วนที่เป็น Offshore Yuan มีประสิทธิผล รองรับปริมาณธุรกรรมในเงินหยวนในอนาคตที่จะเพิ่มขึ้นได้

 

สถานการณ์ของค่าเงินหยวนในปัจจุบัน

(1)   ค่าเงินหยวนเพิ่มค่าขึ้นราว 34% เทียบกับเงินดอลล่าร์สหรัฐ นับตั้งแต่จีนได้ปฏิรูประบบอัตราแลกเปลี่ยนเงิน เมื่อ 8 ปีที่แล้ว( 21 กรกฎาคม 2005) โดยอัตราแลกเปลี่ยนค่ากลาง (Central Parity Rate) ของเงินหยวนอยู่ที่ 6.17 หยวนต่อดอลล่าร์

(2)   ค่าเงินหยวนเพิ่มค่าขึ้นราว 20% เทียบกับเงินยูโรในปัจจุบัน

(3)   ตลาดการเงินวิเคราะห์ว่าการเพิ่มค่าของเงินหยวนมาตามลำดับในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ทำให้ค่าเงินหยวนเคลื่อนไหวเข้าใกล้ดุลยภาพมากขึ้น และทำให้ค่าเงินหยวนพร้อมที่จะลอยตัว เพื่อให้ค่าเงินหยวนเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตามภาวะตลาดในอนาคต ตามนโยบายของรัฐบาลจีน

(4)   นับจากต้นปี 2013 เป็นต้นมา ค่าเงินหยวนที่ค้าขายในตลาดเพิ่มขึ้นประมาณ 65 วันทำการและลดลงประมาณ 63 วันทำการ

(5)   ผลการสำรวจตลาดของ HSBC พบว่า จาก 500 บริษัททั่วโลกที่สำรวจราว 70% ของบริษัทเหล่านี้มีการตอบรับทางบวก และยินดีที่จะใช้เงินหยวนเป็นสกุลในการชำระหนี้ทางการค้าระหว่างประเทศและการทำธุรกิจระหว่างประเทศใน 5 ปีข้างหน้า

นอกจากผู้ที่ถูกสำรวจราว 50% ยังเชื่อว่าตนได้เตรียมศึกษาข้อมูลของหยวน และสามารถติดตามสถานการณ์เงินหยวนในฐานะเงินตราเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศได้อย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่กิจการต่างๆเห็นว่ายังเป็นความท้าทายในการใช้เงินหยวนในตลาดการเงินระหว่างประเทศ 42%เห็นว่านโยบายการใช้และขั้นตอนการใช้เงินหยวนในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศอาจจะยังมีความซับซ้อนและยังยากทั้งด้านเอกสารและพิธีการ ไม่สะดวกเหมือนการใช้เงินดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งทางการจีนจะต้องให้ความชัดเจนในส่วนนี้แก่กิจการระหว่างประเทศ เพื่อลดความกังวลและเพิ่มความเต็มใจในการใช้เงินหยวนในตลาดการค้าและการติดต่อทางธุรกิจระหว่างประเทศ

ผู้ตอบแบบสำรวจมีความรู้ว่า เงินหยวนสามารถหาได้ในตลาดฮ่องกงและตลาดลอนดอนของอังกฤษมากกว่าตลาดอื่นๆ อย่างสิงคโปร์ ออสเตรเลีย เยอรมนี และสหรัฐ

บริษัทในฮ่องกงเห็นว่าตนจะได้ประโยชน์จากการที่หยวนใช้เป็นเงินสกุลชำระหนี้ระหว่างประเทศ 72% ของผู้ที่ตอบทั้งหมด และ 57% มีความเห็นเดียวกันในกรณีของกิจการที่ทำธุรกิจในลอนดอน ขณะที่กิจการในออสเตรเลียและสิงคโปร์มีความตระหนักในประโยชน์ของเงินหยวนต่อการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศน้อยกว่าฮ่องกงและอังกฤษ

(6)   ปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ได้หันมาเพิ่มน้ำหนักความสำคัญของการใช้เงินหยวนทั้งในด้าน

(ก)   การลงทุนระหว่างประเทศ

(ข)   การชำระหนี้ทางการค้าระหว่างประเทศ

ตลาดการเงินที่ค้าเงินหยวน เพื่อธุรกิจระหว่างประเทศปัจจุบันจึงมีทั้งปารีส แฟรงค์เฟิร์ท ซิดนีย์ และดูไบในฐานะศูนย์กลางการค้าหยวน Offshore หลังจากมีการนำร่องก่อนหน้านี้ในฮ่องกง ไทเป สิงค์โปร์ และลอนดอนไปแล้ว

(7)   ธนาคารกลางจีน ได้ทำความตกลงในด้าน Swap Line กับธนาคารกลางของประเทศหลายประเทศ ในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินกัน โดยล่าสุดเป็นความตกลงกับธนาคารกลางของอังกฤษ และธนาคารกลางของอียู ธนาคารกลางของฝรั่งเศส การทำSwap ดังกล่าวเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภาวะผิดปกติที่ทำให้เกิดการขาดแคลนสภาพคล่องของเงินหยวนในตลาดยุโรป

(Cool   การติดต่อธุรกรรมระหว่างประเทศในฝรั่งเศสราว 10% กำหนดสกุลเงินเป็นหยวน และเงินฝากธนาคารในฝรั่งเศสเป็นสกุลหยวนมีปริมาณกว่า 10,000 ล้านหยวนมากที่สุดเป็นขณะที่ฮ่องกงมีหยวนมากที่สุดราว 70% ของเงินฝากหยวนในตลาด Offshore
บันทึกการเข้า

What man is a man , who does not make the world better?
SillyOldMan
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1984
ออฟไลน์

กระทู้: 7567


ผ่านทะเล เห็นบึงน้ำไร้ความหมาย


« ตอบ #46 เมื่อ: มิถุนายน 25, 2014, 10:35:26 PM »

ข่าวข้อตกลงใช้เงินสกุลหยวน-รูเบิล แลกเปลี่ยนกันโดยตรงของจีนกับรัสเซีย

http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/china-economic-business/result.php?SECTION_ID=465&ID=6256

เงินหยวนจีนและเงินรูเบิ้ลรัสเซีย จีนเร่งสร้างเงินหยวนให้เป็นสกุลเงินสากล
เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ธนาคารกลางจีนเริ่มการแลกเปลี่ยนเงินระหว่างเงินหยวนกับเงินรูเบิ้ลของรัสเซียในตลาดเงินระหว่างประเทศ ถือเป็นความพยายามผลักดันการใช้เงินหยวนในการค้าระหว่างประเทศให้มากขึ้น ต่อจากการเริ่มให้ใช้เงินหยวนแลกเปลี่ยนกับเงินริงกิตของมาเลเซียเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม นอกจากนี้ ธนาคารกลางจีนอยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะเปิดธุรกรรมการทำฟิวเจอร์และสวอปเงินสกุลรูเบิ้ลกับเงินหยวนหรือไม่ ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ศูนย์ปริวรรตเงินตราของจีนเพิ่มการประกาศอัตราแลกเปลี่ยนกลางของเงินหยวนต่อสกุลเงินต่างประเทศจากเดิมที่มีอยู่ 5 สกุลเงิน เป็น 7 สกุลเงินแล้ว แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของจีนในกระบวนการผลักดันการเป็นสกุลเงินสากลของเงินหยวน

เมื่อวันที่ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา เงินรูเบิ้ลของรัสเซียกลายเป็นสกุลเงินที่ 7 ที่มีการซื้อขายในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างธนาคารของจีน เนื่องจากเศรษฐกิจการค้าของจีนและรัสเซียเริ่มฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก และมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี ดังนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกต่อความร่วมมือของทั้งสองประเทศ และตอบสนองความต้องการของธุรกิจในการแลกเปลี่ยนเงินตรา ผู้นำของทั้งสองประเทศได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกันเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในการสร้างระบบแลกเปลี่ยนเงินของทั้งสองประเทศขึ้น โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์ปริวรรตเงินตราของจีน กล่าวว่า ปัจจุบันเงินหยวนและเงินรูเบิ้ลไม่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่ในการใช้ชำระบัญชี ดังนั้นจึงสามารถแลกเปลี่ยนกันได้โดยตรง นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ศูนย์ปริวรรตเงินตราของจีนยังเปิดเผยว่า ในการพิจารณาเปิดธุรกรรมการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างเงินหยวนกับสกุลเงินอื่นๆ ในตลาดปริวรรตเงินตราระหว่างประเทศของจีน ธนาคารกลางจีนใช้ปริมาณการค้าระหว่างประเทศ ความเป็นไปได้ในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินโดยตรงระหว่างสองสกุล ปริมาณความต้องการของผู้ใช้ รวมทั้งความเสรีของตลาดการเงิน เป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณา

เนื่องจากปริมาณการค้าระหว่างประเทศของจีนที่เพิ่มมากอย่างต่อเนื่อง คาดว่าในอนาคตการแลกเปลี่ยนเงินหยวนกับสกุลเงินอื่นโดยตรงจะเพิ่มมากขึ้นต่อไป ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการแลกเปลี่ยนเงินตราในการค้าระหว่างประเทศให้ลดลง และเร่งกระบวนการผลักดันการเป็นสกุลเงินสากลของเงินหยวนให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น






ผมจงใจเลือกสำนักข่าวที่เขียน"เบา"ที่สุดมาให้อ่านแล้วนะ

เวบmanagerกับNationเขียนผลกระทบไว้แรงกว่านี้มากๆ

บันทึกการเข้า

What man is a man , who does not make the world better?
SillyOldMan
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1984
ออฟไลน์

กระทู้: 7567


ผ่านทะเล เห็นบึงน้ำไร้ความหมาย


« ตอบ #47 เมื่อ: มิถุนายน 25, 2014, 10:44:05 PM »

ข่าวจีนลงทุนในอังกฤษฉบับแรก

http://dailynews.co.th/Content/foreign/245869/index.html


จีน-อังกฤษลงนามการค้ามูลค่ามหาศาลสองชาติมหาอำนาจโลกจีนกับอังกฤษลงนามในข้อตกลงการค้ามูลค่ากว่า 700,000 ล้านบาท

วันพุธ 18 มิถุนายน 2557 เวลา 09:27 น.        สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่18 มิ.ย.ว่า นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียงแห่งจีนได้ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามในข้อตกลงการค้าหลายฉบับกับอังกฤษมูลค่า 14,000 ล้านปอนด์หรือราว 758,400ล้านบาท การเยือนกรุงลอนดอนของผู้นำจีนมีเป้าหมายเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ2ของโลกกับเมืองหลวงทางการเงินของยุโรป นอกจากนี้ นายกฯหลี่ยังเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่2 และหารือกับนายกรัฐมนตรีเดวิดคาเมรอน แห่งอังกฤษ

         นายกฯคาเมรอนกล่าวว่าอังกฤษต้องการกระชับความสัมพันธ์อันแข็งแกร่งกับจีนในทุกระดับตั้งแต่ธุรกิจไปจนถึงความเข้าใจทางวัฒนธรรม และการที่สองประเทศลงนามในข้อตกลงการค้าเพื่อส่งเสริมอาชีพการงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวของชาวอังกฤษและชาวจีน

          ส่วนนายกฯหลี่ ซึ่งเดินทางเยือนอังกฤษเป็นครั้งแรกในฐานะนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สองประเทศได้ขยายผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งนี้ บีพีบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของอังกฤษและซีเอ็นโอโอซี บริษัทน้ำมันจีนได้ลงนามในข้อตกลงมูลค่า11,800 ล้านปอนด์ โดยบีพีจะส่งก๊าซธรรมชาติเหลวให้แก่จีนเป็นเวลา20 ปี อย่างไรก็ตาม ทั้งนายกฯคาเมรอนและนายกฯหลี่ได้หารือกันถึงประเด็นผู้ก่อการร้าย อิรัก และยูเครน แต่ไม่มีการพาดพิงถึงปัญหาสิทธิมนุษยชนในจีน





***ฉบับที่ลงข่าวในที่อื่นๆวันนี้ ระบุว่าจีนใส่ข้อตกลงให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนปอนด์-หยวนโดยตรง.....ดอลล่าร์กงเต๊กห้ามมาเกี่ยว
บันทึกการเข้า

What man is a man , who does not make the world better?
อดิศักดิ์--รักในหลวง--
เวลากับการเรียนรู้
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 463
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3606


เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์


« ตอบ #48 เมื่อ: มิถุนายน 25, 2014, 10:55:10 PM »

 เยี่ยม เยี่ยม Grin Grin
บันทึกการเข้า

"ล้างบางจัญไรแผ่นดิน"
rute - รักในหลวง
Forgive , But not Forget .
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1960
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 22591


"ผลิดอกงามแตกกิ่งใบ..."


« ตอบ #49 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2014, 12:25:43 AM »

+1 พี่จ้าวครับ... เยี่ยม
บันทึกการเข้า
rute - รักในหลวง
Forgive , But not Forget .
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1960
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 22591


"ผลิดอกงามแตกกิ่งใบ..."


« ตอบ #50 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2014, 12:28:04 AM »

คิดไปคิดมา  อยากให้โอบามา โดน "ปืนจี้"  ก่อนครับ   Cheesy

ชะตากรรมเริ่มแล้วละครับท่าน

รัสเซีย-จีนทำข้อตกลง เรื่องการไม่ใช้ดอลลาร์ในการซื้อขายแลกเปลี่ยน

วันนี้จีนไปลงทุนในอังกฤษ800,000ล้าน ก็ทำข้อตกลง"ไม่ใช่"สกุลดอลลาร์ในการแลกเปลี่ยน.....
สมเด็จพระราชินิอลิซาเบธเป็นองค์ประธาน



5555   เฮ้ย  พี่ม้อม  อ่ะ ฮา5555

ถ้าเป็นความจริง   เป็น " เรื่องใหญ่ เรื่องโต " เลยน๊าา  อ่ะ ฮา

ข่าวข้างบน  ยาย  " ไม่เชื่อ "อ่ะ ฮา 555  แลบลิ้น
ยายจัดชั้นแค่  เป็น  " Fake news "  อ่ะ ฮา  ขำก๊าก ขำก๊าก ขำก๊าก

โถ   ก็แค่เรื่อง  " พลังงาน "  เรื่องเดียว อ่ ะ ฮา

เขายังกำหนด ราคา  เป็น " ยู เอส ดอลล่าร์ " เลย อ่ะ ฮา

แล้วเรื่องใหญ่โต  ขนาด  " พลิกโลก "  พลิกเศรษฐกิจ ฮา

มันเปลี่ยนแปลง  อะไร เปลี่ยน "สกุล เงินตรา "  ชั่วข้ามคืน  ไม่ได้ร๊อกส์ อ่ะ ฮา

555555  ยายไม่ต้องเปิด  " cnn " ดูร๊อกส์  สรุปเป็นเรื่อง  " เต้า "   อ่ะ ฮา 55555555555  ขำก๊าก ขำก๊าก ขำก๊าก

ยายหน้าแตกแน่นอน...  คิก คิก คิก คิก คิก คิก

ข่าวจีนลงทุนในอังกฤษฉบับแรก

http://dailynews.co.th/Content/foreign/245869/index.html


จีน-อังกฤษลงนามการค้ามูลค่ามหาศาลสองชาติมหาอำนาจโลกจีนกับอังกฤษลงนามในข้อตกลงการค้ามูลค่ากว่า 700,000 ล้านบาท

วันพุธ 18 มิถุนายน 2557 เวลา 09:27 น.        สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่18 มิ.ย.ว่า นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียงแห่งจีนได้ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามในข้อตกลงการค้าหลายฉบับกับอังกฤษมูลค่า 14,000 ล้านปอนด์หรือราว 758,400ล้านบาท การเยือนกรุงลอนดอนของผู้นำจีนมีเป้าหมายเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ2ของโลกกับเมืองหลวงทางการเงินของยุโรป นอกจากนี้ นายกฯหลี่ยังเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่2 และหารือกับนายกรัฐมนตรีเดวิดคาเมรอน แห่งอังกฤษ

         นายกฯคาเมรอนกล่าวว่าอังกฤษต้องการกระชับความสัมพันธ์อันแข็งแกร่งกับจีนในทุกระดับตั้งแต่ธุรกิจไปจนถึงความเข้าใจทางวัฒนธรรม และการที่สองประเทศลงนามในข้อตกลงการค้าเพื่อส่งเสริมอาชีพการงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวของชาวอังกฤษและชาวจีน

          ส่วนนายกฯหลี่ ซึ่งเดินทางเยือนอังกฤษเป็นครั้งแรกในฐานะนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า สองประเทศได้ขยายผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งนี้ บีพีบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของอังกฤษและซีเอ็นโอโอซี บริษัทน้ำมันจีนได้ลงนามในข้อตกลงมูลค่า11,800 ล้านปอนด์ โดยบีพีจะส่งก๊าซธรรมชาติเหลวให้แก่จีนเป็นเวลา20 ปี อย่างไรก็ตาม ทั้งนายกฯคาเมรอนและนายกฯหลี่ได้หารือกันถึงประเด็นผู้ก่อการร้าย อิรัก และยูเครน แต่ไม่มีการพาดพิงถึงปัญหาสิทธิมนุษยชนในจีน





***ฉบับที่ลงข่าวในที่อื่นๆวันนี้ ระบุว่าจีนใส่ข้อตกลงให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนปอนด์-หยวนโดยตรง.....ดอลล่าร์กงเต๊กห้ามมาเกี่ยว
บันทึกการเข้า
SillyOldMan
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1984
ออฟไลน์

กระทู้: 7567


ผ่านทะเล เห็นบึงน้ำไร้ความหมาย


« ตอบ #51 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2014, 02:02:26 AM »

ขอบคุณครับพี่รุต  ไหว้

สัญญาซื้อขายก๊าซเป็นแค่จุดเริ่มต้น อังกฤษเองยิ่งภาวนาให้เป็นแค่จุดเริ่มต้น

จีนก็ยิ่งไม่ยอมแค่ซื้อก๊าซอย่างเดียว เขาวางแผนจะลงทุนเพื่อใช้อังกฤษเป็นฐานช่วยถอนทุนจากด้าน/ประเทศอื่นๆด้วยแน่นอน

ชาติอื่นๆในยุโรปเขาก็คงหยิ่ง ไม่ได้สนใจอยากได้สัญญาซื้อขายมูลค่าแค่นี้กันหรอกด

เขายอมกอดดอลล่าร์เอาไว้จนตัวตายกันทั้งนั้นแหละ อัตราว่างงานของยุโรปตอนนี้อยู่แค่1ใน4เท่านั้นเอง คิก คิก
บันทึกการเข้า

What man is a man , who does not make the world better?
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #52 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2014, 02:12:52 AM »

จีนครองโลกด้วย"Made in China"เลยไม่กลัวใคร

หยวนไม่ขึ้น ไม่ลงกะใครเค้า ข้าใหญ่ 

ผมว่าเหมือนรอระเบิดอ่ะ  ตรึงค่าเงินตัวเองแบบนี้ อยากรู้ข้อมูล ชาติต่างๆ กล้าถือหยวนกันเท่าไหร่ ไม่ค่อยได้ยินครับ

ได้ยินแว่วๆว่าค่าครองชีพ เงินเฟ้อในจีนก็กระฉูดเหมือนกัน ค่าแรงบางมณทลแพงกว่าบ้านเราเยอะ  Grin

แต่จริงๆผมว่าทุกประเทศถ้าคิดเป็น จะระแวงจีนอยู่ในที ถ้าปล่อยจีนเข้ามาเต็มตัว ธุรกิจประเทศตัวเองชิหายหมด  จีนกะกินรวบทั้งนั้น อย่างตอนนี้จีนกำลังลดจุดอ่อน ส่งคนไปเรียนประเทศต่างๆมากขึ้นๆ กะตัดคนกลาง ส่งคนตัวเองเข้ามาเป็นต้นน้ำ ปลายน้ำเอง ผมว่าไทยรู้นะ ส่งออก-นำเข้า ยังมีกั๊กๆ จีนบอก เอารถไฟฟ้ามั้ย ความเร็วสูงมั้ย เดี๋ยวทำให้  ไทยยังไม่กล้าเอาเลย  คิก คิก

ฝรั่งมันยังไม่รุกแบบจีนนะ มันยังเว้นช่องให้มีตัวกลาง ตัวแทน คือแบ่งกันกินนะ ไม่กะกินรวบ แต่จีนผมว่าไม่คิดแบบนั้น กะกินรวบ  ถ้าเปิดอ้าซ่า ให้จีนเข้ามาเสรี รับรอง พัง เค้ากินรวบแน่นอน พังระเนระนาด ไม่ว่าใหญ่รึเล็ก  Grin
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
SillyOldMan
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1984
ออฟไลน์

กระทู้: 7567


ผ่านทะเล เห็นบึงน้ำไร้ความหมาย


« ตอบ #53 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2014, 02:21:28 AM »

เปิดอ้าซ่าไม่ว่ากับใครก็ทำไม่ได้ครับ โง่บัดซบเกินไป

จีนต่างจากอเมริกา/ยุโรปตรงที่ข้อตกลงทางการค้าก็จะใส่เงื่อนไขมาแต่เรื่องการค้า ไม่มีนิสัยผนวกเรื่องการเมืองการทหารไปบีบใครเหมือนยุโรป/อเมริกา
บันทึกการเข้า

What man is a man , who does not make the world better?
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #54 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2014, 02:27:17 AM »

ฝรั่งมันยังมีนิสัยขี้เกียจ  แค่ขยันสร้างแบรนท์  สร้างมูลค่า ประเทศไหนอยากทำ ก็มาซื้อลิขสิทธิ์ไปสิ  คิก คิก

แต่จีนมีจุดอ่อนตรงนี้ แบรนท์ยังไม่แข็ง อาศํยตรึงค่าเงิน ผลิตสินค้าได้ถูกกว่าชาวบ้านเค้า

ผมมองแววตาพวกคนจีนที่เพิ่งหัดออกเที่ยวตปท.  สีหน้า มันอยากเซ็งลี้ทั้งนั้น  คิก คิก
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #55 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2014, 02:33:26 AM »

ผมมองว่าจีนกำลังส่งคน ทะยอยเข้ามาแล้ว2-3ปีนี้ ทะยอยส่งเข้ามาเรื่อยๆ ภาคท่องเที่ยวชัดเจนที่สุด พี่จ้าวคลุกวงในมากคงรู้ดี

เหมือนรัสเซียเช่นกัน กำลังมากลืน มาครอบครองมากมายหลายปีมานี้

ผมเดานะ ในเกาะเราเนี่ย ต่างชาิตครอบครองน่าจะเกินครึ่งไปแล้ว แค่จังหวัดเดียวนะ  ตกใจหน้าซีด
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
bigbang
จงใช้สติก่อนใช้ปืน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1018
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6603


รูปจากเวปผู้จัดการครับ


« ตอบ #56 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2014, 07:39:23 AM »

เชื่อว่าเมกา ดำเนินการฑูตผิดๆก็เพราะเชื่อ อีนังขี้ฑูต คริสตี้ 

ทูตจีนพบ"ประจิน"ย้ำมั่นใจคสช.บริหารประเทศ
เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนยังได้แสดงความเข้าใจสถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยกล่าวว่าสถานการณ์ที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นอย่างมาก แต่หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้เข้ามาบริหารจัดการและใช้นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจทางด้านต่างๆ.......
อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1wwGGtB
บันทึกการเข้า

อเสวนา จะ พาลานัง
ค..ควาย...ใส่ชฎา
Hero Member
*****

คะแนน -15856
ออฟไลน์

กระทู้: 13569


No justice No peace


« ตอบ #57 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2014, 10:08:23 AM »

ข่าวจีนลงทุนในอังกฤษฉบับแรก

http://dailynews.co.th/Content/foreign/245869/index.html


จีน-อังกฤษลงนามการค้ามูลค่ามหาศาลสองชาติมหาอำนาจโลก
จีนกับอังกฤษลงนามในข้อตกลงการค้ามูลค่ากว่า 700,000 ล้านบาท

วันพุธ 18 มิถุนายน 2557 เวลา 09:27 น.       
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ

เมื่อวันที่18 มิ.ย.ว่า นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียงแห่งจีน  ได้ร่วมเป็นสักขีพยาน
การลงนามในข้อตกลงการค้าหลายฉบับกับอังกฤษมูลค่า 14,000 ล้านปอนด์หรือราว 758,400ล้านบาท

การเยือนกรุงลอนดอนของผู้นำจีนมีเป้าหมายเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการค้า
ระหว่างมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ2ของโลก  กับเมืองหลวงทางการเงินของยุโรป

นอกจากนี้ นายกฯหลี่ยังเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่2
และหารือกับนายกรัฐมนตรีเดวิดคาเมรอน แห่งอังกฤษ

นายกฯคาเมรอนกล่าวว่าอังกฤษต้องการกระชับความสัมพันธ์อันแข็งแกร่งกับจีนในทุกระดับ
ตั้งแต่ธุรกิจไปจนถึงความเข้าใจทางวัฒนธรรม

และการที่สองประเทศลงนามในข้อตกลงการค้าเพื่อส่งเสริมอาชีพการงาน
และการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวของชาวอังกฤษและชาวจีน

ส่วนนายกฯหลี่ ซึ่งเดินทางเยือนอังกฤษเป็นครั้งแรก  ในฐานะนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า
สองประเทศได้ขยายผลประโยชน์ร่วมกัน

ทั้งนี้  บีพีบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของอังกฤษ   และซีเอ็นโอโอซี บริษัทน้ำมันจีน

ได้ลงนามในข้อตกลงมูลค่า11,800 ล้านปอนด์
โดยบีพีจะส่งก๊าซธรรมชาติเหลวให้แก่จีนเป็นเวลา20 ปี

อย่างไรก็ตาม ทั้งนายกฯคาเมรอนและนายกฯหลี่ได้หารือกัน
ถึงประเด็นผู้ก่อการร้าย อิรัก และยูเครน
แต่ไม่มีการพาดพิงถึงปัญหาสิทธิมนุษยชนในจีน


***ฉบับที่ลงข่าวในที่อื่นๆวันนี้ ระบุว่า

จีนใส่ข้อตกลงให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนปอนด์-หยวนโดยตรง.....
ดอลล่าร์กงเต๊กห้ามมาเกี่ยว




55555555    ยายเขียน  " เรื่องจริง " ที่เกิดขึ้น ก่อนอ่ะ ฮา 5555

1.  เหลิน หมิน ปี้  เป็นสกุลเงินตรา  ที่ทั่วโลก เริ่มเก็บ หรือให้ความสำคัญ กับการ วางสัดส่วน "ทุนสำรอง ประเทศ "  อ่ะ ฮา
     เพื่อเป็นการกระจาย ความเสี่ยง  ในการถือครอง  สกุลเงินตรา  ชนิด อื่น อ่ะ ฮา
 
     (มันก็เหมือนกับไทยในอดีต  ที่เราถือแต่  ดอลล่าร์  อย่างเดียว อ่ะ
      ไทยเราเคยเจอ  "วิกฤติ "  ตอนสมัย .....จำไม่ได้  ตอนนั้นค่าเงิน ยูเอส ตกมากอ่ะ
      เรากระจายการถือ ทุนสำรอง  เป็น เงินสกุลอื่น  หลายชนิด อ่ะ ฮา)

     ตอนนี้ ไอ้ เงินตราสกุลไหนบ้าง  ที่ถูกถือครอง เป็นอันดับสูงสุด

     ยูโร / ดอลล่าร์สหรัฐ / ปอนด์อังกฤษ  / และ น้องใหม่คือ  เหลิน หมิน ปี้  อ่ะ ฮา

      ในอนาคต  เหลิน หมิน ปี้  จะมีสัดส่วนการถือครอง มากกว่า ปอนด์ อ่ะ ฮา
      แต่จะ  น้อยกว่า  ยูโร  และ  ยูเอส ดอลล่าร์   เพราะ (ยายเชื่อเอาเอง)  ว่า
      เหลิน หมิ้น ปี้  ทางจีน เขาวาง ค่า อัตราแลกเปลี่ยน คงที่ อ่ะ ฮา

      ค่าเงินของจีน  ที่มีมูลค่าราคาถูก  ทำให้  การส่งออกสินค้า  ส่งไปตีตลาดได้ทั่วโลก อ่ะฮา
      เคยมี  คู่ค้าในยุโรป  เรียกร้องให้จีน  " เปลี่ยนแปลง ค่าเงิน " แต่จีนเฉย อ่ะ ฮา
      ซึ่งปัจจุบัน  จีนน่าจะมีเงินทุน  สำรองระหว่างประเทศ  มากเป็นอันดับแรก ๆ อ่ะ ฮา

2.   ตามข่าวข้างบน

     นายกจีน  ได้ร่วมเป็นสักขีพยาน การลงนามในข้อตกลงการค้า
     กับอังกฤษมูลค่า 14,000 ล้านปอนด์หรือราว 758,400ล้านบาท

     การทำสัญญาครั้งนี้ ยายยังไม่ได้หาข้อมูลว่าเป็นการ
     ทำธุรกิจ  ของเอกชนจีน  หรือ กึ่งราชการ ของจีน อ่ะ
     
     มูลค่าการลงนาม ข้อตกลงทางการค้า  เขายังใช้ ปอนด์ เป็นหลัก อ่ะ ฮา
     แต่เมื่อ  ได้เงิน ได้ทอง มีกำไรแล้ว  มันมีสองวิธี ที่จะเอาเงิน กลับไปจีน ฮา
     คือ  แปลง หรือ เอ็กเซ้นท์ เป็น  เหลิน หมิน ปี้  หรือไม่ก็เอา ปอนด์กลับ

     "ควีนส์" ไม่ได้เข้าเป็นส่วนหนึ่ง ในการลงนามในสัญญา ทางการค้าครั้งนี้
     นายกจีน  ขอเข้าเฝ้า  เพื่อแสดงความ เคารพ ตามธรรมเนียม  เท่านั้น อ่ะ ฮา
บันทึกการเข้า

หัว...ฆรวย

หัวโขนมิวางออก              เจ้าหลงครอบไปทุกที่
อ่าองค์ว่าโสภี                  นฤดีปริ่มเปรมใจ
ลืมไปว่าที่ครอบ                ต้องวางออกนหทัย
สวมครอบตัวตนไว้             ก็แค่ควายใส่ชฎา
ค..ควาย...ใส่ชฎา
Hero Member
*****

คะแนน -15856
ออฟไลน์

กระทู้: 13569


No justice No peace


« ตอบ #58 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2014, 10:29:43 AM »

Source:  bangkok.usembassy.gov

Thailand: A Democracy at Risk

June 24, 2014

Scot Marciel
Principal Deputy Assistant Secretary, Bureau of East Asian and Pacific Affairs
Testimony Before the House Committee on Foreign Affairs Subcommittee on Asia and the Pacific
Washington, DC

ประเทศไทย: ประชาธิปไตยในภาวะเสี่ยง

24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

คำให้การของนายสก็อต มาร์เซียล รองผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ
ฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก  ต่อคณะอนุกรรมาธิการการต่างประเทศด้านกิจการเอเชียตะวันออก
และแปซิฟิกของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ
กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

เรียน ท่านประธานชาบอทและสมาชิกคณะอนุกรรมาธิการฯ

ขอขอบคุณที่เปิดโอกาสให้ผมเข้าพบในวันนี้เพื่อแถลงเกี่ยวกับรัฐประหารในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้

ความสัมพันธ์สหรัฐอเมริกา-ไทย

ปีที่แล้ว สหรัฐฯ ได้จัดงานเพื่อระลึกวาระครบรอบ 180 ปี แห่งมิตรสัมพันธ์กับประเทศไทย
ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าพันธมิตรตามสนธิสัญญาของสหรัฐฯ ในเอเชีย ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดยิ่ง
และความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ กับไทยทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกด้านการบังคับใช้กฎหมาย
ด้านการไม่แพร่ขยายอาวุธ และด้านความมั่นคง ก็ดำเนินไปอย่างดีเยี่ยมมาตลอด
กองทัพของสหรัฐฯ เข้าร่วมในการฝึกซ้อมร่วมทางทหารที่สำคัญอย่างหลากหลายทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี

ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกซ้อมทางทหารคอบร้าโกลด์ ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมร่วมทางทหารประจำปี
ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมีกองกำลังจาก 27 ประเทศเข้าร่วม
เช่น สหรัฐฯ ไทย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ ตลอดจนประเทศผู้สังเกตการณ์อีกหลายประเทศ
การฝึกซ้อมร่วมเช่นนี้มอบโอกาสอันมีค่าสำหรับกองทัพสหรัฐฯ ในการพัฒนาความสัมพันธ์ที่สำคัญ
อีกทั้งเพิ่มพูนการประสานงานและความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งรวมถึงการตอบสนองต่อวิกฤตด้านมนุษยธรรม

ประเทศไทยมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในประเด็นและเป้าหมายด้านมนุษยธรรมมามาเป็นเวลาหลายปี
โดยได้ให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยหลายแสนคนช่วงหลังสงครามเวียดนาม
และทุกวันนี้ยังคงเป็นที่พักพิงของผู้ลี้ภัย 140,000 คน ซึ่งรวมถึงชนกลุ่มน้อยที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง
และต้องเผชิญกับปัญหาหรือถูกเบียดเบียนในส่วนอื่นของภูมิภาค
ประเทศไทยดำรงบทบาทที่สร้างสรรค์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมาอย่างยาวนาน
ทั้งในฐานะสมาชิกอาเซียนและเอเปค ตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา
สหรัฐฯ ทำงานร่วมกับชาวไทยอย่างใกล้ชิดในการตอบสนองต่อภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในภูมิภาค อาทิเช่น
เหตุการณ์ที่พม่าซึ่งประเทศเพื่อนบ้านของไทยประสบภัยจากพายุไซโคลนครั้งร้ายแรงเมื่อพ.ศ. 2551
นอกจากนี้ สหรัฐฯ และไทยยังร่วมงานกันอย่างใกล้ชิดในด้านสุขภาพ  ซึ่งเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญ
ของความร่วมมือระดับทวิภาคีที่ประสบความสำเร็จของทั้งสองประเทศ ผ่านการดำเนินงานของหน่วยงานที่สำคัญ
อาทิ ศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐฯ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร ไทย-สหรัฐฯ
ในความร่วมมือนี้ ประเทศไทยได้ช่วยพัฒนาวัคซีนสำหรับเชื้อเอชไอวี/เอดส์เพียงหนึ่งเดียว
ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าให้ผลจริงจากการวิจัยในมนุษย์

ทางด้านการค้า สหรัฐฯ คือคู่ค้าที่ใหญ่เป็นอันดับสามของไทย
ด้วยมูลค่าการค้าระหว่างกันมากกว่า 3หมื่น 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งยังเป็นประเทศที่เข้าลงทุนในไทยมากเป็นอันดับสามด้วยมูลค่าการลงทุนโดยตรงสะสม
มากกว่า 1หมื่น 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ   ประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสอง
ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากอินโดนีเซีย และหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย
ได้เป็นตัวแทนของกว่า 800 บริษัทที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในเกือบทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจไทย

สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการดำเนินงานของรัฐบาลสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้

ทั้งยังคงเป็นหนึ่งในสถานทูตสหรัฐฯ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย
ด้วยพนักงานชาวไทยและชาวอเมริกันกว่า 3,000 คน
จากหน่วยงานต่างๆ มากกว่า 60 หน่วย สหรัฐฯ และไทยดำเนินความสัมพันธ์ระดับประชาชนอย่างใกล้ชิด
โดยมีอาสาสมัครหน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกาในประเทศไทยมากกว่า 5,000 คน
เข้ามาปฏิบัติงานที่ได้รับผลสำเร็จลุล่วงในประเทศไทยตลอด 52 ปีที่ผ่านมา

ด้วยเหตุผลทั้งหมดข้างต้น สหรัฐฯ ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสัมพันธ์กับประเทศไทย
และต่อประชาชนชาวไทย ตลอดหลายปีมานี้ สหรัฐฯ ยินดีที่ได้เห็นประเทศไทย
สร้างความเจริญรุ่งเรืองและพัฒนาประชาธิปไตย จนนับว่าเป็นความสำเร็จของภูมิภาคในหลากหลายด้าน
ทั้งยังเป็นคู่ความร่วมมือใกล้ชิดของสหรัฐฯ ในประเด็นความสนใจร่วมกันต่างๆ
เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย การลักลอบค้าสัตว์ป่า อาชญากรรมข้ามชาติ
ความมั่นคงทางพลังงาน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

สถานการณ์ทางการเมืองและรัฐประหารในประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องผจญกับการถกเถียงโต้แย้งว่าด้วยการเมืองภายในประเทศ
ซึ่งไม่เพียงทวีความแตกแยกในชั้นการเมืองเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงสังคมโดยรวมอีกด้วย
หากจะให้บรรยายการโต้เถียงที่ซับซ้อนนี้คงต้องใช้เวลามากเกินกว่าที่เรามีในวันนี้
แต่โดยพื้นฐานแล้ว นี่เป็นเรื่องระหว่างฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ผู้ซึ่งมีแนวทางทางการเมืองและการปกครองที่สร้างอิทธิพลอย่างมาก

ทว่าก็ทำให้เขากลายเป็นบุคคลที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกเป็นฝักฝ่าย
การถกเถียงโต้แย้งนี้ยังสะท้อนปัญหาความขัดแย้งที่ร้าวลึกมากยิ่งขึ้นระหว่างฝ่ายต่างๆ ในสังคม
บนพื้นฐานของทั้งสถานภาพทางสังคมเศรษฐกิจและภูมิศาสตร์ ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา
การเมืองไทยเต็มไปด้วยการถกเถียงโต้แย้ง การชุมนุมประท้วง หรือแม้กระทั่งความรุนแรงในบางครั้ง
ระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่ประชันกันแย่งชิงอิทธิพลทางการเมือง
ความแตกแยกเช่นนี้นำไปสู่เหตุการณ์รัฐประหารเมื่อพ.ศ. 2549
และอีกครั้งหนึ่งเมื่อเดือนที่แล้ว

รัฐประหารครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในช่วงสิ้นสุดการต่อสู้ดิ้นรนทางการเมืองอย่างร้อนแรงกว่าหกเดือน
ระหว่างกลุ่มที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน จนนำมาซึ่งการชุมนุมนานหลายเดือนบนท้องถนนของกรุงเทพมหานคร
รวมถึงการเข้ายึดอาคารสถานที่ราชการ ความพยายามประนีประนอมไม่ประสบผลสำเร็จ

และในวันที่ 22 พฤษภาคม กองทัพก็ได้ก่อรัฐประหาร บรรดาผู้นำกองทัพให้เหตุผลว่า
รัฐประหารครั้งนี้เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง ยุติภาวะอัมพาตทางการเมือง
และสร้างเงื่อนไขปัจจัยสู่ประชาธิปไตยที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น

ตลอดช่วงทศวรรษแห่งความปั่นป่วนนี้ โดยเฉพาะระหว่างช่วงหกเดือนอันวุ่นวายที่เพิ่งผ่านมา
จุดยืนของสหรัฐฯ คือหลีกเลี่ยงการเลือกข้างในการชิงชัยทางการเมืองภายในของประเทศไทย
ขณะที่ยังคงเน้นย้ำสนับสนุนหลักการประชาธิปไตยและยึดมั่นในความสัมพันธ์กับประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

สหรัฐฯ แสดงความไม่เห็นด้วยต่อรัฐประหารหรือการกระทำนอกรัฐธรรมนูญอื่นๆ ในหลายโอกาส
ทั้งที่เปิดเผยและไม่ได้เปิดเผยสู่สาธารณะ สหรัฐฯ ได้เน้นย้ำว่า วิถีทางประชาธิปไตยหนึ่งเดียว
ที่จะแก้ไขปัญหาได้คือการให้ประชาชนเลือกผู้นำและนโยบายที่พวกเขาพึงพอใจผ่านการเลือกตั้ง

สหรัฐฯ สื่อสารดังกล่าวโดยตรงไปยังเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทางการไทยมาโดยตลอด
ผ่านเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย รวมถึงระหว่างการเยือนไทยโดยเจ้าหน้าอาวุโส
ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ตลอดจนผ่านช่องทางการทหารทั้งระดับสูงและระดับปฏิบัติงาน

อย่างไรก็ดี เมื่อเกิดรัฐประหาร เราได้แสดงการตอบโต้ทันทีตามหลักการของเรา
ด้วยการแสดงความไม่เห็นด้วยต่อการใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซง

เริ่มด้วยคำแถลงของรัฐมนตรีแคร์รีเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ซึ่งเราได้กล่าวตำหนิการทำรัฐประหารมาอย่างต่อเนื่อง
พร้อมกับได้เรียกร้องให้มีการจัดตั้งรัฐบาลพลเรือน ให้ประเทศไทยกลับสู่ระบอบประชาธิปไตย
ตลอดจนการเคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
ซึ่งรวมถึงเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบ
เราได้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ของไทยว่า เราเข้าใจดีถึงความอึดอัดใจกับปัญหาการเมืองที่มีมายาวนาน
แต่ได้เน้นว่า การทำรัฐประหารนั้นนอกจากจะไม่ใช่การแก้ไขปัญหาแล้ว ยังเป็นการก้าวถอยหลังด้วยซ้ำไป

ในช่วงแรก เรายังมีความหวังว่า การรัฐประหารครั้งนี้จะคล้ายกับรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549
กล่าวคือ ฝ่ายทหารจะโอนถ่ายอำนาจสู่รัฐบาลพลเรือนอย่างรวดเร็วและเดินหน้าจัดการเลือกตั้งที่เสรีและเที่ยงธรรม
อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ในช่วงที่ผ่านมานี้ได้บ่งชี้ว่า ค
ณะรัฐประหารครั้งนี้นอกจากจะดำเนินการปราบปรามมากกว่าครั้งก่อนแล้ว
ยังมีแนวโน้มว่าจะอยู่ในอำนาจนานกว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการสั่งให้เข้ารายงานตัว กักกันและคุกคามนักการเมือง นักวิชาการ ผู้สื่อข่าว
ผู้แสดงความคิดเห็นทางอินเทอร์เน็ต และผู้ประท้วงอย่างสงบหลายร้อยคน
คสช. ยังคงตรวจสอบสื่อในประเทศและอินเทอร์เน็ต และในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา คสช.
ได้สั่งปิดกั้นสื่อต่างประเทศเช่นกัน การกระทำของฝ่ายทหารได้สร้างความวิตกแก่ชนกลุ่มน้อย
และแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย อาทิเช่น รายงานเมื่อเร็วๆ นี้ระบุว่า มีชาวกัมพูชาเกือบ 200,000 คน
ได้เดินทางออกนอกประเทศไทยด้วยความหวาดกลัวว่า คสช. จะดำเนินการปราบปรามแรงงานที่ไม่มีเอกสาร

รัฐบาลทหารได้กล่าวว่า จะจัดตั้งคณะรัฐบาลชั่วคราวภายในเดือนกันยายน
และได้กำหนดเวลาอย่างไม่ชัดเจนนักว่า จะจัดให้มีการเลือกตั้งภายในเวลาประมาณ 15 เดือน
วัตถุประสงค์ในช่วงการบริหารประเทศภายใต้กฎอัยการศึกตามที่คสช. ได้ระบุไว้คือ
ลดความขัดแย้งและการแบ่งฝ่ายในสังคมเพื่อแผ้วทางให้เกิดบรรยากาศทางการเมืองที่กลมเกลียวกันกว่านี้
เมื่อรัฐบาลพลเรือนเข้ามาบริหารประเทศ ในระหว่างนี้ คณะรัฐบาลทหารได้เริ่มดำเนินการโยกย้ายข้าราชการ
ที่พิจารณาเห็นว่าจงรักภักดีกับรัฐบาลชุดก่อน คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ 56 แห่งซึ่งรวมถึงประธานคณะกรรมการ
(ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการแต่งตั้งโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร)
ถูกกระตุ้นให้ลาออกเพื่อเปิดทางให้บุคคลที่ฝ่ายทหารเลือกเข้ามาดำรงตำแหน่งแทน
ขณะนี้ กำลังมีการเสนอให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและครอบคลุมในภาคพลังงานและแรงงาน ต
ลอดจนการพิจารณาข้อจำกัดด้านการลงทุนจากต่างประเทศในบางภาคอุตสาหกรรมเช่น โทรคมนาคม

อย่างไรก็ดี เรามองไม่เห็นว่าการรัฐประหารและการดำเนินการปราบปรามที่ตามมา
จะก่อให้เกิดการปรองดองและสมานฉันท์ทางการเมืองที่จำเป็นยิ่งสำหรับประเทศไทย
เราไม่เชื่อว่า การสมานฉันท์ที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้จากความหวาดกลัวหรือการกดขี่
ประเด็นเบื้องหลังต่างๆ ตลอดจนความเห็นแตกต่างทางการเมืองที่ฝังรากลึกมานาน
อันเป็นสาเหตุแห่งความแตกแยกนี้จะสามารถแก้ไขได้โดยประชาชนและผ่านกระบวนการประชาธิปไตยเท่านั้น
เรามีความรู้สึกเหมือนคนไทยส่วนใหญ่ คือ ต้องการเห็นไทยก้าวไปสู่อุดมการณ์ประชาธิปไตยของประเทศ
เสริมสร้างสถาบันประชาธิปไตยให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น และกลับสู่การปกครองแบบประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้งได้อย่างสันติ

ปกป้องผลประโยชน์ของเราและพิทักษ์ประชาธิปไตย

ผลประโยชน์ของเรารวมถึงการรักษาความสงบและประชาธิปไตยในประเทศไทย
ตลอดจนคงความร่วมมือที่สำคัญระหว่างสหรัฐฯ กับไทยในระยะยาว
เรายังคงมุ่งมั่นที่จะเห็นประชาชนไทยอยู่ดีมีสุขและประเทศไทยกลับไปสู่ตำแหน่งผู้นำในภูมิภาค
และเราเชื่อว่า หนทางที่ดีที่สุดในการบรรลุซึ่งเป้าหมายดังกล่าวคือ
การกลับไปสู่การปกครองที่มีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย

การรัฐประหารและการดำเนินการปราบปรามที่ตามมาทำให้เราไม่สามารถคงพันธไมตรี
ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ให้เป็นไป “ตามปกติ” ได้
เราได้ระงับการช่วยเหลือด้านความมั่นคงมูลค่ากว่า 4 ล้าน 7 แสนเหรียญสหรัฐตามที่กฎหมายเราระบุไว้

นอกจากนี้ เรายังได้ยกเลิกการเยือนประเทศของเจ้าหน้าที่ระดับสูง การฝึกซ้อมทางทหาร
และการฝึกอบรมกับทหารและตำรวจหลายโครงการ อาทิเช่น
เราได้ประสานกับกระทรวงกลาโหมยกเลิกการฝึกซ้อม CARAT (Cooperation Afloat Readiness and Training)
ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมระดับทวิภาคีของกองทัพเรือซึ่งกำลังดำเนินการฝึกอยู่เมื่อเกิดรัฐประหาร
และได้ยกเลิกการฝึกซ้อมหนุมานการ์เดียน (Hanuman Guardian) ของกองทัพบก
ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมระดับทวิภาคีที่ได้วางแผนไว้แล้ว ขณะนี้ เรายังคงทบทวนพิจารณาโครงการ
และความร่วมมืออื่นๆ และจะพิจารณาหามาตรการอื่นนอกเหนือจากนี้ตามสถานการณ์
ประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศได้แสดงทัศนะในลักษณะคล้ายคลึงกันนี้ เราหวังว่า
สารจากประชาคมโลกที่เด่นชัดนี้รวมทั้งแรงกดดันจากภายในประเทศไทยเอง
จะทำให้คณะรัฐประการลดการปราบปรามลงและประเทศไทยจะกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยโดยเร็ว

ในขณะเดียวกัน เราก็ตระหนักดีถึงผลประโยชน์ตามหลักยุทธศาสตร์ระยะยาวของสหรัฐฯ
เรายังคงรักษามิตรภาพที่ยืนยงของเรากับคนไทยและกับประเทศไทยซึ่งรวมถึงฝ่ายทหารด้วย
สิ่งท้าทายที่สหรัฐอเมริกากำลังเผชิญคือ การแสดงอย่างชัดเจนว่า

เราสนับสนุนให้ประเทศไทยกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยและเสรีภาพขั้นพื้นฐานโดยเร็ว
และในขณะเดียวกัน เราต้องดำเนินการเพื่อประกันว่า เราจะสามารถรักษา
และเสริมความแข็งแกร่งให้แก่มิตรภาพที่สำคัญและพันธมิตรด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ นี้ได้ในระยะยาว

ในการก้าวไปข้างหน้า สิ่งสำคัญคือการถ่ายโอนอำนาจไปสู่การปกครองโดยพลเรือนอย่างครอบคลุม
โปร่งใส ทันกาลและนำไปสู่ประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้งที่เสรีและเที่ยงธรรม
อันจะสะท้อนถึงเจตนารมณ์ของประชาชนชาวไทย เมื่อประเทศไทยกลับไปสู่ระบอบประชาธิปไตยแล้ว
เราหวังและตั้งใจอย่างยิ่งว่า ประเทศไทยซึ่งเป็นมิตรเก่าแก่ของสหรัฐฯ
จะยังคงเป็นประเทศคู่ความร่วมมือที่สำคัญในเอเชียอีกนานต่อไปหลายทศวรรษ

สรุป

สุดท้ายนี้ ผมขอกล่าวสรุปประเด็นสุดท้ายว่า เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวประสบผลสัมฤทธิ์นั้น
จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐสภาจากทั้งสองพรรคจะให้การสนับสนุนอย่างเข้มแข็ง
และยืนนานแก่ความพยายามของเราในการผลักดันให้ประเทศไทยกลับไปสู่ระบอบประชาธิปไตย
รวมถึงความพยายามของเราในการรักษามิตรภาพและผลประโยชน์ระยะยาวของเรา

ขอบคุณครับที่เชิญผมให้มาแถลงประเด็นสำคัญนี้
บันทึกการเข้า

หัว...ฆรวย

หัวโขนมิวางออก              เจ้าหลงครอบไปทุกที่
อ่าองค์ว่าโสภี                  นฤดีปริ่มเปรมใจ
ลืมไปว่าที่ครอบ                ต้องวางออกนหทัย
สวมครอบตัวตนไว้             ก็แค่ควายใส่ชฎา
ค..ควาย...ใส่ชฎา
Hero Member
*****

คะแนน -15856
ออฟไลน์

กระทู้: 13569


No justice No peace


« ตอบ #59 เมื่อ: มิถุนายน 26, 2014, 10:49:15 AM »

5555  สรุป " ซีเอ็นโอโอซี บริษัทน้ำมันจีน "  ฮา 55555


" China National Offshore Oil Corporation "


55555  เป็น  " State-owned enterprise " เป็นของรัฐบาล จีน 100 % คร๊าบบ ฮา 5555 ขำก๊าก ขำก๊าก ขำก๊าก
บันทึกการเข้า

หัว...ฆรวย

หัวโขนมิวางออก              เจ้าหลงครอบไปทุกที่
อ่าองค์ว่าโสภี                  นฤดีปริ่มเปรมใจ
ลืมไปว่าที่ครอบ                ต้องวางออกนหทัย
สวมครอบตัวตนไว้             ก็แค่ควายใส่ชฎา
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.192 วินาที กับ 21 คำสั่ง