ปรับตัวเถอะครับ ดอลล่าร์ไอ้กันจะวูบลงนรกในอีกไม่นาน
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=879722ต้องมองเงินหยวนดับรัศมีดอลล่าร์ สหรัฐ ตั้งแต่วันนี้
อาจารย์ จิรพร สุเมธีประสิทธิ์
sumetheeprasit@hotmail.com เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เงินหยวนของจีนเป็นสกุลเงินที่สงวนไว้สำหรับคนจีนและกีดกันนักลงทุนต่างประเทศอย่างสิ้นเชิง
แต่มาถึงวันนี้ ทุกประเทศรวมทั้ง AEC กลับตกตะลึงกับกระแสความคาดหมายว่า เงินหยวนจีนจะเป็นเงินที่ใช้ในการค้าระดับโลกภายในปี 2015 นี้ เคียงบ่าเคียงไหล่เงินดอลล่าร์ สหรัฐ และเงินสกุลยูโร และเงินหยวนจีนจะใช้ในการค้าระหว่างประเทศถึง 1 ใน 3 ของปริมาณการค้าของโลกด้วย
ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้ เพราะรัฐบาลจีนเปลี่ยนนโยบายมาผลักดันให้เงินหยวนกลายเป็นสกุลเงินที่ใช้สำรองระหว่างประเทศของประเทศทั่วโลก หลังจากที่จีนได้ทำการตกลงกับ รัสเซีย เวียดนาม ไทยและญี่ปุ่นที่จะชำระเงินค่าสินค้าและบริการระหว่างกันด้วยเงินหยวน
จากตัวเลขของ SWIFT DATA ที่รวบรวมสกุลเงินที่ใช้ชำระค่าสินค้าระดับโลก พบว่า 15 สกุลหลักประกอบด้วยสกุลต่อไปนี้ (ณ มกราคา 2013)
อันดับ1.
ยูโร
40.17%
2.
ดอลล่าร์สหรัฐ
33.48%
3.
ปอนด์อังกฤษ
8.56%
4.
เยนญี่ปุ่น
2.56%
5.
ดอลล่าร์ออสเตรเลีย
1.85%
6.
สวิสแพรงค์
1.83%
7.
ดอลล่าร์แคนาดา
1.80%
8.
ดอลล่าร์สิงคโปร์
1.05%
9.
ดอลล่าร์ฮ่องกง
1.02%
10.
เงินบาท
3.97%
11.
โครนสวีเดน
0.96%
12.
โครนนอร์เวย์
0.80%
13.
หยวนจีน
0.63%
14.
โครนเดนมาร์ค
0.58%
15.
รูเบิ้ลรัสเซีย
0.56%
สิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่จีนเปิดตัวเงินหยวนในฐานะที่พร้อมจะขึ้นแท่นเงินที่ใช้ในการค้าระหว่างประเทศ สรุปได้ชัดเจน ดังนี้
ประการที่ 1
การตอบรับจากศูนย์กลางทางการเงินในยุโรป
บรรดาศูนย์กลางทางการเงินในยุโรปแสดงท่าทีตอบรับในทางบวกทันที และคาดหวังว่าตลาดเงินหยวนของตนจะได้เป็นศูนย์รวมในการค้าเงินหยวนของยุโรป ไม่ว่าจะเป็นลอนดอน ปารีส ซูริค แฟรงเฟิร์ต
ประการที่ 2
ธนาคารกลางของอังกฤษเป็นประเทศแรกที่อยู่ในกลุ่ม Group of Seven ที่จะลงนามทำ Currency-Swap Agreement กับธนาคารกลางจีน โดยธนาคารกลางจีนจะให้กู้เงินหยวนแก่ธนาคารกลางอังกฤษราว 400,000 ล้านหยวน(64,000ล้านดอลล่าร์)เพื่อใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ
ปรากฏการณ์เช่นนี้สะท้อนว่า มีธนาคารกลางของหลายประเทศที่มีนโยบายที่จะกระจายสกุลเงินที่เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศให้มีหลากหลายสกุลมากขึ้น
แม้แต่ออสเตรเลียก็ประกาศว่าจะประกาศว่าจะแปลงทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของตน 5% ไปสู่พันธบัตรที่เป็นหยวน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายกระชับความสัมพันธ์กับประเทศในเอเชียแปซิฟิค โดยเฉพาะจีน
ปัจจุบันการค้าระหว่างออสเตรเลียกับจีน ใช้เงินหยวนกับเงินดอลล่าร์ออสเตรเลียโดยตรง โดยไม่ผ่านเงินดอลล่าร์สหรัฐและเงินยูโรแล้ว
ประการที่ 3
หากพิจารณาจากการเรียงลำดับข้างต้น จะพบว่าเงินหยวนใช้ในธุรกรรมระหว่างประเทศในฐานะสกุลที่ใช้ชำระหนี้ในอันดับที่ 13 เมื่อมกราคมและอันดับ 11 เมื่อมิถุนายน 2013 ขึ้นมาจากปีก่อนหน้า 6 อันดับ
นอกจากนั้น มูลค่าการชำระเงินระหว่างประเทศที่เป็นเงินหยวนก็เพิ่มขึ้น 24 0%ต่อปีจนแซงหน้าเงินรูเบิ้ลรัสเซีย และโครนเดนมาร์คไปเรียบร้อย
การใช้เงินหยวนในตลาดสิงคโปร์เพิ่มขึ้น 30%ต่อเดือน ขณะที่การใช้เงินหยวนในอังกฤษเพิ่มขึ้นถึง40%
เฉพาะปี 2012 การชำระเงินระหว่างประเทศด้วยเงินหยวนเพิ่มขึ้นถึง 900,000 ล้านหยวนเทียบกับเมื่อปี 2010 ปริมาณการใช้เงินหยวนแทบไม่มีเลย
ประการที่ 4
วิกฤติการณ์หนี้สินยูโร และวิกฤติการณ์ทางการเงินในสหรัฐ รวมทั้งภาระหนี้สินภาครัฐของสหรัฐที่มากกว่า GDP ได้มีส่วนกระตุ้นให้เกิดกระบวนการกระจายสกุลเงินทุนสำรองระหว่างประเทศออกไปสู่สกุลอื่นอย่างชัดเจน เพื่อเพิ่มทางเลือกในการถือสกุลเงินอื่น ลดการกระจุกตัวอยู่แต่เฉพาะเงินดอลล่าร์สหรัฐตลอดไปแบบไม่มีทางเลือก ต้องรองรับผลกระทบที่เกิดปัญหาและวิกฤติรุนแรงกับยุโรปและสหรัฐอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ประการที่ 5
แม้ว่าแนวคิดของรัฐบาลจีนเองและของตลาดการเงินโลก รวมทั้งใน AEC จะเปลี่ยนไปในทางบวกและการยอมรับเงินหยวนมากขึ้น แต่สัดส่วนการค้าระหว่างประเทศที่มีการชำระเงินระหว่างกันด้วยเงินหยวนยังถือว่าต่ำมากเทียบกับมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของจีนในตลาดโลก
ประการที่ 6
ช่องทางหนึ่งที่จีนเปิดกว้างมากขึ้น เพื่อให้นักลงทุนต่างประเทศเข้าถึงเงินหยวนมากขึ้นคือ การเปิดให้กิจการต่างชาติออกตราสารหนี้ในฮ่องกงเป็นเงินหยวนได้ เรียกว่า Dim Som Bond (ติ่มซำบอนด์)
ประการที่ 7
นโยบายหลักของรัฐบาลจีน คือ วางเป้าหมายให้เงินหยวนของจีนลอยตัวในอีก 5 ปีนี้ ระหว่างนี้ จึงเป็นช่วงของการปรับฐาน พื้นฐาน กลไก และระบบต่างๆที่มีความจำเป็นเพื่อรองรับการขยายบทบาทของหยวนในตลาดต่างประเทศ
ประการที่ 8
การใช้เงินหยวนเป็นสกุลในการชำระเงินในตลาด Offshore มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในตลาดอังกฤษที่แสดงท่าทีออกนอกหน้าว่าต้องการสนับสนุนเงินหยวนในบทบาทระดับโลกในอนาคต
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ส่วนแบ่งตลาดของเงินหยวนในการชำระเงินระหว่างประเทศได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่าตัว เมื่อเทียบกับเงินสกุลส่วนใหญ่ในเอเซียที่ทรงตัว
ความท้าทายที่สำคัญที่จะเป็นตัวตัดสินอนาคตของเงินหยวนในฐานะของสกุลเงินระหว่างประเทศ ได้แก่
ประการที่ 1
ปริมาณเงินหยวนในตลาด Offshore จะต้องมีมากเพียงพอ และมีสภาพคล่องท่วมท้น เหมือนกรณีของเงินดอลล่าร์สหรัฐ
สภาพคล่องที่มีมากเพียงพอจะทำให้การติดต่อทางธุรกิจระหว่างประเทศไหลลื่นไม่มีการสะดุดหยุดลงจนเกิดปัญหากับคู่สัญญา
ประการที่ 2
ผลิตภัณฑ์และเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง ที่จะออกมารองรับความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของเงินหยวนกับสกุลเงินของประเทศที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง จะต้องมีหลากหลาย ต้นทุนป้องกันความเสี่ยงต้องต่ำและไม่แตกต่างจากเครื่องมือที่เป็นสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐ และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องในการแบกรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเงินหยวนได้
ประการที่ 3
ความเชื่อมโยงและถ่ายโอนสภาพคล่องของเงินหยวนระหว่างตลาดการเงินแต่ละตลาดจะต้องปิดช่องว่างด้าน Time Zone หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง การไหลของเงินหยวน Offshore จะต้องต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง เหมือนกรณีของเงินดอลล่าร์สหรัฐ ที่สามารถหาได้ในทุกภูมิภาคของโลก
ประการที่ 4
ความเพียงพอและการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพของบรรดา Clearing Bank เพื่อให้การชำระหนี้ระหว่างประเทศในส่วนที่เป็น Offshore Yuan มีประสิทธิผล รองรับปริมาณธุรกรรมในเงินหยวนในอนาคตที่จะเพิ่มขึ้นได้
สถานการณ์ของค่าเงินหยวนในปัจจุบัน
(1) ค่าเงินหยวนเพิ่มค่าขึ้นราว 34% เทียบกับเงินดอลล่าร์สหรัฐ นับตั้งแต่จีนได้ปฏิรูประบบอัตราแลกเปลี่ยนเงิน เมื่อ 8 ปีที่แล้ว( 21 กรกฎาคม 2005) โดยอัตราแลกเปลี่ยนค่ากลาง (Central Parity Rate) ของเงินหยวนอยู่ที่ 6.17 หยวนต่อดอลล่าร์
(2) ค่าเงินหยวนเพิ่มค่าขึ้นราว 20% เทียบกับเงินยูโรในปัจจุบัน
(3) ตลาดการเงินวิเคราะห์ว่าการเพิ่มค่าของเงินหยวนมาตามลำดับในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ทำให้ค่าเงินหยวนเคลื่อนไหวเข้าใกล้ดุลยภาพมากขึ้น และทำให้ค่าเงินหยวนพร้อมที่จะลอยตัว เพื่อให้ค่าเงินหยวนเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตามภาวะตลาดในอนาคต ตามนโยบายของรัฐบาลจีน
(4) นับจากต้นปี 2013 เป็นต้นมา ค่าเงินหยวนที่ค้าขายในตลาดเพิ่มขึ้นประมาณ 65 วันทำการและลดลงประมาณ 63 วันทำการ
(5) ผลการสำรวจตลาดของ HSBC พบว่า จาก 500 บริษัททั่วโลกที่สำรวจราว 70% ของบริษัทเหล่านี้มีการตอบรับทางบวก และยินดีที่จะใช้เงินหยวนเป็นสกุลในการชำระหนี้ทางการค้าระหว่างประเทศและการทำธุรกิจระหว่างประเทศใน 5 ปีข้างหน้า
นอกจากผู้ที่ถูกสำรวจราว 50% ยังเชื่อว่าตนได้เตรียมศึกษาข้อมูลของหยวน และสามารถติดตามสถานการณ์เงินหยวนในฐานะเงินตราเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศได้อย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่กิจการต่างๆเห็นว่ายังเป็นความท้าทายในการใช้เงินหยวนในตลาดการเงินระหว่างประเทศ 42%เห็นว่านโยบายการใช้และขั้นตอนการใช้เงินหยวนในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศอาจจะยังมีความซับซ้อนและยังยากทั้งด้านเอกสารและพิธีการ ไม่สะดวกเหมือนการใช้เงินดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งทางการจีนจะต้องให้ความชัดเจนในส่วนนี้แก่กิจการระหว่างประเทศ เพื่อลดความกังวลและเพิ่มความเต็มใจในการใช้เงินหยวนในตลาดการค้าและการติดต่อทางธุรกิจระหว่างประเทศ
ผู้ตอบแบบสำรวจมีความรู้ว่า เงินหยวนสามารถหาได้ในตลาดฮ่องกงและตลาดลอนดอนของอังกฤษมากกว่าตลาดอื่นๆ อย่างสิงคโปร์ ออสเตรเลีย เยอรมนี และสหรัฐ
บริษัทในฮ่องกงเห็นว่าตนจะได้ประโยชน์จากการที่หยวนใช้เป็นเงินสกุลชำระหนี้ระหว่างประเทศ 72% ของผู้ที่ตอบทั้งหมด และ 57% มีความเห็นเดียวกันในกรณีของกิจการที่ทำธุรกิจในลอนดอน ขณะที่กิจการในออสเตรเลียและสิงคโปร์มีความตระหนักในประโยชน์ของเงินหยวนต่อการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศน้อยกว่าฮ่องกงและอังกฤษ
(6) ปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ได้หันมาเพิ่มน้ำหนักความสำคัญของการใช้เงินหยวนทั้งในด้าน
(ก) การลงทุนระหว่างประเทศ
(ข) การชำระหนี้ทางการค้าระหว่างประเทศ
ตลาดการเงินที่ค้าเงินหยวน เพื่อธุรกิจระหว่างประเทศปัจจุบันจึงมีทั้งปารีส แฟรงค์เฟิร์ท ซิดนีย์ และดูไบในฐานะศูนย์กลางการค้าหยวน Offshore หลังจากมีการนำร่องก่อนหน้านี้ในฮ่องกง ไทเป สิงค์โปร์ และลอนดอนไปแล้ว
(7) ธนาคารกลางจีน ได้ทำความตกลงในด้าน Swap Line กับธนาคารกลางของประเทศหลายประเทศ ในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินกัน โดยล่าสุดเป็นความตกลงกับธนาคารกลางของอังกฤษ และธนาคารกลางของอียู ธนาคารกลางของฝรั่งเศส การทำSwap ดังกล่าวเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภาวะผิดปกติที่ทำให้เกิดการขาดแคลนสภาพคล่องของเงินหยวนในตลาดยุโรป
(

การติดต่อธุรกรรมระหว่างประเทศในฝรั่งเศสราว 10% กำหนดสกุลเงินเป็นหยวน และเงินฝากธนาคารในฝรั่งเศสเป็นสกุลหยวนมีปริมาณกว่า 10,000 ล้านหยวนมากที่สุดเป็นขณะที่ฮ่องกงมีหยวนมากที่สุดราว 70% ของเงินฝากหยวนในตลาด Offshore