http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=20449.msg545151#msg545151นานๆเข้ามาทีขออนุญาต จขกท นี้โพสท์แจมด้วยครับ
ปริศนาคดีลอบสังหาร "เคนเนดี้"คดีลอบสังหารประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี้

ยังคงเป็นความลับดำมืดอยู่แม้เวลาจะล่วงเลยมาเกือบ 40 ปีแล้วก็ตาม หลักฐานที่ได้จากฟิล์มภาพยนตร์
และรูปถ่ายในวันเกิดเหตุแสดงให้เห็นถึงชายลึกลับ 2 คนที่อยู่ใกล้กับเคนเนดี้ มากที่สุดในวินาทีที่เขาถูกยิง
แต่กลับดูเหมือนว่าชายทั้ง 2 จะไม่มีตัวตน!
วันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963 ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี้ ได้เดินทางไปยังเมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส

ตามกำหนดการเดินสายหาเสียงในรัฐต่างๆ ทางใต้ เพื่อเตรียมการสำหรับการเลือกตั้งตำแหน่ง
ประธานาธิบดีสหรัฐเป็นสมัยที่ 2 ของเขา
เวลา 11:40 น. ประชาชนชาวดัลลัสต่างต้อนรับการเดินทางมาของเคนเนดี้และสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง
อย่างอบอุ่น ผู้ว่าการรัฐเท็กซัส จอห์น คอนเนลลีย์ และภรรยา

นั่งในรถลิมูซีน คันเดียวกับท่านประธานาธิบดีเพื่อเดินทางจากสนามบินเข้าสู่ตัวเมือง
เมื่อขบวนรถได้เคลื่อนมาถึงเดลีย์พลาซา


ณ เวลา 12:30 น. ก็เลี้ยวขวาจากถนนเมน เข้าถนนฮิวส์ตัน เพื่อที่เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเอล์ม

ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารเก็บหนังสือโรงเรียนเท็กซัส (Texas School Book Depository)

ทันทีที่รถคันที่เคนเนดี้นั่งแล่นผ่านป้ายบอกชื่อถนนทางด่วนสเตมมอนส์ ที่อยู่ข้างหน้า

ภรรยาของผู้ว่าจอห์นก็ได้ยินเสียงปืน เธอจึงเหลี่ยวหลังไปมองเคนเนดี้ที่นั่งอยู่เบาะหลังของรถ
เธอเห็นท่านประธานาธิบดีเอามือกุมที่คอ วินาทีถัดมาผู้ว่าฯ จอห์นก็รู้สึกปวดที่ด้านหลังเขารู้ทันทีว่าเขาถูกยิง
http://www.btinternet.com/~dr_paul_lee/JFK.htm

ไม่กี่วินาทีต่อมาผู้ว่าจอห์น ก็ได้ยินเสียงปืนนัดที่ 3 ภรรยาของท่านประธานาธิบดียังไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น
เธอคิดว่าเป็นเสียงประทัดหรือดอกไม้ไฟที่ประชาชนจุดต้อนรับขบวน แต่เมื่อเธอหันหน้ามามองสามีเธอ
ที่นั่งอยู่ข้างๆ เธอก็ต้องตกใจที่เห็นท่านประธานาธิบดีถูกยิงเข้าที่ศรีษะ มันเป็นกระสุนนัดสุดท้ายที่
สังหารเคนเนดี้

http://www.assassinationresearch.com/v2n2/zfilm/zframe313.htmlเมื่อประชาชนที่คอยเฝ้าต้อนรับรถขบวนอยู่ 2 ข้างทางรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ต่างก็แตกตื่นพากันนอนราบ
ลงกับพื้นหรือไม่ก็วิ่งหนีออกไปจากบริเวณนั้น เพื่อหลบลูกกระสุนที่อาจเกิดการยิงขึ้นมาอีก

ยกเว้นคน 2 คน!
http://www.dallasnews.com/cgi-bin/bi/dallas/photography/photography.cgi?step=View%20Slideshow&show=420&thisImage=6583http://www.dallasnews.com/s/dws/spe/2005/jfkปริศนาคนถือร่มจากการวิเคราะห์ฟิล์มภาพยนตร์ขนาด 8 มม. ที่ถ่ายโดย อับราฮัม แชพรูเตอร์
http://youtube.com/watch?v=GU_cbEIPXw0&search=Abraham%20Zapruder
และภาพถ่ายจากกล้องของผู้อื่นที่อยู่ในเหตุการณ์ ประกอบกับคำให้การของพยานขณะที่ จอห์น เอฟ เคนเนดี้
ถูกลอบสังหารนั้นแสดงให้เห็นสิ่งผิดปรกติที่เกิดขึ้นในเสี้ยววินาทีนั้นมากมาย ภาพถ่ายจากพยานที่ยืนอยู่ริมถนน
ตรงกันข้ามกับป้ายบอกชื่อถนนทางด่วนเสตมมอนส์ จับภาพชาย 2 คนนั่งอยู่ริมถนนบริเวณป้ายนั้น

ซึ่งเป็นคนที่อยู่ใกล้กับประธานาธิบดีมากที่สุด ชายทั้ง 2 ดูเหมือนเป็นเพียงประชาชนธรรมดาๆ ที่มาต้อนรับ
ประธานาธิบดีในดวงใจของพวกเขาเช่นเดียวกับคนอื่นๆ ที่อยู่ในที่นั้น แต่เมื่อรถของประธานาธิบดีแล่นมาถึง
หนึ่งในนั้นก็ลุกขึ้นยืนกางร่ม

ที่มันน่าแปลกก็เพราะว่าวันนั้นเป็นวันที่อากาศแจ่มใส ไม่มีเค้าว่าจะมีฝนหรือแดดก็ไม่จัด ที่สำคัญคือ
ชายคนนั้นเป็นเพียงคนเดียวที่กางร่มในที่เกิดเหตุ เขากางร่มออกเพียงแค่ไม่กี่วินาทีก็หุบมันลง
ในขณะที่ชายคนที่นั่งข้างๆ เขาลุกขึ้นยืนโบกมือ และวินาทีเดียวกันนั้นเองเสียงปืนก็ดังขึ้น!
สิ้นเสียงปืนความโกลาหลก็บังเกิดขึ้น ฝูงชนแตกตื่นไปคนละทิศละทาง ยกเว้นชาย 2 คนนี้ที่ทรุดตัวนั่ง
ลงที่เดิม หนึ่งในนั้นหยิบวัตถุบางอย่างที่มีเสาอากาศออกมา เขาจ่อมันที่ปากเหมือนกับว่าเขากำลังพูด
วิทยุรับ-ส่ง จากนั้นชายทั้ง 2 ก็แยกย้ายกันไปคนละทาง ชายที่ถือร่มเดินไปทางอาคารเก็บหนังสือโรงเรียน
ส่วนอีกคนเดินไปทางถนนลอดใต้ทางด่วน

"ชายผิวคล้ำ" (Dark complected Man) หยิบวัตถุบางอย่างที่มีเสาอากาศมาจ่อที่ปากหลังจากที่เคนเนดี้ถูกยิง

หลังจากที่เคนเนดี้ถูกยิง เขาก็ลุกขึ้นยืนเอาวิทยุเหน็บหลังแล้วเดินจากไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
สัญญานมรณะ
เป็นไปได้ไหมว่า ชายทั้ง 2 คนกำลังส่งสัญญานให้กับมือปืนที่ซุ่มรออยู่ เพื่อบอกให้เริ่มปฏิบัติการได้
ที่ต้องให้สัญญานก็เพราะมือปืนไม่ได้มีแค่คนเดียวอย่างที่เอฟบีไอ ได้ทำสรุปสำนวนการสืบสวน
เป็นที่แน่นอนว่าเมื่อเสียงปืนดังขึ้น ความโกลาหลย่อมเกิดขึ้น หน่วยรักษาความปลอดภัยและ "เหยื่อ" จะต้องรู้ตัว
ดังนั้นเพื่อให้ปฏิบัติการสัมฤทธิ์ผล ปืนอย่างน้อย 3 กระบอกจะต้องถูกยิงในเวลาเดียวกันจากมุมต่างๆ
หลังจากนั้นชายทั้ง 2 จะหยุดดูผลงาน แจ้งข่าวและหนีออกจากที่เกิดเหตุอย่างสงบเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
มีผู้ตั้งข้อสังเกตุว่า สัญญาน "ร่ม" อาจเป็นสัญลักษณ์สื่อความหมายถึงปฏิบัติการส่งกองกำลังสนับสนุนทางอากาศ
ย้อนกลับไปเดือนเมษายน ค.ศ. 1961 เมื่อ ซีไอเอ ได้ส่งกำลังทหารเข้าไปยังคิวบาเพื่อเข้าต่อต้านกองทหาร
ฝ่ายปฏิวัติของ ฟิเดล คาสโตร เรียกว่า ปฏิบัติการบุกอ่าวสุกร (Bay of Pigs Invasion) ซีไอเอ ได้ให้สัญญากับ
กองทัพของเขาว่าจะมีการส่งกำลังสนับสนุนทางอากาศเข้าไปช่วยหลังจากที่พวกเขาถึงอ่าวสุกรแล้ว แต่เหตุการณ์
ไม่เป็นไปตามแผน เนื่องจากประธานาธิบดีเคนเนดี้ ปฏิเสธคำขอของซีไอเอ ที่จะส่งกำลังทหารเข้าไปช่วยกองทัพ
ของซีไอเอราว 1,300 คน ที่ล่วงหน้าไปยังที่นั่นแล้ว ปฏิบัติการครั้งนั้นจึงล้มเหลวไม่เป็นท่า การกางร่มออกของ
ชายลึกลับอาจสื่อความหมายถึง กองกำลังสนับสนุนทางอากาศที่พวก ซีไอเอ รอคอย
ร่มเป็นอาวุธลับ
โรเบิร์ท คัทเลอร์ นักวิจัยที่มีชื่อเสียงได้ตั้งข้อสังเกตุว่า "ร่ม" อาจเป็นปืนยิงลูกดอก ซึ่งทฤษฏีนี้ได้รับการยืนยันว่า
มีความเป็นไปได้ เนื่องจากในปี ค.ศ. 1975 นักวิจัยทางด้านอาวุธของ ซีไอเอ ผู้หนึ่งได้ให้การต่อเจ้าหน้าที่สืบสวน
สอบสวนว่าในปี ค.ศ. 1963 ซีไอเอ ได้สั่งผลิตอาวุธลับปืนยิงลูกดอกที่เป็นรูปร่มจำนวน 50 กระบอก
ลูกดอกจะถูกยิงอย่างเงียบๆ ออกมาจากก้านร่มขณะที่ผู้ถือกางร่มออก

โรเบิร์ท ยังได้ให้ความเห็นอีกว่า รอยบาดแผลที่คอของประธานาธิบดีเคนเนดี้ นั้นอาจเป็นบาดแผล
ที่เกิดจากกระสุนลูกดอก แต่มันถูก "ตกแต่ง" เสียใหม่ระหว่างที่มีการชันสูตรศพ

และเจ้าลูกดอกอาบยาพิษนี่เองที่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ท่านประธานาธิบดีไม่แสดงอาการตอบสนอง
และนั่งเป็น "เป้านิ่ง" ขณะที่เสียงปืนดัง
ข้อสังเกตุทั้งหลายที่กล่าวมานี้ยังไม่มีหลักฐานแน่นหนาพอที่จะยืนยันได้ว่าถูกต้อง ดูเหมือนทฤษฏีกางร่ม
เป็นสัญญานนั้นจะฟังดูเป็นไปได้มาก แต่คำตอบที่ดีที่สุดก็คือ การนำเอาตัวชายลึกลับทั้ง 2 คน
มาสอบสวนปากคำ แต่ว่าจะหาตัวพวกเขาได้ที่ไหน?
ไม่มีตัวตนเป็นเรื่องเหลือเชื่อมากที่ชายทั้ง 2 คนไม่มีตัวตนอย่างเป็นทางการทั้งเอฟบีไอและคณะกรรมาธิการวอร์เรน
(Warren Commission เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อสอบสวนคดีลอบสังหารประธานาธิบดีเคนเนดี้)ไม่เคยพูดถึงชายลึกลับทั้ง 2 คนในการสืบสวนสอบสวน
แต่ต่อมาเมื่อได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการรัฐสภา เพื่อให้มาดูแลการสืบสวนสอบสวนคดีสำคัญนี้ พวกเขาได้สั่งให้
หาตัวชายลึกลับทั้ง 2 คนมาสอบสวน อีกทั้งยังได้ติดประกาศรูปชายทั้ง 2 ให้ประชาชนช่วยชี้เบาะแสหากว่า
เคยเห็นหรือรู้จักพวกเขา
หลังจากที่ติดประกาศตามหาตัวได้ไม่นาน จู่ๆ ก็มีโทรศัพท์จากผู้ไม่ประสงค์จะออกนามแจ้งมายัง เพนน์ โจนส์
หนึ่งในคณะกรรมาธิการรัฐสภาว่าชายลึกลับที่ถือร่มนั้นเป็นพนักงานขายประกันในดัลลัสชื่อ หลุยส์ สตีเวน วิทท์
(Louie Steven Witt) เพนน์ จึงรีบประสานงานกับแหล่งข่าวของเขาในดัลลัสทันที
พยาน "เตี๊ยม"ในที่สุด เพนน์ ก็พบชายถือร่ม หลุยส์ ยอมรับว่าวันที่ประธานาธิบดีถูกลอบสังหาร เขาอยู่ในที่เกิดเหตุ เพนน์
มีความรู้สึกว่า หลุยส์ ได้รับการ "เตี๊ยม" มาเป็นอย่างดีในการให้ปากคำ อันที่จริงเขายังไม่ได้ถูกตั้งข้อหา
ซึ่งเขามีสิทธิที่จะปฏิเสธการตอบคำถามแต่เขาก็ไม่ได้ทำ เขาตั้งข้อแม้แค่เพียงว่าเขาจะตอบคำถามจาก
การไต่สวนของคณะกรรมาธิการรัฐสภาเท่านั้น
คำถามทุกคำถามที่ เพนน์ ถาม หลุยส์ ได้รับคำตอบอย่างรวดเร็ว ดูลงตัวสมบูรณ์แบบไปในด้านบวก (พยานบริสุทธิ์)
เขาบอกว่าที่เขากางร่มออกขณะที่รถขบวนของประธานาธิบดีเคนเนดี้ แล่นผ่านก็เพราะว่ามีคนบอกเขาว่าเคนเนดี้
จะโกรธมากถ้าเขาเห็นคนกางร่มโดยไม่มีเหตุผลต่อหน้าเขา
หลุยส์ บอกแต่เพียงว่าเขาต้องการยั่วให้ท่านประธานาธิบดีโกรธเท่านั้น แต่เขาไม่ยอมบอกว่าทำไมเขาถึง
ต้องทำอย่างนั้น เขายังให้การต่ออีกว่าตอนนั้นเขานั่งอยู่บนสนามหญ้าริมถนน เมื่อรถขบวนของประธานาธิบดี
แล่นมาถึงเขาก็ลุกขึ้นยืนและกางร่มออก ขณะที่กางร่มนั้นเขาก็เดินมาที่ริมถนนซึ่งเป็นวินาทีเดียวกับที่เคนเนดี้ถูกยิง
กรรมการสอบสวนท่านหนึ่งได้ตั้งข้อคิดว่าบิดาของประธานาธิบดีเคนเนดี้ เคยรับตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำอังกฤษ

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ร่มเป็นสัญลักษณ์แทนนายกรัฐมนตรีเนวิลล์ เชมเบอร์เลน (ซึ่งมีนิสัยชอบถือร่มเป็นประจำ)

และนโยบายทางการเมืองของเขาที่โน้มเอียงไปทางลัทธินาซี โดยที่นโยบายของเขาได้รับการสนับสนุน
โดยบิดาของเคนเนดี้
คำให้การขัดแย้งเนื่องจาก หลุยส์ อยู่ใกล้กับท่านประธานาธิบดีมากที่สุดในขณะที่ท่านถูกลอบสังหาร ดังนั้นเขาอาจจะเห็นอะไรบางอย่าง
ที่พอจะเป็นเบาะแสให้คณะกรรมาธิการรัฐสภาใช้ในการสืบสวนคดีได้ แต่คำตอบที่ได้จากเขานั้นกลับไม่เป็นอย่างที่คิด!
เมื่อคณะกรรมาธิการรัฐสภาถาม หลุยส์ ว่าเขาเห็นอะไรบ้างระหว่างที่เคนเนดี้ถูกยิง หลุยส์ กลับตอบว่าเขาไม่เห็นอะไรเลย
เขาบอกว่าเขานั่งอยู่บนสนามหญ้าใกล้ถนน และเมื่อรถขบวนแล่นมาถึงเขาก็ลุกขึ้นยืนเพื่อกางร่มในเวลาเดียวกันนั้นเอง
เขาก็เดินตรงไปที่ถนน ซึ่งเป็นวินาทีที่เขาเข้าใจว่า "คนอื่นๆ" ได้เห็นท่านประธานาธิบดีถูกยิง แต่เขามองไม่เห็นอะไรเลย
เนื่องจากเจ้าสิ่งนี้(ร่ม)มันบังเขาอยู่ ช่วงวินาทีนั้นทัศนวิสัยถูกบังโดยร่มที่กำลังกางออก
แต่คำให้การของ หลุยส์ ขัดแย้งกับหลักฐานที่เป็นภาพถ่ายและภาพยนตร์ เนื่องภาพที่เห็นจากในนั้น "คนถือร่ม" นั้นยืนอยู่
ในขณะเดียวกันก็ชูร่มขึ้นเหนือศรีษะในท่าเตรียมพร้อม เมื่อรถของท่านประธานาธิบดีแล่นผ่านจุดที่เขายืนอยู่ เขาก็กางร่ม
ออกทันที กรรมการสอบสวนหลายท่านลงความเห็นว่าคำให้การของหลุยส์เป็นเท็จและไม่เชื่อว่าเขาเป็นชายถือร่มตัวจริง
(Umbrella Man)
ชายลึกลับยังคงลึกลับเมื่อคณะกรรมการสอบสวนได้ถามถึงชายอีกคนที่ยืนโบกมืออยู่ข้างๆเขา หลุยส์ ก็ตอบว่าเขาไม่รู้จักชายคนนั้น
แต่เมื่อคณะกรรมการยืนยันว่ามีพยานหลายคนเห็น หลุยส์ พูดคุยกับชายคนนั้น เขาบอกว่าเขาจำได้แต่เพียงว่า
มี "ไอ้มืด" (Nigro Man) คนหนึ่งนั่งอยู่ใกล้กับเขาเอาแต่บ่นพึมพำว่า "พวกนั้นยิงพวกเขาแล้วเพื่อนเอ๋ย"
ดูเหมือนจะไม่ได้อะไรคืบหน้าจากการสอบสวน หลุยส์ สตีเวน วิทท์ เขาอาจเป็นเพียงคนที่ถูก "เมค" ขึ้นมา
เพื่อให้คณะกรรมาธิการรัฐสภา ได้ไต่สวนตามที่ปรากฏในหลักฐานภาพถ่ายเท่านั้น ส่วนชายที่ยืนโบกมือข้างๆ
เขาซึ่งถูกเรียกว่า "ชายผิวคล้ำ" (Dark complected Man) ที่มีพยานบางคนระบุว่าเห็นเขาหยิบวัตถุบางอย่าง
ที่มีเสาอากาศมาจ่อที่ปากหลังจากที่เคนเนดี้ถูกยิงนั้นตามตัวเขาไม่พบจนบัดนี้
ทั้งชายถือร่มและชายผิวคล้ำยังคงเป็นบุคคลลึกลับที่ชวนสงสัยว่าพวกเขาเป็นใครและทำไมพวกเขาจึงมี
อากัปกิริยาแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ที่อยู่ในที่เกิดเหตุ?
ปริศนาคดีลอบสังหารประธานาธิบดีเคนเนดี้ ไม่ได้มีเพียงแค่ชายถือร่มและชายผิวคล้ำ สรุปสำนวนสอบสวน
ของเอฟบีไอ ยังมีเรื่องอื่นที่ขัดแย้งกับความจริง แม้ว่าภายหลังจะมีการจับกุม
ลี ฮาร์วี ออสวอลด์ ผู้ที่ถูกระบุว่า
เป็นคนลั่นกระสุนประวัติศาสตร์ แต่เขาเป็นฆาตกรตัวจริงแน่หรือ?
http://www.ratical.org/ratville/JFK/GoD.html