ขอถามหน่อยครับ JAS-39 ที่ไทยสั่งซื้อนี่(สมมุติได้ติดอาวุธตามที่เราต้องการ) ในภารกิจขับไล่สกัดกั้นสามารถรับมือเครื่องบินค่ายหมีได้ถึงระดับไหน เช่น ถ้าเจอะกับ SU-30 แบบนี้จะพอไหวไหม ? หรือว่าแพ้ตั้งแต่ในมุ้ง
ไหวแน่นอนครับ ถึงระยะเรดาร์จะเสียเปรียบแต่เรามี อีรี่อายช่วยเป็นหูเป็นตา ความคล่องแคล่วในการรบระยะประชิดก็เหนือกว่า ความทันสมัยของระบบก็ไม่แพ้ใคร
แต่ถ้าหากไปเจอ SU ในรุ่นที่ทันสมัยมากๆ นอกจากระยะเรดาร์และระยะยิงไกลมากแล้ว พวกที่มีคาร์นาร์ดด้านหน้า ท่อท้ายปรับทิศทางแรงขับได้ พวกนี้ความคล่องแคล่วจะสูงมาก จุดเด่นอีกอย่างของเครื่องบินตระกูลนี้คือ น้ำหนักบรรทุกและระยะทำการครับ แบกอาวุธได้เยอะ บินไกล ความเร็วสูง คล่องแคล่ว ติดตั้งเรดาร์มองไปด้านหลังด้วย
ในความคิดผม จัดเป็นเครื่องบินรบในอุดมคติเลย
แต่สิ่งที่ผมเชื่อคือ นักบินของกองทัพอากาศไทยฝีมือไม่เป็นรองใครในโลกครับ เอา F-5 ไปสอย F-15 ด้วยปืนใหญ่อากาศมาแล้ว
ทำไมจะเอา JAS ไปสอย SU บ้างไม่ได้

เอามาลงหากมีผู้สนใจ

ซู-30 (รัสเซีย: Су-30 ;อังกฤษ: Su-30) ชื่อเดิมซู-27พียู เป็นเครื่องบินรบของประเทศรัสเซียพัฒนาต่อมาจากซู-27ยูบี ผลิตโดยบริษัทซูคอย ทางนาโต้ตั้งชื่อว่าแฟลงเคอร์-เอฟ (Flanker-F) เครื่องชุดแรกสร้างในปี พ.ศ. 2534 และทดสอบบินในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2535
ซู-30 ได้ชื่อว่าเป็นเครื่องที่มีความคล่องตัวสูงมาก สามารถติดอาวุธได้หลากหลายรวมถึง 8 ตัน เป็นเครื่องบินขับไล่โจมตีพิสัยไกลที่มีรัศมีการรบถึง 1,500 กม. แต่มีราคาที่ค่อนข้างถูกคือประมาณ 30 - 35 ล้านเหรียญสหรัญต่อเครื่อง เรด้าห์ของเครื่องสามารถตรวจจับเป้าหมายได้ไกลกว่า 400 กม. สามารถติดตามเป้าหมายได้พร้อมกัน 15 เป้าหมาย และโจมตีได้พร้อมกัน 4 เป้าหมาย ซู-30 สามารถโจมตีเป้าหมายโดยที่ข้าศึกไม่รู้ตัวจากการใช้ประโยชน์จากเรด้าห์ระยะไกล โดยนักบินสามารถตรวจจับเป้าหมายได้จากระยะไกล จากนั้นจึงทำการล็อกเป้าหมายและส่งข้อมูลของเป้าหมายไปให้ระบบเดินอากาศ จากนั้นนักบินจะปิดเรด้าห์และนำเครื่องบินเข้าใกล้เป้าหมายจนถึงระยะเกือบไกลสุดของอาวุธนำวิถี จากนั้นจะทำการเปิดเรด้าห์และยิงจรวดเข้าโจมตี ด้วยวิธีนี้ทำให้ข้าศึกไม่สามารถรู้ตัวล่วงหน้าได้เลยว่าจะถูกโจมตี

ระบบอาวุธ
- ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ R-73 (AA-11 Archer) ซึ่งใช้งานร่วมกับหมวกบินติดศูนย์เล็ง ระยะยิงตั้งแต่ 300 เมตรจนถึง 20 กม. ประสิทธิภาพเทียบเท่า AIM-9X
- ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยปานกลาง R-27 (AA-10 Alamo) มีระยะยิงไกลสุด 60 กม. เทียบเท่า AIM-7
- ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยปานกลาง R-77 (AA-12 Adder) เทียบเท่า AIM-120 แต่ระยะยิงไกลกว่า โดยมีระยะยิงไกลสุดถึง 100 กม.
- ระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์และกล้องโทรทัศน์ KAB-1500 น้ำหนัก 2000 ปอนด์
- ขีปนาวุธอากาศสู่พื้น Kh-59ME
ผลงานในการฝึก Cope India 2004
ในการฝึก Cope India นั้น ซู-30เอ็มเคทรี จำนวน 4 เครื่องสามารถยิง เอฟ-15 จำนวน 4 เครื่องจากฐานทัพในอลาสก้าตกทั้งหมด โดย เอฟ-15 รับหน้าที่ฝ่าแนวป้องกันทางอากาศของกองทัพอากาศอินเดียและ ซู-30 มีหน้าที่สกัดกั้น ซึ่งเป็นการยืนยันได้ดีถึงประสิทธภาพของเครื่องบินรุ่นนี้ในด้านความคล่องตัวในการรบติดพัน (Dog Fight) การต่อสู้ด้วยอาวุธที่มีระยะทำการไกลกว่าสายตามองเห็น (BVR) และการดำเนินกลยุทธ ทั้งนี้ มีการวิเคราะห์กันว่าสำเหตุหนึ่งที่ทำให้ เอฟ-15 ต้องพ่ายแพ้เพราะนักบินสหรัฐมักต้องพึ่งเครื่องบินควบคุมทางอากาศ (AWACS) เสมอ เมื่อไม่มี AWACS คอยสั่งการทำให้นักบินไม่คุ้นเคย

รุ่นต่าง ๆ ของซู-30
Su-30
ซู-30รุ่นแรก กำหนดให้เป็นเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นและสั่งการ (Interceptor & Command Post)
Su-30I
ชื่อรุ่นต้นแบบของซู-30เอ็มเคไอ
Su-30K (รัสเซีย: Су-30К โดย К ย่อมาจาก коммерческий)
ซู-30รุ่นส่งออก โดยประเทศอินเดียเป็นผู้ซื้อลิขสิทธิ์ไปสร้างเองภายในประเทศ ตอนหลังได้ปรับปรุงให้เป็นมาตราฐานแบบซู-30เอ็มเคไอ แต่ในปี พ.ศ. 2548 ทางประเทศรัสเซียได้ส่งมอบซู-30เอ็มเคไอแทนเครื่องที่ถูกปรับปรุงเหล่านั้น
Su-30KI (รัสเซีย: Су-30КИ)
เครื่องแบบที่นั่งเดียวพัฒนามาจากซู-27เอสเค ในตอนออกแบบใช้ชื่อว่าซู-27เอสเอ็มเค ประเทศอินโดนีเซียเคยมีกำหนดสั่งซื้อ 24 เครื่อง แต่ยกเลิกไป
Su-30KN (รัสเซีย: Су-30КН)
ซู-30ที่ปรับปรุงระบบการบิน ระบบนำวิถีและระบบเรดาร์ สามารถใช้ขีปนาวุธนำวิธีอากาศสู่อากาศแบบR-77ได้
Su-30M (รัสเซีย: Су-30М โดย М ย่อมาจาก модернизированный)
ซู-30ที่ปรับปรุงให้เป็นเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ (Multi-Role Fighter)
Su-30MK (รัสเซีย: Су-30МК โดย MK ย่อมาจาก модернизированный коммерческий)
เป็นรุ่นส่งออกของซู-30เอ็ม โดยสามารถเลือกอุปกรณ์จากแหล่งอื่นมาติดตั้งได้ตามความต้องการ มีรุ่นย่อยต่าง ๆ ดังนี้
Su-30MKI (รัสเซีย: Су-30МКИ โดย И ย่อมาจาก индийской)
เป็นรุ่นที่ประเทศอินเดียซื้อลิขสิทธิ์มาผลิตเอง โดยติดตั้งปีกคานาร์ด เครื่องยนต์แบบ AL-31FP ซึ่งสามารถthrust vector controlled (TVC) ได้ เรดาร์แบบ NIIP N011M ระบบการบินจากฝรั่งเศส ทางนาโต้ตั้งชื่อว่าแฟลงเคอร์-เอช (Flanker-H)
Su-30MKK (รัสเซีย: Су-30МКК โดย К ย่อมาจาก китайский)
เป็นรุ่นส่งออกประเทศจีน โดยมีลักษณะคล้ายกับซู-30เอ็มเคไอ แต่ไม่มีปีกคานาร์ดและเครื่องยนต์ที่สามารถ thrust vector controlled (TVC) ใช้เรดาร์แบบ N001VE สามารถใช้ขีปนาวุธนำวิธีอากาศสู่อากาศแบบ R-77 ตำแหน่งติดอาวุธเพิ่มขึ้นเป็น 12 จุด น้ำหนักบรรทุกเพิ่มเป็น 38,000 กิโลกรัม ทางนาโต้ตั้งชื่อว่าแฟลงเคอร์-จี (Flanker-G)
Su-30MK2 (Su-30MKK-2)
เป็นรุ่นส่งออกประเทศจีน สำหรับใช้ในภารกิจทางทะเล โดยสามารถใช้ขีปนาวุธต่อต้านเรือรบแบบ Kh-31A ได้
Su-30MK2V
เป็นรุ่นส่งออกประเทศเวียดนาม โดยปรับปรุงจากซู-30เอ็มเคทูว์เรื่องระบบสื่อสารและระบบดีดตัวนักบิน
Su-30MK3 (Su-30MKK-3)
เป็นรุ่นส่งออกประเทศจีน โดยสามารถติดตั้งจรวดนำวิถีด้วยเลเซอร์ (Laser-guided Missile ) แบบ Kh-29L และระเบิดนำวิธี (Smart Bomb) แบบ KAB-1500L ได้
Su-30MKM (รัสเซีย: Су-30МКМ โดย М ย่อมาจาก Малайзию]])
เป็นรุ่นส่งออกประเทศมาเลเซีย
รายละเอียด ซู-30 แฟลงเคอร์
นักบิน: 2
ประเภท:เครื่องบินขับใล่ครองอากาศ สองที่นั่ง
ยาว: 21.935 เมตร (72 ฟุต 9 นิ้ว)
กางปีก:14.7 เมตร (48 ฟุต)
สูง: 6.357 เมตร (21 ฟุต 5 นิ้ว)
น้ำหนักเปล่า: 17,700 กิโลกรัม (39,021 ปอนด์)
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด: 33,000 กิโลกรัม (72,752 ปอนด์)
เครื่องยนต์: 2 เครื่อง ยี่ห้อ แซทเทริน รุ่น เอแอล-31
กำลังสูงสุด : 16,754 ปอนด์ฟุต (74.5 กิโลนิวตัน) ต่อเครื่อง
กำลังสูงสุดเมื่อใช้ระบบเผาไหม้สันดาปท้าย : 27,550 ปอนด์ฟุต (122.58 กิโลนิวตัน) ต่อเครื่อง
ความเร็วสูงสุด: 2150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (2.35 มัค)
ความเร็วเดินทาง: 1,300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (870 ไมล์)
บินไกล: 3,000 กิโลเมตร (1,620 ไมล์ทะเล)
บินได้สูงสุด: 17,500 เมตร (57,410 ฟุต)
อัตราใต่: 230 เมตรต่อวินาที (45,275 ฟุตต่อนาที)