รูปภาพที่เป็นกราฟฟิกนั้นเรียกในภาษาการบินว่า Instrument Approach Chat
เอาง่ายๆก็แล้วกันครับ เป็นการบินเข้าไปลงที่แม่ฮ่องสอนโดยจะบินตามรูปนั้น ซึ่งนักบินจะต้องลดระยะสูงและความเร็วตามที่กำหนดในชาร์ท หากไม่เห็นรันเวย์ที่จุดสุดท้ายคือ FAF นักบินจะต้องบินเครื่องขึ้นโดยไม่รีรอ และปฏิบัติตาม Missed Approach Procedure ที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษเยอะๆนั่นหละครับ
ถึงนักบินที่ไม่เคยมาสนามบินนี้ หากบินตามตารางนี้ก็ลงได้ใช่มั้ยครับ

ลงได้ครับ แต่ต้องศึกษาคู่มือก่อนที่จะไปบิน และที่สำคัญที่สุดคือ เครื่องบินที่จะไปลงนั้นสามารถขึ้นลงที่สนามบินนั้นๆได้หรือไม่ ซึ่งข้อกำหนดของมันจะมี ความยาวทางวิ่ง, การรองรับน้ำหนักของทางวิ่ง ทางขับ สามารถรองรับเครื่องบินแบบนั้นๆได้หรือไม่ และสิ่งที่สำคัญคือ one-engine inoperative จะหยุดบนทางวิ่งได้หรือไม่ จะสามารถบินขึ้นแล้วไต่พ้นสิ่งกีดขวางได้หรือไม่ และเมื่อ Go-Around ด้วยเครื่องยนต์เดียวสามารถไต่พ้นสิ่งกีดขวางได้หรือไม่ ทั้งหมดนี้นักบินต้องศึกษาก่อนที่จะไปบินครับ จริงๆแล้วรายละเอียดยังมีอีกมากแต่มันเป็นด้านเทคนิคถ้าอธิบายมันจะเป็นวิชาการมากเกินไป เดี๋ยวอ่านกันแล้วไม่รู้เรื่อง เอาเป็นว่าอย่างนี้ครับ
ก่อนที่จะทำการบิน สิ่งที่ต้องเตรียมตัวมี
ข่าวอากาศสนามบินต้นทาง, สนามบินปลายทาง, สนามบินสำรอง และอากาศในเส้นทางบิน ในข่าวอากาศจะประกอบด้วย อุณหภูมิ, ความเร็วและทิศทางลม, ความชื้น, ฐานเมฆแต่ละชั้นต่างๆ ซึ่งจะพยากรณ์ในช่วงเวลา 12 ชม. 1-2 ชม.ก่อนเครื่องไปถึง และอากาศ ณ ปัจจุบัน
เมื่อได้ข่าวอากาศต่อไปคือ จำนวนผู้โดยสารและสินค้าที่จะติดไปกับเครื่อง
ได้สองอย่าเอามาคำนวณหาน้ำหนัก เพื่อจะได้สั่งน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อได้น้ำมันเชื้อเพลิงรวมกับน้ำหนักของเครื่องบิน จะได้น้ำหนักทั้งหมดของเครื่องบินก่อนวิ่งขึ้น
เอาน้ำหนักของเครื่องบินเมื่อจะวิ่งขึ้นมาคำนวณหา ระยะทางที่จะใช้สำหรับวิ่งขึ้น ระยะทางสำหรับหยุดเครื่องบินเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน หากน้ำหนักวิ่งขึ้นนั้นเกินกว่าทางวิ่งจะต้องลดน้ำหนักลง โดยมีสองวิธี 1 ลดจำนวนผู้โดยสารและสินค้า (ข้อนี้สายการบินขาดทุน) 2. ลดจำนวนน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ถ้าลดน้ำมันเชื้อเพลิงไปแล้วยังไม่พอก็ต้องเอาผู้โดยสารหรือสินค้าลง หรือไม่ก็ไปไม่ได้
สำหรับสนามปินปลายทาง เอาจำนวนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ไปลบกับน้ำหนักก่อนวิ่งขึ้น จะได้น้ำหนักเครื่องบินสำหรับการลง เอาตัวนี้มาคำนวณหาระยะทางและความเร็วร่อนเพื่อหยุดบนทางวิ่ง และนำมาคำนวณหาอัตราการไต่หนีสิ่งกีดขวางเมื่อเครื่องบินเหลือเครื่องยนต์เดียว อ่านแล้วเริ่มงงไหมครับ
ดังนั้นสนามบินต่างๆจะต้องออกข้อกำหนด เพื่อให้นักบินทำการศึกษาก่อนที่จะไปบินรวมทั้งสนามบินนั้นๆสามารถรองรับเครื่องบินแบบนั้นๆได้หรือไม่ และการออกข้อกำหนดจะต้องได้มาตรฐานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศก่อนที่จะนำไปใช้งาน และข้อกำหนดนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และจะต้องแจ้งให้ทราบว่าได้เปลี่ยนแปลงอะไรไปบ้าง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่เท่าไหร่เวลาอะไร (เวลาที่ใช้การการบินจะเป็น UTC (GMT)) ประเทศไทยเรา UTC+7 ครับ